คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 27
เรามีหลานค่ะ เรื่องราวเกือบคล้ายๆ เขาสอบเข้าโรงเรียนที่ "ถูกคาดหวัง" ไม่ติด แต่ไปสอบโรงเรียนที่โอเคแต่ไม่ดังเท่าที่แรก..ติด เจ็บใจมากแต่ไม่แสดงออก เรียนโรงเรียนปัจจุบัน เข้ากับเพื่อนไม่ได้ โดนแกล้ง ไม่มีความสุข แต่เขาไม่ยอมเล่าให้ใครฟัง ได้แต่ "โกรธ และ เก็บกด" จากนั้นก็ส่งกระดาษเปล่าตอนสอบ ตั้งใจไม่เรียน เพราะคิดว่า จะได้ไปสอบโรงเรียนที่พลาด อีกครั้งปีหน้า แต่เพื่อนก็ล้อเลียนเรื่องสอบตก เขาโกรธทั้งเพื่อน โกรธตัวเองด้วย จิกทึ้งแขนตัวเองเป็นรอยเล็บลึก ผู้ใหญ่ที่บ้านถึงได้รู้ที่มาที่ไป
ความคาดหวัง ไม่ว่าจะตรงๆ หรือ อ้อมๆ จากพ่อแม่ คนในครอบครัว เพื่อน สังคม มันกดดันเด็ก จนเครียด บางครั้งถึงจะไม่ได้พูดออกมาตรงๆ แต่บรรยากาศแห่งความรู้สึกผิดหวังมันสัมผัสได้ และมันเจ็บปวด
ความผิดหวัง เสียใจ รู้สึกไร้ค่า รู้สึกไม่เป็นที่ภูมิใจ ทำให้โกรธมาก ความโกรธต้องมีที่ระบายออก ถ้าไม่ระบายใส่คนในครอบครัว ใส่เพื่อน ใส่สังคม ก็ระบายใส่ตนเอง ลงโทษตัวเอง เกลียดตัวเอง ทำร้ายตัวเอง การปล่อยปละละเลยการเรียนก็เป็นการลงโทษตัวเองในรูปแบบหนึ่งเหมือนกัน การที่น้องเขาตีพ่อแม่ เป็นการระบายออก ซึ่งเรามองว่าเป็นสัญญาณที่ดี เขากำลังบอกว่า "หนูมีปัญหา ช่วยหนูด้วย อารมณ์ท่วมท้นจนระเบิดแล้ว" ดีกว่าเขาทำร้ายตัวเอง แล้วมารู้ทีหลัง ซึ่งบางกรณีอาจสายเกินไปแล้ว
ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปรียบเทียบแข่งขัน การรักลูกโดยไม่คาดหวัง ทำยาก แต่ช่วยชีวิตและอนาคตของลูกได้ หาช่องทางให้แกได้ระบายความรู้สึกออกมา ดนตรี กีฬา ศิลปะ กิจกรรมต่างๆ ช่วยประคับประคองจิตใจกันไป
ความคาดหวัง ไม่ว่าจะตรงๆ หรือ อ้อมๆ จากพ่อแม่ คนในครอบครัว เพื่อน สังคม มันกดดันเด็ก จนเครียด บางครั้งถึงจะไม่ได้พูดออกมาตรงๆ แต่บรรยากาศแห่งความรู้สึกผิดหวังมันสัมผัสได้ และมันเจ็บปวด
ความผิดหวัง เสียใจ รู้สึกไร้ค่า รู้สึกไม่เป็นที่ภูมิใจ ทำให้โกรธมาก ความโกรธต้องมีที่ระบายออก ถ้าไม่ระบายใส่คนในครอบครัว ใส่เพื่อน ใส่สังคม ก็ระบายใส่ตนเอง ลงโทษตัวเอง เกลียดตัวเอง ทำร้ายตัวเอง การปล่อยปละละเลยการเรียนก็เป็นการลงโทษตัวเองในรูปแบบหนึ่งเหมือนกัน การที่น้องเขาตีพ่อแม่ เป็นการระบายออก ซึ่งเรามองว่าเป็นสัญญาณที่ดี เขากำลังบอกว่า "หนูมีปัญหา ช่วยหนูด้วย อารมณ์ท่วมท้นจนระเบิดแล้ว" ดีกว่าเขาทำร้ายตัวเอง แล้วมารู้ทีหลัง ซึ่งบางกรณีอาจสายเกินไปแล้ว
ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปรียบเทียบแข่งขัน การรักลูกโดยไม่คาดหวัง ทำยาก แต่ช่วยชีวิตและอนาคตของลูกได้ หาช่องทางให้แกได้ระบายความรู้สึกออกมา ดนตรี กีฬา ศิลปะ กิจกรรมต่างๆ ช่วยประคับประคองจิตใจกันไป
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 18
คุณแม่ค่ะ หนูอยากช่วยนะคะแต่ไม่รู้จะช่วยยังไง ดังนั้นจะขอแชร์ประสบการณ์ในฐานะที่ตัวเองก็เป็นแอสเพอเกอร์เหมือนกัน
หนูเรียนดีมาตลอด ได้เกียรติบัตรเรียนดีประพฤติดีทุกปี สอบเข้าโรงเรียนต่าง ๆ ได้เองหมด ประถมและมัธยมต้นเรียนโรงเรียนสาธิต มัธยมปลายเรียนที่โรงเรียนที่เขานับว่าดีที่สุดแถวสามย่าน และเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยในมหาลัยที่อยู่ติดกัน จบมาด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง อาจารย์ทาบทามให้ไปศึกษาต่อและกลับไปเป็นอาจารย์ที่มหาลัย สอบเข้าเรียนปริญญาโทที่ต่างประเทศ ปัจจุบันเรียนจบแล้ว แต่ไม่ได้กลับไปไทย ยังอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ เรียนภาษาท้องถิ่นเพื่อหางาน
ฟังดูดีใช่ไหมคะ?
น้อยคนนักที่จะรู้ว่าความจริงแล้วเบื้องหลังความสำเร็จต่าง ๆ เหล่านี้ แลกมาด้วยความทุกข์ทรมานของหนู ด้วยแรงกดดันและปัจจัยอื่น ๆ ทำให้หนูเป็นโรคซึมเศร้าตั้งแต่แปดขวบ มาถึงปัจจุบันนี้ก็เป็นเวลา 18 ปีแล้ว ยังไม่หาย พ่อคาดหวังในตัวหนูมากตั้งแต่เด็ก ๆ กวดขันทุกอย่าง และลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายแบบรุนแรงถ้าเกิดว่าไม่ได้ที่หนึ่ง คือถ้าไม่ใช่ที่หนึ่งเท่ากับไร้ค่า เป็นคนไร้ค่า เรียนเก่งไม่พอ ต้องมีเพื่อนเยอะด้วย ทำกิจกรรมด้วย แข่งกีฬาก็ต้องได้เหรียญทองทุกครั้ง ถ้าครั้งไหนไม่ได้พ่อไม่คุยด้วย ไม่ให้กินข้าว โดนเฆี่ยนด้วยหางปลากระเบน ส่วนแม่ไม่กดดันโดยตรงแต่กดดันทางอ้อมด้วยการอวดลูก ชอบอวดเรื่องความสำเร็จของลูกให้คนรอบข้างฟัง สร้างความคาดหวังต่าง ๆ นาๆ เวลาญาติหรือเพื่อนแม่ทักหนูก็ชอบถามเรื่องคะแนน ถามว่ายังชนะตลอดอยู่ไหม ทำให้หนูรู้สึกกดดันมากเพราะรู้สึกว่าถ้าไม่เก่งไม่ดี พ่อจะไม่รักและคนอื่นจะผิดหวัง
