การจำแนกระดับความยากจนกับมุมมองคำสอนศาสนาอิสลาม(คนเหล่านี้มีสิทธิได้รับซากาต[ทาน])

กระทู้คำถาม
1. คนยากไร้(ฟากีรฺ) ซึ่งในภาษาอาหรับใช้คำว่า ฟูก้อร้ออ์ เป็นคำพหูพจน์ หมายถึง ข้อกระดูกสันหลัง แต่จุดมุ่งหมายในที่นี้หมายถึง ผู้ที่ไม่มีทรัพย์สิน และมีรายได้ไม่พอกับความต้องการที่จำเป็น

             ดังที่ท่านร่อซู้ล ( ซล. ) กล่าวว่า “ เขาไม่มีโชคในทรัพย์ และไม่มีรายได้ที่เพียงพอ ”

และไม่พอเพียงในที่นี้หมายถึง ไม่พอเพียงในปัจจัยยังชีพ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพฐานะ โดยที่ไม่เป็นการสุรุ่ยสุร่าย หรือตะหนี่ เช่น ผู้ที่จำเป็นต้องการเงินในการใช้จ่าย 10 ปอนด์ แต่สามารถหาได้เพียง 2 หรือ 3 ปอนด์ โดยที่จะไม่พิจารณาว่าเขาครอบครองทรัพย์สินถึงพิกัดหรือไม่ แต่จะพิจารณาความสามารถในการหาปัจจัยได้ในแต่ละวัน
   
   ถ้าหากเขามีอาชีพ แต่เป็นโรคที่ไม่สามารถไปทำงานได้ หรือไม่มีงานให้ทำ หรือมีงานแต่เป็นงานที่ไม่เหมาะสม ก็อนุญาตให้รับซะกาตได้ เพราะถือเป็นคนยากไร้
   
   ยังไม่ออกจากคำนิยามว่ายากไร้ ถ้าเขามีบ้าน เสื้อผ้าอาภรณ์ที่เหมาะสมตามสภาพ หรือแม้กระทั่งการมีเสื้อผ้าหลายชุด
   
              และยังถือว่าเป็นผู้ยากไร้ หากเขามีทรัพย์สินที่อยู่ในสภาพที่มีระยะทางห่างจากที่เขาอยู่มากกว่า 85 กิโลเมตร ให้รับซะกาตได้ เพื่อไปถึงสถานที่ที่ทรัพย์สินอยู่
   
   และไม่ห้ามที่จะรับซะกาตสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ ที่กำหนดระยะเวลาใช้หนี้ที่ไม่มีทรัพย์สิน นอกเหนือจากทรัพย์ที่ถูกขอยืม
   
   และผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับบทบัญญัติอิสลาม และมีรายได้จากงานดังกล่าวแต่ไม่พอเพียง ก็สามารถรับซะกาตได้
   
   กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอันวารว่า “ และถ้าเขามีรายได้จากการประกอบ พร้อมกันนั้นเขาก็สอนอัลกุรอ่าน หรือสอนวิชาที่เป็นฟัรดูกีฟายะห์ หรือเป็นผู้ที่เรียนสิ่งดังกล่าว โดยที่การเรียนหรือสอนทำให้ขาดรายได้ ก็อนุญาตให้รับซะกาตได้ แต่ถ้าเรียนสิ่งที่เป็นสุนัตไม่อนุญาตให้รับซะกาต เพราะการเรียนการสอนสิ่งที่เป็นสุนัตให้คุณค่าน้อยกว่าสิ่งที่เป็นฟัรดูกีฟายะห์
   
   และไม่ถูกตั้งเป็นเงื่อนไขสำหรับผู้ยากไร้ในการรับซะกาตว่าเขาจะต้องเป็นโรคเรื้อรังไม่สามารถประกอบอาชีพได้
   

   ส่วนผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเพียงพอจากบุคคล เช่น จากญาติใกล้ชิด หรือสามี ไม่ถือว่าเป็นผู้ยากไร้หรือขัดสน
   



   
   2. ผู้ขัดสน ( มิสกีน ) คือผู้ที่สามารถประกอบอาชีพที่เหมาะสม และสุจริตตามบทบัญญัติ แต่ไม่พอเพียงต่อความต้องการที่จำเป็น โดยที่เขาจำเป็นต้องใช้ 10 ปอนด์ แต่หาได้ 7 หรือ 8 ปอนด์ ถึงแม้จะมีทรัพย์สินถึงพิกัด
   
   
       อีหม่ามฆอซาลีกล่าวไว้ในหนังสืออัลเอี๊ยฮ์ย๊าว่า “ คนขัดสนคือ ผู้ที่รายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย ถึงแม้เขามีทรัพย์สินอื่น 1,000 ดีนาร แต่ผู้ที่มีรายได้สมดุลกับรายจ่าย ถึงแม้เขาจะมีเพียงจอบกับเชือก ก็ถือว่าไม่เป็นผู้ขัดสน และการพิจารณาว่าเป็นผู้ขัดสนหรือไม่ พิจารณาจากสภาพความเหมาะสม โดยไม่สุรุ่ยสุร่าย หรือตระหนี่
   
   
   ข้อพึงสังเกต
   
   จะเห็นได้ว่า คนขัดสนนั้นมีสถานภาพที่ดีกว่าคนยากไร้ ดังที่อัลเลาะห์ ( ซบ. ) ทรงตรัสว่า ( أما الســفينة فكانت لمســاكين )
   ความว่า “ สำหรับเรือนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ที่ขัดสน ” โดยที่อัลเลาะห์ ( ซบ. ) ทรงเรียกผู้ที่เป็นเจ้าของเรือว่า คนขัดสน และท่านร่อซู้ล ( ซล. ) ขอดุอาว่า “ ขออัลเลาะห์ ( ซบ. ) ทรงให้ข้าพระองค์ และประชาชาติของข้าพระองค์เป็นคนขัดสน ” ขณะที่ท่านขอว่าอย่าให้เป็นคนยากไร้
   
      และจะไม่ออกจากความหมายขัดสน สำหรับผู้ที่มีเครื่องเรือน หรือมีเสื้อผ้ากันหนาว ที่จะนำไปใช้ในฤดูร้อน เช่นเดียวกัน นักนิติศาสตร์ที่มีบรรดาหนังสือนิติศาสตร์ สำหรับการเรียนการสอนที่ได้รับค่าตอบแทน เช่นเดียวกัน
   
   
      ครูที่มีหนังสือ 2 เล่มในวิชาเดียวกัน โดยที่เล่มหนึ่งเป็นตัวบท และอีกเล่มเป็นอรรถาธิบาย ให้เก็บไว้ทั้งสองเล่ม แต่ถ้าไม่เป็นครูให้เก็บเล่มที่อรรถาธิบายเอาไว้
   
   เช่นเดียวกัน แพทย์ที่มีหนังสือเกี่ยวกับวิชาแพทย์จำนวนมาก ใช้ในการรักษาโรค และค่อตีบที่มีหนังสือเกี่ยวกับการตักเตือนเป็นจำนวนมาก แต่สำหรับผู้ที่มีหนังสือเพื่อความบันเทิง ไม่เข้าอยู่ในความหมายของคนขัดสน เช่น หนังสือประวัติศาสตร์ หรือบทกวี
   

สรุปจากเว็บ:มุสลิมเชียงใหม่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่