จากกรณีเมื่อช่วงเวลาราวบ่ายสามโมง วันที่ 12 พ.ค. ศูนย์วิทยุพระรามได้รับแจ้งเหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ทราบชนิด ภายในซอยพหลโยธิน 24 แยก 2-1 พื้นที่เขตจตุจักร และหวั่นในตอนแรกว่าจะเป็นสารกัมมันตรังสี โคบอลต์ 60 สารอันตราย
เจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงสุทธิสารจึงเร่งปิดกั้นบริเวณจุดเกิดเหตุในระยะ 200 เมตร พร้อมทั้งอพยพประชาชนออกจากจุดดังกล่าว และต่อมา เจ้าหน้าที่แจ้งผลตรวจสอบเบื้องต้น ว่าเป็นสาร อิริเดียม 152 และไม่พบร่องรอยการรั่วไหล จึงยังไม่พบอันตรายนั้น
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้คนในสังคมแตกตื่นมาก เนื่องจากเคยเกิดเหตุการณ์ร้ายเกี่ยวกับสาร “โคบอลต์ 60” มาแล้ว
ย้อนไปเมื่อเดือนก.พ.2543 นายจิตรเสน จันทร์สาขา คนขี่รถ 3 ล้อหรือซาเล้ง วัย 40 ปี อาชีพเก็บหาของเก่าขาย เห็นซากเครื่องจักรขนาดใหญ่ภายในลานจอดรถรกร้างของบริษัทกมลสุโกศล ย่านซอยอ่อนนุช กทม. ถูกทิ้งอยู่ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงงัดเอาแท่งโลหะสแตนเลสทรงกระบอก ยาว 1 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 นิ้ว หนักประมาณ 15 กิโลกรัม และบรรทุกใส่รถซาเล้งนำมาขายต่อให้ร้านสมจิตร ในซอยวัดมหาวงษ์ ต.สำโรง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
ต่อมานายสุดใจ ใจเร็ว อายุ 23 ปี และนายนิพนธ์ พันธุ์ขัน อายุ 18 ปี สองหนุ่มลูกจ้างร้านขายของเก่า จัดแจงใช้เครื่องเป่าไฟด้วยแก๊ส พ่นใส่แท่งสแตนเลสหวังชำแหละแยกชิ้นส่วน เพื่อนำไปขายอีกทอด แต่หารู้ไม่ว่าภายในบรรจุสารมรณะ ที่พร้อมจะแพร่รังสีมหาประลัยออกมาในทันที
ด้วยอานุภาพอันร้ายแรงของรังสีที่แพร่กระจายออกมา ทั้งเจ้าของร้าน ลูกจ้าง และนายจิตรเสน คนขี่รถซาเล้งเก็บหาของเก่าขาย พากันล้มป่วยกันระนาว รวมทั้งสิ้น 12 คน แม้กระทั่งสุนัข 3 ตัวภายในร้าน ยังพากันล้มป่วย และค่อยตายไปทีละตัวเพราะได้รับรังสีอย่างรุนแรง
โดยเฉพาะนายสุดใจ นายนิพนธ์ 2 คนงาน และคนขี่รถซาเล้งนั้นอาการหนักที่สุด แต่ละคนคลื่นเหียนอาเจียน วิงเวียนศีรษะ ต่อมาผิวหนังเริ่มคล้ำไหม้ พุพอง ผมร่วง มีเลือดออกตามไรฟัน และเม็ดเลือดขาวถูกทำลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายไม่มีภูมิต้านทานโรค (ทั้งสองเสียชีวิตในเวลาต่อมาในเดือนมีนาคม) เหตุการณ์นี้สร้างความตื่นตระหนกไปทั่ว
ทั้งแพทย์เจ้าของไข้ ร.พ.สมุทรปราการที่รับเอาคนไข้ทั้ง 3 คนไปรักษา เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่เชี่ยวชาญเรื่องกัมมันตภาพรังสีมากที่สุดในประเทศ ที่ต้องช่วยกันขนอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ ไปเก็บกู้รังสีมรณะภายในร้านรับซื้อของเก่า
ยังไม่นับชาวบ้านละแวกใกล้เคียงและประชาชนทั่วไปที่ตื่นตระหนกและหวาดกลัว ต่อความร้ายแรงของรังสี
ต้นตอที่แพร่กระจายกัมมันตภาพรังสีนั้น นายมนูญ อร่ามรัตน์ รองเลขาธิการสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติในขณะนั้น ระบุว่าคือ โคบอลต์ 60
มีลักษณะเป็นโลหะเป็นธาตุโคบอลต์ชนิดหนึ่ง โลหะชนิดนี้สภาพตามธรรมชาติในตัวของมันไม่มีรังสี แต่จะมีคุณสมบัติแผ่รังสีได้ด้วยการนำไปอาบนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เมื่ออาบนิวตรอนเรียบร้อยแล้ว เหมือนเป็นการกระตุ้นทำให้โคบอลต์เปลี่ยนสภาพ แผ่รังสีออกมา
