รายงานข่าวระบุว่า ในขณะนี้การขายสัญชาติ และหนังสือเดินทาง กำลังกลายเป็น “แหล่งรายได้ใหม่” ของหลายดินแดนในยุโรปที่ต้องเผชิญกับความยากเข็ญทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลพวงจากวิกฤตหนี้สินของกลุ่มประเทศยูโรโซน หรือกลุ่ม 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินตราสกุลหลัก
ล่าสุด รัฐบาลของไซปรัส ซึ่งเป็นทั้งสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) และกลุ่มยูโรโซนได้ออกมาตรการใหม่หวังหารายได้เข้าประเทศด้วยการเสนอสิทธิในการอยู่อาศัยอย่างถาวรในไซปรัสและการเดินทางแบบ “ไร้วีซ่า” ได้ทั่วสหภาพยุโรปให้แก่ชาวต่างชาติที่สนใจ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ชาวต่างชาติผู้นั้นจะต้องนำเงินอย่างน้อย 300,000 ยูโร (ราว 11.6 ล้านบาท) เข้ามาลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของไซปรัส และจะต้องยอมเปิดบัญชีเงินฝากจำนวนอย่างน้อย 30,000 ยูโร (ราว 1.16 ล้านบาท) กับธนาคารแห่งใดก็ได้ในไซปรัส โดยห้ามถอนเงินฝากดังกล่าวออกภายในระยะเวลา 3 ปี
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัฐบาลไซปรัส มีขึ้นหลังจากที่เศรษฐกิจของประเทศเผชิญกับภาวะถดถอยอย่างหนักจนใกล้เข้าสู่ “ภาวะล้มละลาย” ขณะที่ยอดหนี้สินของประเทศมีแนวโน้มจะทำสถิติพุ่งสูงแตะระดับ 140 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีภายในปี 2016 นอกจากนั้น ภาคธนาคารของไซปรัสก็กำลังประสบปัญหาด้านสภาพคล่องและหนี้เน่า จากการที่ “ลูกพี่ใหญ่” อย่างกรีซ ประสบภาวะ “ถังแตก”
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไซปรัสพยายามขอความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เป็นวงเงิน 17,500 ล้านยูโร (ราว 677,570 ล้านบาท) แต่การพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไซปรัสยังไม่มีความคืบหน้ามากนักเนื่องจากทั้งอียูและไอเอ็มเอฟต่างมีกฏระเบียบที่เข้มงวด ทำให้รัฐบาลไซปรัสจำเป็นต้องมองหารายได้จากแหล่งอื่นที่ง่ายกว่า ซึ่งก็คือ การเสนอสิทธิในการอยู่อาศัยอย่างถาวรในประเทศ แก่ชาวต่างชาติที่สนใจ
นอกจากไซปรัสแล้วมีรายงานว่า ฮังการี เป็นชาติสมาชิกของอียูอีกราย ที่กำลังมองหารายได้ด้วยวิธีการดังกล่าว หลังจากรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีวิกเตอร์ ออร์บาน ผลักดันให้รัฐสภาผ่านกฏหมายฉบับใหม่ไปเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยกฏหมายดังกล่าวที่มีเนื้อหาระบุว่า ชาวต่างชาติรายใดก็ตามที่ยอมจ่ายเงินขั้นต่ำ 250,000 ยูโร (ราว 9.7 ล้านบาท) เพื่อซื้อพันธบัตรของรัฐบาลบูดาเปสต์ ก็จะได้สิทธิ์ในการเข้ามาอยู่อาศัยอย่างถาวรในฮังการีได้ทันที
ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมีนาคมปี 2010 มีรายงานว่า รัฐบาลของมอนเตเนโกร ซึ่งเป็นประเทศที่แยกตัวออกมาจากอดีตยูโกสลาเวีย และมีเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ได้มอบสถานะความเป็นพลเมือง พร้อมด้วยหนังสือเดินทางของตนให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยที่ถูกโค่นอำนาจและหลบหนีคดีทุจริตในต่างแดน หลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้คำมั่นว่าจะลงทุนในภาคการท่องเที่ยวของมอนเตเนโกรเป็นเงินหลายล้านยูโร แม้จะไม่มีการยืนยันว่า ภายหลังจากได้รับสัญชาติมอนเตเนโกรแล้ว อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยได้นำเงินไปลงทุนในมอนเตเนโกรจริงหรือไม่ก็ตาม
อย่างไรก็ดี แคเธอรีน แอชตัน ข้าหลวงใหญ่ด้านกิจการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคงของสหภาพยุโรปออกโรงเตือนว่า ความพยายามของรัฐบาลหลายประเทศในยุโรปที่ต้องการหารายได้ด้วยการขายสัญชาติ และหนังสือเดินทางแก่ชาวต่างชาตินั้น อาจทำให้ยุโรปต้องเผชิญกับภัยคุกคามใหญ่หลวงด้านความมั่นคง จากการหลั่งไหลเข้ามาของพวกนักการเมืองที่ทุจริต ขบวนการค้ายาเสพติด แก๊งค้ามนุษย์ หรือ พวกอาชญากรข้ามชาติอื่นๆที่อาจฉวยโอกาสสวมรอยเข้ามาในคราบของ “นักธุรกิจ”
