พอดีไปเจอบทความเกี่ยวกับ CTH อยากให้เพื่อนๆลองอ่านกันครับ ส่วนตัวผมสัมผัสได้ถึงเรื่องจริง โดยเฉพาะเรื่องบิล อันนี้ถูกต้องแน่นอน
เครดิตจากอิสรานิวนะครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในวงการนักเล่นหุ้น หรือนักลงทุน ใครๆก็ต้องรู้จักคุณวิชัย ทองแตง ในฐานะเซียนหุ้นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย เพราะสามารถปั้นดินให้เป็นดาวได้ เนื่องจาก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไร มีปัญหามากแค่ไหน หากได้คุณวิชัยเข้าไปจับ หรือเข้าไปซื้อ หรือเข้าไปร่วมลงทุน ตัวคุณวิชัยมักจะสามารถทำกำไรได้เสมอ ดังนั้น ใครๆจึงจ้องมองว่า คุณวิชัยจะตัดสินใจเข้าไปช้อน หรือเข้าไปลงทุนในธุรกิจอะไร จะได้ตามน้ำร่วมลงทุนไปด้วยโดยหวังว่า จะสามารถทำกำไรได้เช่นเดียวกับคุณวิชัยบ้าง
เข้ามาเกี่ยวข้องกับ CTH ได้อย่างไร
ในปี 2553 สมัยที่มีคุณเกษม อินทร์แก้ว เป็นนายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มก่อตั้งบริษัท เคเบิลไทยโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) หรือ CTH ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นบริษัทกลางในการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำมาขายต่อให้กับผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศ ที่มีอยู่ประมาณ 350 ราย โดยครั้งแรกมีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท เมื่อบริหารงานไปได้ระยะหนึ่ง มีการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการเข้ามามากขึ้น จึงมีความต้องการเงินลงทุนเพิ่มขึ้น
ในขณะนั้น คุณสุรพล ซีประเสริฐ (อดีตเลขาธิการสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เจ้าของโครงการน้ำมันเขียว ผู้มีศักดิ์เป็นอาของคุณวิชัย ทองแตง มีบ้านอยู่ติดกันที่ริมแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร) เป็นผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่น และเป็นกรรมการ CTH ด้วย จึงอาสาที่จะไปเชิญคุณวิชัยให้เข้ามาร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมเคเบิลท้องถิ่นให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต เพื่อให้เคเบิลท้องถิ่นร่ำรวยตามไปด้วย ซึ่งเดิมคุณวิชัย ไม่เคยรู้จักธุรกิจเคเบิลท้องถิ่น และไม่เคยสนใจที่จะลงทุนในด้านนี้เลย แต่ด้วยความเกรงใจคุณสุรพล จึงส่งทีมงาน โดยมีคุณกฤษณัน งามผาติพงษ์ เข้ามาศึกษาการทำธุรกิจเคเบิลท้องถิ่น เพื่อนำเสนอแนวทางและหาช่องทางในการร่วมมือกันในอนาคต
โครงการ The Last Master Piece
หลังจากที่ทีมงานคุณกฤษณัน เข้ามาศึกษา มีการเจรจาและร่วมประชุมกันกับทีมงานผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นหลายครั้ง จึงมองเห็นช่องทางที่จะพัฒนา CTH ให้เป็นบริษัทที่จะนำเคเบิลท้องถิ่นให้เป็นเคเบิลทีวีระดับชาติเหมือนกับ True Vision ได้
คุณวิชัยจึงสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนใน CTH อย่างจริงจังโดยมีข้อเสนอว่า หากจะพัฒนา CTH ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป จะต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานของ CTH ใหม่ทั้งหมด จากเดิมที่ให้ CTH ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการแล้วเอามาขายต่อให้เคเบิลท้องถิ่น (Content Provider) เพื่อนำมาให้บริการกับสมาชิกในแต่ละสถานี ในระบบแอนะล็อกเหมือนเดิม ให้เปลี่ยนมาเป็นการใช้ CTH เป็นบริษัทแม่ ทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการเคเบิลทีวีระดับชาติ (Operator) โดยให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นแต่ละรายทำหน้าที่เป็นสำนักงานสาขาหรือตัวแทน (Dealer) ประจำจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ รับสัญญาณเคเบิลทีวีในระบบดิจิทัลจาก CTH โดยตรง เพื่อความเป็นเอกภาพ และมีมาตรฐานเดียวกัน จากนั้นจึงส่งสัญญาณต่อไปให้บริการกับสมาชิก
