โดย ไทยรัฐออนไลน์
หากย้อนไปสมัยเป็นเด็กเรามักเจอคำถาม ว่า โตขึ้นอยากเป็นอะไร? หรืออาจจะเจอเรียงความที่โรงเรียนเกี่ยวกับอาชีพในฝัน หลายคนคงตอบว่า อยากเป็นหมอ พยาบาล ครู รวมถึงอาชีพที่เรากำลังจะพูดถึง นั่นคือ นักบิน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า นักบิน เป็นอาชีพในฝันของทั้งเด็กชายและเด็กหญิงจำนวนมาก รวมไปถึงผู้ที่อยากมีรายได้สูง แต่ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น เรียนหนัก ค่าใช้จ่ายสูง รวมไปถึงการแข่งขันในตลาดแรงงานที่มีสูง ทำให้หลายคนไปไม่ถึงฝัน
เมื่อเร็วๆ นี้ "บริษัทโบอิ้ง" ผู้ผลิตเครื่องบินของอเมริกา พยายามกระตุ้นให้เยาวชนหันมาสนใจอาชีพนักบิน ซึ่งจะเป็นอาชีพที่ต้องการอย่างมากในอีก 20 ปีข้างหน้า จากการขยายตัวของการขนส่งทางอากาศ ทำให้บริษัทการบินหลายแห่งประกาศรับสมัครนักบินเพิ่มขึ้นทุกปี แต่มีข้อจำกัดคือ นักบินเป็นอาชีพที่ต้องใช้เงินลงทุนในการเรียนที่ค่อนข้างสูงมากทีเดียว
บริษัทโบอิ้ง คาดการณ์ว่า ในปี 2034 สายการบินทั่วโลกจะต้องการนักบินเพิ่มขึ้นถึง 500,000 คน โดยเฉพาะทวีปยุโรปจะมีความต้องการสูงถึง 95,000 คน เห็นได้จากการประกาศรับสมัครนักบินของหลายสายการบิน อาทิ EasyJet รับสมัครนักบิน 450 คน และ 400 คน เป็นนักบินที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานหรือไม่มีประสบการณ์ บริติชแอร์เวย์ส รับสมัครนักบินใหม่ 350 คน บรัสเซลส์แอร์ไลน์รับสมัครนักบินจำนวน 45 คน นับเป็นการสนับสนุนคำทำนายข้างต้น
คุ้มไหม? กับเส้นทางกว่าจะมาเป็นกัปตันขับเครื่องบิน
นายเดอนิส์ เปติท์เฟร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนนักบิน New CAG ที่เมืองโกสส์ลีย์ ประเทศเบลเยียม กล่าวว่า "เรารู้สึกได้ว่า ความต้องการของนักบินในตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้น เขาหวังว่าสภาวะจะดีขึ้นเรื่อยๆ ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 นักบินจบใหม่จำนวนมากไม่สามารถหางานทำได้"
ทำไมอาชีพนักบินจึงมีแรงจูงใจคนหนุ่มสาวเป็นจำนวนมาก?
