สวัสดีครับ นี่เป็นครั้งแรกที่ผมเขียนกระทู้บนพันทิพ หลังจากที่ฝ่ายเสพข้อมูลอย่างเดียวมาโดยตลอด
วันนี้ อยากจะนำเอาเรื่องของตัวเองมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ฟังถึงกับดักของการทำธุรกิจ และการแก้ปัญหาที่เรียกได้ว่า เห็นแก่ตัวในสายตาคนอื่น แต่เราจำเป็นต้องทำเพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้
เรื่องเริ่มต้นมีอยู่ว่า ผมเป็นเจ้าของธุรกิจรุ่นที่สอง ช่วยทำธุรกิจที่พ่อกับแม่เป็นผู้สร้างขึ้นมา ธุรกิจของเราก็นับว่าเป็นธุรกิจที่มีชื่อพอสมควร เป็นธุรกิจที่เปิดมาได้สักพักใหญ่แล้ว และก็เป็นที่รู้จักกันในวงกลุ่มไม่ใหญ่มาก
เรื่องมันมีอยู่ว่า ธุรกิจเราเติบโตได้ดี ดีมาโดยตลอด อาจจะเพราะด้วยเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 - 2548 เป็นช่วงเวลาที่เมืองไทยกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดก็เป็นได้ จึงทำให้เราอยากที่จะเติบโต ขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น โดยเพิ่มปริมาณช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้าออกไป เพิ่มกำลังคน และอัดงบการตลาดหนักมาก
นี่คือกับดักข้อที่ 1 : เห็นว่าธุรกิจกำลังไปได้สวย เลยพยายามที่จะขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เพื่อหวังว่าจะสามารถเพิ่มช่องทางในการทำเงินได้มากขึ้น โดยไม่หันไปดูว่า "เราพร้อมรึยังที่จะขยาย"
สิ่งที่ตามมากับกับดักข้อนี้คือ (1) เงินกู้ (2) ดอกเบี้ย (3) หนี้สินจากการลงทุน (ตกแต่งร้าน / เพิ่มปริมาณคน / ค่าลงทุนโฆษณา) โดยตอนแรกเรามีเงินสดอยู่กับตัวเยอะ เลยคิดว่าไม่น่าเป็นอะไร อีกแปป ก็คืนทุนแน่นอน
การขยายฐานธุรกิจของตัวเองโดยไม่ได้วางแผนถึงความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ ทำให้ธุรกิจของผมค่อยๆ เติบโตช้าลงเรื่อยๆ จนกระทั่งติดตัวแดง เพราะค่าเช่าที่ ที่แพงขึ้นทุกๆ ปี และค่าคนที่เป็นกำลังสำคัญของธุรกิจประเภทที่มีอยู่
จนในที่สุด ก็ต้องยอมรับสภาพและค่อยๆ ทยอยปิดร้านที่พึ่งเปิดไป ในเวลาไม่กี่ปีต่อมา หลังจากที่ยื้อมาเป็นเวลานาน เพียงเพราะคิดว่า "เดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง"
นี่คือกับดักข้อที่ 2 : คาดหวังว่าทุกอย่างจะดีขึ้น และพยายามที่จะเลี่ยงการตัดชิ้นส่วนของธุรกิจที่กำลังเน่าเสีย คิดอย่างเดียวคือ "เดี๋ยวก็คงดีขึ้น"
นี่คือความเป็นจริง ทุกอย่างจะไม่ "ดีขึ้น" หรอกครับ มีแต่จะ "แย่ลง" เพราะอะไร? ลองดูรอบๆ ตัวท่านสิ วันนี้ถามหน่อยว่ามีคนไหนที่เคยใหญ่โตมาก่อน วันนี้หายไปไหนหมด? ธุรกิจเหล่านี้คือธุรกิจที่ "ตาย" ไปแล้วครับ เพราะพวกเขาเหล่านั้น ไม่ "เปลี่ยนแปลงตัวเอง"
ผมเคยได้มีโอกาสไปฟังคุณกระทิง เรื่องโรจน์ พูนผลได้เล่าถึงธุรกิจ Startup (ตอนนี้เป็นกระแสมาก แต่ผมย้ำว่าแค่ "กระแส") โดยมีคำๆ นึงที่ติดใจผมมากคือ "innovate or die" หรือ "เปลี่ยนแปลงไม่งั้นตาย" เปลี่ยนแปลงไม่งั้นตาย ..... หลายคนคงสงสัยว่า "แล้วฉันจะเปลี่ยนแปลงได้ยังไง? ก็ฉันทำธุรกิจนี้มา 10-20 ปีแล้ว"
ใช่ครับ.... ผมก็เคยคิดอย่างนั้น และก็ "คาดหวัง" ว่าทุกอย่างจะดีขึ้นโดยไม่ต้องทำอะไร แต่โลกทุกวันนี้ไม่ใช่อย่างนั้นอีกต่อไปแล้ว โลกวันนี้ เปลี่ยนแปลงเร็วมาก คนที่เคยเป็นมหาเศรษฐี กลายเป็นคนที่มีหนี้เป็นร้อยล้าน มีเยอะมาก ยิ่งเฉพาะช่วงเวลานี้ที่รัฐพึ่งประกาศ "จะพยายามอุ้ม SME ไม่ให้ล้มละลาย"
ครับ....
