[แตกประเด็น 35293418] เท่าเทียมทางกฏหมายไม่ใช่จับคนรวยหรืออภิสิทธิ์ชนเข้าคุก






จากคำพูดที่ว่า เท่าเทียม ไม่จำเป็นต้อง เท่ากัน นั้น อาจยังสามารถให้คำจำกัดความได้มากมาย แต่ถ้าจะให้พูดกันไปตรงๆว่า - การเท่าเทียม ไม่จำเป็นต้องมีฐานะทางการเงินเสมอกัน - การเท่าเทียม ไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาเท่าเทียมกัน - การเท่าเทียม ไม่จำเป็นมีอาชีพเดียวกัน มีการค้าเหมือนกัน หรือได้รับผลการปฏิบัติจากสังคม และทางกฏหมายเหมือนๆกัน

แต่การเท่าเทียมนั้น หมายถึง ไม่ว่าคุณจะมีฐานะอย่างไร อาชีพอะไร หรือพื้นเพมาจากจังหวัดไหน หากคุณเป็นคนไทย คนไทยย่อมได้รับความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน

ความเสมอภาคนั้น เน้นหนักไปทางด้าน โอกาสในการเข้าถึงทรัพยการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การลงทุน การศึกษา การประกอบอาชีพ การได้รับการรักษาพยามบาล การได้สิทธิคุ้มครองในชีวิตและทรัพย์สิน การคุ้มครองการมีชีวิตที่เป็นปรกติสุข ฯลฯ

จากกระทู้ที่แตกประเด็นมานั้น พูดถึงการไม่เท่าเทียมกัน ในแง่ของการบังคับใช้กฏหมาย และการมีอภิสิทธิ์ชน (ไม่ขอพูดเรื่องคดีความหรือการคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นนะ)

ความคิดเห็นที่ 2
โทดทีเถอะ มีประเทศไหนในโลกที่มันทำแบบนั้นได้จริงหรือครับ ???

13ASARA


เป็นความคิดที่ตรงไปตรงมาดี

ประเทศไหนในโลก จะทำให้ประชาชนอิ่มเท่ากัน ??
ประเทศไหน ทำให้ประชาชนได้กำไรเท่ากันแล้ว พอใจอยู่แค่นั้น??


ตามความเห็นเรา แม้สิ่งที่คุณสมาชิกหมายเลข 2228793 กล่าวออกมา เป็นเรื่องจริง 100% แต่ก็ยังไม่ได้พูดถึงความเท่าเทียม หรือความเสมอภาค หรือความเหลื่อมล้ำ ของประเทศอย่างแท้จริง

น่าจะเรียกว่า เป็นการคอรัปชั่นส่วนหนึ่ง การปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฏหมายส่วนหนึ่ง และปัญหาความยุติธรรมอีกส่วนหนึ่ง ฯลฯ ซึ่งทั้งหลาย อาจจะมีให้เห็นทั่วไปในกรณีของอภิสิทธิ์ชน แต่ยังไม่ใช่ความเสมอภาค หรือความเท่าเทียมอย่างแท้จริง

ความเสมอภาค และการเท่าเทียม 100% ในความเป็นจริงนั้น "ไม่มีในโลก" แม้ในโลกที่เจริญทางวัตถุ หรือวัฒนธรรม ก็ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ในหลายๆสิ่ง ที่ประกอบกันเป็นสังคม ไม่ว่าจะเป็นการไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษา คือ คนรวยได้เรียนที่ดีๆ คนจนได้เรียนที่ไม่ดี หรือคนที่เรียน Oxford ก็ไม่ใช่คนที่เรียนเก่งเสมอไป แต่ใช่ ถ้าคุณเก่ง คุณก็มีสิทธิเรียนที่นั่นได้