นายอองเดร่ แบร์เจร์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางอากาศบริษัทเจ็ตแอร์ฟลาย ทั้งยังเคยเป็นกัปตันขับเครื่องบินโบอิ้ง 787 กล่าวว่า “ผมมีความรู้สึกที่สุดยอดมากในการขับเครื่องบิน” ส่วน นายนิโคลาส์ อับบรามส์ ผู้ชื่นชมการผจญภัย กล่าวว่า “นักบินเป็นอาชีพที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก และถ้าลูกชายผมอยากจะเป็นนักบิน ผมก็จะสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่เลยทีเดียว แต่ในช่วงที่มีวิกฤติเศรษฐกิจ ผมแนะนำให้เขาไปหาเรียนอะไรอย่างอื่นแทนไปก่อน” แม้การเรียนนักบินจะใช้เวลาเรียนไม่นานนักเพียงสามหรือสี่ปีก็สามารถได้รับใบประกาศนียบัตร ขณะที่การเรียนในมหาวิทยาลัยต้องใช้เวลาอย่างน้อยห้าปีเพื่อที่จะได้รับเงินเดือนระดับกลาง
นักบิน อาชีพในฝันของใครหลายๆ คน
นักบินที่เพิ่งจบการศึกษาและเริ่มต้นอาชีพสามารถคาดหวังที่จะมีรายได้สุทธิถึง 3,500 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 140,000 บาท) หลังจากทำงานกับสายการบินบรัสเซลส์แอร์ไลน์ หรือเจ็ตแอร์ฟลายเพียงสองสามปี นักบินสายการบินไรอันแอร์มีรายได้ก่อนหักภาษีถึงปีละ 55,000 ยูโรต่อปี (ประมาณ 2,200,000 บาท) หลังจากทำงานได้สามหรือสี่ปี นักบินของสายการบินบรัสเซลส์แอร์ไลน์อาจมีรายได้ก่อนหักภาษีสูงถึง 11,000 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 440,000 บาท) ขณะที่สายการบินไรอันแอร์ระบุว่า รายได้ของกัปตันอาจจะสูงถึง 150,000 ยูโรต่อปี (ประมาณ 6,000,000 บาท) รายได้สุทธิจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานะทางภาษี ขณะที่ นักบินของสายการบินตะวันออกกลางไม่ต้องเสียภาษีรายได้แต่อย่างใด ยิ่งกว่านั้น กัปตันเครื่องบินเมื่อขึ้นบังคับเครื่องบิน เขาจะเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในเครื่องบินแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่เย้ายวนใจมากทีเดียว
คาดปี 2034 สายการบินทั่วโลกจะต้องการนักบินเพิ่มขึ้นถึง 500,000 คน
ประเด็นสำคัญที่เป็นปัญหาสำหรับหลายๆ คน คือ ค่าเรียนเพื่อเป็นนักบินแพงมาก เดิมสายการบินหลายแห่งให้ทุนสนับสนุนสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนเพื่อประกอบอาชีพนักบินให้กับบริษัท แต่ระยะหลังจะรับสมัครนักบินที่เรียนจบด้านการบินด้วยทุนของตนเอง มีเพียงโรงเรียนการบิน ENAC ที่เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส ที่ยังคงรับสมัครนักเรียนการบินโดยมีค่าเรียนเพียงปีละ 1,280 ยูโร (ประมาณ 51,200 บาท) แต่คัดเลือกเพียงปีละ 20 กว่าคนจากผู้สมัครจำนวนกว่าพันคนทั่วทวีปยุโรป ส่วนค่าเรียนหลักสูตรนักบินพาณิชย์ในโรงเรียนเอกชนจะอยู่ระหว่าง 80,000-90,000 ยูโร (3,200,000-3,600,000) จนจบหลักสูตร ซึ่งใบอนุญาตนักบินจากโรงเรียนในยุโรปจะสามารถใช้ได้ทุกประเทศสหภาพยุโรป
อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับใบอนุญาตนักบินแล้ว ยังต้องทำชั่วโมงบินหรือเรียนเพิ่มเติมสำหรับเครื่องบินเฉพาะรุ่นที่จะมีค่าใช้จ่ายอีกประมาณ 20,000-30,000 ยูโร (ประมาณ 800,000-1,200,000 บาท) สรุปแล้วค่าใช้จ่ายรวมจะตกอยู่ที่ประมาณ 120,000 ยูโร (ประมาณ 4,800,000 บาท) ต่อนักบิน 1 คน
