10-May-2016 09.25 AM
.
“อินเตอร์เน็ต” ทำให้คนเรา
“เข้าใจกันมากขึ้น” จริงหรือ? หรือทำให้คนเรา
“แตกแยก” ยิ่งขึ้นกว่าเดิมกันแน่?
.
.
นั่งหาอะไรอ่านเพลินๆ แล้วไปเจอบทความนี้ครับ บอกเลยว่า
“ตรงและจริงสุดๆ” และไม่ใช่แค่เฉพาะการเมือง แต่มันเป็นกับทุกๆ เรื่องๆ ทุกๆ กระแส ที่เกิดขึ้นบน Social Media กันเลย
.
.
ผู้เขียนบทความอ้างถึงนักเคลื่อนไหวทางการเมืองรายหนึ่งที่ใช้อินเตอร์เน็ตปลุกระดมให้ชาวอียิปต์โค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ
“ฮอสนี มูบารัค” เมื่อหลายปีก่อน ทว่าในเวลาต่อมากลับกลายเป็นรู้สึก
“ไม่มั่นใจ” ว่าสิ่งที่ทำลงไปมันทำให้สังคมอียิปต์ดีขึ้นจริงๆ หรือ? เพราะหลังจากนั้นแม้มีรัฐบาลเลือกตั้งโดย
“โมฮัมเหม็ด มอร์ซี” แต่ก็อยู่ได้แค่ชั่วครู่ พักเดียวก็กลับไปเป็นเผด็จการอีกรอบจากการรัฐประหาร เพราะประชาชนจำนวนไม่น้อยไม่พอใจท่าทีของรัฐบาลมอร์ซี
.
บทเรียนที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองรายนี้สรุปไว้ค่อนข้างน่าสนใจ..เขากล่าวว่า
“บนอินเตอร์เน็ตเต็มไปด้วยพวกกุข่าวลือ-ปล่อยข่าวมั่ว” นอกจากนี้พฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยังเน้นหนักไปในทาง
“ระบายอารมณ์ด้วยท่าทีเสียดสีชิงชัง” ในที่สุดสังคมอียิปต์ก็เป๋ไปเป๋มา และลงท้ายด้วยการแตกเป็นเสี่ยงๆ
.
เขาย้ำด้วยว่า
“อินเตอร์เน็ตเป็นตัวปลุกเร้าให้คนเราแสดงสันด-นดิบออกมา” เพราะมัน
“ง่าย” เพียงแค่คลิกเดียว!!!
.
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?..ผู้เขียนบทความนี้อ้างถึงคำอธิบายของนักเคลื่อนไหวทางการเมืองรายนี้ว่า เป็นเพราะการสื่อสารพูดคุยผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น
“ไม่จำเป็นต้องรู้จักตัวตนของกันและกัน” และเมื่อไม่รู้จักกัน ไม่เห็นหน้าค่าตากัน ก็ไม่จำเป็นต้อง
“เกรงใจกัน” จะใช้ถ้อยคำหยาบคายรุนแรง เสียดสีประชดประชันอย่างไรก็ได้ โดยลืมไปว่าเรากำลังสนทนาอยู่กับ
“คน” เหมือนกัน
.
นอกจากนี้อินเตอร์เน็ตยังตอบสนองต่อพฤติกรรมของคนเราอย่างหนึ่งที่ว่า
“มนุษย์มักจะเลือกฟังและเชื่อในสิ่งที่ตรงกับจริตของตน” ดังนั้นเราจะเลือกรับสารจากเฉพาะแหล่งข่าวที่เรารู้สึกว่า
“เขาคิดเหมือนเรา” และปิดประตูไม่รับฟังอะไรที่แตกต่างไปจากจุดนั้น
“ฟินกันเอง จิ้นกันเอง ครื้นเครงกันเอง” ( ตรงนี้ผมขอขยายความเพิ่ม-เพราะสื่อออนไลน์
“ผู้ใช้เป็นคนเลือก” ว่าจะรับ-ไม่รับอะไร ต่างจากสื่อเก่าอย่างวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ที่จะมีข้อมูลข่าวสารหลายๆ อย่าง คละเคล้ากันไป ผู้ใช้มีโอกาสเลือกหรือไม่เลือกได้น้อยกว่า จึงตอบสนองต่อพฤติกรรมข้างต้นของคนเราได้ง่ายกว่า )
.
