เก็บตกจากกระทู้นอกเรื่อง
รำพึงถึงเพื่อนตาย
เพื่อนอีกกลุ่มหนึ่งของผม ก็คือเพื่อนรุ่นนักเรียนนายสิบ ซึ่งสำเร็จการศึกษาออกมารับราชการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ มีอยู่ด้วยกันเกือบ ๓๐๐ คน แยกย้ายไปรับราชการ ทั่วทุกภาคของประเทศ
แต่เมื่อเริ่มรวบรวมเป็นกลุ่มเพื่อพบปะสังสรรค์ หลังจากที่จากกันไป ๒๐ ปีแล้ว ก็ได้รายชื่อมา ๒๐๐ คนเศษ
และเมื่อรับราชการต่อมาอีก ๒๔ ปี ปรากฏว่าไม่ยอมหายใจไป ๕๗ คน ที่เหลือก็เกษียณอายุราชการทั้งหมด
ความจริงผมจำหน้าจำชื่อเพื่อนไม่ได้ทั้งหมดหรอก เมื่อเวลาจัดงานเลี้ยงรุ่นซึ่งมีผู้มาร่วมงาน ผลัดเปลี่ยนกันเพียง ๔๐ - ๖๐ คน ก็ต้องให้เขียนชื่อใส่กระดาษแข็ง กลัดติดหน้าอกไว้ จึงพอจะทักทายกันได้บ้าง
ส่วนคนที่จำชื่อจำหน้าได้ และรู้ประวัติกันดีพอควร นั้นมีไม่กี่คน และจากกันไปแล้วก็หลายคน
อย่างเช่น คนแรกเป็นนักวิ่งชนะเลิศกองทัพบก ไปเข้าแข่งขันกีฬาซีเกมส์ สมัยที่ยังเรียกว่า เซียพเกมส์ กีฬาเอเชียนเกมส์ และโอลิมปิคเกมส์ที่กรุงโรมเมื่อนานมาแล้ว
ต่อมาลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพส่วนตัว อยู่กับภัตตาคารและสถานอาบอบนวด สมัยที่เข้ามาเฟื่องฟูในเมืองไทยยุคแรก ๆ
ต่อมาสมัครเป็นทหารพราน ไปรบนอกประเทศ กลับมาเลยเป็นนักเขียนเล่าเรื่องสงครามมีชื่อเสียงโด่งดัง นามปากกา สยุมภู ทศพล
ผมเจอเขาครั้งสุดท้ายในงานวันนักเขียน ที่สมาคมแถวบ้านผมเอง จำเขาแทบไม่ได้ เพราะผมบนหัวหายไปกว่าครึ่ง
สุดท้ายก็ได้ไปในงานฌาปนกิจศพเขา ที่วัดแถวห้วยขวาง เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ ซึ่งมีแขกไปร่วมงานน้อย ไม่สมกับที่เป็นคนเคยมีชื่อเสียงโด่งดัง มาก่อนเลย
คนต่อมาเป็นเจ้าหน้าที่เสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ตั้งแต่ยังเป็น ช่อง ๗ ขาวดำ จนพัฒนามาเป็นช่อง ๕ (สี ) เป็นคนรูปหล่อและเจ้าชู้ แต่ภรรยาดุมากเป็นพิเศษ ไม่ทราบว่าเขาชอบเถียงภรรยาหรือเปล่า เพราะสุดท้ายเขาพูดไม่มีเสียง ต้องเขียนหนังสือคุยกับเพื่อน และถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งในกล่องเสียง เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗
คนต่อมารับราชการด้านหาข่าว ประจำอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดและตั้งรกรากอยู่ตลอดชีวิต เขาสนิทสนมกับผมมาก ได้เคยไปพักอาศัยกินนอน เที่ยวสถานที่ต่าง ๆ ที่บ้านเขาเพียงครั้งเดียว แต่ซาบซึ้งในอัธยาศัยอันโอบอ้อมอารีของเขาเป็นอย่างยิ่ง