ในขณะเดียวกัน แม้ว่าเรื่องเรียนและกิจกรรมอื่น ๆ จะเป็นไปด้วยดี หนูมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคมมากเพราะไม่เข้าใจสิ่งที่คนอื่นทำ อย่างเวลาเพื่อนพูดเล่นกัน หนูจะไม่เข้าใจว่าเพื่อนพูดเล่น หรือตอนเด็ก ๆ หน่อย ก็ไม่ค่อยเข้าใจสีหน้าคน ไม่เข้าใจว่าคนอื่นทำหน้าแบบนี้แปลว่ารู้สึกอย่างไร แต่เพราะหนูชอบวาดรูปหนูเลยสังเกตแล้ววาดตาม เช่น ถ้าปากโค้งขึ้นอย่างนี้แปลว่ามีความสุข ถ้าโค้งขึ้นสองข้างไม่เท่ากันอาจจะแปลว่ามีเลศนัย และตอนเด็ก ๆ ก็มีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ เวลาโกรธจะโกรธมาก ไม่ได้โกรธแบบค่อย ๆ เพิ่มเหมือนกันอื่น ถ้าความโกรธมีสิบระดับ ของคนอื่นค่อยๆ เพิ่มจาก 1 ไปยัง 10 แต่ของหนูมีแค่โกรธระดับ 1 2 แล้วถ้าไม่ได้รับการแก้ไขทันเวลาก็จะเพิ่มเป็น 10 เลย เวลาโกรธแล้วชอบทำลายข้าวของ ทำร้ายตัวเอง (อยากทำร้ายคนอื่นแต่กลัวคนอื่นเกลียดก็เลยลงที่ตัวเองแทน) เหมือน IQ ดี แต่ EQ โตตามไม่ทัน ก็เลยเข้ากับเพื่อนไม่ค่อยได้ ประกอบกับพ่อ และมีเรื่องร้าย ๆ เกิดขึ้น เริ่มโดนเพื่อนแกล้งแบบแรง ๆ ที่โรงเรียน จนในที่สุดก็เลยปลีกตัวออกจากสังคม อยู่คนเดียว
อาการเหล่านี้ดีขึ้นตามเวลา ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งมีประสบการณ์มากขึ้น ทักษะทางสังคมฝึกได้ เพียงแต่ต้องมีคนช่วยแนะ และต้องอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ใจเย็นและเข้าใจ โชคดีพอเข้ามัธยมปลายหนูได้เจอเพื่อนดีที่ช่วยสอนทุกอย่างให้หมดเลย สอนว่าถ้าจะเป็นเพื่อนกับคนอื่นต้องทำยังไง อะไรทำแล้วคนอื่นโกรธ อะไรทำแล้วคนอื่นมีความสุข ก่อนหน้านั้นจะไม่ค่อยเข้าใจเพราะสมมติตัวเองเป็นคนอื่นไม่เป็น และสิ่งที่เรารู้สึกกับสิ่งที่คนอื่นรู้สึกจากการกระทำเดียวกันก็ไม่ค่อยเหมือนกัน จากนั้นก็ฝึกและสังเกตคนอื่นมาเรื่อย ๆ แล้วเริ่มเลียนแบบ เช่น เรื่อง small talk แต่ก่อนนี้เวลาจะพูดอะไรกับใครเจอหน้าปุ๊บก็เข้าประเด็นเลย เพราะหนูไม่เข้าใจว่าจะเกริ่นนอกเรื่องทำไม ตอนนี้เข้าใจแล้ว ยังไม่เห็นว่ามันจำเป็น แต่ก็ทำ เพราะคนอื่นทำ จะได้กลมกลืนกับคนอื่น ทุกวันนี้ทักษะการเข้าสังคมก็ดีขึ้นมาก ถ้าไม่บอกว่าเป็นแอสเพอร์เกอร์ก็ไม่มีใครสงสัยเลย ยกเว้นแฟนกับคนในครอบครัวที่อยู่ด้วยกันนาน ๆ จะรู้ว่ามีอาการอีกหลายอย่างที่ยังเห็นได้อยู่ เช่น ชอบทำอะไรซ้ำๆ ชอบมีแผนกิจวัตรที่ถ้าโดนขัดแล้วจะโมโหมาก มีที่ประจำที่ชอบนั่ง ถ้ามีคนอื่นมานั่งจะหยุดคิดเรื่องนี้ไม่ได้ อ่อนไหวต่อแสงจ้าและเสียงดัง อยู่ในที่ที่คนเยอะ ๆ ได้ไม่นาน และอื่น ๆ
ประเด็นสำคัญคือ
