ท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่า “การไม่ลดราคาสินค้า ก็เป็นกลยุทธ์การตลาดแบบหนึ่ง!” สินค้าแบรนด์ดังๆ บางแบรนด์ไม่เคยลดราคาสินค้าเลยแม้แต่ครั้งเดียว ราคาขายสินค้าก็เป็นมาตรฐาน ไม่น่าเชื่อว่าสินค้าทุกชิ้นจะขายดี มียอดสั่งจองล่วงหน้า หรือแม้กระทั่งลูกค้าเดินทางไปซื้อถึงร้านที่ต่างประเทศต้นกำเนิดของแบรนด์นั้นๆ เลยก็มี… “ทำไม ของแพงจึงขายได้?”
http://www.trebs.ac.th/Thai/news/index.php?nid=54
ผู้ประกอบรายย่อยส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้พิจารณาในเรื่องการตั้งราคาให้ดีว่าจะต้องราคาเท่าไรถึงจะสามารถแข่งขันในได้ในระยะยาว ส่วนใหญ่มัก พิจารณาแต่เรื่องต้นทุนเป็นอันดับแรกแล้วก็ดูราคาคู่แข่งในตลาด จากนั้นก็บวกกำไรที่ต้องการจึงเป็นที่มาของการกำหนดราคาขายสินค้าหรือบริการ ทำให้หลายๆ ครั้ง การแข่งขันรุนแรง คู่แข่งจัดโปรโมชั่นลดราคา ทำให้ไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องลดราคาสินค้าลงตามคู่แข่งเพื่อให้ขายได้ กำไรก็เหลือน้อย แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่แน่ว่าสินค้าราคาต่ำแล้วลูกค้าอยากจะซื้อเสมอไป หากไปเจอสินค้าที่ลดคุณภาพลง หรือไม่ได้มาตรฐาน…แล้วเคยคิดไหมครับว่า “ทำไมลูกค้าจึงยอมจ่ายแพงกว่า?”
ทั้งนี้ จะเห็นว่าไม่ใช่สูตรสำเร็จเสียทีเดียวว่า “ราคาถูก” แล้วจะสามารถขายได้ ขายดี เสมอไป ราคาเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจซื้อเท่านั้น บางท่าน อาจจะบอกว่าถ้ากลุ่มลูกค้าเป็นคนรวยก็ไม่มีปัญหาจะแพงเท่าไรก็ซื้อได้ไม่เดือดร้อนอะไร แต่ผมอยากจะให้ลองมองย้อนกลับมาหาตัวเราเอง แล้วลองถามตนเองดูว่าจริงๆ แล้ว เราตัดสินใจซื้อสินค้าโดยเลือกที่ราคาถูกที่สุด ต่ำที่สุด ทุกๆ ครั้งเลยหรือเปล่า?…แล้วทำไมบางครั้งเราจึงยอมจ่ายเงินแพงกว่าเพื่อซื้อสินค้าอีกยี่ห้อหนึ่งแทนที่จะซื้อยี่ห้อที่ถูกกว่า?
ตัวอย่าง ถ้าท่านซื้อกาแฟสดที่ร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน ท่านคงจ่ายเงินไม่เกินแก้วละ 40-60 บาท หากราคาเกินกว่านี้ถือว่าแพงเกินไป เพราะจากความคุ้นเคยของเราบอกว่าราคาที่ควรซื้อเป็นเท่าไร แต่ถ้าหากท่านเดินช้อปปิ้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า แล้วพักเหนื่อยดื่มกาแฟที่ร้านสตาร์บัคส์ ราคาที่ยอมจ่ายก็อยู่ที่ระดับ 80-150 บาท ก็จะเป็นราคาที่คาดหวังอยู่ในใจแล้ว หรือแม้กระทั่งน้ำส้มคั้นเหมือนๆ กันแต่ขายอยู่ที่ตลาดกับร้านอาหารราคาก็ย่อมต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ด้วยเช่นเดียวกัน
ไม่ลดราคาสินค้า ก็เป็นกลยุทธ์การตลาดแบบหนึ่ง!
ผู้ประกอบรายย่อยส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้พิจารณาในเรื่องการตั้งราคาให้ดีว่าจะต้องราคาเท่าไรถึงจะสามารถแข่งขันในได้ในระยะยาว ส่วนใหญ่มัก พิจารณาแต่เรื่องต้นทุนเป็นอันดับแรกแล้วก็ดูราคาคู่แข่งในตลาด จากนั้นก็บวกกำไรที่ต้องการจึงเป็นที่มาของการกำหนดราคาขายสินค้าหรือบริการ ทำให้หลายๆ ครั้ง การแข่งขันรุนแรง คู่แข่งจัดโปรโมชั่นลดราคา ทำให้ไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องลดราคาสินค้าลงตามคู่แข่งเพื่อให้ขายได้ กำไรก็เหลือน้อย แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่แน่ว่าสินค้าราคาต่ำแล้วลูกค้าอยากจะซื้อเสมอไป หากไปเจอสินค้าที่ลดคุณภาพลง หรือไม่ได้มาตรฐาน…แล้วเคยคิดไหมครับว่า “ทำไมลูกค้าจึงยอมจ่ายแพงกว่า?”
ทั้งนี้ จะเห็นว่าไม่ใช่สูตรสำเร็จเสียทีเดียวว่า “ราคาถูก” แล้วจะสามารถขายได้ ขายดี เสมอไป ราคาเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจซื้อเท่านั้น บางท่าน อาจจะบอกว่าถ้ากลุ่มลูกค้าเป็นคนรวยก็ไม่มีปัญหาจะแพงเท่าไรก็ซื้อได้ไม่เดือดร้อนอะไร แต่ผมอยากจะให้ลองมองย้อนกลับมาหาตัวเราเอง แล้วลองถามตนเองดูว่าจริงๆ แล้ว เราตัดสินใจซื้อสินค้าโดยเลือกที่ราคาถูกที่สุด ต่ำที่สุด ทุกๆ ครั้งเลยหรือเปล่า?…แล้วทำไมบางครั้งเราจึงยอมจ่ายเงินแพงกว่าเพื่อซื้อสินค้าอีกยี่ห้อหนึ่งแทนที่จะซื้อยี่ห้อที่ถูกกว่า?
ตัวอย่าง ถ้าท่านซื้อกาแฟสดที่ร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน ท่านคงจ่ายเงินไม่เกินแก้วละ 40-60 บาท หากราคาเกินกว่านี้ถือว่าแพงเกินไป เพราะจากความคุ้นเคยของเราบอกว่าราคาที่ควรซื้อเป็นเท่าไร แต่ถ้าหากท่านเดินช้อปปิ้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า แล้วพักเหนื่อยดื่มกาแฟที่ร้านสตาร์บัคส์ ราคาที่ยอมจ่ายก็อยู่ที่ระดับ 80-150 บาท ก็จะเป็นราคาที่คาดหวังอยู่ในใจแล้ว หรือแม้กระทั่งน้ำส้มคั้นเหมือนๆ กันแต่ขายอยู่ที่ตลาดกับร้านอาหารราคาก็ย่อมต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ด้วยเช่นเดียวกัน