ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ นายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม พร้อมด้วยคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทย ได้ยกร่างและประกาศใช้อักขรวิธีไทยแบบใหม่ขึ้น เพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง
จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงเรียกประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ปรึกษาหาเรือเพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไข เมื่อตกลงกันได้แล้ว จึงแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทย ประกอบไปด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งสิ้น ๒๙ คน
คณะกรรมการดังกล่าวช่วยกันยกร่างเรื่องการปรับปรุงตัวอักษรไทย เสนอจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งท่านเห็นชอบด้วย จึงได้ลงนามในประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องการปรับปรุงอักสรไทย เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ โดยให้เหตุผลว่า
"...ด้วยรัถบาลพิจารณาเห็นว่า ภาสาไทยย่อมเป็นเครื่องหมายสแดงวัธนธรรมของชาติไทย สมควนได้รับการบำรุงส่งเสิมไห้แพร่หลายออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น ไห้สมกับความจเรินก้าวหน้าของชาติ ซึ่งกำลังขยายตัวออกไปไนปัจจุบันคนะหนึ่ง ดังมีรายชื่อแจ้งอยู่ไนประกาสตั้งกรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยนั้นแล้ว เพื่อร่วมกันพิจารนาหาทางปรับปรุงและส่งเสิมภาสาไทยไห้มีความจเรินก้าวหน้ายิ่งขึ้น อันที่จริงภาสาไทยก็เป็นภาสาที่มีสำเนียงไพเราะสละสลวยและมีความกว้างขวางของภาสาสมกับเป็นสมบัติของชาติไทยที่มีวัธนธรรมสูงอยู่แล้ว ยังขาดอยู่ก็แต่การส่งเสิมไห้แพร่หลาย สมควนแก่ความสำคันของภาสาเท่านั้น
กรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยได้มีการประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๓ พรึสภาคม ๒๔๘๕ มีความเห็นไนชั้นต้นว่า สมควนจะปรับปรุงตัวอักสรไทยไห้กระทัดรัดเพื่อได้เล่าเรียนกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ได้พิจารนาเห็นว่า ตัวสระและพยัญชนะของภาสาไทยมีอยู่หลายตัวที่ซ้ำเสียงกันโดยไม่จำเป็น ถ้าได้งดไช้เสียบ้างก็จะเป็นความสดวกไนการสึกสาเล่าเรียกภาสาไทยไห้เป็นที่นิยมยิ่งขึ้น..."
อย่างไรก็ตาม เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗ นโยบายต่าง ๆ ในวันถัดมานั้น นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ออกประกาศยกเลิกการใช้อักขรวิธีดังกล่าว และการใช้เลขสากล รวมระยะเวลาการบังคับใช้อักขรวิธีของคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยประมาณ ๒ ปี ๓ เดือน ส่งผลให้กลับไปใช้อักขรวิธีไทยแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้ใช้มาจวบจนถึงปัจจุบัน
อนึ่ง สาเหตุหลักของการที่อักขรวิธีไทยของคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยนั้นไม่ได้รับความนิยมคือ การขัดต่อความรู้สึกของประชาชน และความเคยชินกับอักษรไทยแบบเดิม
การเปลี่ยนแปลงในสมัยนั้นก็มีหลายอย่าง
ยกเลิกการใช้สระ ใ, ฤ, ฤๅ, ฦ, ฦๅ
ยกเลิกการใช้พยัญชนะ ฃ, ฅ, ฆ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ , ฑ, ฒ, ณ, ศ, ษ, ฬ
และมีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
๑. คำที่เคยใช้สระ ใ (ไม้ม้วน) ให้ใช้ ไ (ไม้มลาย) แทน เช่น ให้ → ไห้ หรือ ใน → ไน
๒ คำที่เคยใช้สระ ฤ ฤๅ ให้ใช้ ร (เรือ) ประกอบสระตามกรณีที่ออกเสียงภาษาไทย เช่น ฤ ใน พฤกษา → รึ → พรึกสา, ฤ ใน ฤกษ์ → เริ → เริกส์, ฤ ใน ฤทธิ์ → ริ → ริทธิ์, ฤๅ → รือ
๓. คำที่เคยใช้สระ ฦ ฦๅ ให้ใช้ ล (ลิง) ประกอบสระตามกรณีที่ออกเสียงในภาษาไทย เช่น ฦา → ลือ
๔. คำที่เคยใช้พยัญชนะ ฆ (ระฆัง) ใช้ ค (ควาย) แทน เช่น เฆี่ยน → เคี่ยน หรือ ฆ้อง → ค้อง