น่าเสียใจที่เขาเสียชีวิตด้วยโรคอะไรก็ไม่ทราบ และผมติดราชการไม่ได้ไปร่วมงานศพของเขา เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘
คนถัดไปรับราชการทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก พร้อม ๆ กับคนก่อน แต่มีหน้าที่เขียนแผ่นสไลด์ ฉายคั่นเวลาที่จะเปลี่ยนรายการ เป็นภาพอะไรก็ได้ เขาเขียนสวยมากโดยไม่ได้ร่ำเรียนมาจากสถาบันไหนเลย
เขาชอบเขียนใบหน้าผม เอาไปทำเป็นการ์ตูนตลกบ่อย ๆ เขาเป็นคนรักการเล่นกีฬา รักสวยรักงาม และชอบเติมชีวิตให้สดชื่นด้วยการหาสาวน้อย วัยเพิ่งจะพ้นการศึกษา มาเป็นเพื่อนใจอยู่เสมอ
เมื่อก่อนจะเกษียณอายุราชการ เขาเขียนหน้าผมให้เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่องสามก๊ก สำหรับใช้กับนามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน” ของผมไว้เป็นที่ระลึก
แต่เขาก็ไม่ได้อยู่เห็นรูปนั้น ปรากฏในหนังสือที่ผมได้รับการพิมพ์เป็นเล่ม เพราะหยุดหายใจไปเสียก่อน ด้วยโรคมะเร็งร้าย เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐
อีกคนหนึ่งเขาลาออกก่อน พ.ศ.๒๕๓๕ ไปตั้งบริษัทจำหน่ายเครื่องจักรกลเกี่ยวกับการเกษตร จากจีนแดง นัยว่ามีผู้ใหญ่ให้การสนับสนุน
เขาชักชวนให้ผมไปเป็นหัวหน้าแผนกบุคคล แต่ผมไม่ถนัดในการปกครองพลเรือน จึงไม่รับคำชวนของเขา แต่ก็ได้ร่างภารกิจการจัดบุคลากรให้เขา ก่อนการก่อตั้งบริษัท
ต่อมาหลังจากเดือนพฤษภาคมผ่านไป บริษัทของเขาคงจะพบอุปสรรคบางประการ เรื่องนี้ก็หายเงียบไป เขาจึงประกอบธุรกิจอย่างอื่น
จนเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ วันเดือนเดียวกับคนที่แล้ว อย่างน่าอัศจรรย์
อีกคนหนึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนมกับผมมาก เพราะเมื่อผมเป็นประธานรุ่นอยู่ ๑๔ ปี ก็ได้เขาเป็นรอง และช่วยให้คำปรึกษาหารือในเรื่องต่าง ๆ เป็นประจำ
เขามีสมองที่ว่องไวคิดแก้ปัญญาได้รวดเร็ว และถูกต้องเหมาะสมอยู่เสมอ
เมื่อผมเกษียณอายุราชการ ผมก็ยัดเยียดตำแหน่งประธานรุ่นให้เขาเป็นต่อ เขาเป็นอยู่ ๓ ปี ก็โอนให้เพื่อนที่อายุน้อยที่สุดในรุ่น เป็นต่อไปจนถึงปัจจุบัน
ครั้งสุดท้ายเขากับผมนั่งปรึกษาเรื่องกิจการของรุ่น พร้อมด้วยประธานคนใหม่ ที่ภัตตาคารแห่งหนึ่งทางบางโพ ผมปรารภกับเขาถึงเพื่อนคนที่จะตายต่อไป ซึ่งจะต้องจ่ายเงินช่วยเหลือหลายพันบาท และเงินของรุ่นก็ร่อยหรอลงไปมาก เพราะไม่มีรายได้เพิ่ม และดอกเบี้ยก็น้อยเต็มที
