มีหลายคนชอบพูดว่าตอนยุคพ่อแม้วเป็นนายกฯ นั้น นับเป็นช่วงที่ประเทศไทยเศรษฐกิจดีมากๆ จึงอยากให้กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง ผมจึงตั้งคำถามว่า ยุคนั้นแท้จริงเศรษฐกิจมันดีเพราะฝีมือพ่อแม้วล้วนๆ หรือว่ามันมีปัจจัยอื่นๆ เกื้อหนุนหรือไม่?
จึงไปหาข้อมูลมาศึกษา ช่วงพ่อแม้วเป็นนายกฯ คือปี 2001-2006 อยู่ในตำแหน่งนาน 5 ปีเศษๆ ค้นตัวเลข GDP มาวิเคราะห์ ตัว GDP เนี่ยทำให้มองเห็นภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศได้ในระดับนึง สิ่งที่ผมพบคือ ในยุคพ่อแม้วเศรษฐกิจไทยเติบโตที่ 2.3-6.1% ช่วงพีคสุดคือปี 2003 GDP โต 6.1% ปีที่ต่ำสุดคือปี 2001 โตเพียง 2.3% คงเพราะมาใหม่อะไรยังไม่เข้าที่เข้าทาง หลังจากนั้นก็โต 5%, 6.1%, 5.3%, 3.5% และ 5%
ทีนี้ไปดูเศรษฐกิจประเทศอื่นๆ อย่างสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยและมีขนาด GDP ใหญ่สุดในโลก ปี 2001-2006 โต 1%-3.8% ทุกปี ไม่มีติดลบ ประเทศจีนโตต่อเนื่อง 8.3%-12.7% ญี่ปุ่นเองก็โต 0.4-2.4% ไม่มีติดลบ ในกลุ่ม EU ส่วนใหญ่ก็โตต่อเนื่อง แต่มีเพียง 2-3 ประเทศเท่านั้นคือเยอรมัน โปรตุเกสกับมอลตาร์ ที่ติดลบในบางปี
เมื่อนำมาพิจารณาในยุคนี้ หลายคนบอกเศรษฐกิจไทยไม่ดี GDP ต่ำติดดิน ผมคิดว่าหลายคนรู้ แต่ว่าพอไปดูประเทศอื่นๆ มันก็ต่ำลง บางแห่งก็ติดลบ เช่นปีที่แล้ว จีนโต 7.3% สหรัฐ 2.4 ญี่ปุ่น -0.1% ใน EU ส่วนใหญ่ที่เคยโตแรงๆ ปัจจุบันระดับ 3% นี่แทบจะหายากมาก
นั่นทำให้เชื่อได้ว่า เศรษฐกิจไทยจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าพ่อแม้วต้องมาเป็นนายกฯ อย่างเดียว มันขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโดยรวมของโลกอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูง ดังนั้น เมื่อส่งออกมีปัญหา มันจึงกระทบกันเป็นทอดๆ
ปัจจัยต่อมาการบริโภคในประเทศก็มีส่วนทำให้ GDP โตเช่นกัน ผมจึงไปหาข้อมูล รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในประเทศ เพราะรายได้จะเป็นตัวกำหนดอำนาจการบริโภคสินค้าในประเทศ พบว่า ในยุคที่พ่อแม้วมารับตำแหน่งรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 12,000-13,000 บาท วันที่พ้นตำแหน่งนายกฯ รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 17,000 บาท ใน 5 ปีเพิ่มขึ้นประมาณ 46% หลายคนดีใจ เพราะพ่อแม้วทำให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้ เงินก็หาง่าย ค้าขายอะไรก็คล่องมือไปหมด แต่ลองมาดูตัวเลขนี้ครับ
หนี้ภาคครัวเรือน ปี 2001 อยู่ที่ 68,000 บาท หลังพ่อแม้วพ้นตำแหน่งไป หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ที่ ประมาณ 116,000 บาท เพิ่มขึ้นประมาณ 70% นั่นเท่ากับว่าในยุคพ่อแม้ว เงินสะพัดเพราะ ส่งเสริมหรือกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสร้างหนี้นั่นเอง เพราะถ้าฝีมือเจ๋งจริง หนี้/รายได้ ควรจะลดลง ไม่ใช่เพิ่มขึ้น ..จริงมั้ยล่ะ
เศรษฐกิจยุคพ่อแม้วดีจริงๆ หรือแค่ภาพลวงตา by ลินคอล์น
จึงไปหาข้อมูลมาศึกษา ช่วงพ่อแม้วเป็นนายกฯ คือปี 2001-2006 อยู่ในตำแหน่งนาน 5 ปีเศษๆ ค้นตัวเลข GDP มาวิเคราะห์ ตัว GDP เนี่ยทำให้มองเห็นภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศได้ในระดับนึง สิ่งที่ผมพบคือ ในยุคพ่อแม้วเศรษฐกิจไทยเติบโตที่ 2.3-6.1% ช่วงพีคสุดคือปี 2003 GDP โต 6.1% ปีที่ต่ำสุดคือปี 2001 โตเพียง 2.3% คงเพราะมาใหม่อะไรยังไม่เข้าที่เข้าทาง หลังจากนั้นก็โต 5%, 6.1%, 5.3%, 3.5% และ 5%
ทีนี้ไปดูเศรษฐกิจประเทศอื่นๆ อย่างสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยและมีขนาด GDP ใหญ่สุดในโลก ปี 2001-2006 โต 1%-3.8% ทุกปี ไม่มีติดลบ ประเทศจีนโตต่อเนื่อง 8.3%-12.7% ญี่ปุ่นเองก็โต 0.4-2.4% ไม่มีติดลบ ในกลุ่ม EU ส่วนใหญ่ก็โตต่อเนื่อง แต่มีเพียง 2-3 ประเทศเท่านั้นคือเยอรมัน โปรตุเกสกับมอลตาร์ ที่ติดลบในบางปี
เมื่อนำมาพิจารณาในยุคนี้ หลายคนบอกเศรษฐกิจไทยไม่ดี GDP ต่ำติดดิน ผมคิดว่าหลายคนรู้ แต่ว่าพอไปดูประเทศอื่นๆ มันก็ต่ำลง บางแห่งก็ติดลบ เช่นปีที่แล้ว จีนโต 7.3% สหรัฐ 2.4 ญี่ปุ่น -0.1% ใน EU ส่วนใหญ่ที่เคยโตแรงๆ ปัจจุบันระดับ 3% นี่แทบจะหายากมาก
นั่นทำให้เชื่อได้ว่า เศรษฐกิจไทยจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าพ่อแม้วต้องมาเป็นนายกฯ อย่างเดียว มันขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโดยรวมของโลกอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูง ดังนั้น เมื่อส่งออกมีปัญหา มันจึงกระทบกันเป็นทอดๆ
ปัจจัยต่อมาการบริโภคในประเทศก็มีส่วนทำให้ GDP โตเช่นกัน ผมจึงไปหาข้อมูล รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในประเทศ เพราะรายได้จะเป็นตัวกำหนดอำนาจการบริโภคสินค้าในประเทศ พบว่า ในยุคที่พ่อแม้วมารับตำแหน่งรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 12,000-13,000 บาท วันที่พ้นตำแหน่งนายกฯ รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 17,000 บาท ใน 5 ปีเพิ่มขึ้นประมาณ 46% หลายคนดีใจ เพราะพ่อแม้วทำให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้ เงินก็หาง่าย ค้าขายอะไรก็คล่องมือไปหมด แต่ลองมาดูตัวเลขนี้ครับ
หนี้ภาคครัวเรือน ปี 2001 อยู่ที่ 68,000 บาท หลังพ่อแม้วพ้นตำแหน่งไป หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ที่ ประมาณ 116,000 บาท เพิ่มขึ้นประมาณ 70% นั่นเท่ากับว่าในยุคพ่อแม้ว เงินสะพัดเพราะ ส่งเสริมหรือกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสร้างหนี้นั่นเอง เพราะถ้าฝีมือเจ๋งจริง หนี้/รายได้ ควรจะลดลง ไม่ใช่เพิ่มขึ้น ..จริงมั้ยล่ะ