- อาการต่าง ๆ ของแอสเพอร์เกอร์ค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และจะดีขึ้นมากถ้ามีคนช่วยสอนช่วยฝึก ในบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกว่าปลอดภัย
- ความสำเร็จทางการเรียนและการงานไม่ได้ทำให้หนูมีความสุขเลย มันเหมือนเป็นบ่วงผูกคอ ยิ่งทำให้คนคาดหวัง ยิ่งเครียด
- ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ หนูจะถามพ่อแม่ว่า ถ้าพ่อแม่รู้ว่าวันหนึ่งหนูจะกลายเป็นแบบนี้ เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ไม่มีความสุขในชีวิต พ่อแม่จะยังกดดันหนูเรื่องเรียนไหม
- ตอนเด็ก ๆ รู้สึกเสียใจที่พ่อแม่อยากให้หนูทำตัว "ปกติ" เหมือนเด็กคนอื่น หนูรู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรม หนูพยายามทำอะไรมากมายเพื่อให้พ่อแม่ภูมิใจ แต่ทำไมพ่อแม่ไม่ยอมรับหนูในแบบที่หนูเป็นบ้าง อาจจะไม่เหมือนคนอื่น ...แต่ถามว่าจริง ๆ แล้วจำเป็นไหมที่จะต้องเหมือนคนอื่น (พอหมอบอกว่าหนูเป็นแอสเพอร์เกอร์ แม่ไม่ยอมรับ แม่บอกว่าไม่จริง ลูกแม่ปกติทุกอย่าง จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ยอมรับแบบเต็มปาก)
- ปัจจุบันพ่อเสียไปแล้ว ส่วนแม่รู้สึกผิดที่มีส่วนทำให้หนูเป็นแบบนี้ แม่พยายามทำดีด้วยเพื่อแก้ตัว แต่ถึงตอนนี้ก็สายไปแล้ว รู้สึกว่าอยู่กับแม่แล้วไม่ปลอดภัย พึ่งแม่ไม่ได้
- ปัจจุบันทำงานอิสระเกี่ยวกับศิลปะและพวกงานอดิเรกที่ชอบทำ รายได้ไม่เยอะเท่าตอนทำงานประจำตามสายที่เรียนมา แต่มีความสุข ไม่กดดัน ตอนนี้กำลังเรียนภาษาท้องถิ่นเพราะอยากทำงานที่ได้ช่วยคน ไม่อยากกลับไปเป็นอาจารย์หรือทำงานได้เงินเดือนเยอะ ๆ ที่ไทยอีกแล้ว เพราะสุดท้ายก็เข้าใจว่ามันเป็นความฝันที่คนอื่นยัดเยียดให้ ไม่ใช่ความฝันของเรา
- สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมีคนที่รักและเข้าใจอยู่ข้าง ๆ คอยช่วยเหลือ ส่งเสริม และเติมกำลังใจให้
ถ้าน้องทำร้ายร่างกายคุณแม่อีก หนูขอแนะนำให้รวบเขาเข้ามากอดเลย บอกน้องว่าแม่รักน้อง แม่เข้าใจ ใจเย็น ๆ ทำไมถึงโมโหเล่าให้ฟังได้ไหม แม่อยู่ข้างลูก แต่ลูกอย่าตีแม่ เพราะแม่เจ็บ แม่เห็นลูกเป็นทุกข์แม่ก็ทุกข์ เราเป็นทีมเดียวกัน มีอะไรต้องปรึกษากัน ส่วนมากเวลาโมโหนี่มันเป็นความรู้สึก ควบคุมตัวเองไม่ได้ และไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองกำลังโมโห หรือโมโหเรื่องอะไร ถ้าคุณแม่ถามให้เขาใจเย็นลงแล้วคิดบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ อาการจะดีขึ้น เวลาน้องเริ่มโมโหจะได้รู้สึกตัวว่าตัวเองกำลังจะโมโหนะ ทำไมถึงโมโหล่ะ รู้สาเหตุแล้วยังไงต่อ แก้ที่ต้นเหตุ
