กลุ่มประเทศแคริบเบียนประกาศจุดยืนต้านนโยบาย “ขายสัญชาติแลกการลงทุน” หวั่นซ้ำรอยกรณี นิการากัวหลงเชื่อ “แม้ว”
เอเอฟพี / เอเจนซีส์ / MGR online – กลุ่มประเทศหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียนหารือร่วมกันในวันพุธ (6 ก.ค.) เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกัน หวังป้องกันเหล่าผู้ก่อการร้ายและอาชญากรอื่นๆ ได้สิทธิเป็นพลเมืองของประเทศในภูมิภาคนี้โดยการแอบแฝงตัวเข้ามาในฐานะ “นักลงทุน” ดังเช่นกรณีสุดอื้อฉาวที่รัฐบาลนิการากัวเคยหลวมตัวมอบพาสปอร์ตพร้อมฐานะทูตพิเศษให้ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย
นายกรัฐมนตรี คีธ มิตเชลล์ แห่งเกรนาดา เปิดเผยเรื่องดังกล่าว ต่อผู้สื่อข่าวระหว่างเข้าร่วมการประชุมสุดยอดประจำปี ของบรรดาผู้นำประเทศหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียน ที่ในครั้งนี้จัดขึ้นในประเทศกายอานา
ที่ผ่านมาหลายประเทศ เคยจัดทำโครงการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้าประเทศของตน โดยรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ เสนอการมอบสัญชาติ-หนังสือเดินทาง รวมถึงมอบสถานะ “พลเมืองกิตติมศักดิ์” หรือตำแหน่ง “ทูตพิเศษ” ให้กับนักลงทุนเหล่านั้นเป็นการตอบแทน
อย่างไรก็ดี ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า การดำเนินนโยบายเช่นนี้เท่ากับเป็นการเปิดช่องให้เหล่าอาชญากร หรือนักการเมืองที่หลบหนีคดีความจากประเทศอื่น “ฉวยโอกาส” นี้ ในการ “ชุบตัวเอง” ด้วยการได้สิทธิพิเศษในฐานะพลเมือง รวมถึงได้ถือครองหนังสือเดินทาง ด้วยการแฝงตัวเข้ามาในฐานะนักลงทุน ยังไม่นับรวมถึงภัยคุกคาม จากการที่สมาชิกกลุ่มก่อการร้ายอาจแฝงตัวเข้าสู่ประเทศเหล่านี้ โดยใช้เงื่อนไขด้านการลงทุนเป็นข้ออ้าง
รายงานข่าวระบุว่า ขณะนี้ผู้นำของทั้ง 15 ประเทศสมาชิก ของประชาคมแคริบเบียน (Caribbean Community : CARICOM) ซึ่งบังคับใช้นโยบายการเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างกันอย่างเสรีเช่นเดียวกับสหภาพยุโรป (อียู) ต่างเห็นพ้องในหลักการว่า การดำเนินนโยบายในลักษณะเช่นนี้ของประเทศใดประเทศหนึ่งในภูมิภาค ย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอื่นในภูมิภาคอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ที่ผ่านมา ประเทศหมู่เกาะ “เซนต์คิตต์ส แอนด์ นีวิส” เคยประกาศขายสัญชาติพร้อมด้วยหนังสือเดินทางของประเทศตนในสนนราคา 500,000 ดอลลาร์ เพื่อหวังดึงดูดการลงทุนเข้าประเทศ และลดการพึ่งพารายได้หลักอย่างการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว จากนั้น อีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้ทั้งโดมินิกา , เซนต์ลูเชีย รวมถึงหมู่เกาะแอนทีกาและบาร์บูดา ตลอดจน ประเทศนิการากัวในภูมิภาคอเมริกากลางต่างหันมาใช้นโยบายนี้ในการโกยเงินเข้าประเทศตัวเองด้วยเช่นกัน ซึ่งเรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง
ก่อนหน้านี้ กระทรวงการต่างประเทศนิการากัวออกระเบียบใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2015 ระบุพลเมืองต่างชาติ ซึ่งได้สิทธิพิเศษในการถือครอง “หนังสือเดินทางนิการากัว” จะต้องเร่งทำประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนต่อแผ่นดินนิการากัวภายในระยะเวลา 1 ปี หากพบพลเมืองกิตติศักดิ์รายใดไม่ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ อาจถูก “เพิกถอนพาสปอร์ต” ซึ่งรวมถึงในกรณีของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยที่หลบหนีคดีความอยู่ในต่างแดน