๕. คำที่เคยใช้ ฌ (เฌอ) ใช้ ช (ช้าง) แทน
๖. คำที่เคยใช้พยัญชนะวรรค ฎ (ชฎา) ให้ใช้พยัญชนะวรรค ด (เด็ก) แทน โดยลำดับคือ
๖.๑ ฎ (ชฎา) → ด (เด็ก) เช่น ชฎา → ชดา หรือ กฎหมาย → กดหมาย
๖.๒ ฏ (ประฏัก) → ต (เต่า) เช่น ประฏัก → ประตัก
๖.๓ ฐ (ฐาน) → ถ (ถุง) เช่น ฐาน → ถาน หรือ รัฐ → รัถ
๖.๔ ฑ (มณโฑ) ในกรณีที่อ่านเป็นเสียง ด ให้ใช้ ด (เด็ก) เช่นบัณฑิต → บันดิต
๖.๕ ฑ (มณโฑ) ในกรณีที่อ่านเป็นเสียง ท ให้ใช้ ท (ทหาร) เช่น ไพฑูรย์ → ไพทูรย์
๖.๖ ฒ (ผู้เฒ่า) ให้ใช้ ธ (ธง) เช่น วัฒนธรรม → วัธนธัม
๖.๗ ณ (เณร) ให้ใช้ น (หนู) เช่น ธรณี → ธรนี
๗. คำที่เคยใช้พยัญชนะ ศ ษ ให้ใช้ ส แทน เช่น ประกาศ → ประกาส หรือ ราษฎร → ราสดร
๘. คำที่เคยใช้พยัญชนะ ฬ (จุฬา) ให้ใช้ ล (ลิง) แทน เช่น จุฬาลงกรณ์ → จุลาลงกรน์
๙. คำที่มิได้มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ให้เขียนตามระเบียบคำไทย เช่น
บรร (ร หัน) → บัน เช่น
บรรจุ → บันจุ
ควร → ควน
เสริม → เสิม
เจริญ → จเริน
สำคัญ → สำคัน
ทหาร → ทหาน
กระทรวง → กระซวง
ในเวลานั้นไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หนังสือต่าง ๆ หนังสือราชกิจจานุเบกษา ใบประกาศนียบัตร ก็ใช้ตามแบบประกาศในปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ ทั้งสิ้น
ขอบคุณรูปภาพบางส่วนจาก เฟซบุ๊ก Koi Yimyam และหนังสืองานศพ โป๋ คอมันตร์
ผมรู้สึกว่าเราควรปรับปรุงแก้ไขให้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ใช้ง่ายกะทัดรัดไม่ซับซ้อนไม่ยากในการใช้งานมีผยัญชนะที่มีเสียงซํากันน้อยและช่วยให้ช่าวต่างชาติเรียน รู้ภาษาไทยได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2017593341828149&id=1651530501767770
ผมอยากให้นําอักษรไทยในสมัย จอมพลแปลก พิบูลสงคราม กลับมาใช้ใหม่ครับ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงเรียกประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ปรึกษาหาเรือเพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไข เมื่อตกลงกันได้แล้ว จึงแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทย ประกอบไปด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งสิ้น ๒๙ คน
คณะกรรมการดังกล่าวช่วยกันยกร่างเรื่องการปรับปรุงตัวอักษรไทย เสนอจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งท่านเห็นชอบด้วย จึงได้ลงนามในประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องการปรับปรุงอักสรไทย เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ โดยให้เหตุผลว่า
"...ด้วยรัถบาลพิจารณาเห็นว่า ภาสาไทยย่อมเป็นเครื่องหมายสแดงวัธนธรรมของชาติไทย สมควนได้รับการบำรุงส่งเสิมไห้แพร่หลายออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น ไห้สมกับความจเรินก้าวหน้าของชาติ ซึ่งกำลังขยายตัวออกไปไนปัจจุบันคนะหนึ่ง ดังมีรายชื่อแจ้งอยู่ไนประกาสตั้งกรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยนั้นแล้ว เพื่อร่วมกันพิจารนาหาทางปรับปรุงและส่งเสิมภาสาไทยไห้มีความจเรินก้าวหน้ายิ่งขึ้น อันที่จริงภาสาไทยก็เป็นภาสาที่มีสำเนียงไพเราะสละสลวยและมีความกว้างขวางของภาสาสมกับเป็นสมบัติของชาติไทยที่มีวัธนธรรมสูงอยู่แล้ว ยังขาดอยู่ก็แต่การส่งเสิมไห้แพร่หลาย สมควนแก่ความสำคันของภาสาเท่านั้น
กรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยได้มีการประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๓ พรึสภาคม ๒๔๘๕ มีความเห็นไนชั้นต้นว่า สมควนจะปรับปรุงตัวอักสรไทยไห้กระทัดรัดเพื่อได้เล่าเรียนกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ได้พิจารนาเห็นว่า ตัวสระและพยัญชนะของภาสาไทยมีอยู่หลายตัวที่ซ้ำเสียงกันโดยไม่จำเป็น ถ้าได้งดไช้เสียบ้างก็จะเป็นความสดวกไนการสึกสาเล่าเรียกภาสาไทยไห้เป็นที่นิยมยิ่งขึ้น..."