ค่าใช้จ่ายต่อนักบิน 1 คน จะตกอยู่ที่ประมาณ 120,000 ยูโร (ประมาณ 4,800,000 บาท) ต่อนักบิน 1 คน
หลายสายการบินมีกระบวนการรับสมัคร-คัดเลือกนักบินที่แตกต่างกัน
สายการบินไรอันแอร์รับสมัครนักบินจบใหม่ปีละ 750 คน แต่ละคนต้องชำระค่าเริ่มบินกับเครื่องบินรุ่นต่างๆ ที่แตกต่างกัน เช่น การฝึกบินเครื่องบินโบอิ้ง 737 จะต้องเสียค่าใช้จ่าย 29,500 ยูโร (1,180,000) ซึ่งนักบินจบใหม่ยังขาดชั่วโมงบิน ต้องยอมเสียเพื่อเก็บชั่วโมงบิน เพื่อเป็นฐานก้าวกระโดดในการไปทำงานในบริษัทที่ใหญ่ขึ้นและมีรายได้ดีกว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะออกจากไรอันแอร์เมื่อชั่วโมงบินครบและย้ายไปทำงานกับสายการบินตะวันออกกลาง หลายสายการบินหักรายได้หรือเก็บเงินบางส่วนจากนักบินจบใหม่เป็นค่าเรียนสะสมชั่วโมงบิน
นักบินจบใหม่บางคนที่ไม่สามารถหางานทำได้ อาจจะต้องยอมจ่ายเงินเพื่อบิน (Pay to Fly) เก็บชั่วโมงเพื่อรักษาสถานะของใบอนุญาตให้สามารถต่ออายุได้ทุกปี ส่วนใหญ่เป็นสายการบินขนาดเล็ก ซึ่งสายการบินขนาดใหญ่หรือโลว์คอสต์ที่มีชื่อเสียงจะไม่ใช้วิธีนี้กับนักบินจบใหม่
นักบินจบใหม่ที่ไม่สามารถหางานทำได้ อาจจะต้องยอมจ่ายเงินเพื่อบิน (Pay to Fly) เก็บชั่วโมงเพื่อรักษาสถานะของใบอนุญาต
ขณะที่ นักบินที่มีประสบการณ์และมีชั่วโมงบินสูงไม่ค่อยจะมีปัญหา เนื่องจากยังเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายการบินของประเทศตะวันออกกลางที่เพิ่มเที่ยวบินพิสัยไกลเป็นจำนวนมาก เช่น สายการบินเอมิเรตส์ การ์ตาแอร์เวย์ เอธิฮัด แม้แต่สายการบินไฮนานของจีนที่มารับสมัครนักบินในยุโรป ซึ่งมีรายได้ค่อนข้างดีแต่การดำรงชีวิตไม่ค่อยดีนัก แม้กระนั้น การทำงานเป็นนักบินกับสายการบินประจำชาติในยุโรปส่วนใหญ่แล้วจะมีเงื่อนไขการทำงาน รายได้และการใช้ชีวิตที่ดีที่สุด อาจจะเริ่มจากการบินพิสัยกลางในระยะเริ่มแรก แล้วจึงเปลี่ยนไปบินพิสัยไกลในภายหลัง
หน้าที่หลักของนักบิน คือ ต้องส่งผู้โดยสารให้ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย
นับจากวันนี้บวกไปอีก 20 ปีข้างหน้า คงเป็นยุคของเด็กอีกสมัย หากใครที่กำลังคิดวางแผนจะมีครอบครัว หรือกำลังมีเจ้าตัวน้อยนั้น หวังว่า อาชีพ "นักบิน" จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือก
http://www.thairath.co.th/content/618232
รายได้สูงยั่วใจ อนาคตสดใส คุ้มขนาดไหน? เรียนเป็น 'นักบิน'
หากย้อนไปสมัยเป็นเด็กเรามักเจอคำถาม ว่า โตขึ้นอยากเป็นอะไร? หรืออาจจะเจอเรียงความที่โรงเรียนเกี่ยวกับอาชีพในฝัน หลายคนคงตอบว่า อยากเป็นหมอ พยาบาล ครู รวมถึงอาชีพที่เรากำลังจะพูดถึง นั่นคือ นักบิน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า นักบิน เป็นอาชีพในฝันของทั้งเด็กชายและเด็กหญิงจำนวนมาก รวมไปถึงผู้ที่อยากมีรายได้สูง แต่ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น เรียนหนัก ค่าใช้จ่ายสูง รวมไปถึงการแข่งขันในตลาดแรงงานที่มีสูง ทำให้หลายคนไปไม่ถึงฝัน
