การรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีหรือยาสำหรับผู้ป่วยเอดส์ เป็นเรื่องที่ควรรู้สำหรับผู้ป่วย ญาติ รวมทั้งผู้ดูแล (caregivers) เนื่องจากยานี้จำเป็นที่จะต้องทานไปตลอด แต่ก็มีผลข้างเคียงที่เราต้องใส่ใจเป็นพิเศษ
เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV)
โรคติดเชื้อเอชไอวีเกิดจากไวรัสตระกูลเรโทรไวรัส (Retrovirus) ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันบกพร่องส่งผลให้เกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเอชไอวีเสียชีวิต เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทางเลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด รวมทั้งน้ำนม ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกันและการใข้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวัง
การติดเชื้อเอชไอวีจัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนแล้ว ถือว่าเชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์โลก มีการคาดการว่าขณะนี้มีผู้ติดเชื้อประมาณ 30-40 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 2 ล้านคนเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
การให้ความสำคัญกับการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีส่งผลโดยตรงกับโอกาสที่เชื้อไวรัสจะดื้อยา ภูมิคุ้มกันผู้ป่วยจะกลับมาดีขึ้นและไม่เกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยเอชไอวีสามารถใช้ชีวิตได้คล้ายกับคนปกติทั่วไป ดังนั้นการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีให้ถูกวิธีจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
1. รับประทานยาตามขนาดที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอจนครบกำหนด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
2. มีวินัยในการกินยาตรงเวลา กินเวลาไหนตามสะดวกแต่ต้องเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน ระยะห่างระหว่างยาแต่ละมื้อต้องแม่นยำและเหมือนกันทุกวัน เพื่อไม่เปิดโอกาสให้เชื้อพัฒนาตนเองมาดื้อยาได้ และสามารถควบคุมเชื้อเอชไอวีได้ตลอดเวลา เพราะระดับยาในเลือดคงที่เท่ากันตลอดทุกวันเวลา
3. ยาก่อนอาหารต้องกินตอนท้องว่าง และกินก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
4. ยาหลังอาหารต้องกินหลังจากที่มีอาหารในกระเพาะอาหาร เนื่องจากยาจะถูกดูดซึมได้ดีและยังช่วยป้องกันการระคายเคืองของกระเพาะอาหารด้วย
5. ยาก่อนนอนมักเป็นยาที่มีผลทำให้ง่วงนอน หรือเวียนศีรษะ มึนงงจึงมักต้องกินก่อนนอน
6. การกินยาต้องมีการดูแลร่างกายอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นรักษาไปตลอดการรักษา เพราะยาไม่ได้ทำให้เชื้อไวรัสหมดจากร่างกาย แต่ช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อเพิ่มจำนวนขึ้น จึงต้องกินยาเพื่อควบคุมเชื้อตลอดไป ยาอาจมีผลกระทบต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงต้องมีการติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
7. ควรงดเหล้า บุหรี่ และยาเสพติด เพราะจะทำลายสุขภาพให้เสื่อมโทรม
8. ควรเก็บยาในที่แห้งและไม่ถูกแสงแดด รวมทั้งต้องเก็บให้พ้นจากมือเด็ก
9. หากผู้ป่วยรู้สึกถึงความผิดปกติของตาให้ผู้ป่วยรีบกลับมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
10. ไม่ควรอยู่ในบริเวณหรือสถานที่แออัดหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
อาการผิดปกติที่เกิดจากการกินยาต้านไวรัสที่มักพบบ่อยๆ
1. อาการการแพ้ยา
ถ้าแพ้ยาไม่รุนแรง อาจมีไข้ มีผื่นลมพิษ เยื่อบุอ่อนพองบวม เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุปาก หายใจขัดหรือหอบ การแพ้ยารุนแรงจะเกิดการช็อค หายใจไม่ทัน ขาดอากาศ หมดสติ ดังนั้นเมื่อทราบว่าเคยมีประวัติแพ้ยา ควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรก่อนรับยาต้านไวรัสเอดส์
2. อาการข้างเคียง
อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแรง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีผื่นขึ้นเล็กน้อย
อาการข้างเคียงในระยะสั้นและรุนแรง เช่น ภาวะซีด ตับหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต ซึ่งอาจพบได้ทุกช่วงของการกินยา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รีบแก้ไข ดังนั้น ต้องติดตามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด โดยการตรวจสุขภาพและตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องได้ จำเป็นต้องให้ข้อมูลแก่แพทย์และเภสัชกรให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ของตนเอง
อาการข้างเคียงในระยะยาว มักพบหลังจากกินยาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป บางรายพบได้ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี อาการข้างเคียงในระยะยาว เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย การกระจายและสะสมของไขมันผิดปกติและผิดที่ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ลำตัวอ้วน แขนขาลีบ แก้มตอบ
ทั้งนี้ควรหารือกับแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อขอคำแนะนำในการลดอาการผลข้างเคียงจากยาต้านไวรัสดังกล่าว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก pharmdiary.com
