ส่องตลาดมือถือ สปป.ลาว ล้ำสู่ระบบบรอดแบนด์
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559
โดย : ทศพล หงษ์ทอง
ในปัจจุบัน สปป.ลาว มีโครงข่ายให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมคลื่นสัญญาณทั้ง 3 รูปแบบไม่แตกต่างจากไทย ทั้งคลื่นความถี่ 900 MHz และ 1800 MHz ในเครือข่าย 2จี และ 2100 MHz ในระบบ 3จี และ 1800 MHz ในระบบ 4จี มีอัตราการเข้าถึง 85% ของจำนวนประชากร จากผู้ให้บริการโทรศัพท์ (โอเปอเรเตอร์) จำนวน 4 ราย คือ ลาวเทเลคอม (LTC) โทรคมนาคมลาว (ETL) ยูนิเทล (UNITEL) และบีไลน์ (BEELINE)
ลาวเทเลคอมดำเนินการในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐเข้าถือหุ้น 51% ขณะที่การอนุญาตให้ดำเนินกิจการนั้นเป็นการให้สัมปทานจากภาครัฐ มีระยะเวลาสัมปทานของผู้ให้บริการแต่ละรายขึ้นอยู่กับกฎระเบียบและกฎหมายของกระทรวง ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้ระยะเวลาของสัมปทานนั้นเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ซึ่งผู้ให้บริการแต่ละรายจะได้เพดานความเร็วของอินเทอร์เน็ตแบ่งเป็น 5 เมกะเฮิรตซ์ ในระบบ 2จี และ 10 เมกะเฮิรตซ์ ในระบบ 3จี และ 4จี
ชัยลือชา อินสีเชียงใหม่ อธิบดีกรมโทรคมนาคมและการสื่อสารของ สปป.ลาว กล่าวถึงอัตราการขยายตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในลาวเพิ่มขึ้นอย่างมากราว 2 เท่าตัวจากเมื่อ 2 ปีก่อน ส่งผลให้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันอยู่ที่ 20% ของจำนวนประชากร และจากการใช้งานระบบ 4จี ที่เติบโตไม่ต่ำกว่า 40% ต่อปี ทว่ายอดจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตดังกล่าวยังคงกระจุกตัวอยู่เฉพาะหัวเมืองใหญ่อย่าง เวียงจันทน์ ปากเซ และหลวงพระบาง โดยมีผู้ใช้งานระบบ 2จี ที่ยังมีสัดส่วนมากถึง 50% ของจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมด
ขณะเดียวกันการเติบโตของธุรกิจกลุ่มโทรคมนาคมยังได้กลายเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยสัดส่วนมูลค่าอยู่ในอันดับ 4 ของอัตราการเติบโตเศรษฐกิจ (จีดีพี) ประเทศโดยรวม ตามหลัง 3 อันดับแรก คือ กลุ่มไฟฟ้า กลุ่มเหมืองแร่ และเครื่องดื่มตามลำดับ โดยรัฐบาลรับหน้าที่กำหนดราคามาตรฐานของค่าโทร/นาที อยู่ที่ประมาณ 3.5 บาท/นาที (800 กีบ) ส่วนอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตนั้น ถูกกำหนดให้แตกต่างกันตามประเภทของซิมมือถือ แบ่งเป็น ซิมสำหรับการโทรราคาอยู่ที่นาทีละละ 0.2 บาท (40 กีบ) ส่วน ซิมอินเทอร์เน็ตอยู่ที่เมกะไบต์ละ 0.13 บาท (30 กีบ) โดยมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 140 บาท/เลขหมาย จากปัจจุบันมีอยู่ราว 5 ล้านเลขหมาย