เมื่อเร็วๆ นี้ "บริษัทโบอิ้ง" ผู้ผลิตเครื่องบินของอเมริกา พยายามกระตุ้นให้เยาวชนหันมาสนใจอาชีพนักบิน ซึ่งจะเป็นอาชีพที่ต้องการอย่างมากในอีก 20 ปีข้างหน้า จากการขยายตัวของการขนส่งทางอากาศ ทำให้บริษัทการบินหลายแห่งประกาศรับสมัครนักบินเพิ่มขึ้นทุกปี แต่มีข้อจำกัดคือ นักบินเป็นอาชีพที่ต้องใช้เงินลงทุนในการเรียนที่ค่อนข้างสูงมากทีเดียว
บริษัทโบอิ้ง คาดการณ์ว่า ในปี 2034 สายการบินทั่วโลกจะต้องการนักบินเพิ่มขึ้นถึง 500,000 คน โดยเฉพาะทวีปยุโรปจะมีความต้องการสูงถึง 95,000 คน เห็นได้จากการประกาศรับสมัครนักบินของหลายสายการบิน อาทิ EasyJet รับสมัครนักบิน 450 คน และ 400 คน เป็นนักบินที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานหรือไม่มีประสบการณ์ บริติชแอร์เวย์ส รับสมัครนักบินใหม่ 350 คน บรัสเซลส์แอร์ไลน์รับสมัครนักบินจำนวน 45 คน นับเป็นการสนับสนุนคำทำนายข้างต้น
นายเดอนิส์ เปติท์เฟร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนนักบิน New CAG ที่เมืองโกสส์ลีย์ ประเทศเบลเยียม กล่าวว่า "เรารู้สึกได้ว่า ความต้องการของนักบินในตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้น เขาหวังว่าสภาวะจะดีขึ้นเรื่อยๆ ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 นักบินจบใหม่จำนวนมากไม่สามารถหางานทำได้"
ทำไมอาชีพนักบินจึงมีแรงจูงใจคนหนุ่มสาวเป็นจำนวนมาก?
นายอองเดร่ แบร์เจร์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางอากาศบริษัทเจ็ตแอร์ฟลาย ทั้งยังเคยเป็นกัปตันขับเครื่องบินโบอิ้ง 787 กล่าวว่า “ผมมีความรู้สึกที่สุดยอดมากในการขับเครื่องบิน” ส่วน นายนิโคลาส์ อับบรามส์ ผู้ชื่นชมการผจญภัย กล่าวว่า “นักบินเป็นอาชีพที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก และถ้าลูกชายผมอยากจะเป็นนักบิน ผมก็จะสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่เลยทีเดียว แต่ในช่วงที่มีวิกฤติเศรษฐกิจ ผมแนะนำให้เขาไปหาเรียนอะไรอย่างอื่นแทนไปก่อน” แม้การเรียนนักบินจะใช้เวลาเรียนไม่นานนักเพียงสามหรือสี่ปีก็สามารถได้รับใบประกาศนียบัตร ขณะที่การเรียนในมหาวิทยาลัยต้องใช้เวลาอย่างน้อยห้าปีเพื่อที่จะได้รับเงินเดือนระดับกลาง
นักบินที่เพิ่งจบการศึกษาและเริ่มต้นอาชีพสามารถคาดหวังที่จะมีรายได้สุทธิถึง 3,500 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 140,000 บาท) หลังจากทำงานกับสายการบินบรัสเซลส์แอร์ไลน์ หรือเจ็ตแอร์ฟลายเพียงสองสามปี นักบินสายการบินไรอันแอร์มีรายได้ก่อนหักภาษีถึงปีละ 55,000 ยูโรต่อปี (ประมาณ 2,200,000 บาท) หลังจากทำงานได้สามหรือสี่ปี นักบินของสายการบินบรัสเซลส์แอร์ไลน์อาจมีรายได้ก่อนหักภาษีสูงถึง 11,000 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 440,000 บาท) ขณะที่สายการบินไรอันแอร์ระบุว่า รายได้ของกัปตันอาจจะสูงถึง 150,000 ยูโรต่อปี (ประมาณ 6,000,000 บาท) รายได้สุทธิจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานะทางภาษี ขณะที่ นักบินของสายการบินตะวันออกกลางไม่ต้องเสียภาษีรายได้แต่อย่างใด ยิ่งกว่านั้น กัปตันเครื่องบินเมื่อขึ้นบังคับเครื่องบิน เขาจะเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในเครื่องบินแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่เย้ายวนใจมากทีเดียว