เขาว่าตัวเขาเป็นโรคหัวใจและเบาหวาน แต่ไม่ร้ายแรง และคุมอยู่ ส่วนผมเป็นโรคกระเพาะ เขาไม่กินเหล้าสูบบุหรี่ ผมก็ไม่สูบบุหรี่แต่กินเบียร์
เราพูดกันเล่น ๆ ว่าเราสองคน ใครจะตายก่อนกัน ปรากฏว่าอีกไม่ถึงสองสัปดาห์ เขากินข้าวกลางวันแล้วนั่งดูโทรทัศน์ เกิดอยากนอนจึงลงนอนที่เก้าอี้ยาว แล้วก็สิ้นใจไปเฉย ๆ โดยไม่มีอาการร้ายแรงแต่อย่างใดเลย
เหตุนี้เกิดขึ้นเมื่อ ปลายปี พ.ศ.๒๕๔๓ นี้เอง
อีกคนหนึ่งที่จะนำมาเล่าเป็นคนสุดท้าย เพราะเป็นเพื่อนที่เก่ามากของผม ซึ่งเกือบจะลืมไปแล้ว
เขาแก่กว่าผมเพียงปีสองปี เคยร่วมทำงานเป็นลูกจ้างใช้แรง ที่กรมพาหนะทหารบก มาด้วยกัน แต่ผมแยกมาเป็นทหารสื่อสาร และก้าวหน้าไปเป็นนายทหารสัญญาบัตรแล้ว
ส่วนเขายังเป็นลูกจ้างอยู่ที่หน่วยเดิม บ้านของเขาอยู่หลังวัดน้อยนพคุณ ไม่ไกลจากที่ทำงานของผม
ลูกสาวของเขาซึ่งผมเอาไปบรรจุเป็นนายสิบการเงินในหน่วยของผม มาตามผมให้ไปดูพ่อซึ่งป่วยเป็นมะเร็ง อาการหนักแล้ว ต้องออกจากโรงพยาบาลมานอนอยู่ที่บ้าน
ผมก็รีบไปแต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้เขาได้ เพราะเขานอนหลับตานิ่ง หายใจเบา ๆ
มีเพียงหน้าท้องที่เคลื่อนไหวเล็กน้อย จนแทบจะมองไม่เห็น ที่แสดงว่าเขายังมีชีวิตอยู่
แม่ของเขาซึ่งเป็นป้าของภรรยาผม นั่งเฝ้าอยู่ชิดร่างกายของเพื่อนซึ่งกำลังรอวาระสุดท้าย แล้วในที่สุดแกก็บอกเบา ๆ ว่า มันไปแล้ว
นั่นเป็นครั้งแรกในชีวิตของผม ที่ได้เห็นคนตายอย่างใกล้ชิดที่สุด และภายหลังจึงได้รู้ว่า อย่างนี้เองที่เขาเรียกว่า ถึงแก่ความตายด้วยอาการอันสงบ
เมื่อผมได้อยู่มาจนถึง วันนี้แล้ว ก็ตระหนักแน่แก่ใจว่า ความเป็นจริงที่แท้และแน่นอนของชีวิตนั้น ก็คือการเกิด แล้วก็ต้องแก่ แล้วก็ต้องเจ็บป่วย ลงท้ายก็ต้องตาย โดยไม่รู้ว่าใครกำหนด
ชีวิตของเพื่อนที่นำมารวมกันไว้นั้น แตกต่างกันออกไป ทั้งการเกิด การดำเนินชีวิต การเจ็บป่วย และการสิ้นสุดของอายุขัย
ซึ่งน่าจะเชื่อได้ว่า กรรมของเขาเหล่านั้นเอง ที่เป็นผู้กำหนดเส้นทางชีวิตให้เป็นไปเช่นนั้น ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ก็ตาม
ผมจึงบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความตาย ของเพื่อนเหล่านี้ไว้ เพื่อรำลึกถึงความผูกพัน ที่เคยมีต่อกันมาในอดีต ตามประสาของคนรักเพื่อน และจะต้องติดตามเขาเหล่านั้นไปเช่นเดียวกัน
ไม่ว่าจะได้มีโอกาสพบกันอีกหรือไม่ก็ตาม.