ท้ายที่สุด..เขาได้ให้บทสรุปว่า
“ตราบใดที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่มีคุณภาพสูงขึ้น ก็คงไม่มีทางพัฒนาการเมืองให้ดีขึ้นสูงส่งขึ้นไปได้” และปิดท้ายด้วยว่าสังคมจะดีขึ้น ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจะต้องดีขึ้นก่อน
.
---------------------------------------
.
ผมอ่านบทความนี้แล้วก็ย้อนนึกไปถึงเมื่อสักสิบกว่าปีก่อน..ตอนที่อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเริ่มแพร่หลายใหม่ๆ ในราคาไม่แพง ( 256k/128k ราคา 699 บาท/เดือน ถือว่าเร็วขึ้นมากแล้วครับในยุคนั้น หลังจากที่คนไทยต้องทนกับชั่วโมงเน็ต Modem 56k ต่อๆ ตัดๆ กันมานาน ) รวมถึงคอมพิวเตอร์ PC และโน้ตบุ๊คก็ราคาค่อยๆ ต่ำลงในสเปคที่สูงขึ้น ครอบครัวระดับกลางค่อนไปทางล่างเข้าถึงได้มากขึ้น มีผู้กล่าวว่า
“อินเตอร์เน็ตจะทำให้คนเข้าใจกันมากขึ้น” จากเดิมที่ต่างคนต่างพูดในมุมในหลืบของตน ไม่มีโอกาสได้มาแลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อินเตอร์เน็ตจะเติมเต็มสิ่งเหล่านี้และนำไปสู่การพูดคุยทางออกที่แต่ละฝ่ายยอมรับกันได้
.
ทว่าสิบกว่าปีผ่านไป วันที่อินเตอร์เน็ตไม่ได้อยู่แค่ PC และโน้ตบุ๊ค วันนี้จะยากดีมีจน แทบทุกคนมีมือถือสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อ 3G 4G ได้ แต่แทนที่จะเข้าใจกันมากขึ้น กลับกลายเป็นตรงกันข้าม คือมีแต่ความแตกแยกวุ่นวายเพิ่มขึ้น ไม่เพียงแต่การเมือง แต่ยังเป็นทุกๆ เรื่อง
.
สงคราม
“กองอวย-กองแช่ง” ลุกลามไปทั่วทุกวงการ ( ดารา ช่องโทรทัศน์ ทีมกีฬา ค่ายเพลง ฯลฯ ) สิ่งที่ใช่คนที่ชอบทำอะไรก็ถูก สิ่งที่ไม่ใช่คนที่ไม่ชอบทำอะไรก็ผิด ,
“สำเร็จความใคร่ทางศีลธรรม” คนทำผิดทำพลาด ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ต้องลากมาด่ามาประจาน เอามันทั้งโค.ตรได้ยิ่งดี และต้องย้ำด้วยว่า
“ถ้าเป็นฉัน ฉันยอมอดยอมตายดีกว่าจะทำผิด” ( พูดน่ะพูดได้ แต่เวลาเข้าตาจนจริงๆ จะมีสักกี่คนที่ทำได้อย่างที่พูด? ) มากกว่าจะทำความเข้าใจที่มาที่ไปของเรื่องราวที่เกิดขึ้น ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าเรื่องของศีลธรรมแค่มุมเดียว , การแสดงความคิดเห็น
“ยิ่งแรง-ยิ่งฟิน” ไม่ต้องเกรงใจกัน บางแห่งเน้นด่าหยาบๆ บางแห่งเน้นเสียดสีประชดประชัน , เรื่องของ
“เพจปลอม-เพจปล่อยข่าวลือ” ที่มาที่ไปไม่รู้ แต่ถ้าตรงใจก็ขอให้ได้กดไลค์กดแชร์รัวๆ สาธุเอาไว้ก่อน
.
นี่ยังไม่นับเรื่องการ
“อวดตน” ที่หลุดโลกขึ้นเรื่อยๆ บางคนโชว์โปรไฟล์รถหรู บ้านหรู เสื้อผ้าหรู ( แต่ไปๆ มาๆ ดันเป็นของปลอม หรือไม่ใช่ของตัวเอง ) ถ้าเป็นผู้หญิงก็โชว์นมโชว์ของสงวน ไปจนถึงพวกที่ไปป่วนเว็บนาซ่า หรือไปตอบ ที่ 1 ที่ 2 555+ หรือไปทิ้งคำด่าในเว็บบอร์ด ในแชนแนลต่างๆ โดยที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เลย
.