รายงานข่าวจากกรุงมานากัว เมืองหลวงของสาธารณรัฐนิการากัวที่ถูกเผยแพร่ในวันที่ 30 มิ.ย.ปีที่แล้วระบุว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศของนิการากัวได้ออกกฎกระทรวงฉบับใหม่ซึ่งมีเนื้อหากำหนดให้บรรดาพลเมืองชาวต่างชาติ ที่ได้สิทธิ์ในการถือครอง “หนังสือเดินทางนิการากัว” ทุกประเภท รวมถึงหนังสือเดินทางทูต หรือได้สถานะเป็น “พลเมืองกิตติมศักดิ์” ของนิการากัวไปก่อนหน้านี้ จะต้องเร่ง “ทำตัวให้เป็นประโยชน์” กับประเทศและประชาชนชาวนิการากัว โดยต้องมีผลงานที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ภายในระยะเวลา 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2015 เป็นต้นไป
รายงานข่าวระบุว่า ทางการนิการากัวเตรียมใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด ด้วยการเพิกถอนพาสปอร์ตและยกเลิกสถานะพลเมืองกิตติมศักดิ์แก่ชาวต่างชาติทุกราย ที่ไม่สร้างประโยชน์ให้กับแผ่นดินนิการากัวภายในกำหนด 1 ปี ซึ่งสิ้นสุดลงในวันที่ 1 ก.ค. 2016
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของทางการนิการากัวมีขึ้น หลังจากที่รัฐบาลได้รับเรื่องร้องเรียนมากมายเกี่ยวกับการประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสม ของบรรดาพลเมืองกิตติมศักดิ์ที่ใช้สิทธิพิเศษดังกล่าว แสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง โดยแทบไม่เคยสร้างประโยชน์ตอบแทนแก่นิการากัวเลย
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ชาวต่างชาติที่เป็นผู้ถือครองพาสปอร์ตนิการากัว สามารถใช้เดินทางเข้าออกประเทศต่างๆ ได้ถึง 110 ประเทศทั่วโลกโดยไม่ต้องขอ “วีซ่า” แต่ที่ผ่านมาพบหลักฐานว่ามีชาวต่างชาติบางรายที่นำพาสปอร์ตนิการากัวไปใช้เป็นเครื่องมือในการเดินทางไปปลุกปั่นหรือสร้างความวุ่นวายทางการเมืองยังประเทศต่างๆ ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของประเทศและชาวนิการากัวโดยรวม
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2012 กระทรวงต่างประเทศของสาธารณรัฐนิการากัว ตัดชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ที่อยู่ระหว่างหลบหนีคดีทุจริตในต่างแดนออกจากรายชื่อนักลงทุน ในโครงการ “เมกะโปรเจกต์” ขุด “คลองนิการากัว” มูลค่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 950,395 ล้านบาท) ถือเป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลนิการากัวไม่ปลื้ม และอาจมีการยกเลิกหนังสือเดินทางที่มอบให้อดีตผู้นำรัฐบาลไทยรายนี้ตั้งแต่เมื่อช่วงปี 2009
รายงานข่าวจากกรุงมานากัว เมืองหลวงของนิการากัวในเวลานั้น ระบุว่า นายมานูเอล โกโรเนล เคาต์ซ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศสาธารณรัฐนิการากัวขณะนั้น ออกมาเปิดเผยรายชื่อนักลงทุนต่างประเทศ ที่เตรียมเข้ามาร่วมลงทุนกับทางรัฐบาลเพื่อสร้างเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศสายใหม่ คือ คลองนิการากัวความยาว 200 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน หวังเป็นคู่แข่งกับ “คลองปานามา” ที่อยู่ในประเทศปานามา เพื่อนบ้านร่วมภูมิภาคอเมริกากลาง