ประเด็นสำคัญที่เป็นปัญหาสำหรับหลายๆ คน คือ ค่าเรียนเพื่อเป็นนักบินแพงมาก เดิมสายการบินหลายแห่งให้ทุนสนับสนุนสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนเพื่อประกอบอาชีพนักบินให้กับบริษัท แต่ระยะหลังจะรับสมัครนักบินที่เรียนจบด้านการบินด้วยทุนของตนเอง มีเพียงโรงเรียนการบิน ENAC ที่เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส ที่ยังคงรับสมัครนักเรียนการบินโดยมีค่าเรียนเพียงปีละ 1,280 ยูโร (ประมาณ 51,200 บาท) แต่คัดเลือกเพียงปีละ 20 กว่าคนจากผู้สมัครจำนวนกว่าพันคนทั่วทวีปยุโรป ส่วนค่าเรียนหลักสูตรนักบินพาณิชย์ในโรงเรียนเอกชนจะอยู่ระหว่าง 80,000-90,000 ยูโร (3,200,000-3,600,000) จนจบหลักสูตร ซึ่งใบอนุญาตนักบินจากโรงเรียนในยุโรปจะสามารถใช้ได้ทุกประเทศสหภาพยุโรป
อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับใบอนุญาตนักบินแล้ว ยังต้องทำชั่วโมงบินหรือเรียนเพิ่มเติมสำหรับเครื่องบินเฉพาะรุ่นที่จะมีค่าใช้จ่ายอีกประมาณ 20,000-30,000 ยูโร (ประมาณ 800,000-1,200,000 บาท) สรุปแล้วค่าใช้จ่ายรวมจะตกอยู่ที่ประมาณ 120,000 ยูโร (ประมาณ 4,800,000 บาท) ต่อนักบิน 1 คน
หลายสายการบินมีกระบวนการรับสมัคร-คัดเลือกนักบินที่แตกต่างกัน
สายการบินไรอันแอร์รับสมัครนักบินจบใหม่ปีละ 750 คน แต่ละคนต้องชำระค่าเริ่มบินกับเครื่องบินรุ่นต่างๆ ที่แตกต่างกัน เช่น การฝึกบินเครื่องบินโบอิ้ง 737 จะต้องเสียค่าใช้จ่าย 29,500 ยูโร (1,180,000) ซึ่งนักบินจบใหม่ยังขาดชั่วโมงบิน ต้องยอมเสียเพื่อเก็บชั่วโมงบิน เพื่อเป็นฐานก้าวกระโดดในการไปทำงานในบริษัทที่ใหญ่ขึ้นและมีรายได้ดีกว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะออกจากไรอันแอร์เมื่อชั่วโมงบินครบและย้ายไปทำงานกับสายการบินตะวันออกกลาง หลายสายการบินหักรายได้หรือเก็บเงินบางส่วนจากนักบินจบใหม่เป็นค่าเรียนสะสมชั่วโมงบิน
นักบินจบใหม่บางคนที่ไม่สามารถหางานทำได้ อาจจะต้องยอมจ่ายเงินเพื่อบิน (Pay to Fly) เก็บชั่วโมงเพื่อรักษาสถานะของใบอนุญาตให้สามารถต่ออายุได้ทุกปี ส่วนใหญ่เป็นสายการบินขนาดเล็ก ซึ่งสายการบินขนาดใหญ่หรือโลว์คอสต์ที่มีชื่อเสียงจะไม่ใช้วิธีนี้กับนักบินจบใหม่
ขณะที่ นักบินที่มีประสบการณ์และมีชั่วโมงบินสูงไม่ค่อยจะมีปัญหา เนื่องจากยังเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายการบินของประเทศตะวันออกกลางที่เพิ่มเที่ยวบินพิสัยไกลเป็นจำนวนมาก เช่น สายการบินเอมิเรตส์ การ์ตาแอร์เวย์ เอธิฮัด แม้แต่สายการบินไฮนานของจีนที่มารับสมัครนักบินในยุโรป ซึ่งมีรายได้ค่อนข้างดีแต่การดำรงชีวิตไม่ค่อยดีนัก แม้กระนั้น การทำงานเป็นนักบินกับสายการบินประจำชาติในยุโรปส่วนใหญ่แล้วจะมีเงื่อนไขการทำงาน รายได้และการใช้ชีวิตที่ดีที่สุด อาจจะเริ่มจากการบินพิสัยกลางในระยะเริ่มแรก แล้วจึงเปลี่ยนไปบินพิสัยไกลในภายหลัง
http://www.thairath.co.th/content/618232