การมีรังสีออกมาอยู่เรื่อยๆ เท่ากับเป็นการใช้พลังงานในตัวของมันเอง หากปล่อยเอาไว้นาน พลังงานคือ รังสีที่ออกมาจะลดลงไปเรื่อยๆ ส่วนรังสีที่แพร่กระจายออกมานั้น เป็นรังสีประเภทแกมมา หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความถี่สูง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เช่น เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องฉายรังสีรักษาโรคมะเร็ง หรือใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม เช่นนำไปเป็นสารประกอบโลหะ จะทำให้การกลึงเหล็กกล้าขึ้นรูปได้ง่าย
ในวงการแพทย์หรือวงการอุตสาหกรรมจะนำประโยชน์จากรังสีนี้ไปใช้ แต่หากเกิดการรั่วไหล หรือไม่มีมาตรการป้องกันที่ได้มาตรฐานเพียงพอ รังสีที่แพร่กระจายออกมาล้วนน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มองไม่เห็น ราวกับมฤตยูเงียบ จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อล้มป่วยดังที่เกิดขึ้นกับคนในร้านรับซื้อของเก่า
ในเหตุการณ์ครั้งนั้น เจ้าหน้าที่สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ นำเครื่องตรวจวัดค่ารังสี หรือที่เรียกว่า “เซอร์เวย์มิเตอร์” เข้าไปใช้สำหรับการเก็บกู้ โดยเมื่อเข้าใกล้จุดที่โคบอลต์ 60 ซุกอยู่ใต้กองเศษเหล็ก เครื่องตรวจส่งสัญญาณเตือนถี่ยิบ
หมายความว่า ความเข้มของรังสีสูงมาก จึงทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก อีกทั้งอุปกรณ์เก็บกู้และชุดป้องกันรังสี ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะทนทานต่อรังสีได้ โดยเฉพาะระยะอันตรายที่สุดคือ 30 เมตรจากจุดศูนย์กลาง
ตลอดเวลาเจ้าหน้าที่พยายามอย่างยิ่ง แต่ไม่สามารถเข้าถึงตัวโคบอลต์ได้ พอเข้าไปใกล้ และอยู่นานได้แค่ 5 นาทีเท่านั้น ก็ต้องล่าถอยออกมา เพราะร่างกายไม่สามารถทนทานได้ และเมื่อออกมาแล้วจะต้องพักร่างกายอีกประมาณครึ่งชั่วโมง ก่อนจะกลับเข้าไปใหม่ได้
ปกติร่างกายคนเราจะทนต่อรังสีได้แค่ 0.5 เอ็มอาร์ ซึ่งเป็นหน่วยวัดค่ารังสีที่แพร่กระจายออกมา เท่านั้น เกินกว่านั้นถือว่าเสี่ยงมาก โดยเฉพาะในผู้ป่วย 3 รายแรก ได้รับรังสีสูงถึง 200 เอ็มอาร์
ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตัดสินใจใช้เหล็กต่อด้ามยาว ยื่นเข้าไปเขี่ยกองวัสดุ แล้วคีบเอาโคบอลต์ออกมาได้ ก่อนนำใส่ภาชนะที่ทำด้วยตะกั่วปิดฝามิดชิด และนำไปเก็บรอการตรวจสอบอย่างละเอียดที่สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
ท่ามกลางความอกสั่นขวัญแขวน เพราะเป็นปฎิบัติการที่ค่อนข้างเสี่ยง อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือไม่มีประสิทธิภาพพอ และกว่าจะกู้เสร็จก็ใช้เวลาข้ามวันข้ามคืน
ต่อมา เจ้าหน้าที่พบแหล่งใหญ่จุดทิ้งโลหะที่บรรจุสารโคบอลต์ 60 บริเวณลานจอดรถกว้างของบริษัทกมลสุโกศลฯ ย่านซอยอ่อนนุช ภายหลังคนขี่ซาเล้งยอมเปิดปากถึงที่มา แต่โชคดีตัวโลหะที่คลุมยังไม่ถูกเปิดออก ปริมาณรังสีอยู่ในระดับต่ำไม่สามารถทำอันตรายได้ ก่อนจะตามไปเก็บกู้ได้สำเร็จ ซึ่งบริษัทกมลสุโกศลฯ ก็ออกมายอมรับเป็นเจ้าของเครื่องดังกล่าว
แต่ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ความบกพร่องในการจัดเก็บ และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อันก่อให้เกิดโศกนาฎกรรมที่น่าสะพรึงกลัวถึงปัจจุบัน