โดยทางกระทรวงต่างประเทศนิการากัวไม่ใส่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเข้าไปด้วย ทั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับมอบหมายจากประธานาธิบดีดาเนียล ออร์เตกา ซาเบดราให้ทำหน้าที่ “ทูตพิเศษด้านการลงทุน” ของรัฐบาลนิการากัวมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2009 หลังจากมีการออกหนังสือเดินทางนิการากัวให้ในเดือนมกราคมปีเดียวกัน
ท่าทีดังกล่าวของกระทรวงต่างประเทศนิการากัวทำให้หลายฝ่าย รวมถึงเปโดร โฆอากิง ชามอร์โร สมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีความเป็นไปได้ที่ พ.ต.ท.ทักษิณอาจกระทำการบางอย่างซึ่งสร้างความไม่พอใจ แก่ประธานาธิบดีออร์เตกา เนื่องจากก่อนหน้านี้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยรายนี้เป็น “ชาวต่างชาติ”ที่ออร์เตกาไว้วางใจมากที่สุด ถึงขั้นมอบตำแหน่งเอกอัครราชทูตด้านการลงทุน ให้เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศ
ทั้งนี้ รัฐบาลนิการากัวคาดหวังว่าหากโครงการขุดคลองนิการากัวแล้วเสร็จ และสามารถเปิดใช้บริการได้นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 เป็นต้นไป จะช่วยนำเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าประเทศ และจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนิการากัวกว่า 5.9 ล้านคนทั่วประเทศดีขึ้นกว่าในขณะนี้ ซึ่งราวครึ่งหนึ่งมีฐานะยากจน ขณะที่สมาชิกรัฐสภานิการากัวซึ่งมีกลุ่มการเมือง “ซานดินิสตา” ของออร์เตกาครองเสียงข้างมาก ก็ได้ให้ความเห็นชอบต่อโครงการขุดคลองดังกล่าวด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย
ที่มา
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000067810
แต่ยังไงผมให้แม้วเก่งกว่าแน่นอนครับเพราะเป็นการต้มระนานาชาติ ฝีมือท่านแม้วนี่ระดับเวิร์ลคลาสจริง ๆ ^^
หญิงไก่กับทักษิณใครเก่งกว่ากันครับ?
เอเอฟพี / เอเจนซีส์ / MGR online – กลุ่มประเทศหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียนหารือร่วมกันในวันพุธ (6 ก.ค.) เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกัน หวังป้องกันเหล่าผู้ก่อการร้ายและอาชญากรอื่นๆ ได้สิทธิเป็นพลเมืองของประเทศในภูมิภาคนี้โดยการแอบแฝงตัวเข้ามาในฐานะ “นักลงทุน” ดังเช่นกรณีสุดอื้อฉาวที่รัฐบาลนิการากัวเคยหลวมตัวมอบพาสปอร์ตพร้อมฐานะทูตพิเศษให้ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย
นายกรัฐมนตรี คีธ มิตเชลล์ แห่งเกรนาดา เปิดเผยเรื่องดังกล่าว ต่อผู้สื่อข่าวระหว่างเข้าร่วมการประชุมสุดยอดประจำปี ของบรรดาผู้นำประเทศหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียน ที่ในครั้งนี้จัดขึ้นในประเทศกายอานา
ที่ผ่านมาหลายประเทศ เคยจัดทำโครงการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้าประเทศของตน โดยรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ เสนอการมอบสัญชาติ-หนังสือเดินทาง รวมถึงมอบสถานะ “พลเมืองกิตติมศักดิ์” หรือตำแหน่ง “ทูตพิเศษ” ให้กับนักลงทุนเหล่านั้นเป็นการตอบแทน
อย่างไรก็ดี ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า การดำเนินนโยบายเช่นนี้เท่ากับเป็นการเปิดช่องให้เหล่าอาชญากร หรือนักการเมืองที่หลบหนีคดีความจากประเทศอื่น “ฉวยโอกาส” นี้ ในการ “ชุบตัวเอง” ด้วยการได้สิทธิพิเศษในฐานะพลเมือง รวมถึงได้ถือครองหนังสือเดินทาง ด้วยการแฝงตัวเข้ามาในฐานะนักลงทุน ยังไม่นับรวมถึงภัยคุกคาม จากการที่สมาชิกกลุ่มก่อการร้ายอาจแฝงตัวเข้าสู่ประเทศเหล่านี้ โดยใช้เงื่อนไขด้านการลงทุนเป็นข้ออ้าง