##########
จากคุณ : เจียวต้าย - [ 31 มี.ค. 50 09:32:21 ]
รำพึงถึงเพ่ื่อนตาย ๓๑ พ.ค.๕๙
รำพึงถึงเพื่อนตาย
เพื่อนอีกกลุ่มหนึ่งของผม ก็คือเพื่อนรุ่นนักเรียนนายสิบ ซึ่งสำเร็จการศึกษาออกมารับราชการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ มีอยู่ด้วยกันเกือบ ๓๐๐ คน แยกย้ายไปรับราชการ ทั่วทุกภาคของประเทศ
แต่เมื่อเริ่มรวบรวมเป็นกลุ่มเพื่อพบปะสังสรรค์ หลังจากที่จากกันไป ๒๐ ปีแล้ว ก็ได้รายชื่อมา ๒๐๐ คนเศษ
และเมื่อรับราชการต่อมาอีก ๒๔ ปี ปรากฏว่าไม่ยอมหายใจไป ๕๗ คน ที่เหลือก็เกษียณอายุราชการทั้งหมด
ความจริงผมจำหน้าจำชื่อเพื่อนไม่ได้ทั้งหมดหรอก เมื่อเวลาจัดงานเลี้ยงรุ่นซึ่งมีผู้มาร่วมงาน ผลัดเปลี่ยนกันเพียง ๔๐ - ๖๐ คน ก็ต้องให้เขียนชื่อใส่กระดาษแข็ง กลัดติดหน้าอกไว้ จึงพอจะทักทายกันได้บ้าง
ส่วนคนที่จำชื่อจำหน้าได้ และรู้ประวัติกันดีพอควร นั้นมีไม่กี่คน และจากกันไปแล้วก็หลายคน
อย่างเช่น คนแรกเป็นนักวิ่งชนะเลิศกองทัพบก ไปเข้าแข่งขันกีฬาซีเกมส์ สมัยที่ยังเรียกว่า เซียพเกมส์ กีฬาเอเชียนเกมส์ และโอลิมปิคเกมส์ที่กรุงโรมเมื่อนานมาแล้ว
ต่อมาลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพส่วนตัว อยู่กับภัตตาคารและสถานอาบอบนวด สมัยที่เข้ามาเฟื่องฟูในเมืองไทยยุคแรก ๆ
ต่อมาสมัครเป็นทหารพราน ไปรบนอกประเทศ กลับมาเลยเป็นนักเขียนเล่าเรื่องสงครามมีชื่อเสียงโด่งดัง นามปากกา สยุมภู ทศพล
ผมเจอเขาครั้งสุดท้ายในงานวันนักเขียน ที่สมาคมแถวบ้านผมเอง จำเขาแทบไม่ได้ เพราะผมบนหัวหายไปกว่าครึ่ง
สุดท้ายก็ได้ไปในงานฌาปนกิจศพเขา ที่วัดแถวห้วยขวาง เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ ซึ่งมีแขกไปร่วมงานน้อย ไม่สมกับที่เป็นคนเคยมีชื่อเสียงโด่งดัง มาก่อนเลย
คนต่อมาเป็นเจ้าหน้าที่เสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ตั้งแต่ยังเป็น ช่อง ๗ ขาวดำ จนพัฒนามาเป็นช่อง ๕ (สี ) เป็นคนรูปหล่อและเจ้าชู้ แต่ภรรยาดุมากเป็นพิเศษ ไม่ทราบว่าเขาชอบเถียงภรรยาหรือเปล่า เพราะสุดท้ายเขาพูดไม่มีเสียง ต้องเขียนหนังสือคุยกับเพื่อน และถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งในกล่องเสียง เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗
คนต่อมารับราชการด้านหาข่าว ประจำอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดและตั้งรกรากอยู่ตลอดชีวิต เขาสนิทสนมกับผมมาก ได้เคยไปพักอาศัยกินนอน เที่ยวสถานที่ต่าง ๆ ที่บ้านเขาเพียงครั้งเดียว แต่ซาบซึ้งในอัธยาศัยอันโอบอ้อมอารีของเขาเป็นอย่างยิ่ง
