CTH กำลังจะล่มสลาย จริงหรือ ?





หลายคนคงสงสัยว่า คุณวิชัย ทองแตง ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปั้นดินให้เป็นดาว และนักเล่นหุ้นมือระดับต้นๆของประเทศไทย มาเสียท่าให้กับการทำธุรกิจเคเบิลทีวี ในชื่อ CTH ได้อย่างไร ใครเป็นคนพาคุณวิชัยมาตกที่นั่งลำบากในวัย 70 ปี หรือคุณวิชัยอยากฝากผลงานชิ้นสำคัญ (The Last Master Pice) ก่อนวางมือไปเลี้ยงหลานเอง

เขยสมุทรสาคร

ก่อนอื่นต้องบอกว่า คุณวิชัย ทองแตง เป็นเขยจังหวัดสมุทรสาคร ทุกวันนี้มีบ้านปลูกอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง และยังกลับบ้านไปนอนที่สมุทรสาครทุกวัน ในวันหยุด ก็จะไปเดินจ่ายตลาด ที่ตลาดสดแม่กลอง ใส่กางเกงขาสั้น ลากลองเท้าแตะ เดินตามหลังคุณแม่บ้าน ถือตะกล้าเพื่อให้คุณแม่บ้านจ่ายตลาด เพื่อมาทำอาหารทานที่บ้านกับครอบครัว อย่างมีความสุขไม่เคยขาด

คุณวิชัย เกี่ยวข้องกับเคเบิลท้องถิ่นได้อย่างไร

ถัดจากบ้านคุณวิชัย ไม่เกิน 100 เมตร เป็นบ้านของคุณสุรพล ซีประเสริฐ อดีตนายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ที่มีศักดิ์เป็น น้าเขยของคุณวิชัย คงพอมองเห็นความเกี่ยวพันกันแล้วนะครับว่า คุณวิชัยจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเคเบิลทีวีได้อย่างไร

ต้นเหตุมาจากเรื่องลิขสิทธิ์

คุณสุรพล เดิมมีอาชีพทำประมง เป็นไต้ก๋ง ออกเรือไปหาปลาในท้องทะเล เคยมีตำแหน่งเป็นนายกสมาคมประมง จังหวัดสมุทรสาคร และเคยเป็นเลขาธิการสมาคมประมงแห่งประเทศไทย และเป็นคนทำโครงการน้ำมันเขียว ให้กับชาวประมง เพื่อให้ชาวประมงทั่วประเทศ ได้ใช้น้ำมันเขียวในราคาถูก คุณสุรพล เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเคเบิลทีวี เพราะทำเคเบิลท้องถิ่นอยู่ที่อำเภอกระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร มากว่า 15 ปี และต่อมาได้เข้ามาร่วมก่อตั้งบริษัท เคเบิลไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีชื่อย่อว่า CTH เพื่อมาแก้ปัญหา ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นถูกกล่าวหาว่าเป็น "เคเบิลเถื่อน" เพราะไปละเมิดลิขสิทธิ์ช่องรายการของ True Vision และเจ้าของลิขสิทธิ์รายอื่นๆเป็นประจำ

เคเบิลท้องถิ่นถูกรังแกเป็นประจำ

สาเหตุที่เคเบิลท้องถิ่นต้องไปละเมิดลิขสิทธิ์เพราะ เคเบิลท้องถิ่นแต่ละราย เป็นรายเล็ก ไม่สามารถไปเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการดีๆจากต่างประเทศมาให้บริการกับสมาชิกได้ หรือบางทีไปซื้อมาได้ ก็จะถูกเคเบิลเจ้าใหญ่ระดับชาติ เข้าไปเจรจาแย่งซื้อต่อ โดยเสนอให้ราคาที่สูงกว่า และขอซื้อแบบผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว หรือไม่ยอมให้เจ้าของลิขสิทธิ์ แบ่งขายลิขสิทธิ์ให้เคเบิลท้องถิ่น สุดท้ายเมื่อเคเบิลท้องถิ่นซื้อลิขสิทธิ์แบบถูกต้องไม่ได้ ก็ต้องขโมยเอา เคเบิลท้องถิ่นเคยพยายามเรียกร้องให้ภาครัฐช่วยเหลือในเรื่องการป้องกันไม่ให้มีการซื้อลิขสิทธิ์แบบผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว เหมือนในต่างประเทศเขาทำกัน แต่ไม่เคยได้ผล เพราะภาครัฐไม่เคยดำเนินการใดๆให้ โดยถือว่าเป็นการแข่งขันโดยเสรี หากเคเบิลท้องถิ่นละเมิดลิขสิทธิ์ก็จะเอา 7 หน่วยงานของทางราชการคือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมประชาสัมพันธ์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง มาปราบ และสั่งปิดกิจการ เพื่อไม่ให้ดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยมีคนสงสัยว่า แค่ปราบเคเบิลท้องถิ่น ทำไมจึงต้องระดมถึง 7 หน่วยงาน หรือจะมี Sponsor หลักในการดำเนินการ เป็นผู้อำนวยการจัดการอยู่เบื้องหลัง