สำหรับเรื่องการบริหารสถานีกลาง การบริหารการตลาด การประชาสัมพันธ์ การบริหารระบบบัญชี การหาแหล่งเงินทุน การหาลิขสิทธิ์ช่องรายการ การออกบิลเก็บเงิน และอื่นๆ ทาง CTH จะทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบเอง เพื่อให้ระบบการให้บริการเคเบิลท้องถิ่นมีความทันสมัย สามารถตรวจสอบได้ โดยผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการโครงข่าย ผู้ติดตั้ง และบริการหลังการขาย โดยจะได้รับส่วนแบ่งรายได้จาก CTH ตามสัดส่วนที่ได้ตกลงกัน
งานนี้คุณวิชัย มีความมั่นใจสูงมากว่า จะสามารถทำให้สำเร็จได้อย่างแน่นอน โดยคุณวิชัย ตั้งใจไว้ว่า จะฝากผลงาน CTH ให้เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของชีวิต โดยทุกคนจะรู้จักโครงการนี้ในนาม The Last Master Piece ของคุณวิชัย ทองแตง
เพิ่มทุนใน CTH
เมื่อทุกอย่างมีความชัดเจนแล้ว แนวทางการทำงานจึงถูกกำหนดออกมาในช่วงปลายปี 2554 ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใน CTH จากเดิมที่มีเฉพาะผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศร่วมกันเป็นผู้ถือหุ้นหลัก จำนวนประมาณ 120 ราย โดยมีทุนจดทะเบียนรวมกัน 50 ล้าน ต่อมาจึงมีการเพิ่มทุนเป็น 150 ล้านและ 300 ล้านตามลำดับ
สุดท้ายคุณวิชัยก็กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ CTH และได้คุมอำนาจบริหารใน CTH อย่างเด็ดขาด และคุณวิชัยได้เป็นประธาน CTH ส่วนคุณสุรพล เป็นรองประธาน CTH
CTH ยึดสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย
เมื่อจะเดินงานใน CTH แบบเต็มตัว โดยมีผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นเป็นฐานที่สำคัญ CTH จึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย คุณสุรพล ซีประเสริฐ ที่มีตำแหน่งเป็นรองประธานบริษัท CTH ในขณะนั้นจึงได้รับการสนับสนุนให้เป็นนายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย เพื่อจะได้ทำหน้าที่กำกับดูแลให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่น ให้อยู่ในเส้นทางที่ CTH ต้องการ
จากนั้น CTH ก็ใช้สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยเป็นฐานกำลังในการวางแผนเดินสายตะเวนจัดประชุม พูดคุยกับผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ หรือเรียงตัวคุย เพื่อเชิญชวนให้เคเบิลท้องถิ่นทั้ง 350 รายทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการกับ CTH โดยคุณวิชัย ได้เสียสละเวลาลงมาพูดคุยกับผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศด้วยตนเองหลายครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจ และเชิญชวนให้ ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการ เปิดให้บริการสัญญาณ CTH ผ่านโครงข่ายสายเคเบิลของผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นในระบบดิจิทัล โดยขอให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นเห็นด้วยกับแนวทางการนำสมาชิกเคเบิลท้องถิ่น ที่เคยใช้บริการในระบบแอนะล็อกอยู่เดิม ให้เปลี่ยนมาเป็นสมาชิกของ CTH ในระบบดิจิทัลแทนโดย CTH สัญญาว่า จะแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้กับผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นตามสัดส่วนที่ได้ตกลงกัน