ก็รอดูทางภาครัฐต่อไปครับ ว่าจะสามารถช่วยได้มากน้อยแค่ไหน
แต่พอได้รู้ว่า หากผมไม่เปลี่ยนแปลงธุรกิจ ธุรกิจผมต้องตายแน่นอน ผมจึงเลือกที่จะเปลี่ยน เปลี่ยนโดยสิ้นเชิง จากหน้ามือเป็นหลังมือ จากแต่ก่อน กลัวที่จะปิดร้านของตัวเอง เพราะเกรงกลัวว่าจะไม่ทำยอดได้เหมือนเดิม เปลี่ยนเป็นไล่ปิดมันทุกร้าน ร้านไหนไม่กำไร ปิดหมด ร้านไหนค่าเช่าแพง ปิดหมด ร้านไหนไม่สามารถพยุงตัวได้ด้วยตัวเอง ปิดหมด
ผลที่ตามมาคือ "โดนด่าเละ" ครับ
ใครด่าละ?
จะใครละครับ ก็เหล่าพนักงานตาดำๆ ที่ทำงานหงกๆ อยู่ในร้านของธุรกิจผม ที่มีเป็นหลายสิบหลายร้อยคน บ้างก็เดินทางมาถึงสำนักงานใหญ่เพื่อเรียกร้องสิทธิ์แรงงาน โดยอ้างว่า ตนไม่สะดวกในการย้ายจากร้านที่ปิดไปแล้ว ไปอีกร้านหนึ่ง (ซึ่งในการปฏิบัติแล้ว ทางบริษัทสามารถย้ายแผนกพนักงานได้ ตามกฏหมายของบริษัทนั้นๆ) บ้างก็เอาเรื่องไปฟ้องศาลแรงงาน เป็นคดีความต้องขึ้นศาล บางคนก็มีติดเงินเดือนที่จ่ายช้า เนื่องจากขาดสภาพคล่องทางการเงิน มีหลากหลายเหตุผลมากมายที่เหล่าลูกจ้างเรียกร้อง โดยทางผมทำได้เพียง ปิดหูปิดตา และไม่รับฟังอะไร
ในตอนนั้น ในหัวของผมมีความคิดอย่างเดียว "จะต้องพยุงธุรกิจให้รอดให้ได้ จะต้องไม่ล่มละลาย"
นี่คือกับดักข้อที่ 3 : การละเลยหน้าที่ของผู้ว่าจ้าง โดยการไม่รักษาสิทธิประโยชน์ของเจ้าหน้าที่พนักงาน และปล่อยให้ไฟมันลามไปเรื่อยๆ
จากพนักงานร้องเรียน 1 คน ก็กลายเป็น 5 คน จาก 5 คนก็กลายเป็น 20 คน จาก 20 คน ก็กลายเป็น 100 คน จนตอนนี้ แม้แต่พนักงานที่ไม่ได้โดนกระทบ ก็ร้องเรียนเช่นกัน เพราะเพื่อนของตนกำลังเดือดร้อน
นี่คือผลจากการที่ผม ปิดหูปิดตา ไล่ปิดร้านที่คิดว่าไปไม่รอดออกจนหมด แต่ไม่ได้วางแผนว่าจะรับมือกับปัญหาเรื่องพนักงานอย่างไร จนวันนี้พนักงานของผมหลายคนก็ออกไปหางานใหม่ พร้อมๆ กับด่าสาดส่งบริษัท เพราะไม่สามารถจ่ายเงินเดือนของพวกเขาได้
ในมุมมองของเจ้าของธุรกิจ คงคิดว่า "ต้องพยายามใช้หนี้ก่อน เพราะหนี้สินก้อนโตที่กู้เงินมา มันจะทยอยมากขึ้นเรื่อยๆ" ซึ่งในความเป็นจริงก็ควรต้องเป็นอย่างนั้น แต่วันนี้ ผลที่ผมได้รับกลับมาคือ "บริษัทไม่สามารถหาพนักงานเก่งๆ เข้ามาได้ เนื่องจากมีข่าวลือด้านลบเต็มไปหมด"
