ในวันที่ 23 มิถุนายนที่จะถึงนี้ นับเป็นวันที่โลกต้องจับตา เพราะเป็นวันที่ชาวอังกฤษจะได้ไปลงประชามติว่าจะออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียูหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ก็สร้างความหวาดวิตกไปขนาดใหญ่
นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ถึงกับต้องบินด่วนไปยังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อปราศรัยโน้มน้าวให้ชาวอังกฤษอย่าถอนตัวออกจากอียู เพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาตามมาและเสียดุลอำนาจทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองโลก ซึ่งดูเหมือนคนอังกฤษส่วนใหญ่อยากจะโบกมือบ๊ายบายอียูมากกว่าจะอยู่ต่อ
เหตุผลที่ทางสหรัฐอเมริกา ต้องการให้อังกฤษอยู่ในอียูต่อไป เพราะต้องการให้อียูมีเอกภาพ เพื่อเป็นแนวร่วมสำคัญในการสร้างดุลอำนาจและมีอิทธิพลสูงสุดของโลกต่อไป พูดง่ายๆคือต้องการมีอียู เป็นพวกในการต้านอำนาจของจีนและรัสเซียนั่นเอง
ถ้าถามว่าเหตุผลอะไรที่ทำให้ชาวอังกฤษส่วนใหญ่อยากแยกจากอียู คำตอบคือพวกเขามองว่าจะได้ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจและเงื่อนไขของอียู ถึงแม้ที่ผ่านมา อังกฤษจะยังใช้เงินสกุลปอนด์ของตัวเอง ไม่เหมือนประเทศอื่นๆในกลุ่มสมาชิกที่ใช้สกุลยูโรก็ตาม
เรื่องหนึ่งที่อังกฤษดูจะไม่เห็นด้วยกับแนวทางของอียูคือเรื่องผู้อพยพที่อียูต้องการรับผู้อพยพ ในขณะที่อังกฤษคิดตรงกันข้าม พวกเขาไม่ต้องการรับผู้อพยพเข้ามา
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอังกฤษและนักธุรกิจใหญ่ๆของอังกฤษนั้น ต้องการให้อยู่กับอียูต่อไป เพราะเห็นว่าจะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะยูโรเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญราวร้อยละ 50
ด้าน อียูเอง ก็ไม่ต้องการที่จะให้ อังกฤษ ออกไป เพราะหากออกไป สถานภาพของอียูก็จะด้อยลงทางเศรษฐกิจ และจะขาดคนกลางที่สำคัญระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี ซึ่งถือว่าเป็นประเทศมหาอำนาจของอียูทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งล่าสุด อียู เตือนว่าถ้าอังกฤษออกจากอียู อังกฤษจะเป็นฝ่ายประสบความสูญเสียมากกว่าอียู และเตือนว่า ถ้าหลังจากนั้นอังกฤษต้องการจะเจรจาทำข้อตกลงการค้าเสรีแบบที่อียู ทำไว้กับนอร์เวย์และสวิตเซอร์แลนด์ ก็จะทำไม่ได้ง่ายๆ
นอร์เวย์และสวิสเซอร์แลนด์ต่างมีข้อตกลงการค้าเสรีกับอียูว่าทั้ง 2 ประเทศต้องยอมจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับงบประมาณของอียู และอนุญาตให้พลเมืองของอียูเดินทางเข้าประเทศได้อย่างเสรีด้วย ซึ่งทางอียู ให้เหตุผลว่าถ้าอังกฤษขอเงื่อนไขเช่นนั้น และอียูยอม ก็เท่ากับส่งเสริมให้ประเทศอื่นๆที่อยากออกได้ออก และทำให้ฝ่ายที่อยู่อียูต่อลำบาก ผลกระทบจากการที่อังกฤษออกจากอียูจะกว้างไกลและยืดเยื้อแน่นอน
เฉพาะกระบวนการทางกฎหมายอย่างเดียวจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งฝ่ายที่สนับสนุนให้ออก หวังว่าจะใช้เวลาช่วงนี้เจรจาทำข้อตกลงการค้าเสรีกันได้ อังกฤษจะได้ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าที่ส่งไปอียู ซึ่งสูงมาก
