เมื่อวานผมไปดู
The man who knew infinity ชื่อไทยง่าย ๆ ว่า
อัจฉริยะโลกไม่รัก ที่โรงใน พารากอน มาครับ
เหมือนมีฉายไม่กี่โรง ย่านนั้นน่ามีแค่ พารากอน ลิโด เอ็มควอเทียร์
เป็นเรื่องของนักคณิตศาสตร์ที่โลกลืมชื่อ รามานุจัน ที่แทบไม่มีคนรู้จัก ผมเองก็เพิ่งได้ยินชื่อ
ทั้ง ๆ ที่ผลงานของเขาเทียบเท่า เซ่อร์ ไอแซค นิวตัน
เป็นเรื่องของหนุ่มอินเดีย ที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ในระดับสูงเกินกว่าคนทั่วไปจะทำความเข้าใจได้
เมื่อความสนใจมุ่งอยู่ที่คณิตศาสตร์ จึงละเลยวิชาอื่น ๆ จนถูกปลดจากทุนมหาวิทยาลัย จึงเรียนไม่จบปริญญาตรี
เจ้าตัวมั่นใจว่าสิ่งที่ตนเองค้นพบทางคณิตศาสตร์นั้นมีความหมายมากมายมหาศาล
เมื่อในประเทศอินเดียไม่มีคนเข้าใจ หรือมีบ้างแต่น้อยมาก แล้วก็ขาดทุนสนับสนุน
เขาจึงส่งจม.ไปที่อังกฤษ แต่นักคณิตศาสตร์อังกฤษส่วนใหญ่ก็ไม่ให้ความสนใจ
ในที่สุดนักคณิตศาสตร์ของม.แคมบริดจ์ท่านนึง ชื่อ ฮาร์ดี้ อ่านจม.แล้วก็ตะลึงในสิ่งที่รามานุจันพบ
จึงขอให้รามานุจันเดินทางมาอังกฤษ
เขาต้องทิ้งแม่ทิ้งเมียมาตายเอาดาบหน้า เพียงเพื่อต้องการให้คนรับรู้สิ่งที่เขาพบ
วันแรกที่มาถึงแคมบริดจ์ อาจารย์ที่มารับรามานุจันชี้ไปที่ต้นแอปเปิ้ลต้นนึง
แล้วบอกว่า นี่คือต้นแอปเปิ้ลที่นิวตันมานอนกลางวันแล้วมีลูกแอปเปิ้ลตก
จนนิวตันคิดทฤษฎีแรงโน้มถ่วงได้ และเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกตะลึง
รามานุจันเป็นคนอินเดียผิวคล้ำ จึงถูกต่อต้านและไม่เป็นที่ยอมรับเท่าไรนักในสังคมนักคณิตศาสตร์ม.แคมบริดจ์
แม้ผลงานของเขาที่ควรจะใช้เวลานับสองชาติจึงจะทำสำเร็จ รามานุจันก็ทำเสร็จในช่วงชีวิตสั้น ๆ ของเขา
แม้ผลงานจะโดดเด่น แต่เมื่ออาจารย์ที่ชวนมาอยู่ เสนอชื่อให้ทางมหาวิทยาลัยรับเป็น Fellow of Trinity College ก็ไม่ได้รับตำแหน่ง
จนในที่สุดอาจารย์มิตรแท้ของรามานุจันท่านนี้จึงเสนอชื่อรามานุจัน
ให้เป็นราชบัณฑิตสาขาคณิตศาสตร์แห่งลอนดอน (Fellow of the Royal Society)
รามานุจันป่วยหนักด้วยวัณโรค
ก่อนที่เขาจะลากลับไปตายที่อินเดีย
วันนึงอาจารย์ที่เป็นมิตรของเขาบอกว่า มีเรื่องด่วนให้รีบตามมา
ตัวอาจารย์เดินตัดสนามหญ้า ส่วนรามานุจันจะไม่เดินตัดสนามหญ้า
เพราะเขารู้ดีว่าคนที่จะเดินตัดสนามหญ้าในคอลเลจได้ ต้องได้ตำแหน่งเฟลโล่ว์ของมหาลัยเท่านั้น