จนมาถึงวันนี้ ธุรกิจผม จากธุรกิจที่เคยมีขนาดเป็น SME ระดับกลาง ค่อยๆ ลดปริมาณพนักงานลง จนเรียกได้ว่า เท่ากับ 1/5 ของที่เคยมีมากที่สุดในช่วงเวลาที่พีค พนักงานทุกวันนี้ที่อยู่กับผม บ้างก็อยู่เพราะใจรัก บ้างก็เป็นเด็กใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร บ้างก็จำใจอยู่ เพราะแก่แล้ว หางานที่อื่นคนลำบาก
ธุรกิจของผมในวันนี้ คงตัวครับ ไม่ได้สร้างกำไร แต่สามารถอยู่ได้ และค่อยๆ ทยอยจ่ายหนี้ที่ติดค้าง ลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกจนหมด พยายามไม่ขยายธุรกิจที่เกินความจำเป็น พยายามที่จะเปลี่ยนแนวทางธุรกิจไปขายอย่างอื่นที่อยู่ในหมวดหมู่ใกล้เคียงกัน และพยายามทำธุรกิจที่ใช้กำลังคนน้อยที่สุด และพยายามรักษาคนที่อยู่ในวันนี้ให้ได้ เพราะ "คน" คือกำลังที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปต่อได้
การเขียนครั้งนี้ ผมไม่ได้หวังจะได้ feedback อะไร เพียงแค่อยากมาแชร์ประสบการณ์ และความรู้สึกของเจ้าของธุรกิจ ในวันที่บริษัทกำลังจะไปไม่รอดให้ฟัง
ขอบคุณที่รับฟังครับ
จากใจ ความรู้สึกของเจ้าของธุรกิจในวันที่บริษัทกำลังจะไปไม่รอด
วันนี้ อยากจะนำเอาเรื่องของตัวเองมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ฟังถึงกับดักของการทำธุรกิจ และการแก้ปัญหาที่เรียกได้ว่า เห็นแก่ตัวในสายตาคนอื่น แต่เราจำเป็นต้องทำเพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้
เรื่องเริ่มต้นมีอยู่ว่า ผมเป็นเจ้าของธุรกิจรุ่นที่สอง ช่วยทำธุรกิจที่พ่อกับแม่เป็นผู้สร้างขึ้นมา ธุรกิจของเราก็นับว่าเป็นธุรกิจที่มีชื่อพอสมควร เป็นธุรกิจที่เปิดมาได้สักพักใหญ่แล้ว และก็เป็นที่รู้จักกันในวงกลุ่มไม่ใหญ่มาก
เรื่องมันมีอยู่ว่า ธุรกิจเราเติบโตได้ดี ดีมาโดยตลอด อาจจะเพราะด้วยเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 - 2548 เป็นช่วงเวลาที่เมืองไทยกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดก็เป็นได้ จึงทำให้เราอยากที่จะเติบโต ขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น โดยเพิ่มปริมาณช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้าออกไป เพิ่มกำลังคน และอัดงบการตลาดหนักมาก
นี่คือกับดักข้อที่ 1 : เห็นว่าธุรกิจกำลังไปได้สวย เลยพยายามที่จะขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เพื่อหวังว่าจะสามารถเพิ่มช่องทางในการทำเงินได้มากขึ้น โดยไม่หันไปดูว่า "เราพร้อมรึยังที่จะขยาย"