ทว่า สปป.ลาว ยังคงประสบปัญหาด้านการให้บริการระบบโทรคมนาคมในประเทศ โดย บุญเฉลิมชัย เคนนะวงศ์ ปลัดกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมของ สปป.ลาว กล่าวว่า จากสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศที่เป็นภูเขากว่า 70% ทำให้การพัฒนาต้องอาศัยการลงทุนจำนวนมาก รวมถึงอัตราค่าโทรและอินเทอร์เน็ตที่สูงเกินเมื่อเทียบกับประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม สปป.ลาว กำลังจะก้าวนำหน้าประเทศไทยไปอีกหนึ่งก้าวจากการอนุมัติให้นำคลื่นความถี่ 700 MHz ออกมาประมูลเพื่อรองรับระบบบรอดแบนด์ในอนาคต โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจร่วมประมูลราว 3-4 ราย เพื่อช่วงชิงคลื่นความถี่จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ ที่รัฐบาลเตรียมจัดสรรให้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการพัฒนาระบบโทรคมนาคมใน สปป.ลาว จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปด้วยการเติบโตที่ยังสูงไม่มากนัก แต่นั่นหมายความว่ายังมีโอกาสมากพอที่ธุรกิจในกลุ่มดังกล่าวจะสามารถขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะรูปแบบการทำธุรกิจดิจิทัลที่จะเข้ามาในอนาคตทั้งในรูปแบบเทคโนโลยีทางการเงิน (ฟินเทค) และร้านค้าออนไลน์ ซึ่งประเทศไทยได้มองเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเพื่อร่วมยกระดับระบบโทรคมนาคมในลาว ด้วยการนำเข้า (อิมพอร์ต) ระบบการลงทะเบียนซิมที่ประสบความสำเร็จในไทยเข้ามาทำให้เป็นรูปเป็นร่างใน สปป.ลาว เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางสังคมโดยเฉพาะความมั่นคงของประเทศ
อีกทั้งยังเป็นการเตรียมตัวที่ดีสำหรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกให้มีความเชื่อมโยงกัน ทั้งความร่วมมือทั้งด้านเศรษฐกิจและการลงทุนอีกด้วย
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า B5)
ส่องตลาดมือถือ สปป.ลาว ล้ำสู่ระบบบรอดแบนด์
ส่องตลาดมือถือ สปป.ลาว ล้ำสู่ระบบบรอดแบนด์
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559
โดย : ทศพล หงษ์ทอง
ในปัจจุบัน สปป.ลาว มีโครงข่ายให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมคลื่นสัญญาณทั้ง 3 รูปแบบไม่แตกต่างจากไทย ทั้งคลื่นความถี่ 900 MHz และ 1800 MHz ในเครือข่าย 2จี และ 2100 MHz ในระบบ 3จี และ 1800 MHz ในระบบ 4จี มีอัตราการเข้าถึง 85% ของจำนวนประชากร จากผู้ให้บริการโทรศัพท์ (โอเปอเรเตอร์) จำนวน 4 ราย คือ ลาวเทเลคอม (LTC) โทรคมนาคมลาว (ETL) ยูนิเทล (UNITEL) และบีไลน์ (BEELINE)
ลาวเทเลคอมดำเนินการในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐเข้าถือหุ้น 51% ขณะที่การอนุญาตให้ดำเนินกิจการนั้นเป็นการให้สัมปทานจากภาครัฐ มีระยะเวลาสัมปทานของผู้ให้บริการแต่ละรายขึ้นอยู่กับกฎระเบียบและกฎหมายของกระทรวง ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้ระยะเวลาของสัมปทานนั้นเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ซึ่งผู้ให้บริการแต่ละรายจะได้เพดานความเร็วของอินเทอร์เน็ตแบ่งเป็น 5 เมกะเฮิรตซ์ ในระบบ 2จี และ 10 เมกะเฮิรตซ์ ในระบบ 3จี และ 4จี
ชัยลือชา อินสีเชียงใหม่ อธิบดีกรมโทรคมนาคมและการสื่อสารของ สปป.ลาว กล่าวถึงอัตราการขยายตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในลาวเพิ่มขึ้นอย่างมากราว 2 เท่าตัวจากเมื่อ 2 ปีก่อน ส่งผลให้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันอยู่ที่ 20% ของจำนวนประชากร และจากการใช้งานระบบ 4จี ที่เติบโตไม่ต่ำกว่า 40% ต่อปี ทว่ายอดจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตดังกล่าวยังคงกระจุกตัวอยู่เฉพาะหัวเมืองใหญ่อย่าง เวียงจันทน์ ปากเซ และหลวงพระบาง โดยมีผู้ใช้งานระบบ 2จี ที่ยังมีสัดส่วนมากถึง 50% ของจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมด
ขณะเดียวกันการเติบโตของธุรกิจกลุ่มโทรคมนาคมยังได้กลายเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยสัดส่วนมูลค่าอยู่ในอันดับ 4 ของอัตราการเติบโตเศรษฐกิจ (จีดีพี) ประเทศโดยรวม ตามหลัง 3 อันดับแรก คือ กลุ่มไฟฟ้า กลุ่มเหมืองแร่ และเครื่องดื่มตามลำดับ โดยรัฐบาลรับหน้าที่กำหนดราคามาตรฐานของค่าโทร/นาที อยู่ที่ประมาณ 3.5 บาท/นาที (800 กีบ) ส่วนอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตนั้น ถูกกำหนดให้แตกต่างกันตามประเภทของซิมมือถือ แบ่งเป็น ซิมสำหรับการโทรราคาอยู่ที่นาทีละละ 0.2 บาท (40 กีบ) ส่วน ซิมอินเทอร์เน็ตอยู่ที่เมกะไบต์ละ 0.13 บาท (30 กีบ) โดยมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 140 บาท/เลขหมาย จากปัจจุบันมีอยู่ราว 5 ล้านเลขหมาย
ทว่า สปป.ลาว ยังคงประสบปัญหาด้านการให้บริการระบบโทรคมนาคมในประเทศ โดย บุญเฉลิมชัย เคนนะวงศ์ ปลัดกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมของ สปป.ลาว กล่าวว่า จากสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศที่เป็นภูเขากว่า 70% ทำให้การพัฒนาต้องอาศัยการลงทุนจำนวนมาก รวมถึงอัตราค่าโทรและอินเทอร์เน็ตที่สูงเกินเมื่อเทียบกับประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม สปป.ลาว กำลังจะก้าวนำหน้าประเทศไทยไปอีกหนึ่งก้าวจากการอนุมัติให้นำคลื่นความถี่ 700 MHz ออกมาประมูลเพื่อรองรับระบบบรอดแบนด์ในอนาคต โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจร่วมประมูลราว 3-4 ราย เพื่อช่วงชิงคลื่นความถี่จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ ที่รัฐบาลเตรียมจัดสรรให้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการพัฒนาระบบโทรคมนาคมใน สปป.ลาว จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปด้วยการเติบโตที่ยังสูงไม่มากนัก แต่นั่นหมายความว่ายังมีโอกาสมากพอที่ธุรกิจในกลุ่มดังกล่าวจะสามารถขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะรูปแบบการทำธุรกิจดิจิทัลที่จะเข้ามาในอนาคตทั้งในรูปแบบเทคโนโลยีทางการเงิน (ฟินเทค) และร้านค้าออนไลน์ ซึ่งประเทศไทยได้มองเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเพื่อร่วมยกระดับระบบโทรคมนาคมในลาว ด้วยการนำเข้า (อิมพอร์ต) ระบบการลงทะเบียนซิมที่ประสบความสำเร็จในไทยเข้ามาทำให้เป็นรูปเป็นร่างใน สปป.ลาว เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางสังคมโดยเฉพาะความมั่นคงของประเทศ
อีกทั้งยังเป็นการเตรียมตัวที่ดีสำหรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกให้มีความเชื่อมโยงกัน ทั้งความร่วมมือทั้งด้านเศรษฐกิจและการลงทุนอีกด้วย
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า B5)