Report by LIV Capsule
ทานยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างไรให้ปลอดภัย
เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV)
โรคติดเชื้อเอชไอวีเกิดจากไวรัสตระกูลเรโทรไวรัส (Retrovirus) ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันบกพร่องส่งผลให้เกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเอชไอวีเสียชีวิต เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทางเลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด รวมทั้งน้ำนม ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกันและการใข้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวัง
การติดเชื้อเอชไอวีจัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนแล้ว ถือว่าเชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์โลก มีการคาดการว่าขณะนี้มีผู้ติดเชื้อประมาณ 30-40 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 2 ล้านคนเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
การให้ความสำคัญกับการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีส่งผลโดยตรงกับโอกาสที่เชื้อไวรัสจะดื้อยา ภูมิคุ้มกันผู้ป่วยจะกลับมาดีขึ้นและไม่เกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยเอชไอวีสามารถใช้ชีวิตได้คล้ายกับคนปกติทั่วไป ดังนั้นการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีให้ถูกวิธีจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
1. รับประทานยาตามขนาดที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอจนครบกำหนด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
2. มีวินัยในการกินยาตรงเวลา กินเวลาไหนตามสะดวกแต่ต้องเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน ระยะห่างระหว่างยาแต่ละมื้อต้องแม่นยำและเหมือนกันทุกวัน เพื่อไม่เปิดโอกาสให้เชื้อพัฒนาตนเองมาดื้อยาได้ และสามารถควบคุมเชื้อเอชไอวีได้ตลอดเวลา เพราะระดับยาในเลือดคงที่เท่ากันตลอดทุกวันเวลา
3. ยาก่อนอาหารต้องกินตอนท้องว่าง และกินก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
4. ยาหลังอาหารต้องกินหลังจากที่มีอาหารในกระเพาะอาหาร เนื่องจากยาจะถูกดูดซึมได้ดีและยังช่วยป้องกันการระคายเคืองของกระเพาะอาหารด้วย
5. ยาก่อนนอนมักเป็นยาที่มีผลทำให้ง่วงนอน หรือเวียนศีรษะ มึนงงจึงมักต้องกินก่อนนอน
6. การกินยาต้องมีการดูแลร่างกายอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นรักษาไปตลอดการรักษา เพราะยาไม่ได้ทำให้เชื้อไวรัสหมดจากร่างกาย แต่ช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อเพิ่มจำนวนขึ้น จึงต้องกินยาเพื่อควบคุมเชื้อตลอดไป ยาอาจมีผลกระทบต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงต้องมีการติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
7. ควรงดเหล้า บุหรี่ และยาเสพติด เพราะจะทำลายสุขภาพให้เสื่อมโทรม
8. ควรเก็บยาในที่แห้งและไม่ถูกแสงแดด รวมทั้งต้องเก็บให้พ้นจากมือเด็ก
9. หากผู้ป่วยรู้สึกถึงความผิดปกติของตาให้ผู้ป่วยรีบกลับมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
10. ไม่ควรอยู่ในบริเวณหรือสถานที่แออัดหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
อาการผิดปกติที่เกิดจากการกินยาต้านไวรัสที่มักพบบ่อยๆ
1. อาการการแพ้ยา
ถ้าแพ้ยาไม่รุนแรง อาจมีไข้ มีผื่นลมพิษ เยื่อบุอ่อนพองบวม เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุปาก หายใจขัดหรือหอบ การแพ้ยารุนแรงจะเกิดการช็อค หายใจไม่ทัน ขาดอากาศ หมดสติ ดังนั้นเมื่อทราบว่าเคยมีประวัติแพ้ยา ควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรก่อนรับยาต้านไวรัสเอดส์
2. อาการข้างเคียง
อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแรง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีผื่นขึ้นเล็กน้อย
อาการข้างเคียงในระยะสั้นและรุนแรง เช่น ภาวะซีด ตับหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต ซึ่งอาจพบได้ทุกช่วงของการกินยา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รีบแก้ไข ดังนั้น ต้องติดตามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด โดยการตรวจสุขภาพและตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องได้ จำเป็นต้องให้ข้อมูลแก่แพทย์และเภสัชกรให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ของตนเอง
อาการข้างเคียงในระยะยาว มักพบหลังจากกินยาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป บางรายพบได้ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี อาการข้างเคียงในระยะยาว เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย การกระจายและสะสมของไขมันผิดปกติและผิดที่ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ลำตัวอ้วน แขนขาลีบ แก้มตอบ
ทั้งนี้ควรหารือกับแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อขอคำแนะนำในการลดอาการผลข้างเคียงจากยาต้านไวรัสดังกล่าว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก pharmdiary.com
Report by LIV Capsule