(บทนำ)
“ประแส” อายุ 72 ปีแล้ว ด้วยรูปร่างที่ดูสูงใหญ่ เลยทำให้ดูน่าเกรงขาม ตามลำตัวมีร่องรอยเต็มไปหมด แสดงให้เห็นถึงความเก๋า อันมากด้วยประสบการณ์
น้อยคนจะรู้ว่า...ครั้งหนึ่ง ประแส เคยเป็นกำลังหนุนเคียงคู่ราชนาวีไทย ร่วมเดินทางออกจากผืนน้ำที่เงียบสงบ สู่ทะเลอันเวิ้งว้างสุดสายตา รอนแรมอยู่หลายวันหลายคืน จนเข้าสู่ผืนน้ำแห่งความเกรี้ยวกราดที่โถมกระหน่ำในยามศึกสงคราม ณ คาบสมุทรเกาหลี ...
“มันผ่านไปนานแล้ว ไม่มีใครจำหรอก ... แต่ประวัติศาสตร์นั้นมันยังคงอยู่" ผมกล่าว ... เพราะประแสนั้น พูดไม่ได้
ผมขอแนะนำให้รู้จักชื่อเต็ม และประวัติโดยสังเขปครับ ...
“เรือรบหลวงประแส” ชื่อเดิม USS, GAL-LUP (PE-2) ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สร้างเสร็จในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 มีความยาว 92.8 เมตร กว้าง 11.5 เมตร ติดอาวุธปืน ปืนกล และตอร์ปิโด รองรับกำลังทหารประจำเรือได้ 216 นาย
หลังจากผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน ในปี พ.ศ. 2537 จึงได้ปลดประจำการ ปัจจุบันเรือรบหลวงประแส ได้กลายเป็นอนุสรณ์เรือหลวงประแส สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่บริเวณปากน้ำประแส อ. แกลง จ.ระยอง
แม้จะขาดการบูรณะเรือทั้งลำขึ้นมาใหม่ ผมว่านี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ทำให้ผมยอมขลุกตัวเก็บรายละเอียดต่างๆ ทั้งตัวหนังสือภาษาไทยบนปืนกล เกจ์มาตรวัดที่มีตัวเลข กล่องตู้ไฟที่มีภาษาอังกฤษ รวมถึงโคมไฟเก่าๆ โทรศัพท์อันคร่ำครึ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว
ยิ่งดูก็ยิ่งพลันให้คิด...นึกไปถึงสมัยก่อนที่มีทหารอยู่เต็มลำเรือ ท่ามกลางศึกสงคราม อยากรู้ว่าทหารเรือนั้น เค้าใช้ชีวิตอยู่กันอย่างไร?
พอจินตนาการเกี่ยวกับเรือเก่าไปเรื่อยๆ ก็เลยเถิดคิดไปไกลถึงเรือที่คนทั่วโลกรู้จัก ... "ไททานิค" (Titanic) เปิดฉากด้วยความยิ่งใหญ่ และปิดม่านลงด้วยโศกนาฏกรรมที่คาดไม่ถึง วัตถุที่จมไปพร้อมเรือในครานั้น บางส่วนสามารถนำขึ้นมาจัดแสดงภายใต้นิทรรศการที่ชื่อว่า Titanic : The Artifact Exhibition แม้งานนั้นจะผ่านพ้นมา 4 ปี แต่ก็ยังคงชื่นชอบในเรื่องราวของเรือยักษ์นี้อยู่เสมอ
เรือทั้งสองลำแล่นกันคนละยุค แต่ผมอยากให้แล่นร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อรวมความทรงจำที่เกี่ยวกับเรือลำใหญ่ในชื่อตอนที่ว่า "เรา.กับ.เรือ ... จากประแส ถึงไททานิค" ลองชมกันก่อนครับ
ขอแปะเพจไว้ติดตาม พูดคุยกันต่อได้ที่ FB: GO2 >>
https://www.facebook.com/Go2-x-%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1-1632477510328553/
[CR] ตามไปเที่ยว >> เรา กับ เรือ ... จาก ประแส จ.ระยอง เล่าต่อถึงไททานิค
(บทนำ)
“ประแส” อายุ 72 ปีแล้ว ด้วยรูปร่างที่ดูสูงใหญ่ เลยทำให้ดูน่าเกรงขาม ตามลำตัวมีร่องรอยเต็มไปหมด แสดงให้เห็นถึงความเก๋า อันมากด้วยประสบการณ์
น้อยคนจะรู้ว่า...ครั้งหนึ่ง ประแส เคยเป็นกำลังหนุนเคียงคู่ราชนาวีไทย ร่วมเดินทางออกจากผืนน้ำที่เงียบสงบ สู่ทะเลอันเวิ้งว้างสุดสายตา รอนแรมอยู่หลายวันหลายคืน จนเข้าสู่ผืนน้ำแห่งความเกรี้ยวกราดที่โถมกระหน่ำในยามศึกสงคราม ณ คาบสมุทรเกาหลี ...
