ดราม่า! กลางจุฬาลงกรณ์ เมื่อ ดร.นันทริกา ฆ้อน ดร.เจษฎา เรื่องปลาดิบ แต่งสี

ดร.จุฬาฯ เสียใจคนตำหนิปมปลาดิบ “ใส่ใจความปลอดภัยอาหารน้อย” หมอล็อต ให้กำลังใจ
วันที่: 27 พ.ค. 59 เวลา: 19:15 น.
มติชน ออนไลน์

ความคืบหน้าจากกรณี รศ.สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Dr. Nantarika Chansue’ ระบุว่า ไปรับประทานอาหารญี่ปุ่นที่ร้านยอดนิยมแล้วเห็นปลาดิบ ซึ่งเป็นปลาโอมีสีแดงชมพูสวยเกินจนไม่กล้ารับประทาน จากนั้นได้นำมาตรวจสอบที่ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬาฯ พบว่าเมื่อเนื้อปลาแช่น้ำไม่กี่นาทีสีก็ละลายออกมาชัดเจน กระทั่งผ่านไป 5 นาทีกลายเป็นสีซีดขาวเลยคาดว่าเป็นการย้อมสี ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนระวังและช่วยตรวจสอบ เพราะตนไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นสารอะไรเพราะไม่ได้เป็นการวิจัย
ในขณะที่ ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ ได้โพสต์แสดงความเห็น ว่า “ทูน่า น้ำแดง น่าจะเป็นแค่ มายโอโกลบิน” จนทำให้กลายเป็นประเด็นถกเถียงมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับรศ.สัตวแพทย์หญิงดร.นันทริกา

ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่ารศ.สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า มีภาระกิจต่างประเทศ เพิ่งมีโอกาสเข้ามาคุยค่ะ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ดิฉันเห็น การแต่งสีในปลาดิบแล้วแทนที่จะปิดไว้ก็ลงให้เพื่อนๆอ่านในเฟซบุ๊ก ส่วนตัว ดิฉันมั่นใจว่าไม่ได้ทำผิดไม่ว่าจะทางวิชาการหรือมนุษยธรรม แต่สิ่งที่เห็นแล้วเศร้าใจ คือการที่มีคนมาพยายามแสดงให้เห็นว่า การเกิดสีบานเย็นเป็นเรื่องปกติ โดยแช่และต้มสารพัดกว่าจะได้สีออกมา

ขณะที่ปลาที่ดิฉันเจอ แช่แค่น้ำปุ้บ ชมพูแดงปั้บ ไม่ต้อง denature protein ใดๆ ที่น่าเสียดายที่สุด คือ แทนที่จะมาใช้วิชาการช่วยกันเพิ่มความปลอดภัยให้ประชาชน กลับไปใช้เทคนิกซับซ้อนเพื่อให้คนเชื่อว่าไม่มีการเพิ่มสีในปลาดิบ เพราะคนกินจะเป็นอะไรก็ไม่เห็นทันตาอยู่แล้ว เรื่องมายโอโกลบินก็มีอยู่แล้วในกล้ามเนื้อปลาไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรตรวจยังไงก็เจอไม่ว่าจะมีสีจากที่อื่นเจือปนด้วยหรือไม่ จึงไม่ใช้ตัวชี้วัด

ที่จริงการใช้สีในอาหารไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าเข้าไปอ่านในความเห็นต่างๆ และค้นคว้าข้อมูลดูจะจับความได้ว่ามีการทำกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเอาปลาอื่นมาย้อมเป็นทูน่า หรือการใช้สารสี หรือคาร์บอนมอนออกไซด์มาทำให้สีดูสด(แต่ปลาอาจไม่สด) บางท่านบอกที่ตั้งโรงงานมาด้วย มีคนอินบ๊อกซ์มาเล่ามากมายทั้งที่เห็น เพราะเป็นกุ๊ก จนถึงคนที่เคยทำเอง ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่ตัวดิฉันเองไม่ต้องการคือการกินปลาดิบที่แต่งสีมา แต่ทุกคนก็มีสิทธิ์เลือกเองค่ะ

การที่มาด่าว่าตำหนิให้เกิดความเสียหายกับดิฉันนั้นเห็นแล้วก็เสียใจว่าท่านให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหารน้อยเหลือเกิน ที่ญี่ปุ่นเจ้าของตำรับยังต้องเข้าไปเรียนเป็นปีๆจึงมาทำปลาดิบได้ คนไทยมีปลามีมีดก็พอแล้วความสะอาดและการควบคุมอุณหภูมิต่างๆก็หละหลวมมาก แทนที่จะมาช่วยกันปรับมาตรฐานความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น กลับพยายามขัดขวาง