สิ่งที่ตามมากับกับดักข้อนี้คือ (1) เงินกู้ (2) ดอกเบี้ย (3) หนี้สินจากการลงทุน (ตกแต่งร้าน / เพิ่มปริมาณคน / ค่าลงทุนโฆษณา) โดยตอนแรกเรามีเงินสดอยู่กับตัวเยอะ เลยคิดว่าไม่น่าเป็นอะไร อีกแปป ก็คืนทุนแน่นอน
การขยายฐานธุรกิจของตัวเองโดยไม่ได้วางแผนถึงความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ ทำให้ธุรกิจของผมค่อยๆ เติบโตช้าลงเรื่อยๆ จนกระทั่งติดตัวแดง เพราะค่าเช่าที่ ที่แพงขึ้นทุกๆ ปี และค่าคนที่เป็นกำลังสำคัญของธุรกิจประเภทที่มีอยู่
จนในที่สุด ก็ต้องยอมรับสภาพและค่อยๆ ทยอยปิดร้านที่พึ่งเปิดไป ในเวลาไม่กี่ปีต่อมา หลังจากที่ยื้อมาเป็นเวลานาน เพียงเพราะคิดว่า "เดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง"
นี่คือกับดักข้อที่ 2 : คาดหวังว่าทุกอย่างจะดีขึ้น และพยายามที่จะเลี่ยงการตัดชิ้นส่วนของธุรกิจที่กำลังเน่าเสีย คิดอย่างเดียวคือ "เดี๋ยวก็คงดีขึ้น"
นี่คือความเป็นจริง ทุกอย่างจะไม่ "ดีขึ้น" หรอกครับ มีแต่จะ "แย่ลง" เพราะอะไร? ลองดูรอบๆ ตัวท่านสิ วันนี้ถามหน่อยว่ามีคนไหนที่เคยใหญ่โตมาก่อน วันนี้หายไปไหนหมด? ธุรกิจเหล่านี้คือธุรกิจที่ "ตาย" ไปแล้วครับ เพราะพวกเขาเหล่านั้น ไม่ "เปลี่ยนแปลงตัวเอง"
ผมเคยได้มีโอกาสไปฟังคุณกระทิง เรื่องโรจน์ พูนผลได้เล่าถึงธุรกิจ Startup (ตอนนี้เป็นกระแสมาก แต่ผมย้ำว่าแค่ "กระแส") โดยมีคำๆ นึงที่ติดใจผมมากคือ "innovate or die" หรือ "เปลี่ยนแปลงไม่งั้นตาย" เปลี่ยนแปลงไม่งั้นตาย ..... หลายคนคงสงสัยว่า "แล้วฉันจะเปลี่ยนแปลงได้ยังไง? ก็ฉันทำธุรกิจนี้มา 10-20 ปีแล้ว"
ใช่ครับ.... ผมก็เคยคิดอย่างนั้น และก็ "คาดหวัง" ว่าทุกอย่างจะดีขึ้นโดยไม่ต้องทำอะไร แต่โลกทุกวันนี้ไม่ใช่อย่างนั้นอีกต่อไปแล้ว โลกวันนี้ เปลี่ยนแปลงเร็วมาก คนที่เคยเป็นมหาเศรษฐี กลายเป็นคนที่มีหนี้เป็นร้อยล้าน มีเยอะมาก ยิ่งเฉพาะช่วงเวลานี้ที่รัฐพึ่งประกาศ "จะพยายามอุ้ม SME ไม่ให้ล้มละลาย"
ครับ....
ก็รอดูทางภาครัฐต่อไปครับ ว่าจะสามารถช่วยได้มากน้อยแค่ไหน
แต่พอได้รู้ว่า หากผมไม่เปลี่ยนแปลงธุรกิจ ธุรกิจผมต้องตายแน่นอน ผมจึงเลือกที่จะเปลี่ยน เปลี่ยนโดยสิ้นเชิง จากหน้ามือเป็นหลังมือ จากแต่ก่อน กลัวที่จะปิดร้านของตัวเอง เพราะเกรงกลัวว่าจะไม่ทำยอดได้เหมือนเดิม เปลี่ยนเป็นไล่ปิดมันทุกร้าน ร้านไหนไม่กำไร ปิดหมด ร้านไหนค่าเช่าแพง ปิดหมด ร้านไหนไม่สามารถพยุงตัวได้ด้วยตัวเอง ปิดหมด
ผลที่ตามมาคือ "โดนด่าเละ" ครับ
ใครด่าละ?