ทั้ง ๆ ที่รามานุจันเป็นราชบัณฑิตซึ่งมีศักดิ์สูงกว่า (อันนี้ผมทึกทักเอาเอง) เป็นเฟลโล่ว์ของมหาลัย (Fellow of the Trinity College)
เขาเองก็รู้ว่า เขาไม่มีสิทธิเดินตัดสนามหญ้าในมหาลัย
อาจารย์ท่านนั้นบอกว่า คุณแน่ใจหรือว่าคุณไม่มีสิทธิ์เดินตัดสนามหญ้า
แล้วก็รีบลากรามานุจันเดินตัดสนามหญ้าเข้าไปในห้องที่มีอาจารย์ผู้ทรงเกียรติอยู่เต็มห้อง
ทำให้ในวาระใกล้สุดท้ายรามานุจันก็ได้เป็นเฟลโล่ว์ของมหาลัย
รามานุจันกลับอินเดียมีเวลาใช้ชีวิตช่วง 1 ปีสุดท้ายกับเมียและแม่
ก่อนที่จะเสียชีวิตในวัย 32 ปี ทั้งผลงานไว้มากมาย
ร้อยปีต่อมาสมการของเขาได้นำมาใช้อธิบายทฤษฎีหลุมดำ
ปัจจุบันโลกยอมรับแล้วว่า รามานุจันเป็นนักวิทยาศาสต์ระดับเดียวกับอาคีมีดีส และไอแซค นิวตั้น...
ผมเลยเกิดอยากรู้ว่า
- ต้นแอปเปิ้ลที่อาจารย์ชี้ให้รามานุจันดูในวันแรกที่ย่างสู่แคมบริดจ์ ที่ัเซ่อร์ ไอแซค นิวตัน เคยแอบมางีบ ปัจจุบันยังอยู่ไหมครับ
- Trinity College คงเป็นวิทยาลัยหนึ่งในแคมบริดจ์ ผมฟังชื่อเหมือนที่ Oxford จะมี College ชื่อนี้
แต่ทำไมผมได้ยินชื่อ Trinity College จะคิดถีงเวลาเยาวชนไทยสอบเกรดเปียโนมากกว่า
ตกลง Trinity College นี่ดังด้านใดครับ
- แต่เมื่อรามานุจันเห็นหมายเลขทะเบียน 1729 ที่ อ. Hardy ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการนั่งมา
รามานุจันบอกกับ Hardy ว่า "ตัวเลขนี้เป็นเลขที่พิเศษมาก มันเป็นเลขที่น้อยที่สุด
ที่สามารถเขียนได้ในรูปผลบวกของตัวเลขกำลังสามสองตัวได้สองแบบ"
อันนี้ผมไม่เข้าใจเลยครับ วานคนเก่งคณิตศาสตร์ช่วยหน่อยครับ
- และจากชื่อเรื่อง สมการใดของรามานุจัน ที่แสดงว่าเขารู้จัก infinity ครับ
- ระหว่างการที่รามานุจันได้เป็น ศาสตราจารย์ เป็นสมาชิกของทรินิตี้คอลเลจ หรือ เป็นราชบัณฑิต
ตำแหน่งใต prestige กว่ากันครับ
และเคยมีคนไทยได้ตำแหน่งแบบนี้จากอังกฤษไหมครับ
- สงสัยเรื่องการเคาะโต๊ะในตอนที่รับรามานุจันเป็นสมาชิกตรินิตี้คอลเลจ เป็นธรรมเนียมหรือครับ
- ประเพณีเดินลัดสนามในม.แคมบริดจ์นี่ ยังคงไว้ไหมครับ
- การรับประทานอาหารในม.แคมบริดจ์ หรือ อ็อกซ์ฟอร์ด ยังอลังการแบบในหนังไหมครับ
เผอิญปีที่แล้วผมได้ดูหนังนอกกระแสอีกเรื่องคือ
The Theory of Everything ชื่อไทยก็
ทฤษฎีรักนิรันดร มาด้วย
พระเอกในเรื่องคือ Stephen Hawking ที่เป็นนักจักรวาลวิทยาที่โด่งดังที่สุด