อย่างไรก็ตาม เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗ นโยบายต่าง ๆ ในวันถัดมานั้น นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ออกประกาศยกเลิกการใช้อักขรวิธีดังกล่าว และการใช้เลขสากล รวมระยะเวลาการบังคับใช้อักขรวิธีของคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยประมาณ ๒ ปี ๓ เดือน ส่งผลให้กลับไปใช้อักขรวิธีไทยแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้ใช้มาจวบจนถึงปัจจุบัน
อนึ่ง สาเหตุหลักของการที่อักขรวิธีไทยของคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยนั้นไม่ได้รับความนิยมคือ การขัดต่อความรู้สึกของประชาชน และความเคยชินกับอักษรไทยแบบเดิม
การเปลี่ยนแปลงในสมัยนั้นก็มีหลายอย่าง
ยกเลิกการใช้สระ ใ, ฤ, ฤๅ, ฦ, ฦๅ
ยกเลิกการใช้พยัญชนะ ฃ, ฅ, ฆ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ , ฑ, ฒ, ณ, ศ, ษ, ฬ
และมีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
๑. คำที่เคยใช้สระ ใ (ไม้ม้วน) ให้ใช้ ไ (ไม้มลาย) แทน เช่น ให้ → ไห้ หรือ ใน → ไน
๒ คำที่เคยใช้สระ ฤ ฤๅ ให้ใช้ ร (เรือ) ประกอบสระตามกรณีที่ออกเสียงภาษาไทย เช่น ฤ ใน พฤกษา → รึ → พรึกสา, ฤ ใน ฤกษ์ → เริ → เริกส์, ฤ ใน ฤทธิ์ → ริ → ริทธิ์, ฤๅ → รือ
๓. คำที่เคยใช้สระ ฦ ฦๅ ให้ใช้ ล (ลิง) ประกอบสระตามกรณีที่ออกเสียงในภาษาไทย เช่น ฦา → ลือ
๔. คำที่เคยใช้พยัญชนะ ฆ (ระฆัง) ใช้ ค (ควาย) แทน เช่น เฆี่ยน → เคี่ยน หรือ ฆ้อง → ค้อง
๕. คำที่เคยใช้ ฌ (เฌอ) ใช้ ช (ช้าง) แทน
๖. คำที่เคยใช้พยัญชนะวรรค ฎ (ชฎา) ให้ใช้พยัญชนะวรรค ด (เด็ก) แทน โดยลำดับคือ
๖.๑ ฎ (ชฎา) → ด (เด็ก) เช่น ชฎา → ชดา หรือ กฎหมาย → กดหมาย
๖.๒ ฏ (ประฏัก) → ต (เต่า) เช่น ประฏัก → ประตัก
๖.๓ ฐ (ฐาน) → ถ (ถุง) เช่น ฐาน → ถาน หรือ รัฐ → รัถ
๖.๔ ฑ (มณโฑ) ในกรณีที่อ่านเป็นเสียง ด ให้ใช้ ด (เด็ก) เช่นบัณฑิต → บันดิต
๖.๕ ฑ (มณโฑ) ในกรณีที่อ่านเป็นเสียง ท ให้ใช้ ท (ทหาร) เช่น ไพฑูรย์ → ไพทูรย์
๖.๖ ฒ (ผู้เฒ่า) ให้ใช้ ธ (ธง) เช่น วัฒนธรรม → วัธนธัม
๖.๗ ณ (เณร) ให้ใช้ น (หนู) เช่น ธรณี → ธรนี
๗. คำที่เคยใช้พยัญชนะ ศ ษ ให้ใช้ ส แทน เช่น ประกาศ → ประกาส หรือ ราษฎร → ราสดร
๘. คำที่เคยใช้พยัญชนะ ฬ (จุฬา) ให้ใช้ ล (ลิง) แทน เช่น จุฬาลงกรณ์ → จุลาลงกรน์
๙. คำที่มิได้มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ให้เขียนตามระเบียบคำไทย เช่น
บรร (ร หัน) → บัน เช่น
บรรจุ → บันจุ
ควร → ควน
เสริม → เสิม
เจริญ → จเริน
สำคัญ → สำคัน
ทหาร → ทหาน
กระทรวง → กระซวง
ในเวลานั้นไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หนังสือต่าง ๆ หนังสือราชกิจจานุเบกษา ใบประกาศนียบัตร ก็ใช้ตามแบบประกาศในปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ ทั้งสิ้น
ขอบคุณรูปภาพบางส่วนจาก เฟซบุ๊ก Koi Yimyam และหนังสืองานศพ โป๋ คอมันตร์
ผมรู้สึกว่าเราควรปรับปรุงแก้ไขให้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ใช้ง่ายกะทัดรัดไม่ซับซ้อนไม่ยากในการใช้งานมีผยัญชนะที่มีเสียงซํากันน้อยและช่วยให้ช่าวต่างชาติเรียน รู้ภาษาไทยได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้