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1463050881
พลิกแฟ้มข่าวสด ย้อนคดีโคบอลต์ 60 แค่ได้ยินชื่อก็สยองแล้ว
เจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงสุทธิสารจึงเร่งปิดกั้นบริเวณจุดเกิดเหตุในระยะ 200 เมตร พร้อมทั้งอพยพประชาชนออกจากจุดดังกล่าว และต่อมา เจ้าหน้าที่แจ้งผลตรวจสอบเบื้องต้น ว่าเป็นสาร อิริเดียม 152 และไม่พบร่องรอยการรั่วไหล จึงยังไม่พบอันตรายนั้น
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้คนในสังคมแตกตื่นมาก เนื่องจากเคยเกิดเหตุการณ์ร้ายเกี่ยวกับสาร “โคบอลต์ 60” มาแล้ว
ย้อนไปเมื่อเดือนก.พ.2543 นายจิตรเสน จันทร์สาขา คนขี่รถ 3 ล้อหรือซาเล้ง วัย 40 ปี อาชีพเก็บหาของเก่าขาย เห็นซากเครื่องจักรขนาดใหญ่ภายในลานจอดรถรกร้างของบริษัทกมลสุโกศล ย่านซอยอ่อนนุช กทม. ถูกทิ้งอยู่ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงงัดเอาแท่งโลหะสแตนเลสทรงกระบอก ยาว 1 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 นิ้ว หนักประมาณ 15 กิโลกรัม และบรรทุกใส่รถซาเล้งนำมาขายต่อให้ร้านสมจิตร ในซอยวัดมหาวงษ์ ต.สำโรง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
ต่อมานายสุดใจ ใจเร็ว อายุ 23 ปี และนายนิพนธ์ พันธุ์ขัน อายุ 18 ปี สองหนุ่มลูกจ้างร้านขายของเก่า จัดแจงใช้เครื่องเป่าไฟด้วยแก๊ส พ่นใส่แท่งสแตนเลสหวังชำแหละแยกชิ้นส่วน เพื่อนำไปขายอีกทอด แต่หารู้ไม่ว่าภายในบรรจุสารมรณะ ที่พร้อมจะแพร่รังสีมหาประลัยออกมาในทันที
ด้วยอานุภาพอันร้ายแรงของรังสีที่แพร่กระจายออกมา ทั้งเจ้าของร้าน ลูกจ้าง และนายจิตรเสน คนขี่รถซาเล้งเก็บหาของเก่าขาย พากันล้มป่วยกันระนาว รวมทั้งสิ้น 12 คน แม้กระทั่งสุนัข 3 ตัวภายในร้าน ยังพากันล้มป่วย และค่อยตายไปทีละตัวเพราะได้รับรังสีอย่างรุนแรง
โดยเฉพาะนายสุดใจ นายนิพนธ์ 2 คนงาน และคนขี่รถซาเล้งนั้นอาการหนักที่สุด แต่ละคนคลื่นเหียนอาเจียน วิงเวียนศีรษะ ต่อมาผิวหนังเริ่มคล้ำไหม้ พุพอง ผมร่วง มีเลือดออกตามไรฟัน และเม็ดเลือดขาวถูกทำลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายไม่มีภูมิต้านทานโรค (ทั้งสองเสียชีวิตในเวลาต่อมาในเดือนมีนาคม) เหตุการณ์นี้สร้างความตื่นตระหนกไปทั่ว
ทั้งแพทย์เจ้าของไข้ ร.พ.สมุทรปราการที่รับเอาคนไข้ทั้ง 3 คนไปรักษา เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่เชี่ยวชาญเรื่องกัมมันตภาพรังสีมากที่สุดในประเทศ ที่ต้องช่วยกันขนอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ ไปเก็บกู้รังสีมรณะภายในร้านรับซื้อของเก่า
ยังไม่นับชาวบ้านละแวกใกล้เคียงและประชาชนทั่วไปที่ตื่นตระหนกและหวาดกลัว ต่อความร้ายแรงของรังสี
ต้นตอที่แพร่กระจายกัมมันตภาพรังสีนั้น นายมนูญ อร่ามรัตน์ รองเลขาธิการสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติในขณะนั้น ระบุว่าคือ โคบอลต์ 60
มีลักษณะเป็นโลหะเป็นธาตุโคบอลต์ชนิดหนึ่ง โลหะชนิดนี้สภาพตามธรรมชาติในตัวของมันไม่มีรังสี แต่จะมีคุณสมบัติแผ่รังสีได้ด้วยการนำไปอาบนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เมื่ออาบนิวตรอนเรียบร้อยแล้ว เหมือนเป็นการกระตุ้นทำให้โคบอลต์เปลี่ยนสภาพ แผ่รังสีออกมา