เป็นโรคที่หมอวินิจฉัยว่าจะตายใน 2 ปี แต่อยู่ได้มานับห้าสิบปีแล้วเพราะความหวังและความรัก หนังเรื่องนี้ดีมาก
แต่ไหงตอนผมไปดูมีเข้าอยู่แค่ 2 โรงเท่านั้น ผมดูที่พารากอน อีกเช่นกัน
ในหนังมีฉากที่พระเอกขี่จักรยานแข่งกับเพื่อนที่ Cambridge น่ะครับ
ผมรู้จักชื่อ Stephen Hawking มานานมาก
เพราะมีคนรู้จักเป็นนักฟิสิกส์ที่อังกฤษ
แกชอบมาเล่าเรื่องของ Hawking ให้ฟัง
จนซื้อหนังสือที่ฮอว์คิ้งเขียนมาอ่าน รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง
ตามประสาที่ตอนเรียนคิดว่าฟิสิกส์นี่เป็นวิทยาศาสตร์สาขาที่ยากที่สุดแล้ว
(คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะ ตรีโกณมิติ นี่รองลงมา)
ดูแล้วชอบมากครับ ให้ความรู้สึกที่ดี ๆ ดูแล้วเหมือนเห็นฮอว์คิ้งตัวเป็น ๆ ทีเดียวครับ
ผมเป็นคนชอบดูหนังทุกประเภท หนังไทยก็ชอบ
แต่ดูเรื่องนี้แล้วต้องชมว่าดาราฝรั่งนี่เขาเล่นหนังสมบทบาทสุดยอด
จนมานั่งคิดว่าดาราไทยจะแสดงบทที่มันเหมือนตัวจริงชีวิตจริงได้แค่นี้ไหม
สำหรับผมทึ่งในทฤษฎีและความเฉลียวฉลาดของฮอว์คิ้ง
แต่นั่นเป็นส่วนที่น้อยเมื่อเทียบว่าฮอว์คิ้งสอนให้คนเราต้องมีความหวัง ต้องต่อสู้ชีวิต...
ยังนึกว่าถ้าตัวเองหมอบอกจะตายในสองปี จะเรียนต่อไปไหม
หรือถ้ารอดมาแล้วแต่กระดุกกระดิกก็แทบไม่ได้ มิหนำซ้ำในที่สุดก็พูดไม่ได้นี่ จะมีแรงทำงานต่อไปไหม
เลยสงสัยต่อไปว่า
- ทำไมในหนังเรื่องรามานุจัน ไม่เห็นฉากขี่จักรยาน เลย ดูเหมือนจะเน้นการเดินข้าม/ไม่ข้ามสนาม
สมัยร้อยกว่าปีที่แล้วตอนรามานุจันอยู่แคมบริดจ์ ยังไม่ขี่จักรยานกันในม.หรือครับ
- ท่านใดอ่านหนังสือชีวประวัติของรามานุจันแล้วบ้างครับ ละเอียดกว่าในหนัง และน่าสนใจมากกว่าไหมครับ
- ที่ท้ายหนังเรื่องของรามานุจันนี่ บอกว่าบางสมการของรามานุจันนี่นำมาใช้ในการอธิบายทฤษฎีหลุมดำนี่
Hawking เป็นคนนำมาใช้หรือครับ
- ส่วนตัวว่าในหนัง ฮอว์คิ้ง ดูคล้ายกับตัวจริงมาก
แต่รามานุจันนี่ในหนังหล่อกว่าตัวจริงหลายขุมเลยครับ
สุดท้ายต้องขอบคุณเพื่อน ๆ สมาชิกห้องเฉลิมไทย
ที่ช่วยกันเขียนถึงหนังนอกกระแสทั้ง 2 เรื่องนี้ จนทำให้ผมที่บ้านอยู่บางนา
ต้องดั้นด้นไปดูในใจกลางกรุง
แล้วก็ไม่ผิดหวัง สำหรับผมหนังสองเรื่องนี้
ดูแล้วผมถือว่าเหมือนได้อ่านวรรณคดี เพราะก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจครับ
(Spoil) ดู The Man Who Knew Infinity มาแล้วสงสัย...ท่านที่รู้เรื่องของ ม. Cambridge หรือรู้จัก รามานุจัน ช่วยหน่อยครับ
เมื่อวานผมไปดู The man who knew infinity ชื่อไทยง่าย ๆ ว่า อัจฉริยะโลกไม่รัก ที่โรงใน พารากอน มาครับ
เหมือนมีฉายไม่กี่โรง ย่านนั้นน่ามีแค่ พารากอน ลิโด เอ็มควอเทียร์
เป็นเรื่องของนักคณิตศาสตร์ที่โลกลืมชื่อ รามานุจัน ที่แทบไม่มีคนรู้จัก ผมเองก็เพิ่งได้ยินชื่อ
ทั้ง ๆ ที่ผลงานของเขาเทียบเท่า เซ่อร์ ไอแซค นิวตัน
เป็นเรื่องของหนุ่มอินเดีย ที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ในระดับสูงเกินกว่าคนทั่วไปจะทำความเข้าใจได้
เมื่อความสนใจมุ่งอยู่ที่คณิตศาสตร์ จึงละเลยวิชาอื่น ๆ จนถูกปลดจากทุนมหาวิทยาลัย จึงเรียนไม่จบปริญญาตรี
เจ้าตัวมั่นใจว่าสิ่งที่ตนเองค้นพบทางคณิตศาสตร์นั้นมีความหมายมากมายมหาศาล
เมื่อในประเทศอินเดียไม่มีคนเข้าใจ หรือมีบ้างแต่น้อยมาก แล้วก็ขาดทุนสนับสนุน
เขาจึงส่งจม.ไปที่อังกฤษ แต่นักคณิตศาสตร์อังกฤษส่วนใหญ่ก็ไม่ให้ความสนใจ
ในที่สุดนักคณิตศาสตร์ของม.แคมบริดจ์ท่านนึง ชื่อ ฮาร์ดี้ อ่านจม.แล้วก็ตะลึงในสิ่งที่รามานุจันพบ
จึงขอให้รามานุจันเดินทางมาอังกฤษ
เขาต้องทิ้งแม่ทิ้งเมียมาตายเอาดาบหน้า เพียงเพื่อต้องการให้คนรับรู้สิ่งที่เขาพบ
วันแรกที่มาถึงแคมบริดจ์ อาจารย์ที่มารับรามานุจันชี้ไปที่ต้นแอปเปิ้ลต้นนึง
แล้วบอกว่า นี่คือต้นแอปเปิ้ลที่นิวตันมานอนกลางวันแล้วมีลูกแอปเปิ้ลตก
จนนิวตันคิดทฤษฎีแรงโน้มถ่วงได้ และเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกตะลึง
รามานุจันเป็นคนอินเดียผิวคล้ำ จึงถูกต่อต้านและไม่เป็นที่ยอมรับเท่าไรนักในสังคมนักคณิตศาสตร์ม.แคมบริดจ์
แม้ผลงานของเขาที่ควรจะใช้เวลานับสองชาติจึงจะทำสำเร็จ รามานุจันก็ทำเสร็จในช่วงชีวิตสั้น ๆ ของเขา
แม้ผลงานจะโดดเด่น แต่เมื่ออาจารย์ที่ชวนมาอยู่ เสนอชื่อให้ทางมหาวิทยาลัยรับเป็น Fellow of Trinity College ก็ไม่ได้รับตำแหน่ง
จนในที่สุดอาจารย์มิตรแท้ของรามานุจันท่านนี้จึงเสนอชื่อรามานุจัน
ให้เป็นราชบัณฑิตสาขาคณิตศาสตร์แห่งลอนดอน (Fellow of the Royal Society)
รามานุจันป่วยหนักด้วยวัณโรค
ก่อนที่เขาจะลากลับไปตายที่อินเดีย
วันนึงอาจารย์ที่เป็นมิตรของเขาบอกว่า มีเรื่องด่วนให้รีบตามมา
ตัวอาจารย์เดินตัดสนามหญ้า ส่วนรามานุจันจะไม่เดินตัดสนามหญ้า
เพราะเขารู้ดีว่าคนที่จะเดินตัดสนามหญ้าในคอลเลจได้ ต้องได้ตำแหน่งเฟลโล่ว์ของมหาลัยเท่านั้น