ประมูลการถ่ายทอดสดลิขสิทธิ์ฟุตบอลอังกฤษ (BPL)
ในช่วงปลายปี 2555 คุณวิชัยได้ชวนกลุ่มไทยรัฐ เข้ามาเป็นถือหุ้นใน CTH ด้วยโดยเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 300 ล้านเป็น 800 ล้าน จากนั้นจึงตัดสินใจไปร่วมประมูลซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลอังกฤษ (BPL) 3 ปี (2556-2558) และชนะการประมูลโดยใช้งบประมาณไปกว่า 10,000 ล้านบาท การชนะการประมูลในครั้งนั้น ได้สร้างความมั่นใจให้ฝ่ายบริหารของ CTH มากว่าจะสามารถนำ CTH ให้เป็นเคเบิลทีวีระดับชาติอันดับ 1 ของประเทศได้อย่างแน่นอน
ได้เคเบิลท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการ 50%
ในความมั่นใจที่สูงของ CTH ทำให้การเจรจาเงื่อนไขต่างๆกับ CTH ทำได้ยากขึ้น แม้กระทั่งผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นที่เป็นผู้ร่วมริเริ่มโครงการมาแต่ต้น บางรายก็ไม่สามารถเจรจาได้สำเร็จ โดยเฉพาะ CTH ได้ตั้งเงื่อนไขกับผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นที่จะเข้าร่วมโครงการว่า จะต้องส่งรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกทั้งหมดให้ CTH จะต้องให้สมาชิกเก่าทั้งหมดเปลี่ยนไปเป็นสมาชิกของ CTH และให้ CTH เป็นผู้ออกบิลเรียกเก็บค่าบริการจากสมาชิก หลังจากนั้น CTH จะเป็นผู้แบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้เคเบิลท้องถิ่น
เงื่อนไขเช่นนี้บางรายรับไม่ได้ทำให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นกว่า 350 รายยอมเข้าร่วมโครงการกับ CTH เพียง 173 ราย หรือประมาณ 50% ที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นรายเล็กที่ยังไม่พร้อมให้บริการระบบดิจิทัล โดย CTH มั่นใจว่า เมื่อมีการเปิดให้บริการ BPL ในเดือนสิงหาคม 2556 ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นที่เหลือ รวมทั้งผู้ประกอบกิจการรายใหญ่อื่นๆ จะต้องมาขอเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นเอง
คงต้องมองย้อนหลังไปว่า ในวันที่ CTH เข้าร่วมประมูล BPL ทาง CTH ยังไม่มีระบบโครงข่ายการให้บริการโทรทัศน์ เป็นของตนเองเลย ความหวังเดียวของ CTH ที่จะส่งสัญญาณ BPL ไปให้สมาชิกได้รับชมคือ การใช้โครงข่ายสายเคเบิลของผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นเท่านั้น
นี่คือข้อผิดพลาดข้อที่ 1 ของ CTH
ฐานสมาชิก BPL
ความจริงที่คาดไม่ถึงคือ ในประเทศไทยมีคนดูทีวีที่มีกำลังซื้อเกินกว่า 1,000 บาท/เดือน มีประมาณ 500,000 ครัวเรือนเท่านั้น และสมาชิกกลุ่มนี้ในขณะนั้นเป็นฐานสมาชิกของ True Vision เป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะนิยมดู BPL แต่ก็ไม่ยอมจ่ายเงินค่าสมาชิกในการรับชม
ดังนั้นสมาชิกที่มีกำลังซื้อ และสามารถจ่ายเงินได้จริง จึงเป็นฐานสมาชิกของ True Vision ซึ่งอยู่ที่กรุงเทพและปริมณฑลกว่า 50% ที่เหลือ กระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่โครงข่ายสายเคเบิลของเคเบิลท้องถิ่นในต่างจังหวัด สามารถให้บริการได้ในพื้นที่ที่จำกัด เฉพาะในเขตตัวเมืองที่มีความหนาแน่นของประชาชนสูงเท่านั้น ส่วนในกรุงเทพและปริมณฑล คนมีกำลังซื้อสูงก็อยู่ตามหมู่บ้านจัดสรรราคาแพง หรืออาคารสูงที่มีราคาแพง ที่เคเบิลท้องถิ่นไม่สามารถเดินสายเข้าไปให้บริการได้