เคเบิลท้องถิ่นต้องช่วยตนเอง

เมื่อหาใครช่วยแก้ไขปัญหาไม่ได้ คุณเกษม อินทร์แก้ว นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยในสมัยนั้น จึงต้องประชุมผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศ เพื่อช่วยเหลือกันเอง โดยการจัดตั้ง บริษัท เคเบิลไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ CTH ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมเงินไปซื้อลิขสิทธิ์จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำช่องรายการที่ซื้อมาได้ มาขายต่อให้กับผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศ ในราคาที่เป็นธรรม เพื่อป้องกันไม่ให้เคเบิลท้องถิ่นไปละเมิดลิขสิทธิ์รายอื่น โดย CTH จะไม่ทำเคเบิลทีวีแข่งกับผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่น

CTH เริ่มต้นด้วยเงิน 50 ล้านบาท

การตั้ง CTH ในระยะเริ่มต้น เป็นการลงทุนร่วมกันของผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นประมาณ 120 ราย (ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาถือหุ้น) โดยต้องการวงเงินลงทุนเบื้องต้น 50 ล้านบาท และมีข้อกำหนดที่สำคัญคือ ผู้ถือหุ้น 1 รายจะถือหุ้นได้ไม่เกิน 2 ล้านบาท เพื่อป้องกันไม่ให้มีใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มาเอาเปรียบรายอื่น และเป้าหมายของบริษัท ต้องการให้บริษัท มีรายได้เท่ากับรายจ่าย หรือมีกำไรเพียงเล็กน้อย เพื่อกระจายกำไรไปสู่ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นโดยรวม

CTH เริ่มต้นด้วยการเป็น Content Provider

ในการดำเนินการครั้งแรก CTH สามารถเจรจาซื้อลิขสิทธิ์จากทั้งในประเทศและต่างประเทศมาได้ 16 ช่อง และส่งขายให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศ (Content Provider) ส่งผลให้เคเบิลท้องถิ่นมีช่องรายการลิขสิทธิ์ที่ถูกกฎหมายเพิ่มขึ้น การละเมิดลิขสิทธิ์ช่องรายการ จากเจ้าของช่องรายอื่นๆ เริ่มลดลง

CTH ต้องการเพิ่มทุน

ต่อมา CTH ต้องการที่จะเพิ่มคุณภาพช่องรายการ และต้องการซื้อช่องลิขสิทธิ์ช่องรายการเพิ่มเติม จึงระดมเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 150 ล้านบาท แต่ด้วยนโยบายที่ไม่ต้องการให้ CTH มีกำไรมาก และด้วยข้อจำกัดของข้อกำหนดให้ ผู้ถือหุ้น 1 รายจะถือหุ้นได้ไม่เกิน 2 ล้านบาท ทำให้การระดมทุนไม่สามารถระดมได้ตามเป้าหมาย จึงมีการแก้ข้อกำหนดให้ ผู้ถือหุ้น 1 รายถือหุ้นได้ไม่จำกัด และอนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาถือหุ้นเพิ่มทุนได้

คุณวิชัยถูกขอร้องให้เข้ามาช่วย


คุณสุรพล ต้องการสนับสนุนโครงการ CTH ให้สำเร็จ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นโดยรวม จึงมีการระดมเพื่อนฝูงเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน จนกลุ่มคุณสุรพล กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน CTH และมีอำนาจในการบริหารงานโดยเด็ดขาด โดยในกลุ่มเพื่อนของคุณสุรพลที่เข้ามาร่วมระดมทุน ก็มีคุณวิชัย ทองแตง เข้ามาร่วมลงทุนด้วย โดยคุณสุรพล เป็นผู้เดินจากบ้านที่ริมแม่น้ำแม่กลองไปชวนด้วยตนเอง และขอให้คุณวิชัยมาเป็นที่ปรึกษา CTH เพื่อร่วมกันวางแผนช่วยเคเบิลบ้านนอกให้ลืมตาอ้าปากให้ได้