ปลาดิบไม่ใช่อาหารหลักของไทยแต่คนควรมีความรู้ในการบริโภค ทั้งการสังเกตคุณภาพของปลาทางกายภาพ ชีวภาพ และเคมี บ้านเราอากาศร้อนของเสียง่ายต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เอาเป็นว่าเรื่องนี้ใครคิดว่าไม่มีทางที่ปลาดิบจะมีการแต่งสีก็แล้วแต่ท่าน ถ้าใครเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าระวัง ก็ขอให้เลือกดีๆค่ะ ดิฉันเองชอบมากๆ กินมามากทั้งที่ญี่ปุ่นและไทยและยังอยากกินต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในเฟซบุ๊ก Dr. Nantarika Chansue มี “หมอล็อต” น.สพ.ภัทรพล มณีอ่อน นายสัตวแพทย์สัตว์ป่า ประจำกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มาโพต์ให้กำลังใจว่า “สิ่งที่เกิด เริ่มต้นมาจากความรักและห่วงใย ของผู้ที่มีแต่ความหวังดีกับผู้อื่นตลอดมา ขอให้เชื่อเถอะครับว่าอาจารย์ที่ผมเคารพ ท่านไม่มีความประสงค์ร้ายใดๆแน่นอน”

แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
งานนี้ไม่เข้าข้างใคร แต่จะถามว่าเป็นนักวิชาการระดับนี้แต่กลับออกความเห็นต่อสังคมแบบ public โดยยังไม่พิสูจน์ก่อน ทำให้สังคมเกิดความตระหนกโดยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน แบบนี้เหมาะสมหรือไม่

จนตอนนี้เริ่มมีคนออกมาพิสูจน์ชี้ชัดลงไปแล้วว่าปลาที่เนื้อสีแดงนั้นไม่ได้เกิดจากการย้อมสี แล้วไม่ทราบว่าที่เคยออกตัวไปนี่จะรับผิดชอบอย่างไรบ้าง คนที่เขาเสียหายไปเพราะความเห็นก่อนหน้านี้เขายิ่งไม่ต้องน้อยใจกว่าเหรอ

ผมคิดว่าเรื่องนี้มันเลยความน้อยใจอะไรแบบนั้นไปแล้ว แต่ควรที่จะมีมาตรการป้องกัน อย่างเช่นหน่วยงานที่กำกับดูแลนักวิชาการต้องควบคุมการแสดงความเห็นของคนพวกนี้ เพราะคนพวกนี้พูดอะไรออกไปมัน impact สังคมมาก พวกนักวิชาการที่ออกความเห็นก็ต้องไตร่ตรองให้มาก ส่วนคนไหนที่ทำให้สังคมตื่นตระหนกโดยยังไม่มีข้อมูลที่พิสูจน์ชัดเจนก็ควรต้องโดนลงโทษ และต้องโดนหนักด้วยเมื่อเทียบกับชาวบ้านประชาชนที่เขาไม่ใช่นักวิชาการ เพราะชาวบ้านที่เขาแชร์ข้อมูลไปอาจจะเพราะบริสุทธิ์ใจจริง แต่คนที่มีความรู้แล้วสร้างเรื่องไม่จริง (ไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะกรณีนี้) อาจจะมีอะไรแอบแฝงหรือไม่ก็ไม่มีใครรู้
ความคิดเห็นที่ 12
เห็นด้วยกับ คคหท 5

"พบว่าเมื่อเนื้อปลาแช่น้ำไม่กี่นาทีสีก็ละลายออกมาชัดเจน กระทั่งผ่านไป 5 นาทีกลายเป็นสีซีดขาวเลยคาดว่าเป็นการย้อมสี"

แค่เห็นอะไรละลายน้ำ แล้วสรุปว่าเป็นการย้อมสี รีบโพสต์ทันทีนี่โคตรป่วยเลย แถมพูดถึงมะเร็ง ตับไตพัง ด้วยทั้งๆที่ยังไม่รู้เลยว่าใช่หรือเปล่า
แล้วสีย้อมอาหารก่อมะเร็งจริงหรือเปล่า?