ฮือฮา! “ไซปรัส-ฮังการี” ประกาศ “ขายสัญชาติ” แลกเงิน หลังเจอพิษศก.ยูโร-หนี้ท่วม ตามรอยมอนเตเนโกรอุ้ม “แม้ว”
ล่าสุด รัฐบาลของไซปรัส ซึ่งเป็นทั้งสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) และกลุ่มยูโรโซนได้ออกมาตรการใหม่หวังหารายได้เข้าประเทศด้วยการเสนอสิทธิในการอยู่อาศัยอย่างถาวรในไซปรัสและการเดินทางแบบ “ไร้วีซ่า” ได้ทั่วสหภาพยุโรปให้แก่ชาวต่างชาติที่สนใจ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ชาวต่างชาติผู้นั้นจะต้องนำเงินอย่างน้อย 300,000 ยูโร (ราว 11.6 ล้านบาท) เข้ามาลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของไซปรัส และจะต้องยอมเปิดบัญชีเงินฝากจำนวนอย่างน้อย 30,000 ยูโร (ราว 1.16 ล้านบาท) กับธนาคารแห่งใดก็ได้ในไซปรัส โดยห้ามถอนเงินฝากดังกล่าวออกภายในระยะเวลา 3 ปี
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัฐบาลไซปรัส มีขึ้นหลังจากที่เศรษฐกิจของประเทศเผชิญกับภาวะถดถอยอย่างหนักจนใกล้เข้าสู่ “ภาวะล้มละลาย” ขณะที่ยอดหนี้สินของประเทศมีแนวโน้มจะทำสถิติพุ่งสูงแตะระดับ 140 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีภายในปี 2016 นอกจากนั้น ภาคธนาคารของไซปรัสก็กำลังประสบปัญหาด้านสภาพคล่องและหนี้เน่า จากการที่ “ลูกพี่ใหญ่” อย่างกรีซ ประสบภาวะ “ถังแตก”
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไซปรัสพยายามขอความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เป็นวงเงิน 17,500 ล้านยูโร (ราว 677,570 ล้านบาท) แต่การพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไซปรัสยังไม่มีความคืบหน้ามากนักเนื่องจากทั้งอียูและไอเอ็มเอฟต่างมีกฏระเบียบที่เข้มงวด ทำให้รัฐบาลไซปรัสจำเป็นต้องมองหารายได้จากแหล่งอื่นที่ง่ายกว่า ซึ่งก็คือ การเสนอสิทธิในการอยู่อาศัยอย่างถาวรในประเทศ แก่ชาวต่างชาติที่สนใจ
นอกจากไซปรัสแล้วมีรายงานว่า ฮังการี เป็นชาติสมาชิกของอียูอีกราย ที่กำลังมองหารายได้ด้วยวิธีการดังกล่าว หลังจากรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีวิกเตอร์ ออร์บาน ผลักดันให้รัฐสภาผ่านกฏหมายฉบับใหม่ไปเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยกฏหมายดังกล่าวที่มีเนื้อหาระบุว่า ชาวต่างชาติรายใดก็ตามที่ยอมจ่ายเงินขั้นต่ำ 250,000 ยูโร (ราว 9.7 ล้านบาท) เพื่อซื้อพันธบัตรของรัฐบาลบูดาเปสต์ ก็จะได้สิทธิ์ในการเข้ามาอยู่อาศัยอย่างถาวรในฮังการีได้ทันที
ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมีนาคมปี 2010 มีรายงานว่า รัฐบาลของมอนเตเนโกร ซึ่งเป็นประเทศที่แยกตัวออกมาจากอดีตยูโกสลาเวีย และมีเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ได้มอบสถานะความเป็นพลเมือง พร้อมด้วยหนังสือเดินทางของตนให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยที่ถูกโค่นอำนาจและหลบหนีคดีทุจริตในต่างแดน หลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้คำมั่นว่าจะลงทุนในภาคการท่องเที่ยวของมอนเตเนโกรเป็นเงินหลายล้านยูโร แม้จะไม่มีการยืนยันว่า ภายหลังจากได้รับสัญชาติมอนเตเนโกรแล้ว อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยได้นำเงินไปลงทุนในมอนเตเนโกรจริงหรือไม่ก็ตาม
อย่างไรก็ดี แคเธอรีน แอชตัน ข้าหลวงใหญ่ด้านกิจการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคงของสหภาพยุโรปออกโรงเตือนว่า ความพยายามของรัฐบาลหลายประเทศในยุโรปที่ต้องการหารายได้ด้วยการขายสัญชาติ และหนังสือเดินทางแก่ชาวต่างชาตินั้น อาจทำให้ยุโรปต้องเผชิญกับภัยคุกคามใหญ่หลวงด้านความมั่นคง จากการหลั่งไหลเข้ามาของพวกนักการเมืองที่ทุจริต ขบวนการค้ายาเสพติด แก๊งค้ามนุษย์ หรือ พวกอาชญากรข้ามชาติอื่นๆที่อาจฉวยโอกาสสวมรอยเข้ามาในคราบของ “นักธุรกิจ”