CTH กลายเป็น Operator


เมื่อคุณวิชัย ได้เข้ามาเป็นที่ปรึกษา CTH จึงส่งคุณกฤษณัน งามผาติพงศ์ (ต่อมาเป็น CEO คนแรกของ CTH) พร้อมทีมงานเข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ CTH และพบว่า ด้วยโครงสร้างที่เข้มแข็งของผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่น โดยมีสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยเป็นแกนกลาง น่าจะมีช่องทางในการนำผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นเป็นฐานในการทำเคเบิลทีวีระดับชาติได้ โดยการปรับแนวคิดจาก การให้ CTH ไปซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการมาขายต่อให้กับเคเบิลท้องถิ่น (Content Provider) มาเป็นการเอา CTH มาทำธุรกิจเคเบิลทีวีระดับชาติ (Operator) โดยตรง เพื่อแข่งกับ True Vision และเพื่อยกระดับการให้บริการของเคเบิลท้องถิ่นโดยรวมให้มีมาตรฐาน โดยเปลี่ยนระบบการให้บริการเคเบิลท้องถิ่นจากระบบ Analog ไปสู่ Digital โดย CTH จะเป็นผู้ลงทุนระบบ Digital ให้เอง

ความบังเอิญครั้งที่ 1

เรื่องนี้มีความบังเอิญครั้งที่ 1 ที่ทำให้คุณวิชัย ตัดสินใจลงทุนใน CTH ได้ง่ายขึ้นคือ ในปี 2555 กสทช. กำลังจะออกใบอนุญาตประกอบกิจการเคเบิลทีวีระดับชาติ โดยถูกต้องตามกฎหมายเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยใบอนุญาตดังกล่าวจะมีอายุ 15 ปี ซึ่งจะเป็นใบอนุญาตเดียวกันกับที่ True Vision จะมีในอนาคตเช่นกัน งานนี้หาก CTH จับมือกับเคเบิลท้องถิ่นได้ CTH ก็จะโตอย่างรวดเร็ว เพราะมีเคเบิลท้องถิ่นเป็นฐานผู้ประกอบกิจการกว่า 350 ราย กระจายอยู่ทั่วประเทศ ส่วนเคเบิลท้องถิ่นก็จะสามารถทำเคเบิลทีวีต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ถูกรังแกเรื่องการแย่งซื้อลิขสิทธิ์เหมือนในอดีตอีกต่อไป เพราะมีคุณวิชัย เป็นผู้สนับสนุน

ความบังเอิญครั้งที่ 2

เมื่อแนวคิดในการทำ CTH เปลี่ยนจากการเป็น Content Provider มาเป็น Operator หัวใจของการเป็นผู้ประกอบกิจการเคเบิลทีวีคือ ช่องรายการ และถ้า CTH จะแข่งกับ True Vision ก็ต้องเอาช่องรายการที่เป็นหัวใจของ True Vision มาให้ได้ นั้นคือการแย่งซื้อลิขสิทธิ์ การถ่ายทอดสด Premier League มาให้ได้ เรื่องนี้ก็เป็นความบังเอิญครั้งที่ 2 ที่ลิขสิทธิ์ดังกล่าว ของ True Vision จะหมดในเดือน พฤษภาคม 2556 ดังนั้น หากจะล้ม True Vision คุณวิชัยจะต้องไปประมูลเอาลิขสิทธิ์ Premier League มาให้ได้ เพราะการประมูลจะเกิดขึ้นในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2555

ได้ ไทยรัฐเข้ามาร่วมโครงการ

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า โครงการดังกล่าวจะต้องประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน คุณวิชัย จึงเพิ่มทุน CTH เป็น 300 ล้านบาท และเพิ่มอีกครั้ง เป็น 1,000 ล้านบาท เพื่อเปิดโอกาสให้ Grammy และ ไทยรัฐ เข้ามาร่วมลงทุนด้วย แต่ไม่สามารถตกลงกับ Grammy ได้ จึงจับมือกับ ไทยรัฐ เพียงรายเดียว เพื่อมาเป็น 3 ขาร่วมกับเคเบิลท้องถิ่น โดยคุณวิชัยลงทุนเพิ่ม 250 ล้านบาท ไทยรัฐลง 250 ล้านบาท ทำให้ CTH มีทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 800 ล้านบาท ส่วนอีก 200 ล้านรอไว้หารายอื่นเข้ามาร่วมแทน Grammy