รายงานข่าวระบุว่า ขณะนี้ผู้นำของทั้ง 15 ประเทศสมาชิก ของประชาคมแคริบเบียน (Caribbean Community : CARICOM) ซึ่งบังคับใช้นโยบายการเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างกันอย่างเสรีเช่นเดียวกับสหภาพยุโรป (อียู) ต่างเห็นพ้องในหลักการว่า การดำเนินนโยบายในลักษณะเช่นนี้ของประเทศใดประเทศหนึ่งในภูมิภาค ย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอื่นในภูมิภาคอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ที่ผ่านมา ประเทศหมู่เกาะ “เซนต์คิตต์ส แอนด์ นีวิส” เคยประกาศขายสัญชาติพร้อมด้วยหนังสือเดินทางของประเทศตนในสนนราคา 500,000 ดอลลาร์ เพื่อหวังดึงดูดการลงทุนเข้าประเทศ และลดการพึ่งพารายได้หลักอย่างการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว จากนั้น อีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้ทั้งโดมินิกา , เซนต์ลูเชีย รวมถึงหมู่เกาะแอนทีกาและบาร์บูดา ตลอดจน ประเทศนิการากัวในภูมิภาคอเมริกากลางต่างหันมาใช้นโยบายนี้ในการโกยเงินเข้าประเทศตัวเองด้วยเช่นกัน ซึ่งเรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง
ก่อนหน้านี้ กระทรวงการต่างประเทศนิการากัวออกระเบียบใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2015 ระบุพลเมืองต่างชาติ ซึ่งได้สิทธิพิเศษในการถือครอง “หนังสือเดินทางนิการากัว” จะต้องเร่งทำประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนต่อแผ่นดินนิการากัวภายในระยะเวลา 1 ปี หากพบพลเมืองกิตติศักดิ์รายใดไม่ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ อาจถูก “เพิกถอนพาสปอร์ต” ซึ่งรวมถึงในกรณีของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยที่หลบหนีคดีความอยู่ในต่างแดน
รายงานข่าวจากกรุงมานากัว เมืองหลวงของสาธารณรัฐนิการากัวที่ถูกเผยแพร่ในวันที่ 30 มิ.ย.ปีที่แล้วระบุว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศของนิการากัวได้ออกกฎกระทรวงฉบับใหม่ซึ่งมีเนื้อหากำหนดให้บรรดาพลเมืองชาวต่างชาติ ที่ได้สิทธิ์ในการถือครอง “หนังสือเดินทางนิการากัว” ทุกประเภท รวมถึงหนังสือเดินทางทูต หรือได้สถานะเป็น “พลเมืองกิตติมศักดิ์” ของนิการากัวไปก่อนหน้านี้ จะต้องเร่ง “ทำตัวให้เป็นประโยชน์” กับประเทศและประชาชนชาวนิการากัว โดยต้องมีผลงานที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ภายในระยะเวลา 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2015 เป็นต้นไป
รายงานข่าวระบุว่า ทางการนิการากัวเตรียมใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด ด้วยการเพิกถอนพาสปอร์ตและยกเลิกสถานะพลเมืองกิตติมศักดิ์แก่ชาวต่างชาติทุกราย ที่ไม่สร้างประโยชน์ให้กับแผ่นดินนิการากัวภายในกำหนด 1 ปี ซึ่งสิ้นสุดลงในวันที่ 1 ก.ค. 2016
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของทางการนิการากัวมีขึ้น หลังจากที่รัฐบาลได้รับเรื่องร้องเรียนมากมายเกี่ยวกับการประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสม ของบรรดาพลเมืองกิตติมศักดิ์ที่ใช้สิทธิพิเศษดังกล่าว แสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง โดยแทบไม่เคยสร้างประโยชน์ตอบแทนแก่นิการากัวเลย