ทั้ง ๆ ที่รามานุจันเป็นราชบัณฑิตซึ่งมีศักดิ์สูงกว่า (อันนี้ผมทึกทักเอาเอง) เป็นเฟลโล่ว์ของมหาลัย (Fellow of the Trinity College)
เขาเองก็รู้ว่า เขาไม่มีสิทธิเดินตัดสนามหญ้าในมหาลัย
อาจารย์ท่านนั้นบอกว่า คุณแน่ใจหรือว่าคุณไม่มีสิทธิ์เดินตัดสนามหญ้า
แล้วก็รีบลากรามานุจันเดินตัดสนามหญ้าเข้าไปในห้องที่มีอาจารย์ผู้ทรงเกียรติอยู่เต็มห้อง
ทำให้ในวาระใกล้สุดท้ายรามานุจันก็ได้เป็นเฟลโล่ว์ของมหาลัย
รามานุจันกลับอินเดียมีเวลาใช้ชีวิตช่วง 1 ปีสุดท้ายกับเมียและแม่
ก่อนที่จะเสียชีวิตในวัย 32 ปี ทั้งผลงานไว้มากมาย
ร้อยปีต่อมาสมการของเขาได้นำมาใช้อธิบายทฤษฎีหลุมดำ
ปัจจุบันโลกยอมรับแล้วว่า รามานุจันเป็นนักวิทยาศาสต์ระดับเดียวกับอาคีมีดีส และไอแซค นิวตั้น...
ผมเลยเกิดอยากรู้ว่า
- ต้นแอปเปิ้ลที่อาจารย์ชี้ให้รามานุจันดูในวันแรกที่ย่างสู่แคมบริดจ์ ที่ัเซ่อร์ ไอแซค นิวตัน เคยแอบมางีบ ปัจจุบันยังอยู่ไหมครับ
- Trinity College คงเป็นวิทยาลัยหนึ่งในแคมบริดจ์ ผมฟังชื่อเหมือนที่ Oxford จะมี College ชื่อนี้
แต่ทำไมผมได้ยินชื่อ Trinity College จะคิดถีงเวลาเยาวชนไทยสอบเกรดเปียโนมากกว่า
ตกลง Trinity College นี่ดังด้านใดครับ
- แต่เมื่อรามานุจันเห็นหมายเลขทะเบียน 1729 ที่ อ. Hardy ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการนั่งมา
รามานุจันบอกกับ Hardy ว่า "ตัวเลขนี้เป็นเลขที่พิเศษมาก มันเป็นเลขที่น้อยที่สุด
ที่สามารถเขียนได้ในรูปผลบวกของตัวเลขกำลังสามสองตัวได้สองแบบ"
อันนี้ผมไม่เข้าใจเลยครับ วานคนเก่งคณิตศาสตร์ช่วยหน่อยครับ
- และจากชื่อเรื่อง สมการใดของรามานุจัน ที่แสดงว่าเขารู้จัก infinity ครับ
- ระหว่างการที่รามานุจันได้เป็น ศาสตราจารย์ เป็นสมาชิกของทรินิตี้คอลเลจ หรือ เป็นราชบัณฑิต
ตำแหน่งใต prestige กว่ากันครับ
และเคยมีคนไทยได้ตำแหน่งแบบนี้จากอังกฤษไหมครับ
- สงสัยเรื่องการเคาะโต๊ะในตอนที่รับรามานุจันเป็นสมาชิกตรินิตี้คอลเลจ เป็นธรรมเนียมหรือครับ
- ประเพณีเดินลัดสนามในม.แคมบริดจ์นี่ ยังคงไว้ไหมครับ
- การรับประทานอาหารในม.แคมบริดจ์ หรือ อ็อกซ์ฟอร์ด ยังอลังการแบบในหนังไหมครับ
เผอิญปีที่แล้วผมได้ดูหนังนอกกระแสอีกเรื่องคือ The Theory of Everything ชื่อไทยก็ ทฤษฎีรักนิรันดร มาด้วย
พระเอกในเรื่องคือ Stephen Hawking ที่เป็นนักจักรวาลวิทยาที่โด่งดังที่สุด