การให้บริการ BPL ของ CTH ผ่านระบบสายเคเบิลของเคเบิลท้องถิ่น จึงไม่ตอบโจทก์ของ CTH ตามที่ได้ตั้งใจไว้ ซึ่งเรื่องนี้ True Vision ได้เคยพิสูจน์มาแล้วว่า ระบบสายเคเบิลไม่สามารถเดินสายครอบคลุมฐานสมาชิกในทุกพื้นที่ได้ การให้บริการผ่านระบบจานดาวเทียมต่างหากที่จะสามารถให้บริการสมาชิกที่มีกำลังซื้อสูงได้อย่างทั่วถึง True Vision จึงพัฒนาจานแดง ขึ้นมาทดแทนระบบสายเคเบิล
สมาชิกเคเบิลท้องถิ่นไม่ได้ดู BPL
สมาชิกที่เป็นฐานเดิมของเคเบิลท้องถิ่น มีความเคยชินกับการจ่ายค่าบริการไม่เกิน 350 บาท/เดือนมากว่า 20 ปี การจะให้จ่ายค่าบริการรายเดือนเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องยาก และเชื่อว่าคนกลุ่มนี้น่าจะมีกำลังซื้อไม่เกิน 500 บาท/เดือน แต่ CTH ไม่มีนโยบายที่จะเอาช่อง BPL มาให้บริการใน Package ที่มีราคาต่ำกว่า 500 บาท/เดือน สมาชิกเก่าของเคเบิลท้องถิ่นที่เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลของ CTH จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ CTH มีลิขสิทธิ์ BPL นอกจากสมาชิกจะต้องเลือกซื้อ Package ในราคาที่สูงขึ้น
ดังนั้นสมาชิกเก่าของเคเบิลท้องถิ่นที่เปลี่ยนมารับบริการในระบบดิจิตอลของ CTH จะได้เพียงช่องเพิ่มขึ้น ได้ภาพชัดขึ้น แต่ราคาเท่าเดิม ส่วนผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นจะต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้ CTH จำนวน 15% ซึ่งเดิมผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นไม่ต้องแบ่งให้ใคร แต่ก็หวังว่า เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัล จะสามารถหาสมาชิกได้เพิ่มขึ้น เก็บค่าบริการได้เพิ่มขึ้น แม้จะต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้ CTH บ้างก็ยังคุ้มค่า แต่ในความเป็นจริงกลับไม่สามารถทำได้ เพราะช่องลิขสิทธิ์ที่ได้มาจาก CTH ที่ไม่ใช่ BPL ไม่มีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นหาสมาชิกเพิ่มขึ้นได้
ฐานรายได้หลักควรมาจากระบบจานดาวเทียม
การให้บริการผ่านจานดาวเทียม เป็นบริการเสริมที่ CTH ต้องดำเนินการ แต่สิ่งที่ CTH พลาดในขณะนั้นคือ ไม่สามารถเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมจากดาวเทียมไทยคมได้ เพราะช่วงเวลาที่ CTH ประมูล BPL มาได้ช่องสัญญาณดาวเทียมของดาวเทียมไทยคม ถูก True Vision และผู้ให้บริการช่องดาวเทียมอื่นๆ เช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียมไทยคมไปหมดแล้ว CTH จึงไม่สามารถให้บริการ BPL ผ่านดาวเทียมไทยคมได้ จึงต้องเปลี่ยนไปเช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียม VINASAT ของเวียตนาม ซึ่งจะมีปัญหาในทางเทคนิคการให้บริการมากกว่าการใช้ดาวเทียมไทยคมมาก เพราะหน้าจานดาวเทียมหันไปคนละทิศทาง ทำให้ CTH พลาดโอกาสที่จะสอยสมาชิก True Vision หรือสมาชิกจากจานดาวเทียม PSI ให้เปลี่ยนมาเป็นสมาชิกของ CTH ในระบบจานดาวเทียมเพียงแค่เปลี่ยนกล่องรับสัญญาณดาวเทียมก็พอ งานนี้ CTH จะต้องมีการปรับหน้าจานดาวเทียมใหม่ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในการติดตั้งมาก
นี่คือข้อผิดพลาดข้อที่ 2 ของ CTH
CTH กับ The Last Master Piece ของวิชัย ทองแตง?
เครดิตจากอิสรานิวนะครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในวงการนักเล่นหุ้น หรือนักลงทุน ใครๆก็ต้องรู้จักคุณวิชัย ทองแตง ในฐานะเซียนหุ้นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย เพราะสามารถปั้นดินให้เป็นดาวได้ เนื่องจาก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไร มีปัญหามากแค่ไหน หากได้คุณวิชัยเข้าไปจับ หรือเข้าไปซื้อ หรือเข้าไปร่วมลงทุน ตัวคุณวิชัยมักจะสามารถทำกำไรได้เสมอ ดังนั้น ใครๆจึงจ้องมองว่า คุณวิชัยจะตัดสินใจเข้าไปช้อน หรือเข้าไปลงทุนในธุรกิจอะไร จะได้ตามน้ำร่วมลงทุนไปด้วยโดยหวังว่า จะสามารถทำกำไรได้เช่นเดียวกับคุณวิชัยบ้าง
เข้ามาเกี่ยวข้องกับ CTH ได้อย่างไร
ในปี 2553 สมัยที่มีคุณเกษม อินทร์แก้ว เป็นนายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มก่อตั้งบริษัท เคเบิลไทยโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) หรือ CTH ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นบริษัทกลางในการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำมาขายต่อให้กับผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศ ที่มีอยู่ประมาณ 350 ราย โดยครั้งแรกมีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท เมื่อบริหารงานไปได้ระยะหนึ่ง มีการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการเข้ามามากขึ้น จึงมีความต้องการเงินลงทุนเพิ่มขึ้น
ในขณะนั้น คุณสุรพล ซีประเสริฐ (อดีตเลขาธิการสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เจ้าของโครงการน้ำมันเขียว ผู้มีศักดิ์เป็นอาของคุณวิชัย ทองแตง มีบ้านอยู่ติดกันที่ริมแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร) เป็นผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่น และเป็นกรรมการ CTH ด้วย จึงอาสาที่จะไปเชิญคุณวิชัยให้เข้ามาร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมเคเบิลท้องถิ่นให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต เพื่อให้เคเบิลท้องถิ่นร่ำรวยตามไปด้วย ซึ่งเดิมคุณวิชัย ไม่เคยรู้จักธุรกิจเคเบิลท้องถิ่น และไม่เคยสนใจที่จะลงทุนในด้านนี้เลย แต่ด้วยความเกรงใจคุณสุรพล จึงส่งทีมงาน โดยมีคุณกฤษณัน งามผาติพงษ์ เข้ามาศึกษาการทำธุรกิจเคเบิลท้องถิ่น เพื่อนำเสนอแนวทางและหาช่องทางในการร่วมมือกันในอนาคต
โครงการ The Last Master Piece
หลังจากที่ทีมงานคุณกฤษณัน เข้ามาศึกษา มีการเจรจาและร่วมประชุมกันกับทีมงานผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นหลายครั้ง จึงมองเห็นช่องทางที่จะพัฒนา CTH ให้เป็นบริษัทที่จะนำเคเบิลท้องถิ่นให้เป็นเคเบิลทีวีระดับชาติเหมือนกับ True Vision ได้
คุณวิชัยจึงสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนใน CTH อย่างจริงจังโดยมีข้อเสนอว่า หากจะพัฒนา CTH ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป จะต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานของ CTH ใหม่ทั้งหมด จากเดิมที่ให้ CTH ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการแล้วเอามาขายต่อให้เคเบิลท้องถิ่น (Content Provider) เพื่อนำมาให้บริการกับสมาชิกในแต่ละสถานี ในระบบแอนะล็อกเหมือนเดิม ให้เปลี่ยนมาเป็นการใช้ CTH เป็นบริษัทแม่ ทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการเคเบิลทีวีระดับชาติ (Operator) โดยให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นแต่ละรายทำหน้าที่เป็นสำนักงานสาขาหรือตัวแทน (Dealer) ประจำจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ รับสัญญาณเคเบิลทีวีในระบบดิจิทัลจาก CTH โดยตรง เพื่อความเป็นเอกภาพ และมีมาตรฐานเดียวกัน จากนั้นจึงส่งสัญญาณต่อไปให้บริการกับสมาชิก