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ชาวต่างชาติที่เป็นผู้ถือครองพาสปอร์ตนิการากัว สามารถใช้เดินทางเข้าออกประเทศต่างๆ ได้ถึง 110 ประเทศทั่วโลกโดยไม่ต้องขอ “วีซ่า” แต่ที่ผ่านมาพบหลักฐานว่ามีชาวต่างชาติบางรายที่นำพาสปอร์ตนิการากัวไปใช้เป็นเครื่องมือในการเดินทางไปปลุกปั่นหรือสร้างความวุ่นวายทางการเมืองยังประเทศต่างๆ ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของประเทศและชาวนิการากัวโดยรวม
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2012 กระทรวงต่างประเทศของสาธารณรัฐนิการากัว ตัดชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ที่อยู่ระหว่างหลบหนีคดีทุจริตในต่างแดนออกจากรายชื่อนักลงทุน ในโครงการ “เมกะโปรเจกต์” ขุด “คลองนิการากัว” มูลค่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 950,395 ล้านบาท) ถือเป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลนิการากัวไม่ปลื้ม และอาจมีการยกเลิกหนังสือเดินทางที่มอบให้อดีตผู้นำรัฐบาลไทยรายนี้ตั้งแต่เมื่อช่วงปี 2009
รายงานข่าวจากกรุงมานากัว เมืองหลวงของนิการากัวในเวลานั้น ระบุว่า นายมานูเอล โกโรเนล เคาต์ซ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศสาธารณรัฐนิการากัวขณะนั้น ออกมาเปิดเผยรายชื่อนักลงทุนต่างประเทศ ที่เตรียมเข้ามาร่วมลงทุนกับทางรัฐบาลเพื่อสร้างเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศสายใหม่ คือ คลองนิการากัวความยาว 200 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน หวังเป็นคู่แข่งกับ “คลองปานามา” ที่อยู่ในประเทศปานามา เพื่อนบ้านร่วมภูมิภาคอเมริกากลาง
โดยทางกระทรวงต่างประเทศนิการากัวไม่ใส่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเข้าไปด้วย ทั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับมอบหมายจากประธานาธิบดีดาเนียล ออร์เตกา ซาเบดราให้ทำหน้าที่ “ทูตพิเศษด้านการลงทุน” ของรัฐบาลนิการากัวมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2009 หลังจากมีการออกหนังสือเดินทางนิการากัวให้ในเดือนมกราคมปีเดียวกัน
ท่าทีดังกล่าวของกระทรวงต่างประเทศนิการากัวทำให้หลายฝ่าย รวมถึงเปโดร โฆอากิง ชามอร์โร สมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีความเป็นไปได้ที่ พ.ต.ท.ทักษิณอาจกระทำการบางอย่างซึ่งสร้างความไม่พอใจ แก่ประธานาธิบดีออร์เตกา เนื่องจากก่อนหน้านี้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยรายนี้เป็น “ชาวต่างชาติ”ที่ออร์เตกาไว้วางใจมากที่สุด ถึงขั้นมอบตำแหน่งเอกอัครราชทูตด้านการลงทุน ให้เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศ
ทั้งนี้ รัฐบาลนิการากัวคาดหวังว่าหากโครงการขุดคลองนิการากัวแล้วเสร็จ และสามารถเปิดใช้บริการได้นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 เป็นต้นไป จะช่วยนำเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าประเทศ และจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนิการากัวกว่า 5.9 ล้านคนทั่วประเทศดีขึ้นกว่าในขณะนี้ ซึ่งราวครึ่งหนึ่งมีฐานะยากจน ขณะที่สมาชิกรัฐสภานิการากัวซึ่งมีกลุ่มการเมือง “ซานดินิสตา” ของออร์เตกาครองเสียงข้างมาก ก็ได้ให้ความเห็นชอบต่อโครงการขุดคลองดังกล่าวด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย
ที่มา http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000067810
แต่ยังไงผมให้แม้วเก่งกว่าแน่นอนครับเพราะเป็นการต้มระนานาชาติ ฝีมือท่านแม้วนี่ระดับเวิร์ลคลาสจริง ๆ ^^