การเป็นทหารรับจ้าง (Marine) ที่ผ่านสงครามเสียดนาม หรืออีรัก กลับมาอย่าง Hero ก็จะกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนใน America ผู้ที่ได้รับเหรียญกล้าหาญ คนที่รับราชการจนเกษียณ สามารถเดินทางทั่วสหรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียค่ารถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบ้าน คนที่ประกอบกรรมดี แล้วเป็นอานิสสงค์ไปชั่วลูกชั่วหลาน ก็มี เหล่านี้ ยังคงมีอยู่ ในประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์

แต่การเป็นอภิสิทธิชนนั้น ของเขาจะไม่สามารถก้าวล่วงสิทธิ หรือเสรีภาพของผู้อื่นได้ เช่น เมื่อประกอบความผิดก็ต้องได้รับโทษตามกฏหมาย

ประเทศที่ไม่มีอะไรแบบนี้เลย ก็จีนไง ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่น ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฏหมายเดียวกัน คือทหาร
ดังนั้น การสร้างความเสมอภาที่แท้จริงนั้น คือการ "ลดความเหลื่อมล้ำให้เหลือน้อยที่สุด" แต่ไม่ใช่เป็นการบังคับให้เท่ากันด้วยกฏหมาย


ความเหลื่อมล้ำทางด้านกฏหมายนั้น ก็ไม่ใช่ว่า ทุกคนที่ทำผิดแบบเดียวกันจะต้องถูกลงโทษเหมือนกันโดยไม่พิจารณาถึงหลักฐาน หรือข้อพิพาทต่างๆ แต่เป็นการที่ ประชาชน สามารถเข้าถึง และใช้สิทธิตามกฏหมายได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งก็คือ การมีทนาย ที่ทำหน้าที่รักษาสิทธิแก่ประชาชนที่อาจจะไม่รู้เรื่องกฏหมาย

ทุกวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจอยากจะจับใคร ฟ้องใครอย่างไร ก็ได้ การว่าจ้างทนายรัฐ ต้องทำเรื่องร้องขอไปยังสภาทนายความ หากผู้ต้องสงสัยไม่รู้ถึงกระบวนการ ก็สามารถถูกดำเนินคดี โดยไม่มีโอกาสเจอทนายด้วยซ้ำ หรือการส่งข้อร้องเรียนไปแล้ว ก็ไม่ได้รับการดำเนินการใดๆ จากองกรณ์ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ

การแก้ไขปัญหา ณ จุดนี้ สมควรหรือไม่ว่า ต้องมีกฏหมายคุ้มครองผู้ต้องสงสัย ในขณะที่ยังไม่ได้เป็นผู้ต้องหา (ใช้ศัพท์ถูกป่าวหว่า)

ส่วนการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็น่าจะมีกฏหมายปปชอยู่แล้ว แต่ประชาชนอย่างเราจะร้องเรียนได้ที่ไหนอย่างไร ก็ดูจะเป็นเรื่องยากใช่ไหม?
ทำไมไม่มีหน่วยงานอะไรที่ดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานของ จนท โดยไม่ต้องมีผู้ร้องเรียน


พูดง่ายๆ คือ การส่งข้อร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษร หมายถึง ประชาชนอย่างเราๆ ต้องพยายามหาหลักฐาน ในการกระทำผิด แต่จะเป็นไปได้อย่างไร เพราะเราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นของหน่วยงานราชการอยู่แล้ว


แต่ไม่ว่าจะมีหน่วยงานต่างๆเหล่านี้หรือไม่อย่างไร เมื่อดำเนินงานไปเจอตอ ก็ต้องหยุดด้วยกันทั้งนั้น ตรงส่วนนี้ตะหาก ที่เราควรต้องแก้ไข มากกว่าการที่ให้คนรวยเข้าคุก"บ้าง" เพราะหากอภิสิทธิชน สามารถใช้สิทธิได้ตามกฏหมาย ก็สมควรปล่อยให้เขาใช้สิทธินั้น หากแต่คนจนย่อมมีโอกาสได้ใช้สิทธิที่ตัวเองมีได้อย่างเสมอกันมากกว่า




ปล. เล่าให้ฟังเฉยๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่