แม้กระทั่งเว็บบอร์ดบางแห่งที่มีคนให้นิยามว่า
“สังคมคุณภาพ” ณ วันนี้ เสียงสะท้อนของคนที่เล่นมานานหลายคนบอกว่า
“ปลง” เพราะกระทู้สาระลดลง วันๆ มีแต่กระทู้ล่อเป้า ล่อคนมาเถียงกันด่ากัน แถมจำนวนไม่น้อยเป็นเรื่องแต่ง และแถมแต่งไม่จบอีกต่างหาก (
“แป๊บนะครับ/คะ ขอไปทำ...ก่อน เดี๋ยวมาต่อ” ) บางท่านเบื่อหน่ายเลิกเล่นไปทำเพจส่วนตัว บางท่านยังอยู่ก็ใช้ระบบกรองเอาไม่ให้เห็นกระทู้พวกนั้นซะจะได้ไม่เป็นมลพิษทางสายตาและสมอง
.
มันก็น่าคิดนะครับ..ว่าบทสรุปของนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในบทความที่ผมยกมานี้ ที่บอกว่าการเมืองและสังคมจะดีขึ้นถ้าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยรวมมีคุณภาพมากขึ้น
.
มันจะเป็นไปได้จริงหรือเปล่า?
“อินเตอร์เน็ต” ทำให้คนเรา “เข้าใจกันมากขึ้น” จริงหรือ? หรือทำให้คนเรา “แตกแยก” ยิ่งขึ้นกว่าเดิมกันแน่?
.
“อินเตอร์เน็ต” ทำให้คนเรา “เข้าใจกันมากขึ้น” จริงหรือ? หรือทำให้คนเรา “แตกแยก” ยิ่งขึ้นกว่าเดิมกันแน่?
.
.
นั่งหาอะไรอ่านเพลินๆ แล้วไปเจอบทความนี้ครับ บอกเลยว่า “ตรงและจริงสุดๆ” และไม่ใช่แค่เฉพาะการเมือง แต่มันเป็นกับทุกๆ เรื่องๆ ทุกๆ กระแส ที่เกิดขึ้นบน Social Media กันเลย
.
.
ผู้เขียนบทความอ้างถึงนักเคลื่อนไหวทางการเมืองรายหนึ่งที่ใช้อินเตอร์เน็ตปลุกระดมให้ชาวอียิปต์โค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ “ฮอสนี มูบารัค” เมื่อหลายปีก่อน ทว่าในเวลาต่อมากลับกลายเป็นรู้สึก “ไม่มั่นใจ” ว่าสิ่งที่ทำลงไปมันทำให้สังคมอียิปต์ดีขึ้นจริงๆ หรือ? เพราะหลังจากนั้นแม้มีรัฐบาลเลือกตั้งโดย “โมฮัมเหม็ด มอร์ซี” แต่ก็อยู่ได้แค่ชั่วครู่ พักเดียวก็กลับไปเป็นเผด็จการอีกรอบจากการรัฐประหาร เพราะประชาชนจำนวนไม่น้อยไม่พอใจท่าทีของรัฐบาลมอร์ซี
.
บทเรียนที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองรายนี้สรุปไว้ค่อนข้างน่าสนใจ..เขากล่าวว่า “บนอินเตอร์เน็ตเต็มไปด้วยพวกกุข่าวลือ-ปล่อยข่าวมั่ว” นอกจากนี้พฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยังเน้นหนักไปในทาง “ระบายอารมณ์ด้วยท่าทีเสียดสีชิงชัง” ในที่สุดสังคมอียิปต์ก็เป๋ไปเป๋มา และลงท้ายด้วยการแตกเป็นเสี่ยงๆ
.
เขาย้ำด้วยว่า “อินเตอร์เน็ตเป็นตัวปลุกเร้าให้คนเราแสดงสันด-นดิบออกมา” เพราะมัน “ง่าย” เพียงแค่คลิกเดียว!!!
.
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?..ผู้เขียนบทความนี้อ้างถึงคำอธิบายของนักเคลื่อนไหวทางการเมืองรายนี้ว่า เป็นเพราะการสื่อสารพูดคุยผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น “ไม่จำเป็นต้องรู้จักตัวตนของกันและกัน” และเมื่อไม่รู้จักกัน ไม่เห็นหน้าค่าตากัน ก็ไม่จำเป็นต้อง “เกรงใจกัน” จะใช้ถ้อยคำหยาบคายรุนแรง เสียดสีประชดประชันอย่างไรก็ได้ โดยลืมไปว่าเรากำลังสนทนาอยู่กับ “คน” เหมือนกัน
.
