พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) โครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน CONNEXT ED (Leadership Program for Sustainable Education) ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2559 ณ ตึกสันติไมตรี
โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี, นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ, พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน, ผู้บริหารฝ่ายการเมือง, ผู้บริหารองค์กรหลัก, คณะกรรมการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ, ผู้บริหารองค์กรภาคเอกชน, ผู้แทนภาคประชาสังคม, ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียนและนักศึกษา เข้าร่วมงาน
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน กล่าวว่า โครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน CONNEXT ED เป็นโครงการภายใต้นโยบายสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ โดยเป็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของความร่วมมือที่ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
โครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน CONNEXT ED คือ การที่ผู้นำรุ่นใหม่จำนวน 1,000 คน จาก 12 องค์กรภาคเอกชนที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ จะทำหน้าที่ 2 ประการ คือ เป็น School Partners ให้กับสถานศึกษาทั่วประเทศ ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมและดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ ซึ่ง School Partners ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนทั่วประเทศ มีหลักการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ 1) สนับสนุนการดำเนินงานของผู้บริหารสถานศึกษาให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ (Enable) 2) ร่วมเสนอแนวทางพัฒนาโรงเรียนเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน (Enhance) 3) สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน (Engage)
อีกทั้งจะมีผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชนทำหน้าที่เป็น School Sponsor โดยให้ข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์ รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐที่เข้าร่วมโครงการในปีแรกนี้จำนวน 3,342 โรงเรียน และคาดว่าจะขยายผลการดำเนินโครงการไปยังโรงเรียน 7,424 โรงเรียน ทุกตำบลทั่วประเทศภายในปี พ.ศ.2561
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ https://www.youtube.com/watch?v=SwrbtBvW1iE
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://goo.gl/wcwOXf
MoU โครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED)
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) โครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน CONNEXT ED (Leadership Program for Sustainable Education) ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2559 ณ ตึกสันติไมตรี
โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี, นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ, พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน, ผู้บริหารฝ่ายการเมือง, ผู้บริหารองค์กรหลัก, คณะกรรมการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ, ผู้บริหารองค์กรภาคเอกชน, ผู้แทนภาคประชาสังคม, ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียนและนักศึกษา เข้าร่วมงาน
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน กล่าวว่า โครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน CONNEXT ED เป็นโครงการภายใต้นโยบายสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ โดยเป็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของความร่วมมือที่ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
โครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน CONNEXT ED คือ การที่ผู้นำรุ่นใหม่จำนวน 1,000 คน จาก 12 องค์กรภาคเอกชนที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ จะทำหน้าที่ 2 ประการ คือ เป็น School Partners ให้กับสถานศึกษาทั่วประเทศ ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมและดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ ซึ่ง School Partners ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนทั่วประเทศ มีหลักการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ 1) สนับสนุนการดำเนินงานของผู้บริหารสถานศึกษาให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ (Enable) 2) ร่วมเสนอแนวทางพัฒนาโรงเรียนเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน (Enhance) 3) สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน (Engage)
อีกทั้งจะมีผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชนทำหน้าที่เป็น School Sponsor โดยให้ข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์ รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐที่เข้าร่วมโครงการในปีแรกนี้จำนวน 3,342 โรงเรียน และคาดว่าจะขยายผลการดำเนินโครงการไปยังโรงเรียน 7,424 โรงเรียน ทุกตำบลทั่วประเทศภายในปี พ.ศ.2561
ที่มา[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้