สำหรับเรื่องการบริหารสถานีกลาง การบริหารการตลาด การประชาสัมพันธ์ การบริหารระบบบัญชี การหาแหล่งเงินทุน การหาลิขสิทธิ์ช่องรายการ การออกบิลเก็บเงิน และอื่นๆ ทาง CTH จะทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบเอง เพื่อให้ระบบการให้บริการเคเบิลท้องถิ่นมีความทันสมัย สามารถตรวจสอบได้ โดยผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการโครงข่าย ผู้ติดตั้ง และบริการหลังการขาย โดยจะได้รับส่วนแบ่งรายได้จาก CTH ตามสัดส่วนที่ได้ตกลงกัน
งานนี้คุณวิชัย มีความมั่นใจสูงมากว่า จะสามารถทำให้สำเร็จได้อย่างแน่นอน โดยคุณวิชัย ตั้งใจไว้ว่า จะฝากผลงาน CTH ให้เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของชีวิต โดยทุกคนจะรู้จักโครงการนี้ในนาม The Last Master Piece ของคุณวิชัย ทองแตง
เพิ่มทุนใน CTH
เมื่อทุกอย่างมีความชัดเจนแล้ว แนวทางการทำงานจึงถูกกำหนดออกมาในช่วงปลายปี 2554 ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใน CTH จากเดิมที่มีเฉพาะผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศร่วมกันเป็นผู้ถือหุ้นหลัก จำนวนประมาณ 120 ราย โดยมีทุนจดทะเบียนรวมกัน 50 ล้าน ต่อมาจึงมีการเพิ่มทุนเป็น 150 ล้านและ 300 ล้านตามลำดับ
สุดท้ายคุณวิชัยก็กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ CTH และได้คุมอำนาจบริหารใน CTH อย่างเด็ดขาด และคุณวิชัยได้เป็นประธาน CTH ส่วนคุณสุรพล เป็นรองประธาน CTH
CTH ยึดสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย
เมื่อจะเดินงานใน CTH แบบเต็มตัว โดยมีผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นเป็นฐานที่สำคัญ CTH จึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย คุณสุรพล ซีประเสริฐ ที่มีตำแหน่งเป็นรองประธานบริษัท CTH ในขณะนั้นจึงได้รับการสนับสนุนให้เป็นนายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย เพื่อจะได้ทำหน้าที่กำกับดูแลให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่น ให้อยู่ในเส้นทางที่ CTH ต้องการ
จากนั้น CTH ก็ใช้สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยเป็นฐานกำลังในการวางแผนเดินสายตะเวนจัดประชุม พูดคุยกับผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ หรือเรียงตัวคุย เพื่อเชิญชวนให้เคเบิลท้องถิ่นทั้ง 350 รายทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการกับ CTH โดยคุณวิชัย ได้เสียสละเวลาลงมาพูดคุยกับผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศด้วยตนเองหลายครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจ และเชิญชวนให้ ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการ เปิดให้บริการสัญญาณ CTH ผ่านโครงข่ายสายเคเบิลของผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นในระบบดิจิทัล โดยขอให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นเห็นด้วยกับแนวทางการนำสมาชิกเคเบิลท้องถิ่น ที่เคยใช้บริการในระบบแอนะล็อกอยู่เดิม ให้เปลี่ยนมาเป็นสมาชิกของ CTH ในระบบดิจิทัลแทนโดย CTH สัญญาว่า จะแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้กับผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นตามสัดส่วนที่ได้ตกลงกัน