เป็นโรคที่หมอวินิจฉัยว่าจะตายใน 2 ปี แต่อยู่ได้มานับห้าสิบปีแล้วเพราะความหวังและความรัก หนังเรื่องนี้ดีมาก
แต่ไหงตอนผมไปดูมีเข้าอยู่แค่ 2 โรงเท่านั้น ผมดูที่พารากอน อีกเช่นกัน
ในหนังมีฉากที่พระเอกขี่จักรยานแข่งกับเพื่อนที่ Cambridge น่ะครับ
ผมรู้จักชื่อ Stephen Hawking มานานมาก
เพราะมีคนรู้จักเป็นนักฟิสิกส์ที่อังกฤษ
แกชอบมาเล่าเรื่องของ Hawking ให้ฟัง
จนซื้อหนังสือที่ฮอว์คิ้งเขียนมาอ่าน รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง
ตามประสาที่ตอนเรียนคิดว่าฟิสิกส์นี่เป็นวิทยาศาสตร์สาขาที่ยากที่สุดแล้ว
(คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะ ตรีโกณมิติ นี่รองลงมา)
ดูแล้วชอบมากครับ ให้ความรู้สึกที่ดี ๆ ดูแล้วเหมือนเห็นฮอว์คิ้งตัวเป็น ๆ ทีเดียวครับ
ผมเป็นคนชอบดูหนังทุกประเภท หนังไทยก็ชอบ
แต่ดูเรื่องนี้แล้วต้องชมว่าดาราฝรั่งนี่เขาเล่นหนังสมบทบาทสุดยอด
จนมานั่งคิดว่าดาราไทยจะแสดงบทที่มันเหมือนตัวจริงชีวิตจริงได้แค่นี้ไหม
สำหรับผมทึ่งในทฤษฎีและความเฉลียวฉลาดของฮอว์คิ้ง
แต่นั่นเป็นส่วนที่น้อยเมื่อเทียบว่าฮอว์คิ้งสอนให้คนเราต้องมีความหวัง ต้องต่อสู้ชีวิต...
ยังนึกว่าถ้าตัวเองหมอบอกจะตายในสองปี จะเรียนต่อไปไหม
หรือถ้ารอดมาแล้วแต่กระดุกกระดิกก็แทบไม่ได้ มิหนำซ้ำในที่สุดก็พูดไม่ได้นี่ จะมีแรงทำงานต่อไปไหม
เลยสงสัยต่อไปว่า
- ทำไมในหนังเรื่องรามานุจัน ไม่เห็นฉากขี่จักรยาน เลย ดูเหมือนจะเน้นการเดินข้าม/ไม่ข้ามสนาม
สมัยร้อยกว่าปีที่แล้วตอนรามานุจันอยู่แคมบริดจ์ ยังไม่ขี่จักรยานกันในม.หรือครับ
- ท่านใดอ่านหนังสือชีวประวัติของรามานุจันแล้วบ้างครับ ละเอียดกว่าในหนัง และน่าสนใจมากกว่าไหมครับ
- ที่ท้ายหนังเรื่องของรามานุจันนี่ บอกว่าบางสมการของรามานุจันนี่นำมาใช้ในการอธิบายทฤษฎีหลุมดำนี่
Hawking เป็นคนนำมาใช้หรือครับ
- ส่วนตัวว่าในหนัง ฮอว์คิ้ง ดูคล้ายกับตัวจริงมาก
แต่รามานุจันนี่ในหนังหล่อกว่าตัวจริงหลายขุมเลยครับ
สุดท้ายต้องขอบคุณเพื่อน ๆ สมาชิกห้องเฉลิมไทย
ที่ช่วยกันเขียนถึงหนังนอกกระแสทั้ง 2 เรื่องนี้ จนทำให้ผมที่บ้านอยู่บางนา
ต้องดั้นด้นไปดูในใจกลางกรุง
แล้วก็ไม่ผิดหวัง สำหรับผมหนังสองเรื่องนี้
ดูแล้วผมถือว่าเหมือนได้อ่านวรรณคดี เพราะก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจครับ