มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ "นักแปล"

โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์
ดำเนินการโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
และได้รับความร่วมมือจากสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย
เพื่อให้การรับรองบุคลากรที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้เดินหน้าไปอย่างน่าพอใจ

หลังจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์การมหาชน) จัดทำโครงการมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ‘สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์’ สำเร็จแล้วทั้ง 6 อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ นักเขียน นักแปล นักออกแบบภาพประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์ บรรณาธิการ นักออกแบบกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์ และนักพิสูจน์อักษร

ในที่นี้จะมาเพ่งความสนใจหรือโฟกัสกันที่ ‘นักแปล’ ซึ่งปัจจุบันอาชีพนี้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก
‘นักแปล’ ถือเป็นวิชาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับการแปลข้อความที่พิมพ์หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรจากภาษาเดิมเป็นภาษาอื่น โดยแบ่งการแปลได้หลายอย่าง อาทิ วรรณคดี บทความเชิงวิชาการ บทความในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร เอกสารทางการเมือง และเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย จดหมายโต้ตอบ และข้อความที่พิมพ์หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรจากภาษาเดิมเป็นภาษาอื่น โดยการใช้ความรู้เดิมและความรู้ในภาษาต่างประเทศ โดยค้นหาคำแปลจากพจนานุกรมเท่าที่จำเป็น

สำหรับผู้แปลหนังสือภาษาต่างประเทศโดยได้รับลิขสิทธิ์ ในการแปลเรียกว่า ‘นักแปล’ อาจแปลหนังสือนวนิยาย หรือหนังสือที่ใช้เป็นบทเรียนในภาควิชาการบริหารและการตลาด ‘ล่าม’ ทำหน้าที่แปลคำพูด หรือคำบรรยาย ในระหว่างการสนทนา หรือการบรรยายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคนในเวลาเดียวกัน

วิชาชีพนักแปลนั้น สำหรับเจ้าหน้าที่ในองค์กรของรัฐบาล จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาและอาจมีค่าวิชาชีพเพิ่มให้ ในภาคเอกชนจะได้รับการว่าจ้างในอัตราเงินเดือนที่มากกว่า 5 - 10 เท่าขึ้นไปตามความสามารถและความรับผิดชอบ

ส่วนผู้ประกอบอาชีพอิสระในการแปลหนังสือนวนิยายต่างประเทศ ค่าจ้างแปลโดยเฉลี่ยเป็นชิ้นงานตามความหนาของหนังสือ จะได้รับค่าจ้างแปลประมาณเล่มละ 30,000 - 80,000 บาท ซึ่งใช้เวลาแปลประมาณ 1 - 2 เดือน บางเล่มที่มีความเป็นวิชาการมากอาจได้รับค่าแปลมากกว่า 100,000 บาท และในกรณีถ้ามีการพิมพ์ซ้ำ ผู้แปลจะได้ค่าแปลเพิ่มขึ้นตามแต่เปอร์เซ็นต์ที่ตกลงไว้กับผู้ว่าจ้าง

การแปลบทสารคดีจะได้รับค่าตอบแทนเป็นชิ้นงานประมาณ 5,000 - 7,000 บาทต่อเรื่อง หรือความยาวประมาณ 20 หน้า นอกจากนี้ ยังมีการแปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศที่แพร่ภาพทางทีวีและฉายในโรงภาพยนตร์ ค่าแปลบทภาพยนตร์ทีวี ประมาณเรื่องละ 3,000 - 5,000 บาท การแปลบทภาพยนตร์จะได้รับค่าจ้างที่สูงพอสมควร ส่วนค่าจ้างแปลเอกสารธรรมดาในท้องตลาดทั่วไปหน้าละประมาณ 300 - 800 บาท

(ยังมีต่อ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่