น่าเสียใจที่เขาเสียชีวิตด้วยโรคอะไรก็ไม่ทราบ และผมติดราชการไม่ได้ไปร่วมงานศพของเขา เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘
คนถัดไปรับราชการทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก พร้อม ๆ กับคนก่อน แต่มีหน้าที่เขียนแผ่นสไลด์ ฉายคั่นเวลาที่จะเปลี่ยนรายการ เป็นภาพอะไรก็ได้ เขาเขียนสวยมากโดยไม่ได้ร่ำเรียนมาจากสถาบันไหนเลย
เขาชอบเขียนใบหน้าผม เอาไปทำเป็นการ์ตูนตลกบ่อย ๆ เขาเป็นคนรักการเล่นกีฬา รักสวยรักงาม และชอบเติมชีวิตให้สดชื่นด้วยการหาสาวน้อย วัยเพิ่งจะพ้นการศึกษา มาเป็นเพื่อนใจอยู่เสมอ
เมื่อก่อนจะเกษียณอายุราชการ เขาเขียนหน้าผมให้เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่องสามก๊ก สำหรับใช้กับนามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน” ของผมไว้เป็นที่ระลึก
แต่เขาก็ไม่ได้อยู่เห็นรูปนั้น ปรากฏในหนังสือที่ผมได้รับการพิมพ์เป็นเล่ม เพราะหยุดหายใจไปเสียก่อน ด้วยโรคมะเร็งร้าย เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐
อีกคนหนึ่งเขาลาออกก่อน พ.ศ.๒๕๓๕ ไปตั้งบริษัทจำหน่ายเครื่องจักรกลเกี่ยวกับการเกษตร จากจีนแดง นัยว่ามีผู้ใหญ่ให้การสนับสนุน
เขาชักชวนให้ผมไปเป็นหัวหน้าแผนกบุคคล แต่ผมไม่ถนัดในการปกครองพลเรือน จึงไม่รับคำชวนของเขา แต่ก็ได้ร่างภารกิจการจัดบุคลากรให้เขา ก่อนการก่อตั้งบริษัท
ต่อมาหลังจากเดือนพฤษภาคมผ่านไป บริษัทของเขาคงจะพบอุปสรรคบางประการ เรื่องนี้ก็หายเงียบไป เขาจึงประกอบธุรกิจอย่างอื่น
จนเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ วันเดือนเดียวกับคนที่แล้ว อย่างน่าอัศจรรย์
อีกคนหนึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนมกับผมมาก เพราะเมื่อผมเป็นประธานรุ่นอยู่ ๑๔ ปี ก็ได้เขาเป็นรอง และช่วยให้คำปรึกษาหารือในเรื่องต่าง ๆ เป็นประจำ
เขามีสมองที่ว่องไวคิดแก้ปัญญาได้รวดเร็ว และถูกต้องเหมาะสมอยู่เสมอ
เมื่อผมเกษียณอายุราชการ ผมก็ยัดเยียดตำแหน่งประธานรุ่นให้เขาเป็นต่อ เขาเป็นอยู่ ๓ ปี ก็โอนให้เพื่อนที่อายุน้อยที่สุดในรุ่น เป็นต่อไปจนถึงปัจจุบัน
ครั้งสุดท้ายเขากับผมนั่งปรึกษาเรื่องกิจการของรุ่น พร้อมด้วยประธานคนใหม่ ที่ภัตตาคารแห่งหนึ่งทางบางโพ ผมปรารภกับเขาถึงเพื่อนคนที่จะตายต่อไป ซึ่งจะต้องจ่ายเงินช่วยเหลือหลายพันบาท และเงินของรุ่นก็ร่อยหรอลงไปมาก เพราะไม่มีรายได้เพิ่ม และดอกเบี้ยก็น้อยเต็มที
