เนื่องจากที่เคยค้นดูที่มา เมื่อก่อน 2 สระนี้แทนสระเสียงผสมที่ต่างกันในภาษาทางเหนือหรือลาว แต่ในปัจจุบัน ไม่มีคนไทยคนไหนที่แยกเสียงของสระ 2 เสียงนี้ออกอีกแล้ว จึงทำให้ผู้ที่ใช้ภาษาไทยในปัจจุบันหลายคนเขียน ไ และ ใ สลับกัน
โดยการแยก 2 คำนี้ ที่ทำให้คนไทยสับสนได้มาก เนื่องจาก เมื่อใช้ผิดรูปแล้ว ไม่ทำให้เข้าใจความหมายผิดไป เช่น ไกล้ ใกล ผ้าใหม เสื้อไหม่ เป็นต้น ที่ถึงจะเขียนผิด แต่ไม่ทำให้เข้าใจผิด หรือออกเสียงผิดแต่อย่างใด
มีแค่คำว่า ใคร่-(ตะ)ไคร่ ใส-ไส ใต้-ไต้ ไจ-ใจ ที่มีคำซ้ำ แต่การมีคำที่มีหลายความหมาย ก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกอะไร เนื่องจากความเข้าใจของเราเปลี่ยนตามบริบทอยู่แล้ว ต่างอะไรกับคำว่า ตอง ไอ เกาะ แกะ หนู กา เป็นต้น ที่มีหลายความหมายเช่นกัน
ลองเขียนดูว่าอ่านยากไหมครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ผู้ไหญ่หาผ้าไหม่ ไห้สะไภ้ไช้คล้องคอ ไฝ่ไจเอาไส่ห่อ มิหลงไหลไครขอดู
จักไคร่ลงเรือไบ ดูน้ำไสและปลาปู สิ่งไดอยู่ไนตู้ มิไช่อยู่ไต้ตั่งเตียง
บ้าไบ้ถือไยบัว หูตามัวมาไกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี
ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้สามารถมีไม้ม้วนในภาษาไทยได้ จึงต้องมีการท่อง 20 คำไทยที่ใช้ไม้ม้วน เช่น "ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่" เพื่อช่วยให้สามารถแยกแยะการเขียนคำเหล่านี้ได้ถูกต้อง ซึ่งเหมือนเป็นการตั้งกำแพงให้ภาษาใช้ยากกว่าเดิมโดยใช่เหตุ ให้กับเด็กๆ หรือ ชาวต่างชาติ หรือเปล่า
เราควรเลิกใช้ ใ (ไม้ม้วน) เหมือนที่เลิกใช้ ฃ (ข.ขวด) และ ฅ (ค.คน) หรือเปล่าครับ
สิ่งที่ผมพอจะนึกออกถึงข้อเสียของการเปลี่ยนแปลงต่อภาษา คืออาจทำให้คนรุ่นเก่าไม่ชอบ เหมือนสมัย จอมพล ป. ที่คนไทยไม่ยอมใช้ภาษาไทยประยุกต์ต่อหลังจาก จอมพล ป. หมดวาระ แต่ภาษาไทยแบบนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่มากเกินไปจนเกิดความยากในการใช้จริงมากกว่าแบบเก่า เพราะมันเปลี่ยนไปมากเกินไป
ตัวอย่าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ด้วยรัถบาลพิจารณาเห็นว่า ภาสาไทยย่อมเป็นเครื่องหมายสแดงวัธนธรรมของชาติไทย สมควนได้รับการบำรุงส่งเสิมไห้แพร่หลายออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น ไห้สมกับความจเรินก้าวหน้าของชาติ ซึ่งกำลังขยายตัวออกไปไนปัจจุบันคนะหนึ่ง ดังมีรายชื่อแจ้งอยู่ไนประกาสตั้งกรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยนั้นแล้ว เพื่อร่วมกันพิจารนาหาทางปรับปรุงและส่งเสิมภาสาไทยไห้มีความจเรินก้าวหน้ายิ่งขึ้น อันที่จริงภาสาไทยก็เป็นภาสาที่มีสำเนียงไพเราะสละสลวยและมีความกว้างขวางของภาสาสมกับเป็นสมบัติของชาติไทยที่มีวัธนธรรมสูงอยู่แล้ว ยังขาดอยู่ก็แต่การส่งเสิมไห้แพร่หลาย สมควนแก่ความสำคันของภาสาเท่านั้น
กรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยได้มีการประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๓ พรึสภาคม ๒๔๘๕ มีความเห็นไนชั้นต้นว่า สมควนจะปรับปรุงตัวอักสรไทยไห้กระทัดรัดเพื่อได้เล่าเรียนกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ได้พิจารนาเห็นว่า ตัวสระและพยัญชนะของภาสาไทยมีอยู่หลายตัวที่ซ้ำเสียงกันโดยไม่จำเป็น ถ้าได้งดไช้เสียบ้างก็จะเป็นความสดวกไนการสึกสาเล่าเรียกภาสาไทยไห้เป็นที่นิยมยิ่งขึ้น
แต่ตัวสะกดที่มักเขียนผิดแบบ ไ ใ นี้ถ้ามีการยกเลิกไป อาจไม่ได้ขัดความรู้สึกของคนเท่าไหร่นักเพราะปกติก็ใช้ผิดกันบ่อยๆ อยู่แล้วหรือเปล่าครับ
หากมีผู้รู้ที่ทราบว่าทำไมจึงไม่ควรยกเลิก รบกวนชี้แนะด้วยครับ
คำถามแถม - คำว่า ภาษาวิบัติ และ การวิวัฒน์ของภาษา เราจะจำแนก 2 สิ่งนี้ด้วยอะไรครับ
ประโยชน์ของไม้ม้วน (ใ) คืออะไรครับ และหากเลิกใช้ และหันไปใช้ไม้มลาย (ไ) แทนจะส่งผลเสียต่อภาษาไทยไหมครับ
โดยการแยก 2 คำนี้ ที่ทำให้คนไทยสับสนได้มาก เนื่องจาก เมื่อใช้ผิดรูปแล้ว ไม่ทำให้เข้าใจความหมายผิดไป เช่น ไกล้ ใกล ผ้าใหม เสื้อไหม่ เป็นต้น ที่ถึงจะเขียนผิด แต่ไม่ทำให้เข้าใจผิด หรือออกเสียงผิดแต่อย่างใด
มีแค่คำว่า ใคร่-(ตะ)ไคร่ ใส-ไส ใต้-ไต้ ไจ-ใจ ที่มีคำซ้ำ แต่การมีคำที่มีหลายความหมาย ก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกอะไร เนื่องจากความเข้าใจของเราเปลี่ยนตามบริบทอยู่แล้ว ต่างอะไรกับคำว่า ตอง ไอ เกาะ แกะ หนู กา เป็นต้น ที่มีหลายความหมายเช่นกัน
ลองเขียนดูว่าอ่านยากไหมครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้สามารถมีไม้ม้วนในภาษาไทยได้ จึงต้องมีการท่อง 20 คำไทยที่ใช้ไม้ม้วน เช่น "ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่" เพื่อช่วยให้สามารถแยกแยะการเขียนคำเหล่านี้ได้ถูกต้อง ซึ่งเหมือนเป็นการตั้งกำแพงให้ภาษาใช้ยากกว่าเดิมโดยใช่เหตุ ให้กับเด็กๆ หรือ ชาวต่างชาติ หรือเปล่า
เราควรเลิกใช้ ใ (ไม้ม้วน) เหมือนที่เลิกใช้ ฃ (ข.ขวด) และ ฅ (ค.คน) หรือเปล่าครับ
สิ่งที่ผมพอจะนึกออกถึงข้อเสียของการเปลี่ยนแปลงต่อภาษา คืออาจทำให้คนรุ่นเก่าไม่ชอบ เหมือนสมัย จอมพล ป. ที่คนไทยไม่ยอมใช้ภาษาไทยประยุกต์ต่อหลังจาก จอมพล ป. หมดวาระ แต่ภาษาไทยแบบนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่มากเกินไปจนเกิดความยากในการใช้จริงมากกว่าแบบเก่า เพราะมันเปลี่ยนไปมากเกินไป
ตัวอย่าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แต่ตัวสะกดที่มักเขียนผิดแบบ ไ ใ นี้ถ้ามีการยกเลิกไป อาจไม่ได้ขัดความรู้สึกของคนเท่าไหร่นักเพราะปกติก็ใช้ผิดกันบ่อยๆ อยู่แล้วหรือเปล่าครับ
หากมีผู้รู้ที่ทราบว่าทำไมจึงไม่ควรยกเลิก รบกวนชี้แนะด้วยครับ
คำถามแถม - คำว่า ภาษาวิบัติ และ การวิวัฒน์ของภาษา เราจะจำแนก 2 สิ่งนี้ด้วยอะไรครับ