ถึงจะบอกว่าไม่ได้ทำวิจัยด้านนี้ คุณควรจะเช็คให้ดีก่อน ค่อยเผยแพร่ ไม่ใช่อยู่ๆก็โพสต์แล้วให้บอกคนอื่นไปตรวจสอบ
ชาวบ้านทั่วๆไป เขาเห็นคนเป็น ดร โพสต์เขาก็ทึกทักว่าเป็นจริงแล้ว เจ้าของกิจการเขาก็เสียหาย

คนเป็นระดับ ดร ควรมีความรับผิดชอบในการแชร์ข้อมูลมากกว่านี้อะ
ความคิดเห็นที่ 14
เห็นด้วย #5
"โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Dr. Nantarika Chansue’ ระบุว่า ไปรับประทานอาหารญี่ปุ่นที่ร้านยอดนิยมแล้วเห็นปลาดิบ ซึ่งเป็นปลาโอมีสีแดงชมพูสวยเกินจนไม่กล้ารับประทาน จากนั้นได้นำมาตรวจสอบที่ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬาฯ พบว่าเมื่อเนื้อปลาแช่น้ำไม่กี่นาทีสีก็ละลายออกมาชัดเจน กระทั่งผ่านไป 5 นาทีกลายเป็นสีซีดขาวเลยคาดว่าเป็นการย้อมสี ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนระวังและช่วยตรวจสอบ เพราะตนไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นสารอะไรเพราะไม่ได้เป็นการวิจัย "

ที่ อ. กล่าวมานั้น แม้จะหวังดีต่อฝ่ายหนึ่ง แต่ ก็ต้องไม่ใช่กล่าวหาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ได้มีการพิสูจน์
ถ้าเป็นชาวบ้านนี่อาจพอเข้าใจ แต่ ระดับ "ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
แม้จะเลี่ยงบาลี ว่า ออกตัวแล้วว่า ไม่ได้ตรวจสอบ ... แต่คาดว่าเป็นการย้อมสี ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนระวังและช่วยตรวจสอบ
ถ้าหวังดีจริง ทำไมไม่ส่งตัวอย่างไปให้ lab ช่วยตรวจ ก่อน public ... ระดับนักวิชาการ ผ่าน paper กันมาเยอะ ... ขนาดระดับ ป.ตรี ยังย้ำกันเสมอว่า ถ้าไม่มีข้อมูล ไม่สามารถพิสูจน์ได้ อย่าเขียน อย่าเผยแพร่ บทความ

ถึงแม้จะทำไปเพราะความเป็นห่วง ต้องเข้าใจ FB ไม่ใช่ Journal of ... ที่ผู้อ่านเป็นนักวิชาการเช่นกันที่จะมาคิดต่อ
แต่ FB มันเป็น Public พอคนทั่วไปอ่าน ก็อาจจะตกใจแล้วเชื่อ+แชร์ ซึ่งมันก็อาจทำให้เกิดความเสียหาย ต่อผู้ประกอบการ

============================
จากเรื่องนี้
- มันไม่มีอะไร ก็ มีคนสังเกต และ เป็นห่วงเลยเตือนใน FB
- (ผมเดาว่า) คิดว่า FB มันคงสื่อสารกันในกลุ่ม แต่ มันดันหลุดไป public + พวกเวปข่าวเอาไปเล่น เลยเป็นกระแส (ซึ่งเราต้องระวังให้มาก บางทีมันไปไกลกว่าที่เราคิด)
- ส่วนกับ ระหว่าง กับ อ. จ... เองผมว่าทั้ง 2 ท่านก็ไม่น่ามีอะไร เพราะต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ คนหนึ่งสังเกต+เตือน ... อีกคนช่วยตรวจสอบ(ไม่เป็นทางการ) ... แม้จะดูเหมือนแย้งกัน แต่ ในวงการวิทย์ ก็เป็นเรื่องปกติ

เวปข่าว หรือ อะไรก็อย่าเสี้ยมเอามันส์
=============================
ความคิดเห็นที่ 51
ตอบ คห 48 สมาชิกหมายเลข 2577541

ที่เขียนว่า "เรียนก็เยอะ เรียนก็สูง ตรรกะแค่นี้ไม่คิดบ้างหรือครับ ??" เอากลับไปถามตนเองดีกว่านะ ตรรกะที่ว่าที่แม้แต่ใช้สมองคิดตื้นๆ เขายังเข้าใจกัน แต่นี่ท่าทางจะอ่านจับประเด็นไม่แตก ยังกล้าเขียนด้วยว่า "อยากรู้ว่า จำเป็นอะไรต้องเอาไปวิเคราะห์ว่าเป็นสีอะไร ในเมื่อข้อเท็จจริงมันเห็นกับตาว่า เนื้อปลาแช่น้ำมันตกสี" นี่ทุกวันใช้ชีวิตอย่างไรเนี่ย ใครพูดอะไรก็เชื่อ เชื่อโดยไม่ต้องพิสูจน์ ใช้ตาดูก็พอเนี่ยนะ ตลกจริงๆ  

เรื่องนี้ประเด็นอยู่แค่ว่า ยังไม่พิสูจน์ก็ออกมาเขียนนู่นนี่ แค่นี้เข้าใจไหมกับที่เขากำลังคุยกันอยู่ ไม่ใช่เรื่องว่าปลาย้อมสีจริงหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องการไม่สนใจความปลอดภัยของอาหาร แต่เขาสงสัยกันว่า ที่คนดังกล่าวว่ากินแล้วจะเป็นมะเร็งมั้ย จะตับไตพังมั้ย ทั้งๆที่ก็บอกเองว่ายังไม่พิสูจน์ ทำแบบนี้มันเหมาะสมหรือไม่