จะใครละครับ ก็เหล่าพนักงานตาดำๆ ที่ทำงานหงกๆ อยู่ในร้านของธุรกิจผม ที่มีเป็นหลายสิบหลายร้อยคน บ้างก็เดินทางมาถึงสำนักงานใหญ่เพื่อเรียกร้องสิทธิ์แรงงาน โดยอ้างว่า ตนไม่สะดวกในการย้ายจากร้านที่ปิดไปแล้ว ไปอีกร้านหนึ่ง (ซึ่งในการปฏิบัติแล้ว ทางบริษัทสามารถย้ายแผนกพนักงานได้ ตามกฏหมายของบริษัทนั้นๆ) บ้างก็เอาเรื่องไปฟ้องศาลแรงงาน เป็นคดีความต้องขึ้นศาล บางคนก็มีติดเงินเดือนที่จ่ายช้า เนื่องจากขาดสภาพคล่องทางการเงิน มีหลากหลายเหตุผลมากมายที่เหล่าลูกจ้างเรียกร้อง โดยทางผมทำได้เพียง ปิดหูปิดตา และไม่รับฟังอะไร
ในตอนนั้น ในหัวของผมมีความคิดอย่างเดียว "จะต้องพยุงธุรกิจให้รอดให้ได้ จะต้องไม่ล่มละลาย"
นี่คือกับดักข้อที่ 3 : การละเลยหน้าที่ของผู้ว่าจ้าง โดยการไม่รักษาสิทธิประโยชน์ของเจ้าหน้าที่พนักงาน และปล่อยให้ไฟมันลามไปเรื่อยๆ
จากพนักงานร้องเรียน 1 คน ก็กลายเป็น 5 คน จาก 5 คนก็กลายเป็น 20 คน จาก 20 คน ก็กลายเป็น 100 คน จนตอนนี้ แม้แต่พนักงานที่ไม่ได้โดนกระทบ ก็ร้องเรียนเช่นกัน เพราะเพื่อนของตนกำลังเดือดร้อน
นี่คือผลจากการที่ผม ปิดหูปิดตา ไล่ปิดร้านที่คิดว่าไปไม่รอดออกจนหมด แต่ไม่ได้วางแผนว่าจะรับมือกับปัญหาเรื่องพนักงานอย่างไร จนวันนี้พนักงานของผมหลายคนก็ออกไปหางานใหม่ พร้อมๆ กับด่าสาดส่งบริษัท เพราะไม่สามารถจ่ายเงินเดือนของพวกเขาได้
ในมุมมองของเจ้าของธุรกิจ คงคิดว่า "ต้องพยายามใช้หนี้ก่อน เพราะหนี้สินก้อนโตที่กู้เงินมา มันจะทยอยมากขึ้นเรื่อยๆ" ซึ่งในความเป็นจริงก็ควรต้องเป็นอย่างนั้น แต่วันนี้ ผลที่ผมได้รับกลับมาคือ "บริษัทไม่สามารถหาพนักงานเก่งๆ เข้ามาได้ เนื่องจากมีข่าวลือด้านลบเต็มไปหมด"
จนมาถึงวันนี้ ธุรกิจผม จากธุรกิจที่เคยมีขนาดเป็น SME ระดับกลาง ค่อยๆ ลดปริมาณพนักงานลง จนเรียกได้ว่า เท่ากับ 1/5 ของที่เคยมีมากที่สุดในช่วงเวลาที่พีค พนักงานทุกวันนี้ที่อยู่กับผม บ้างก็อยู่เพราะใจรัก บ้างก็เป็นเด็กใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร บ้างก็จำใจอยู่ เพราะแก่แล้ว หางานที่อื่นคนลำบาก
ธุรกิจของผมในวันนี้ คงตัวครับ ไม่ได้สร้างกำไร แต่สามารถอยู่ได้ และค่อยๆ ทยอยจ่ายหนี้ที่ติดค้าง ลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกจนหมด พยายามไม่ขยายธุรกิจที่เกินความจำเป็น พยายามที่จะเปลี่ยนแนวทางธุรกิจไปขายอย่างอื่นที่อยู่ในหมวดหมู่ใกล้เคียงกัน และพยายามทำธุรกิจที่ใช้กำลังคนน้อยที่สุด และพยายามรักษาคนที่อยู่ในวันนี้ให้ได้ เพราะ "คน" คือกำลังที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปต่อได้
การเขียนครั้งนี้ ผมไม่ได้หวังจะได้ feedback อะไร เพียงแค่อยากมาแชร์ประสบการณ์ และความรู้สึกของเจ้าของธุรกิจ ในวันที่บริษัทกำลังจะไปไม่รอดให้ฟัง
ขอบคุณที่รับฟังครับ