ประมูลการถ่ายทอดสดลิขสิทธิ์ฟุตบอลอังกฤษ (BPL)
ในช่วงปลายปี 2555 คุณวิชัยได้ชวนกลุ่มไทยรัฐ เข้ามาเป็นถือหุ้นใน CTH ด้วยโดยเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 300 ล้านเป็น 800 ล้าน จากนั้นจึงตัดสินใจไปร่วมประมูลซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลอังกฤษ (BPL) 3 ปี (2556-2558) และชนะการประมูลโดยใช้งบประมาณไปกว่า 10,000 ล้านบาท การชนะการประมูลในครั้งนั้น ได้สร้างความมั่นใจให้ฝ่ายบริหารของ CTH มากว่าจะสามารถนำ CTH ให้เป็นเคเบิลทีวีระดับชาติอันดับ 1 ของประเทศได้อย่างแน่นอน
ได้เคเบิลท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการ 50%
ในความมั่นใจที่สูงของ CTH ทำให้การเจรจาเงื่อนไขต่างๆกับ CTH ทำได้ยากขึ้น แม้กระทั่งผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นที่เป็นผู้ร่วมริเริ่มโครงการมาแต่ต้น บางรายก็ไม่สามารถเจรจาได้สำเร็จ โดยเฉพาะ CTH ได้ตั้งเงื่อนไขกับผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นที่จะเข้าร่วมโครงการว่า จะต้องส่งรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกทั้งหมดให้ CTH จะต้องให้สมาชิกเก่าทั้งหมดเปลี่ยนไปเป็นสมาชิกของ CTH และให้ CTH เป็นผู้ออกบิลเรียกเก็บค่าบริการจากสมาชิก หลังจากนั้น CTH จะเป็นผู้แบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้เคเบิลท้องถิ่น
เงื่อนไขเช่นนี้บางรายรับไม่ได้ทำให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นกว่า 350 รายยอมเข้าร่วมโครงการกับ CTH เพียง 173 ราย หรือประมาณ 50% ที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นรายเล็กที่ยังไม่พร้อมให้บริการระบบดิจิทัล โดย CTH มั่นใจว่า เมื่อมีการเปิดให้บริการ BPL ในเดือนสิงหาคม 2556 ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นที่เหลือ รวมทั้งผู้ประกอบกิจการรายใหญ่อื่นๆ จะต้องมาขอเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นเอง
คงต้องมองย้อนหลังไปว่า ในวันที่ CTH เข้าร่วมประมูล BPL ทาง CTH ยังไม่มีระบบโครงข่ายการให้บริการโทรทัศน์ เป็นของตนเองเลย ความหวังเดียวของ CTH ที่จะส่งสัญญาณ BPL ไปให้สมาชิกได้รับชมคือ การใช้โครงข่ายสายเคเบิลของผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นเท่านั้น
นี่คือข้อผิดพลาดข้อที่ 1 ของ CTH
ฐานสมาชิก BPL
ความจริงที่คาดไม่ถึงคือ ในประเทศไทยมีคนดูทีวีที่มีกำลังซื้อเกินกว่า 1,000 บาท/เดือน มีประมาณ 500,000 ครัวเรือนเท่านั้น และสมาชิกกลุ่มนี้ในขณะนั้นเป็นฐานสมาชิกของ True Vision เป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะนิยมดู BPL แต่ก็ไม่ยอมจ่ายเงินค่าสมาชิกในการรับชม
ดังนั้นสมาชิกที่มีกำลังซื้อ และสามารถจ่ายเงินได้จริง จึงเป็นฐานสมาชิกของ True Vision ซึ่งอยู่ที่กรุงเทพและปริมณฑลกว่า 50% ที่เหลือ กระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่โครงข่ายสายเคเบิลของเคเบิลท้องถิ่นในต่างจังหวัด สามารถให้บริการได้ในพื้นที่ที่จำกัด เฉพาะในเขตตัวเมืองที่มีความหนาแน่นของประชาชนสูงเท่านั้น ส่วนในกรุงเทพและปริมณฑล คนมีกำลังซื้อสูงก็อยู่ตามหมู่บ้านจัดสรรราคาแพง หรืออาคารสูงที่มีราคาแพง ที่เคเบิลท้องถิ่นไม่สามารถเดินสายเข้าไปให้บริการได้
การให้บริการ BPL ของ CTH ผ่านระบบสายเคเบิลของเคเบิลท้องถิ่น จึงไม่ตอบโจทก์ของ CTH ตามที่ได้ตั้งใจไว้ ซึ่งเรื่องนี้ True Vision ได้เคยพิสูจน์มาแล้วว่า ระบบสายเคเบิลไม่สามารถเดินสายครอบคลุมฐานสมาชิกในทุกพื้นที่ได้ การให้บริการผ่านระบบจานดาวเทียมต่างหากที่จะสามารถให้บริการสมาชิกที่มีกำลังซื้อสูงได้อย่างทั่วถึง True Vision จึงพัฒนาจานแดง ขึ้นมาทดแทนระบบสายเคเบิล
สมาชิกเคเบิลท้องถิ่นไม่ได้ดู BPL
สมาชิกที่เป็นฐานเดิมของเคเบิลท้องถิ่น มีความเคยชินกับการจ่ายค่าบริการไม่เกิน 350 บาท/เดือนมากว่า 20 ปี การจะให้จ่ายค่าบริการรายเดือนเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องยาก และเชื่อว่าคนกลุ่มนี้น่าจะมีกำลังซื้อไม่เกิน 500 บาท/เดือน แต่ CTH ไม่มีนโยบายที่จะเอาช่อง BPL มาให้บริการใน Package ที่มีราคาต่ำกว่า 500 บาท/เดือน สมาชิกเก่าของเคเบิลท้องถิ่นที่เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลของ CTH จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ CTH มีลิขสิทธิ์ BPL นอกจากสมาชิกจะต้องเลือกซื้อ Package ในราคาที่สูงขึ้น
ดังนั้นสมาชิกเก่าของเคเบิลท้องถิ่นที่เปลี่ยนมารับบริการในระบบดิจิตอลของ CTH จะได้เพียงช่องเพิ่มขึ้น ได้ภาพชัดขึ้น แต่ราคาเท่าเดิม ส่วนผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นจะต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้ CTH จำนวน 15% ซึ่งเดิมผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นไม่ต้องแบ่งให้ใคร แต่ก็หวังว่า เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัล จะสามารถหาสมาชิกได้เพิ่มขึ้น เก็บค่าบริการได้เพิ่มขึ้น แม้จะต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้ CTH บ้างก็ยังคุ้มค่า แต่ในความเป็นจริงกลับไม่สามารถทำได้ เพราะช่องลิขสิทธิ์ที่ได้มาจาก CTH ที่ไม่ใช่ BPL ไม่มีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่นหาสมาชิกเพิ่มขึ้นได้
ฐานรายได้หลักควรมาจากระบบจานดาวเทียม
การให้บริการผ่านจานดาวเทียม เป็นบริการเสริมที่ CTH ต้องดำเนินการ แต่สิ่งที่ CTH พลาดในขณะนั้นคือ ไม่สามารถเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมจากดาวเทียมไทยคมได้ เพราะช่วงเวลาที่ CTH ประมูล BPL มาได้ช่องสัญญาณดาวเทียมของดาวเทียมไทยคม ถูก True Vision และผู้ให้บริการช่องดาวเทียมอื่นๆ เช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียมไทยคมไปหมดแล้ว CTH จึงไม่สามารถให้บริการ BPL ผ่านดาวเทียมไทยคมได้ จึงต้องเปลี่ยนไปเช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียม VINASAT ของเวียตนาม ซึ่งจะมีปัญหาในทางเทคนิคการให้บริการมากกว่าการใช้ดาวเทียมไทยคมมาก เพราะหน้าจานดาวเทียมหันไปคนละทิศทาง ทำให้ CTH พลาดโอกาสที่จะสอยสมาชิก True Vision หรือสมาชิกจากจานดาวเทียม PSI ให้เปลี่ยนมาเป็นสมาชิกของ CTH ในระบบจานดาวเทียมเพียงแค่เปลี่ยนกล่องรับสัญญาณดาวเทียมก็พอ งานนี้ CTH จะต้องมีการปรับหน้าจานดาวเทียมใหม่ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในการติดตั้งมาก
นี่คือข้อผิดพลาดข้อที่ 2 ของ CTH