FMCG ปาดเหงื่อ ยอดซื้อตกต่ำหนักสุดในรอบ10 ปี

กระทู้คำถาม
http://positioningmag.com/1092206

บริษัท  กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) บริษัทวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเชิงลึก ในกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค หรือ FMCG นำโดย มร. คาเร็ต อิลิส ผู้อำนวยการด้าน Commercial ได้เปิดเผยข้อมูลวิจัยพบว่า “แนวโน้มเศรษฐกิจที่ซบเซา ในไตรมาสที่ 1 ของปี ส่งผลกระทบต่อ พฤติกรรมนักช็อปไทยในกลุ่มสินค้า FMCG ลดต่ำลงต่อเนื่อง

โดยสินค้าในหมวด FMCG ของปะเทศไทย มีอัตราการจับจ่ายใช้สอยลดลง มาตั้งแต่ปี 2552  มาจนถึงปี 2559 ได้ลดต่ำลงเหลือในระดับแค่ 1.8 เท่านั้น ถือว่าต่ำสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

1_fmcg

การลดต่ำลงยอด FMCG  มาจากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2005 จนถึง 2559  ปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซา กลุ่มคนฐานรากที่ประกอบอาชีพเกษตร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้รับกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้กำลังซื้อสินค้าลดต่ำลง

เผย 3  กลุ่มผลิตภัณฑ์ ตกมากสุด

ทั้งนี้ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการจับจ่ายใช้สอนลดลง 1กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล  (Personal Care)  4.8  2กลุ่มผลิตภัณฑ์ ในครัวเรือน  (Household)  2.9   3กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม  (Food & Beverage)  =  0.3    

ชาเขียว นม ครีมเทียม ยอดตกลง 10-20%

ผลการวิจัย ยังพบด้วยว่า 40% ของกลุ่มสินค้า FMCG มียอดตกลงอย่างต่อเนื่อง ในอัตรา  10–20% ประกอบไปด้วย 3 กลุ่มหลัก

สินค้าประเภท ชาพร้อมดื่ม ชาสำเร็จรูป Instant TDF, นมพาสเจอร์ไรส์   UHT TDF, ครีมเทียมสำหรับกาแฟ,  
ผลิตภัณฑ์ใบมีดโกน และ โทนเนอร์
สินค้าประเภทซีเรียล หรือ ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช
3 กลุ่มสินค้าที่ยังเติบโต ความงามยังไปได้

ส่วนกลุ่มสินค้าที่ยังคงเติบโตในอัตรา 10%  ขึ้นไป  ได้แก่  1. กระดาษเช็ดหน้า  (Facial Tissue)  2. ผลิตภัณฑ์กันแดด   ครีมล้างหน้า   มาสค์  และ 3 นมถั่วหลืองสเตอริไรส์  น้ำดื่มบรรจุขวด  และ  กาแฟพร้อมดื่ม

ช้อปลดลง ทั้งความถี่-ยอดต่อครั้ง-ชนิดสินค้า

ผลวิจัยของกันตาร์ยังพบด้วยว่า พฤติกรรมการจับจ่ายของเหล่านักช็อป  มีการเปลี่ยนแปลงสูงมาก เมื่อนำสถิติของ ไตรมาส 1 ในปี  2557  มาเทียบกับ ไตรมาส 1 ของปี  2559 มีสถิติลดลงทุกกรณี ทั้งในส่วนของจำนวนกลุ่มสินค้าที่เลือกซื้อของแต่ละครัวเรือน ความถี่ในการออกไปจับจ่าย และ ช่องทางค้าปลีกที่ไปเลือกซื้อ ตลอดจน การใช้จ่ายแต่ละครั้งในแต่ละช่องทาง โดยภาพรวมยังส่อภาพลบ ลดลงทุกกรณี ทุกช่องทางการจัดจำหน่าย ดังนี้

แคติกอลี่ในการช้อปลดลง จาก 43 กลุ่มเหลือ 41 กลุ่ม

ผลวิจัยเปรียบเทียบ กลุ่มสินค้า FMCG ที่มีการเลือกซื้อเฉลี่ยแต่ละครัวเรือน ระหว่างไตรมาส 1 ในปี 2557 กับ  ไตรมาส 1 ในปี 2559 มีสถิติลดลง จาก 43 เหลือ 41 กลุ่มสินค้า

ส่วนความถี่ในการออกไปจับจ่ายในช่องทางการขายไฮเปอร์มาร์เก็ต และซุปเปอร์มาร์เก็ต จาก 27 ครั้ง ลดลงเหลือ  21 ครั้ง

ช่องทางร้านสะดวกซื้อ จาก 37 ครั้ง เหลือ 36 ครั้ง และ  ช่องทางร้านค้าโชห่วย จาก 133 เหลือ 127 ครั้ง

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่