การมีรังสีออกมาอยู่เรื่อยๆ เท่ากับเป็นการใช้พลังงานในตัวของมันเอง หากปล่อยเอาไว้นาน พลังงานคือ รังสีที่ออกมาจะลดลงไปเรื่อยๆ ส่วนรังสีที่แพร่กระจายออกมานั้น เป็นรังสีประเภทแกมมา หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความถี่สูง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เช่น เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องฉายรังสีรักษาโรคมะเร็ง หรือใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม เช่นนำไปเป็นสารประกอบโลหะ จะทำให้การกลึงเหล็กกล้าขึ้นรูปได้ง่าย
ในวงการแพทย์หรือวงการอุตสาหกรรมจะนำประโยชน์จากรังสีนี้ไปใช้ แต่หากเกิดการรั่วไหล หรือไม่มีมาตรการป้องกันที่ได้มาตรฐานเพียงพอ รังสีที่แพร่กระจายออกมาล้วนน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มองไม่เห็น ราวกับมฤตยูเงียบ จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อล้มป่วยดังที่เกิดขึ้นกับคนในร้านรับซื้อของเก่า
ในเหตุการณ์ครั้งนั้น เจ้าหน้าที่สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ นำเครื่องตรวจวัดค่ารังสี หรือที่เรียกว่า “เซอร์เวย์มิเตอร์” เข้าไปใช้สำหรับการเก็บกู้ โดยเมื่อเข้าใกล้จุดที่โคบอลต์ 60 ซุกอยู่ใต้กองเศษเหล็ก เครื่องตรวจส่งสัญญาณเตือนถี่ยิบ
หมายความว่า ความเข้มของรังสีสูงมาก จึงทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก อีกทั้งอุปกรณ์เก็บกู้และชุดป้องกันรังสี ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะทนทานต่อรังสีได้ โดยเฉพาะระยะอันตรายที่สุดคือ 30 เมตรจากจุดศูนย์กลาง
ตลอดเวลาเจ้าหน้าที่พยายามอย่างยิ่ง แต่ไม่สามารถเข้าถึงตัวโคบอลต์ได้ พอเข้าไปใกล้ และอยู่นานได้แค่ 5 นาทีเท่านั้น ก็ต้องล่าถอยออกมา เพราะร่างกายไม่สามารถทนทานได้ และเมื่อออกมาแล้วจะต้องพักร่างกายอีกประมาณครึ่งชั่วโมง ก่อนจะกลับเข้าไปใหม่ได้
ปกติร่างกายคนเราจะทนต่อรังสีได้แค่ 0.5 เอ็มอาร์ ซึ่งเป็นหน่วยวัดค่ารังสีที่แพร่กระจายออกมา เท่านั้น เกินกว่านั้นถือว่าเสี่ยงมาก โดยเฉพาะในผู้ป่วย 3 รายแรก ได้รับรังสีสูงถึง 200 เอ็มอาร์
ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตัดสินใจใช้เหล็กต่อด้ามยาว ยื่นเข้าไปเขี่ยกองวัสดุ แล้วคีบเอาโคบอลต์ออกมาได้ ก่อนนำใส่ภาชนะที่ทำด้วยตะกั่วปิดฝามิดชิด และนำไปเก็บรอการตรวจสอบอย่างละเอียดที่สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
ท่ามกลางความอกสั่นขวัญแขวน เพราะเป็นปฎิบัติการที่ค่อนข้างเสี่ยง อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือไม่มีประสิทธิภาพพอ และกว่าจะกู้เสร็จก็ใช้เวลาข้ามวันข้ามคืน
ต่อมา เจ้าหน้าที่พบแหล่งใหญ่จุดทิ้งโลหะที่บรรจุสารโคบอลต์ 60 บริเวณลานจอดรถกว้างของบริษัทกมลสุโกศลฯ ย่านซอยอ่อนนุช ภายหลังคนขี่ซาเล้งยอมเปิดปากถึงที่มา แต่โชคดีตัวโลหะที่คลุมยังไม่ถูกเปิดออก ปริมาณรังสีอยู่ในระดับต่ำไม่สามารถทำอันตรายได้ ก่อนจะตามไปเก็บกู้ได้สำเร็จ ซึ่งบริษัทกมลสุโกศลฯ ก็ออกมายอมรับเป็นเจ้าของเครื่องดังกล่าว
แต่ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ความบกพร่องในการจัดเก็บ และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อันก่อให้เกิดโศกนาฎกรรมที่น่าสะพรึงกลัวถึงปัจจุบัน
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1463050881