ผู้หญิง เงินทอง น้ำจิตมิตรสหาย. ในสามสิ่งอย่างนี้หากผู้ใดประพฤติถูก ควรน่าจะเรียกว่าสัมมา.

เช่น เรียกว่า  " ตอนนี้และต่อไป ข้าพเจ้าจะประพฤติตนเพื่อให้ดำเนินไปสู่  สัมมาราคะ  สัมมาโทสะ  สัมมาโมหะ  โดยมิท้อถอยและพยายาม "

    ขอถามเพื่อนๆและสมาชิกพันทิป ว่า   การใช้คำกล่าวนี้ดังนี้  จะพอให้การตั้งความชังและรังเกียจต่อศัพท์บัญญัติที่มีแล้วกลับลดลงเป็นความเป็นกลางได้หรือไม่?  เพราะเคยได้ฟังวินิจฉัย มาบ้างที่บางแห่งก็กล่าวตระหนักถึงรากกิริยาของศัพท์คำว่า เมตตา!  เป็นอ้างถึงขนาดว่า เมตตาก็คือราคะ(ธรรมนิยาม)อย่างชนิดละเอียด  ...ที่นี้ความเป็นปุถุชนนี่มักรังเกียจ คือมักถูกเกียดกันกั้นไว้  หากเมื่อใช้คำสูงเช่นมรรค เช่นญาณ โพชฌงค์  วิมุตต์ หรือตลอดศัพท์อลังการในอภิธรรม  คือพอปุถุชนเรานี้สุจริตพูดปุ๊บ  เป็นต้องถูกเกลียดชังรังเกียจปั๊บไม่มากก็น้อย เลย เป็นต้องพูดรากกิริยาศัพท์ไปเลยทีเดียวก็น่าจะดีกว่า  จะได้รู้ว่าเป็นการพูดมาจากปุถุชน  ที่ยังไม่ได้เป็นนักบวช หรือเป็นนักความรู้ดีชนิดพิเศษมาพูด

   เช่น  กระผมก็สนใจเรื่อง  เมถุนสังโยค  อันที่จะเป็นสัมมาราคะอยู่นา?  ไฉนจึงจะพอประพฤติกระทำตนไม่ให้ผิดไปถึงอาการเมถุนธรรมสังโยค[*]

อธิบายข้อคำถามต่อไปว่า หากให้ได้ประพฤติแล้วทุกสิ่งดีงามมุ่งมั่น แต่สิ่งดีงามนั้นมันเป็นแต่คล้อยไปในเมถุนสังโยคตลอด  จะกล่าวว่าสลดรังเกียจ อันตัวนิพพิทาญาณก็ไม่มาปรากฏให้มากกว่าธรรมชาติตัวชนิดราคะ  เพราะคิดว่าตัวความรักความปลื้มปลาบซาบซึ้งอะไร มันก็คงมีไปตลอดชีวิตอยู่แล้วตามสำคัญหัวใจตนเองในตอนนี้.  แต่ส่วนสัมมาโทสะ กับสัมมาโมหะนั้น  คงหมดธุระมากแล้วต่อไป  เป็นแต่ตลอดปัจุบันนี้เอง ที่มีชีวิตวนเวียนอยู่กับสัมมาราคะเป็นอย่างมาก.

[*] การประพฤติผิดในพรหมจรรย์ ของพรหมจารี เรียกว่า ประกอบเมถุนสังโยค

เรื่องนี้ต้องขยาย
บรรดาทางสองแยกนั้น เรียกว่า อันตรายทางขาด!
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่