ถ้าจะเอาแค่เรื่องประเด็นว่าถูกหรือผิดนะ วันก่อนทีวีก็ออกแล้วโดยการพิสูจน์ของ ดร. จากอีกสถาบันหนึ่ง เขาให้ข้อมูลไว้ดีมาก (ใครอยากรู้เรื่องควรดู)

http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/16020/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2--%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%94-%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88-.html

เร็วๆนี้ชาวบ้านที่ไม่ต้องเป็น ดร. เขาก็ยังทำการพิสูจน์เรียบร้อยแล้วเรื่องปลาสีตกที่ว่า และดูเขาจะทำการทดลองได้ดีเสียด้วยก่อนที่จะสรุป



(ที่มา https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10156935670995162&set=pcb.10156935679090162&type=3
ถ้าใครอยากดูความหยาบคายของพวกลูกหาบก็ลองอ่าน comment ดูได้ บางคนจะมาเถียงเขายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าปลาโอกับปลาทูน่าเป็นปลาชนิดเดียว น่าสมเพชมาก)

สรุปคือพวกลูกหาบได้หาข้อมูลบ้างรึเปล่า หรือเอาแต่อคติบังตาบังความคิดตนเองไว้ หลอกตัวเองไปวันๆ

ตอนนี้กลายเป็นว่าพอจะรู้ว่าเรื่องที่ผ่านมาน่าจะไม่จริง (รอผล อย อยู่) พวกลูกหาบก็เริ่มแก้เก้อหงายการ์ด หวังดี เบี่ยงประเด็นไปว่าถ้าไม่มีคนอย่างนี้ก็ไม่มีการตระหนักถึงปัญหา (ทั้งๆที่ตอนแรกก็เชื่อไปเรียบร้อย ด่าร้านอาหารญี่ปุ่นกันเพียบ) ซึ่ง หวังดี กับ มั่ว นี่มันคนละเรื่องนะ
ความคิดเห็นที่ 30
ประเด็นสำคัญคือท่านเป็น"ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสัตว์น้ำ"

เป็นแหล่งที่ให้คำแนะนำและความรู้เรื่องสัตว์น้ำโดยตรง

ถ้าเป็นเด็กหญิง หรือนิสิต ก็คงไม่เป็นอะไรมาก

แต่ที่ท่านเตือนด้วยความหวังดีจาก"ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสัตว์น้ำ"

ท่านก็ลืมไปว่า"ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสัตว์น้ำ"ก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเช่นกัน และต้องมีมากกว่าคนทั่วไปเป็นร้อยเท่าในเรื่องนี้เพราะท่านคือ reference ของสังคมในเรื่องสัตว์น้ำ

คำพูดที่ผ่านการกลั่นกรองต่ำของ"ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสัตว์น้ำ"อาจทำความเสียหายให้กับสังคมอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว อ่านะ

แต่เมื่อพูดไปแล้วต้องยอมรับมัน

ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด แต่เมื่อพูดไปแล้วคำพูดเป็นนายเรา

ท่านจะใช้แนว"ผู้หญิงตัวเล็กๆที่หวังดีต่อสังคม"ออกมาแก้ตัวไม่ได้

เพราะตอนที่ท่านพูดท่านคือ"ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสัตว์น้ำ"

ท่านผู้อำนวยการไม่ควรไปยืนแอบหลัง"ผู้หวังดีต่อสังคม"

เราเข้าใจได้ว่าคนธรรมดาก็มีพลั้งเผลอ
แต่การออกมาเบี่ยงเบนประเด็นไปเป็น"ไม่ช่วยกันปกป้องผู้บริโภค"เพื่อปกปิดความผิดพลาดจาก"การกระจายข้อมูลแบบด้อยความระวัง"นั่นกลับทำให้ท่านไปตกอยู่ในสภาพคล้ายกับ

"ผิดแต่ไม่ยอมรับ"

ถ้าเป็นเรา เราจะออกมาขอโทษ  

แต่ถ้าออกมาแก้ตัว บิดความผิดพลาดไปที่ผู้อื่นแทน ท่านอาจจะสูญเสียความน่าเชื่อถือของท่านได้

ที่เรารู้ท่านมีผลงานอยู่มาก อย่าอนุญาติให้"อีโก้"ของท่านมันออกมาทำลายผลงานของท่านเลย

เพราะใครๆเขาก็อ่านออก เว้นแต่เขาจะพูดหรือไม่เท่านั้น  R na
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่