เขาว่าตัวเขาเป็นโรคหัวใจและเบาหวาน แต่ไม่ร้ายแรง และคุมอยู่ ส่วนผมเป็นโรคกระเพาะ เขาไม่กินเหล้าสูบบุหรี่ ผมก็ไม่สูบบุหรี่แต่กินเบียร์
เราพูดกันเล่น ๆ ว่าเราสองคน ใครจะตายก่อนกัน ปรากฏว่าอีกไม่ถึงสองสัปดาห์ เขากินข้าวกลางวันแล้วนั่งดูโทรทัศน์ เกิดอยากนอนจึงลงนอนที่เก้าอี้ยาว แล้วก็สิ้นใจไปเฉย ๆ โดยไม่มีอาการร้ายแรงแต่อย่างใดเลย
เหตุนี้เกิดขึ้นเมื่อ ปลายปี พ.ศ.๒๕๔๓ นี้เอง
อีกคนหนึ่งที่จะนำมาเล่าเป็นคนสุดท้าย เพราะเป็นเพื่อนที่เก่ามากของผม ซึ่งเกือบจะลืมไปแล้ว
เขาแก่กว่าผมเพียงปีสองปี เคยร่วมทำงานเป็นลูกจ้างใช้แรง ที่กรมพาหนะทหารบก มาด้วยกัน แต่ผมแยกมาเป็นทหารสื่อสาร และก้าวหน้าไปเป็นนายทหารสัญญาบัตรแล้ว
ส่วนเขายังเป็นลูกจ้างอยู่ที่หน่วยเดิม บ้านของเขาอยู่หลังวัดน้อยนพคุณ ไม่ไกลจากที่ทำงานของผม
ลูกสาวของเขาซึ่งผมเอาไปบรรจุเป็นนายสิบการเงินในหน่วยของผม มาตามผมให้ไปดูพ่อซึ่งป่วยเป็นมะเร็ง อาการหนักแล้ว ต้องออกจากโรงพยาบาลมานอนอยู่ที่บ้าน
ผมก็รีบไปแต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้เขาได้ เพราะเขานอนหลับตานิ่ง หายใจเบา ๆ
มีเพียงหน้าท้องที่เคลื่อนไหวเล็กน้อย จนแทบจะมองไม่เห็น ที่แสดงว่าเขายังมีชีวิตอยู่
แม่ของเขาซึ่งเป็นป้าของภรรยาผม นั่งเฝ้าอยู่ชิดร่างกายของเพื่อนซึ่งกำลังรอวาระสุดท้าย แล้วในที่สุดแกก็บอกเบา ๆ ว่า มันไปแล้ว
นั่นเป็นครั้งแรกในชีวิตของผม ที่ได้เห็นคนตายอย่างใกล้ชิดที่สุด และภายหลังจึงได้รู้ว่า อย่างนี้เองที่เขาเรียกว่า ถึงแก่ความตายด้วยอาการอันสงบ
เมื่อผมได้อยู่มาจนถึง วันนี้แล้ว ก็ตระหนักแน่แก่ใจว่า ความเป็นจริงที่แท้และแน่นอนของชีวิตนั้น ก็คือการเกิด แล้วก็ต้องแก่ แล้วก็ต้องเจ็บป่วย ลงท้ายก็ต้องตาย โดยไม่รู้ว่าใครกำหนด
ชีวิตของเพื่อนที่นำมารวมกันไว้นั้น แตกต่างกันออกไป ทั้งการเกิด การดำเนินชีวิต การเจ็บป่วย และการสิ้นสุดของอายุขัย
ซึ่งน่าจะเชื่อได้ว่า กรรมของเขาเหล่านั้นเอง ที่เป็นผู้กำหนดเส้นทางชีวิตให้เป็นไปเช่นนั้น ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ก็ตาม
ผมจึงบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความตาย ของเพื่อนเหล่านี้ไว้ เพื่อรำลึกถึงความผูกพัน ที่เคยมีต่อกันมาในอดีต ตามประสาของคนรักเพื่อน และจะต้องติดตามเขาเหล่านั้นไปเช่นเดียวกัน
ไม่ว่าจะได้มีโอกาสพบกันอีกหรือไม่ก็ตาม.
##########
จากคุณ : เจียวต้าย - [ 31 มี.ค. 50 09:32:21 ]