ก.แรงงาน เร่งหามาตรการช่วยยามทั่วประเทศ ก.ม.ใหม่บังคับรปภ.จบม.3
"บิ๊กบี้" ขานรับ "บิ๊กตู่" หาทางช่วย รปภ.ทั่วประเทศ ส่อตกงาน เหตุได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย บังคับให้จบ ม.3 ระบุ 2.7 แสนคน ส่อได้รับผลกระทบ
เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. นายธีรพล ขุนเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ได้มอบหมายให้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน แก้ปัญหาความเดือดร้อนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) ที่เรียนไม่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ ม.3 เนื่องจาก พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 ที่มีผลบังคับใช้แล้วนั้นกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพ รปภ. จะต้องเป็นคนไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ต้องผ่านหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย และจะต้องจบการศึกษาชั้น ม.3 เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ แต่อาจกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพนี้ ทั้งที่ทำงานอยู่แล้วแต่มีวุฒิไม่จบ ม.3 และผู้ที่ต้องการเข้ามาทำงานใหม่ ในอาชีพ รปภ. ซึ่งจะส่งผลต่อการจ้างงาน โดย รมว.แรงงานได้สั่งการให้ร่วมหารือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะประเด็นวุฒิการศึกษาที่ต้องจบ ม.3 ประกอบด้วย กศน. ผู้ประกอบธุรกิจ รปภ. และตำรวจ ตลอดจนกฤษฎีกา โดยมีกระทรวงแรงงาน เป็นเจ้าภาพ
นายธีรพล กล่าวอีกว่า ได้มีการกำหนดแนวทางเพื่อช่วยเหลือใน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้อยู่แล้วแต่ไม่มีวุฒิ ม.3 ให้ผู้ประกอบธุรกิจฯ ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ รปภ. ในสังกัดที่ไม่จบ ม.3 เพื่อเข้าสู่ระบบการเรียน กศน.ตามหลักสูตรเร่งรัดให้เรียนโดยเร็ว เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มคนใหม่ ที่ต้องการประกอบอาชีพด้านนี้ ให้ กศน. จัดหลักสูตรเรียนระยะสั้น เพื่อให้ได้รับวุฒิ ม.3 ซึ่งเดิมใช้ระยะเวลา 2 ปี ให้ปรับหลักสูตรให้เข้มข้นขึ้น เหลือระยะเวลาการเรียน 1 ปี เพื่อเข้าสู่ระบบการจ้างงานโดยเร็ว โดยการจัดระบบการศึกษาของ กศน.ทั้ง 2 กลุ่มนี้จะมีการปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับเวลาและความต้องการของภาคธุรกิจด้วย สำหรับกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่ทำงาน รปภ. อยู่แล้วแต่ไม่มีวุฒิ ม.3 และต้องการประกอบอาชีพอื่น กระทรวงแรงงาน จะดูแลตำแหน่งงานที่เหมะสมให้ พร้อมพัฒนาทักษะฝีมือตามความถนัดและความต้องการของตลาดแรงงานด้วยเพื่อสามารถประกอบอาชีพใหม่ได้อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยทุกกลุ่มมีงานทำตามนโยบายของกระทรวงแรงงานและของรัฐบาล
นายธีรพล กล่าวด้วยว่า การยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ ทั้งการได้รับวุฒิ ม.3 และต้องผ่านอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ รปภ.ทำงานอย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐาน เกิดความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจด้านนี้ประมาณ 4,000 แห่ง มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ประมาณ 3.2 แสนคนทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มีผู้ไม่สำเร็จการศึกษา ม.3 ประมาณ 2.7 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 84 ปัจจุบันธุรกิจด้านนี้ยังมีความต้องการพนักงานเพิ่มอีกประมาณร้อยละ 20 สำหรับในด้านข้อกฎหมาย ได้ประสานตำรวจเร่งรัดเรื่องการพิจารณาวุฒิการศึกษาภาคบังคับ รวมถึงมาตรการเกี่ยวกับผู้ที่เคยต้องคดีพร้อมกันไปด้วย โดยสัปดาห์หน้ากระทรวงแรงงานจะเชิญผู้เกี่ยวข้องหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว หากสามารถยกระดับและพัฒนาทักษะตลอดจนความรู้เกี่ยวกับวุฒิการศึกษาตามกำหนดแล้ว ผู้ที่ทำงาน รปภ. จะมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
คิดว่า จะเป็นผลเสียต่อคนการศึกษาต่ำมั้ยครับ แล้วการเพิ่มวุฒิแบบนี้ คิดว่ามันจะมีผลดีหรือช่วยให้คุณมองอาชีพนี้ดีขึ้นมั้ยครับ