คุณแม่สู้ ๆ นะคะ ถ้าอยากถามหรือคุยอะไรเพิ่ม ส่งหลังไมค์มาได้เลย หนูยินดีช่วยเต็มที่
หนูเรียนดีมาตลอด ได้เกียรติบัตรเรียนดีประพฤติดีทุกปี สอบเข้าโรงเรียนต่าง ๆ ได้เองหมด ประถมและมัธยมต้นเรียนโรงเรียนสาธิต มัธยมปลายเรียนที่โรงเรียนที่เขานับว่าดีที่สุดแถวสามย่าน และเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยในมหาลัยที่อยู่ติดกัน จบมาด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง อาจารย์ทาบทามให้ไปศึกษาต่อและกลับไปเป็นอาจารย์ที่มหาลัย สอบเข้าเรียนปริญญาโทที่ต่างประเทศ ปัจจุบันเรียนจบแล้ว แต่ไม่ได้กลับไปไทย ยังอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ เรียนภาษาท้องถิ่นเพื่อหางาน
ฟังดูดีใช่ไหมคะ?
น้อยคนนักที่จะรู้ว่าความจริงแล้วเบื้องหลังความสำเร็จต่าง ๆ เหล่านี้ แลกมาด้วยความทุกข์ทรมานของหนู ด้วยแรงกดดันและปัจจัยอื่น ๆ ทำให้หนูเป็นโรคซึมเศร้าตั้งแต่แปดขวบ มาถึงปัจจุบันนี้ก็เป็นเวลา 18 ปีแล้ว ยังไม่หาย พ่อคาดหวังในตัวหนูมากตั้งแต่เด็ก ๆ กวดขันทุกอย่าง และลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายแบบรุนแรงถ้าเกิดว่าไม่ได้ที่หนึ่ง คือถ้าไม่ใช่ที่หนึ่งเท่ากับไร้ค่า เป็นคนไร้ค่า เรียนเก่งไม่พอ ต้องมีเพื่อนเยอะด้วย ทำกิจกรรมด้วย แข่งกีฬาก็ต้องได้เหรียญทองทุกครั้ง ถ้าครั้งไหนไม่ได้พ่อไม่คุยด้วย ไม่ให้กินข้าว โดนเฆี่ยนด้วยหางปลากระเบน ส่วนแม่ไม่กดดันโดยตรงแต่กดดันทางอ้อมด้วยการอวดลูก ชอบอวดเรื่องความสำเร็จของลูกให้คนรอบข้างฟัง สร้างความคาดหวังต่าง ๆ นาๆ เวลาญาติหรือเพื่อนแม่ทักหนูก็ชอบถามเรื่องคะแนน ถามว่ายังชนะตลอดอยู่ไหม ทำให้หนูรู้สึกกดดันมากเพราะรู้สึกว่าถ้าไม่เก่งไม่ดี พ่อจะไม่รักและคนอื่นจะผิดหวัง
ในขณะเดียวกัน แม้ว่าเรื่องเรียนและกิจกรรมอื่น ๆ จะเป็นไปด้วยดี หนูมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคมมากเพราะไม่เข้าใจสิ่งที่คนอื่นทำ อย่างเวลาเพื่อนพูดเล่นกัน หนูจะไม่เข้าใจว่าเพื่อนพูดเล่น หรือตอนเด็ก ๆ หน่อย ก็ไม่ค่อยเข้าใจสีหน้าคน ไม่เข้าใจว่าคนอื่นทำหน้าแบบนี้แปลว่ารู้สึกอย่างไร แต่เพราะหนูชอบวาดรูปหนูเลยสังเกตแล้ววาดตาม เช่น ถ้าปากโค้งขึ้นอย่างนี้แปลว่ามีความสุข ถ้าโค้งขึ้นสองข้างไม่เท่ากันอาจจะแปลว่ามีเลศนัย และตอนเด็ก ๆ ก็มีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ เวลาโกรธจะโกรธมาก ไม่ได้โกรธแบบค่อย ๆ เพิ่มเหมือนกันอื่น ถ้าความโกรธมีสิบระดับ ของคนอื่นค่อยๆ เพิ่มจาก 1 ไปยัง 10 แต่ของหนูมีแค่โกรธระดับ 1 2 แล้วถ้าไม่ได้รับการแก้ไขทันเวลาก็จะเพิ่มเป็น 10 เลย เวลาโกรธแล้วชอบทำลายข้าวของ ทำร้ายตัวเอง (อยากทำร้ายคนอื่นแต่กลัวคนอื่นเกลียดก็เลยลงที่ตัวเองแทน) เหมือน IQ ดี แต่ EQ โตตามไม่ทัน ก็เลยเข้ากับเพื่อนไม่ค่อยได้ ประกอบกับพ่อ และมีเรื่องร้าย ๆ เกิดขึ้น เริ่มโดนเพื่อนแกล้งแบบแรง ๆ ที่โรงเรียน จนในที่สุดก็เลยปลีกตัวออกจากสังคม อยู่คนเดียว
อาการเหล่านี้ดีขึ้นตามเวลา ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งมีประสบการณ์มากขึ้น ทักษะทางสังคมฝึกได้ เพียงแต่ต้องมีคนช่วยแนะ และต้องอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ใจเย็นและเข้าใจ โชคดีพอเข้ามัธยมปลายหนูได้เจอเพื่อนดีที่ช่วยสอนทุกอย่างให้หมดเลย สอนว่าถ้าจะเป็นเพื่อนกับคนอื่นต้องทำยังไง อะไรทำแล้วคนอื่นโกรธ อะไรทำแล้วคนอื่นมีความสุข ก่อนหน้านั้นจะไม่ค่อยเข้าใจเพราะสมมติตัวเองเป็นคนอื่นไม่เป็น และสิ่งที่เรารู้สึกกับสิ่งที่คนอื่นรู้สึกจากการกระทำเดียวกันก็ไม่ค่อยเหมือนกัน จากนั้นก็ฝึกและสังเกตคนอื่นมาเรื่อย ๆ แล้วเริ่มเลียนแบบ เช่น เรื่อง small talk แต่ก่อนนี้เวลาจะพูดอะไรกับใครเจอหน้าปุ๊บก็เข้าประเด็นเลย เพราะหนูไม่เข้าใจว่าจะเกริ่นนอกเรื่องทำไม ตอนนี้เข้าใจแล้ว ยังไม่เห็นว่ามันจำเป็น แต่ก็ทำ เพราะคนอื่นทำ จะได้กลมกลืนกับคนอื่น ทุกวันนี้ทักษะการเข้าสังคมก็ดีขึ้นมาก ถ้าไม่บอกว่าเป็นแอสเพอร์เกอร์ก็ไม่มีใครสงสัยเลย ยกเว้นแฟนกับคนในครอบครัวที่อยู่ด้วยกันนาน ๆ จะรู้ว่ามีอาการอีกหลายอย่างที่ยังเห็นได้อยู่ เช่น ชอบทำอะไรซ้ำๆ ชอบมีแผนกิจวัตรที่ถ้าโดนขัดแล้วจะโมโหมาก มีที่ประจำที่ชอบนั่ง ถ้ามีคนอื่นมานั่งจะหยุดคิดเรื่องนี้ไม่ได้ อ่อนไหวต่อแสงจ้าและเสียงดัง อยู่ในที่ที่คนเยอะ ๆ ได้ไม่นาน และอื่น ๆ
ประเด็นสำคัญคือ
- อาการต่าง ๆ ของแอสเพอร์เกอร์ค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และจะดีขึ้นมากถ้ามีคนช่วยสอนช่วยฝึก ในบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกว่าปลอดภัย
- ความสำเร็จทางการเรียนและการงานไม่ได้ทำให้หนูมีความสุขเลย มันเหมือนเป็นบ่วงผูกคอ ยิ่งทำให้คนคาดหวัง ยิ่งเครียด
- ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ หนูจะถามพ่อแม่ว่า ถ้าพ่อแม่รู้ว่าวันหนึ่งหนูจะกลายเป็นแบบนี้ เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ไม่มีความสุขในชีวิต พ่อแม่จะยังกดดันหนูเรื่องเรียนไหม
- ตอนเด็ก ๆ รู้สึกเสียใจที่พ่อแม่อยากให้หนูทำตัว "ปกติ" เหมือนเด็กคนอื่น หนูรู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรม หนูพยายามทำอะไรมากมายเพื่อให้พ่อแม่ภูมิใจ แต่ทำไมพ่อแม่ไม่ยอมรับหนูในแบบที่หนูเป็นบ้าง อาจจะไม่เหมือนคนอื่น ...แต่ถามว่าจริง ๆ แล้วจำเป็นไหมที่จะต้องเหมือนคนอื่น (พอหมอบอกว่าหนูเป็นแอสเพอร์เกอร์ แม่ไม่ยอมรับ แม่บอกว่าไม่จริง ลูกแม่ปกติทุกอย่าง จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ยอมรับแบบเต็มปาก)
- ปัจจุบันพ่อเสียไปแล้ว ส่วนแม่รู้สึกผิดที่มีส่วนทำให้หนูเป็นแบบนี้ แม่พยายามทำดีด้วยเพื่อแก้ตัว แต่ถึงตอนนี้ก็สายไปแล้ว รู้สึกว่าอยู่กับแม่แล้วไม่ปลอดภัย พึ่งแม่ไม่ได้
- ปัจจุบันทำงานอิสระเกี่ยวกับศิลปะและพวกงานอดิเรกที่ชอบทำ รายได้ไม่เยอะเท่าตอนทำงานประจำตามสายที่เรียนมา แต่มีความสุข ไม่กดดัน ตอนนี้กำลังเรียนภาษาท้องถิ่นเพราะอยากทำงานที่ได้ช่วยคน ไม่อยากกลับไปเป็นอาจารย์หรือทำงานได้เงินเดือนเยอะ ๆ ที่ไทยอีกแล้ว เพราะสุดท้ายก็เข้าใจว่ามันเป็นความฝันที่คนอื่นยัดเยียดให้ ไม่ใช่ความฝันของเรา
- สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมีคนที่รักและเข้าใจอยู่ข้าง ๆ คอยช่วยเหลือ ส่งเสริม และเติมกำลังใจให้
ถ้าน้องทำร้ายร่างกายคุณแม่อีก หนูขอแนะนำให้รวบเขาเข้ามากอดเลย บอกน้องว่าแม่รักน้อง แม่เข้าใจ ใจเย็น ๆ ทำไมถึงโมโหเล่าให้ฟังได้ไหม แม่อยู่ข้างลูก แต่ลูกอย่าตีแม่ เพราะแม่เจ็บ แม่เห็นลูกเป็นทุกข์แม่ก็ทุกข์ เราเป็นทีมเดียวกัน มีอะไรต้องปรึกษากัน ส่วนมากเวลาโมโหนี่มันเป็นความรู้สึก ควบคุมตัวเองไม่ได้ และไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองกำลังโมโห หรือโมโหเรื่องอะไร ถ้าคุณแม่ถามให้เขาใจเย็นลงแล้วคิดบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ อาการจะดีขึ้น เวลาน้องเริ่มโมโหจะได้รู้สึกตัวว่าตัวเองกำลังจะโมโหนะ ทำไมถึงโมโหล่ะ รู้สาเหตุแล้วยังไงต่อ แก้ที่ต้นเหตุ
คุณแม่สู้ ๆ นะคะ ถ้าอยากถามหรือคุยอะไรเพิ่ม ส่งหลังไมค์มาได้เลย หนูยินดีช่วยเต็มที่
ความคิดเห็นที่ 2
ตอบในฐานะพ่อคนหนึ่งที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ
เมื่อผมรู้ว่าลูกเป็นเด็กพิเศษ ผมเข้าไปกอดลูก และคิดว่าพ่อจะช่วยลูกทุกวิถีทางที่จะทำได้ ที่คิดว่าดีที่สุด
ทำให้ผมตั้ง"ความคาดหวัง" เอาไว้แบบที่ผมอยากให้ลูกเป็น
แต่เมื่อเวลาผ่านไป พร้อมกับความพยายามของครอบครัว(รวมถึงลูกเล็กๆที่ปกติอีกสองคน) ที่ทุ่มเทแทบทุกอย่างที่มีเพื่อให้ไปถึง"ความคาดหวัง" นั้น
แต่พวกเรากลับพบว่า ความพยายามทั้งหมดนั้นมันทำให้ครอบครัวต้องมีความทุกข์อย่างมาก รวมถึงลูกเขาก็ไม่ได้มีความสุขหรือชอบในความพยายามที่พวกเราทุ่มเทให้เขาเลย
จนวันหนึ่งผมคิดได้ว่า เราควรคาดหวังในสิ่งที่เขาเป็น ไม่ใช่ในแบบที่เราอยากให้เป็น
ผมกับภรรยาได้ปรับวิธีเลี้ยงดูใหม่ทั้งหมด คือ ผมและภรรยา"คาดหวัง"ให้เขามีชีวิตที่ดีและมีความสุขในแบบที่เขาเป็น แค่นี้พอแล้วครับ
ทุกวันนี้เขาเป็นวัยรุ่น เขามีความสุข อ่อนโยน ไม่ก้าวร้าว อารมณ์ดี ยิ้มง่าย เชื่อฟัง ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเรียนหนังสือแบบปกติได้ก็ตาม
ครอบครัวก็มีความสุข เพราะเพียงแค่ยอมรับในสิ่งที่เขาเป็น
อยากเป็นกำลังใจให้ ขอให้คุณและลูกมีความสุขและมีชีวิตที่ดีครับ
เมื่อผมรู้ว่าลูกเป็นเด็กพิเศษ ผมเข้าไปกอดลูก และคิดว่าพ่อจะช่วยลูกทุกวิถีทางที่จะทำได้ ที่คิดว่าดีที่สุด
ทำให้ผมตั้ง"ความคาดหวัง" เอาไว้แบบที่ผมอยากให้ลูกเป็น
แต่เมื่อเวลาผ่านไป พร้อมกับความพยายามของครอบครัว(รวมถึงลูกเล็กๆที่ปกติอีกสองคน) ที่ทุ่มเทแทบทุกอย่างที่มีเพื่อให้ไปถึง"ความคาดหวัง" นั้น
แต่พวกเรากลับพบว่า ความพยายามทั้งหมดนั้นมันทำให้ครอบครัวต้องมีความทุกข์อย่างมาก รวมถึงลูกเขาก็ไม่ได้มีความสุขหรือชอบในความพยายามที่พวกเราทุ่มเทให้เขาเลย
จนวันหนึ่งผมคิดได้ว่า เราควรคาดหวังในสิ่งที่เขาเป็น ไม่ใช่ในแบบที่เราอยากให้เป็น
ผมกับภรรยาได้ปรับวิธีเลี้ยงดูใหม่ทั้งหมด คือ ผมและภรรยา"คาดหวัง"ให้เขามีชีวิตที่ดีและมีความสุขในแบบที่เขาเป็น แค่นี้พอแล้วครับ
ทุกวันนี้เขาเป็นวัยรุ่น เขามีความสุข อ่อนโยน ไม่ก้าวร้าว อารมณ์ดี ยิ้มง่าย เชื่อฟัง ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเรียนหนังสือแบบปกติได้ก็ตาม
ครอบครัวก็มีความสุข เพราะเพียงแค่ยอมรับในสิ่งที่เขาเป็น
อยากเป็นกำลังใจให้ ขอให้คุณและลูกมีความสุขและมีชีวิตที่ดีครับ
แสดงความคิดเห็น
ลูกสาวเป็นแอสเพอร์เกอร์ บอกให้ทำการบ้านก็หงุดหงิด อาละวาด จนถึงทำร้ายคนใกล้ตัว กลัวจะเรียนต่อไม่ได้