**** รู้เรื่อง!! เหตุใดคนอังกฤษต้องการเเละไม่ต้องการ ให้ออกจาก ( อียู ) **** ( by : อินทรีเเดง รีเทิร์น )
นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ถึงกับต้องบินด่วนไปยังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อปราศรัยโน้มน้าวให้ชาวอังกฤษอย่าถอนตัวออกจากอียู เพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาตามมาและเสียดุลอำนาจทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองโลก ซึ่งดูเหมือนคนอังกฤษส่วนใหญ่อยากจะโบกมือบ๊ายบายอียูมากกว่าจะอยู่ต่อ
เหตุผลที่ทางสหรัฐอเมริกา ต้องการให้อังกฤษอยู่ในอียูต่อไป เพราะต้องการให้อียูมีเอกภาพ เพื่อเป็นแนวร่วมสำคัญในการสร้างดุลอำนาจและมีอิทธิพลสูงสุดของโลกต่อไป พูดง่ายๆคือต้องการมีอียู เป็นพวกในการต้านอำนาจของจีนและรัสเซียนั่นเอง
ถ้าถามว่าเหตุผลอะไรที่ทำให้ชาวอังกฤษส่วนใหญ่อยากแยกจากอียู คำตอบคือพวกเขามองว่าจะได้ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจและเงื่อนไขของอียู ถึงแม้ที่ผ่านมา อังกฤษจะยังใช้เงินสกุลปอนด์ของตัวเอง ไม่เหมือนประเทศอื่นๆในกลุ่มสมาชิกที่ใช้สกุลยูโรก็ตาม
เรื่องหนึ่งที่อังกฤษดูจะไม่เห็นด้วยกับแนวทางของอียูคือเรื่องผู้อพยพที่อียูต้องการรับผู้อพยพ ในขณะที่อังกฤษคิดตรงกันข้าม พวกเขาไม่ต้องการรับผู้อพยพเข้ามา
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอังกฤษและนักธุรกิจใหญ่ๆของอังกฤษนั้น ต้องการให้อยู่กับอียูต่อไป เพราะเห็นว่าจะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะยูโรเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญราวร้อยละ 50
ด้าน อียูเอง ก็ไม่ต้องการที่จะให้ อังกฤษ ออกไป เพราะหากออกไป สถานภาพของอียูก็จะด้อยลงทางเศรษฐกิจ และจะขาดคนกลางที่สำคัญระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี ซึ่งถือว่าเป็นประเทศมหาอำนาจของอียูทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งล่าสุด อียู เตือนว่าถ้าอังกฤษออกจากอียู อังกฤษจะเป็นฝ่ายประสบความสูญเสียมากกว่าอียู และเตือนว่า ถ้าหลังจากนั้นอังกฤษต้องการจะเจรจาทำข้อตกลงการค้าเสรีแบบที่อียู ทำไว้กับนอร์เวย์และสวิตเซอร์แลนด์ ก็จะทำไม่ได้ง่ายๆ
นอร์เวย์และสวิสเซอร์แลนด์ต่างมีข้อตกลงการค้าเสรีกับอียูว่าทั้ง 2 ประเทศต้องยอมจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับงบประมาณของอียู และอนุญาตให้พลเมืองของอียูเดินทางเข้าประเทศได้อย่างเสรีด้วย ซึ่งทางอียู ให้เหตุผลว่าถ้าอังกฤษขอเงื่อนไขเช่นนั้น และอียูยอม ก็เท่ากับส่งเสริมให้ประเทศอื่นๆที่อยากออกได้ออก และทำให้ฝ่ายที่อยู่อียูต่อลำบาก ผลกระทบจากการที่อังกฤษออกจากอียูจะกว้างไกลและยืดเยื้อแน่นอน
เฉพาะกระบวนการทางกฎหมายอย่างเดียวจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งฝ่ายที่สนับสนุนให้ออก หวังว่าจะใช้เวลาช่วงนี้เจรจาทำข้อตกลงการค้าเสรีกันได้ อังกฤษจะได้ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าที่ส่งไปอียู ซึ่งสูงมาก