บังคับ ยามจบวุฒิม.3 คิดว่าจะช่วยยกระดับคุณภาพยามได้ดีขึ้นมั้ย
"บิ๊กบี้" ขานรับ "บิ๊กตู่" หาทางช่วย รปภ.ทั่วประเทศ ส่อตกงาน เหตุได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย บังคับให้จบ ม.3 ระบุ 2.7 แสนคน ส่อได้รับผลกระทบ
เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. นายธีรพล ขุนเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ได้มอบหมายให้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน แก้ปัญหาความเดือดร้อนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) ที่เรียนไม่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ ม.3 เนื่องจาก พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 ที่มีผลบังคับใช้แล้วนั้นกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพ รปภ. จะต้องเป็นคนไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ต้องผ่านหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย และจะต้องจบการศึกษาชั้น ม.3 เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ แต่อาจกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพนี้ ทั้งที่ทำงานอยู่แล้วแต่มีวุฒิไม่จบ ม.3 และผู้ที่ต้องการเข้ามาทำงานใหม่ ในอาชีพ รปภ. ซึ่งจะส่งผลต่อการจ้างงาน โดย รมว.แรงงานได้สั่งการให้ร่วมหารือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะประเด็นวุฒิการศึกษาที่ต้องจบ ม.3 ประกอบด้วย กศน. ผู้ประกอบธุรกิจ รปภ. และตำรวจ ตลอดจนกฤษฎีกา โดยมีกระทรวงแรงงาน เป็นเจ้าภาพ
นายธีรพล กล่าวอีกว่า ได้มีการกำหนดแนวทางเพื่อช่วยเหลือใน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้อยู่แล้วแต่ไม่มีวุฒิ ม.3 ให้ผู้ประกอบธุรกิจฯ ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ รปภ. ในสังกัดที่ไม่จบ ม.3 เพื่อเข้าสู่ระบบการเรียน กศน.ตามหลักสูตรเร่งรัดให้เรียนโดยเร็ว เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มคนใหม่ ที่ต้องการประกอบอาชีพด้านนี้ ให้ กศน. จัดหลักสูตรเรียนระยะสั้น เพื่อให้ได้รับวุฒิ ม.3 ซึ่งเดิมใช้ระยะเวลา 2 ปี ให้ปรับหลักสูตรให้เข้มข้นขึ้น เหลือระยะเวลาการเรียน 1 ปี เพื่อเข้าสู่ระบบการจ้างงานโดยเร็ว โดยการจัดระบบการศึกษาของ กศน.ทั้ง 2 กลุ่มนี้จะมีการปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับเวลาและความต้องการของภาคธุรกิจด้วย สำหรับกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่ทำงาน รปภ. อยู่แล้วแต่ไม่มีวุฒิ ม.3 และต้องการประกอบอาชีพอื่น กระทรวงแรงงาน จะดูแลตำแหน่งงานที่เหมะสมให้ พร้อมพัฒนาทักษะฝีมือตามความถนัดและความต้องการของตลาดแรงงานด้วยเพื่อสามารถประกอบอาชีพใหม่ได้อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยทุกกลุ่มมีงานทำตามนโยบายของกระทรวงแรงงานและของรัฐบาล
นายธีรพล กล่าวด้วยว่า การยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ ทั้งการได้รับวุฒิ ม.3 และต้องผ่านอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ รปภ.ทำงานอย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐาน เกิดความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจด้านนี้ประมาณ 4,000 แห่ง มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ประมาณ 3.2 แสนคนทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มีผู้ไม่สำเร็จการศึกษา ม.3 ประมาณ 2.7 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 84 ปัจจุบันธุรกิจด้านนี้ยังมีความต้องการพนักงานเพิ่มอีกประมาณร้อยละ 20 สำหรับในด้านข้อกฎหมาย ได้ประสานตำรวจเร่งรัดเรื่องการพิจารณาวุฒิการศึกษาภาคบังคับ รวมถึงมาตรการเกี่ยวกับผู้ที่เคยต้องคดีพร้อมกันไปด้วย โดยสัปดาห์หน้ากระทรวงแรงงานจะเชิญผู้เกี่ยวข้องหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว หากสามารถยกระดับและพัฒนาทักษะตลอดจนความรู้เกี่ยวกับวุฒิการศึกษาตามกำหนดแล้ว ผู้ที่ทำงาน รปภ. จะมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
คิดว่า จะเป็นผลเสียต่อคนการศึกษาต่ำมั้ยครับ แล้วการเพิ่มวุฒิแบบนี้ คิดว่ามันจะมีผลดีหรือช่วยให้คุณมองอาชีพนี้ดีขึ้นมั้ยครับ