ได้ลิขสิทธิ์ Premier League

หลังจากได้พันธมิตรอย่างไทยรัฐเข้ามาถือหุ้นด้วย คุณวิชัยก็เหมือนเสือติดปีก การไปประมูลเอาลิขสิทธิ์ Premier League เป้าหมายของคุณวิชัยคือ "เอามาให้ได้" จึงเป็นที่มาของการสู้ราคาครั้งประวัติศาสตร์ ที่ค่าประมูลเพิ่มจาก 2,500 ล้านบาท เป็น 10,000 ล้านบาท โดยมี ธนาคารกรุงเทพ และไทยรัฐ เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ

CTH มั่นใจเต็ม 100

เมื่องานใหญ่ทำสำเร็จ 3 เรื่องคือ ได้ CTH มาบริหารอย่างเต็มรูปแบบ ได้ไทยรัฐมาเป็นผู้ถือหุ้นเพิ่ม และได้ Premier League มาไว้อยู่ในมือ ทำให้ผู้บริหาร CTH มีความมั่นใจว่าจะสามารถแย่งฐานสมาชิกของ True Vision มาได้อย่างแน่นอน และจะสามารถเพิ่มฐานสมาชิกได้ถึง 10 ล้านครัวเรือนภายในเวลา 3 ปี เมื่อ 3 ก้าวแรกที่เดินไปประสบผลสำเร็จ ความมั่นใจจึงเต็ม 100 จนเป็นที่มาของความผิดพลาดของ CTH ในเวลาต่อมา

ความผิดพลาดครั้งที่ 1

เมื่อ CTH มีความมั่นใจสูง จึงมั่นใจว่า เคเบิลท้องถิ่นทุกรายจะต้องเข้าร่วมโครงการกับ CTH อย่างแน่นอน ดังนั้นการตั้งเงื่อนไขเพื่อให้เคเบิลท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการ จึงมีการตั้งแบบไม่ง้อเคเบิลท้องถิ่น นั้นคือ

1) เคเบิลท้องถิ่นที่จะเข้าร่วมโครงการ จะต้องส่งรายชื่อฐานสมาชิกทั้งหมดมาให้ CTH เพื่อยืนยันจำนวนฐานสมาชิก เพื่อ CTH จัดส่งกล่องรับสัญญาณระบบ Digital DVB-C ไปให้ติดตั้งกับสมาชิก "ฟรี" โดยลูกค้าที่ไม่ได้ส่งรายชื่อจะไม่ได้กล่อง Digital ฟรี

2) ต้องให้สมาชิกทั้งหมดของเคเบิลท้องถิ่น ที่ติดตั้งกล่อง Digital ของ CTH กรอกใบสมัครใหม่เพื่อเปลี่ยนมาสมัครเป็นสมาชิกของ CTH โดยตรง

3) CTH จะเป็นผู้วางบิล เพื่อเรียกเก็บเงินจากสมาชิกเอง และจะโอนส่วนแบ่งรายได้ให้ เคเบิลท้องถิ่นในภายหลัง

จากข้อกำหนดทั้ง 3 ข้อ CTH ไม่อนุญาตให้มีการต่อรอง หรือแก้ไขใดๆ เคเบิลท้องถิ่นรายใดจะมาก็มาเข้าร่วมก็มา รายใดจะไม่มาเข้าร่วมก็ไม่ต้องมา หากเปลี่ยนใจจะมาเข้าร่วมในภายหลัง จะเจอเงื่อนไขที่หนักกว่านี้อีก ซึ่งตามแนวทางที่ CTH เสนอให้กับเคเบิลท้องถิ่น จะทำให้เคเบิลท้องถิ่นเปลี่ยนสถานะจาก การเป็นเจ้าของกิจการ (Operator) ที่มีอำนาจตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียวมา 30 ปี ต้องกลายไปเป็นศูนย์บริการของ CTH เหมือนกับศูนย์บริการรถโตโยต้า ประจำจังหวัด ไม่สามารถมีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเองได้อีกต่อไป จึงทำให้ เคเบิลท้องถิ่นประมาณ 50% ไม่ยอมเข้าร่วมโครงการกับ CTH โดยยอมไปตายข้างหน้า ทำให้มีผู้เข้าร่วมโครงการเพียงประมาณ 170 ราย จากทั้งหมด 350 ราย ซึ่งทำให้คุณวิชัย ผิดหวังมาก จึงตัดสินใจเปิดเจรจากับผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจเคเบิลท้องถิ่นร่วมกับ CTH เพื่อแข่งกับเคเบิลท้องถิ่นที่ไม่เข้าร่วมโครงการกับ CTH ซึ่งเป็นการเปิดศึกกับเคเบิลท้องถิ่นแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน จึงเป็นที่มาของการแตกแยกในกลุ่มผู้ประกอบกิจการเคเ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่