“มันผ่านไปนานแล้ว ไม่มีใครจำหรอก ... แต่ประวัติศาสตร์นั้นมันยังคงอยู่" ผมกล่าว ... เพราะประแสนั้น พูดไม่ได้
ผมขอแนะนำให้รู้จักชื่อเต็ม และประวัติโดยสังเขปครับ ...
“เรือรบหลวงประแส” ชื่อเดิม USS, GAL-LUP (PE-2) ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สร้างเสร็จในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 มีความยาว 92.8 เมตร กว้าง 11.5 เมตร ติดอาวุธปืน ปืนกล และตอร์ปิโด รองรับกำลังทหารประจำเรือได้ 216 นาย
หลังจากผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน ในปี พ.ศ. 2537 จึงได้ปลดประจำการ ปัจจุบันเรือรบหลวงประแส ได้กลายเป็นอนุสรณ์เรือหลวงประแส สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่บริเวณปากน้ำประแส อ. แกลง จ.ระยอง
แม้จะขาดการบูรณะเรือทั้งลำขึ้นมาใหม่ ผมว่านี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ทำให้ผมยอมขลุกตัวเก็บรายละเอียดต่างๆ ทั้งตัวหนังสือภาษาไทยบนปืนกล เกจ์มาตรวัดที่มีตัวเลข กล่องตู้ไฟที่มีภาษาอังกฤษ รวมถึงโคมไฟเก่าๆ โทรศัพท์อันคร่ำครึ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว
ยิ่งดูก็ยิ่งพลันให้คิด...นึกไปถึงสมัยก่อนที่มีทหารอยู่เต็มลำเรือ ท่ามกลางศึกสงคราม อยากรู้ว่าทหารเรือนั้น เค้าใช้ชีวิตอยู่กันอย่างไร?
พอจินตนาการเกี่ยวกับเรือเก่าไปเรื่อยๆ ก็เลยเถิดคิดไปไกลถึงเรือที่คนทั่วโลกรู้จัก ... "ไททานิค" (Titanic) เปิดฉากด้วยความยิ่งใหญ่ และปิดม่านลงด้วยโศกนาฏกรรมที่คาดไม่ถึง วัตถุที่จมไปพร้อมเรือในครานั้น บางส่วนสามารถนำขึ้นมาจัดแสดงภายใต้นิทรรศการที่ชื่อว่า Titanic : The Artifact Exhibition แม้งานนั้นจะผ่านพ้นมา 4 ปี แต่ก็ยังคงชื่นชอบในเรื่องราวของเรือยักษ์นี้อยู่เสมอ
เรือทั้งสองลำแล่นกันคนละยุค แต่ผมอยากให้แล่นร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อรวมความทรงจำที่เกี่ยวกับเรือลำใหญ่ในชื่อตอนที่ว่า "เรา.กับ.เรือ ... จากประแส ถึงไททานิค" ลองชมกันก่อนครับ
ขอแปะเพจไว้ติดตาม พูดคุยกันต่อได้ที่ FB: GO2 >> https://www.facebook.com/Go2-x-%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1-1632477510328553/