นอกจากนี้อินเตอร์เน็ตยังตอบสนองต่อพฤติกรรมของคนเราอย่างหนึ่งที่ว่า “มนุษย์มักจะเลือกฟังและเชื่อในสิ่งที่ตรงกับจริตของตน” ดังนั้นเราจะเลือกรับสารจากเฉพาะแหล่งข่าวที่เรารู้สึกว่า “เขาคิดเหมือนเรา” และปิดประตูไม่รับฟังอะไรที่แตกต่างไปจากจุดนั้น “ฟินกันเอง จิ้นกันเอง ครื้นเครงกันเอง” ( ตรงนี้ผมขอขยายความเพิ่ม-เพราะสื่อออนไลน์ “ผู้ใช้เป็นคนเลือก” ว่าจะรับ-ไม่รับอะไร ต่างจากสื่อเก่าอย่างวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ที่จะมีข้อมูลข่าวสารหลายๆ อย่าง คละเคล้ากันไป ผู้ใช้มีโอกาสเลือกหรือไม่เลือกได้น้อยกว่า จึงตอบสนองต่อพฤติกรรมข้างต้นของคนเราได้ง่ายกว่า )
.
ท้ายที่สุด..เขาได้ให้บทสรุปว่า “ตราบใดที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่มีคุณภาพสูงขึ้น ก็คงไม่มีทางพัฒนาการเมืองให้ดีขึ้นสูงส่งขึ้นไปได้” และปิดท้ายด้วยว่าสังคมจะดีขึ้น ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจะต้องดีขึ้นก่อน
.
---------------------------------------
.
ผมอ่านบทความนี้แล้วก็ย้อนนึกไปถึงเมื่อสักสิบกว่าปีก่อน..ตอนที่อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเริ่มแพร่หลายใหม่ๆ ในราคาไม่แพง ( 256k/128k ราคา 699 บาท/เดือน ถือว่าเร็วขึ้นมากแล้วครับในยุคนั้น หลังจากที่คนไทยต้องทนกับชั่วโมงเน็ต Modem 56k ต่อๆ ตัดๆ กันมานาน ) รวมถึงคอมพิวเตอร์ PC และโน้ตบุ๊คก็ราคาค่อยๆ ต่ำลงในสเปคที่สูงขึ้น ครอบครัวระดับกลางค่อนไปทางล่างเข้าถึงได้มากขึ้น มีผู้กล่าวว่า “อินเตอร์เน็ตจะทำให้คนเข้าใจกันมากขึ้น” จากเดิมที่ต่างคนต่างพูดในมุมในหลืบของตน ไม่มีโอกาสได้มาแลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อินเตอร์เน็ตจะเติมเต็มสิ่งเหล่านี้และนำไปสู่การพูดคุยทางออกที่แต่ละฝ่ายยอมรับกันได้
.
ทว่าสิบกว่าปีผ่านไป วันที่อินเตอร์เน็ตไม่ได้อยู่แค่ PC และโน้ตบุ๊ค วันนี้จะยากดีมีจน แทบทุกคนมีมือถือสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อ 3G 4G ได้ แต่แทนที่จะเข้าใจกันมากขึ้น กลับกลายเป็นตรงกันข้าม คือมีแต่ความแตกแยกวุ่นวายเพิ่มขึ้น ไม่เพียงแต่การเมือง แต่ยังเป็นทุกๆ เรื่อง
.
สงคราม “กองอวย-กองแช่ง” ลุกลามไปทั่วทุกวงการ ( ดารา ช่องโทรทัศน์ ทีมกีฬา ค่ายเพลง ฯลฯ ) สิ่งที่ใช่คนที่ชอบทำอะไรก็ถูก สิ่งที่ไม่ใช่คนที่ไม่ชอบทำอะไรก็ผิด , “สำเร็จความใคร่ทางศีลธรรม” คนทำผิดทำพลาด ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ต้องลากมาด่ามาประจาน เอามันทั้งโค.ตรได้ยิ่งดี และต้องย้ำด้วยว่า “ถ้าเป็นฉัน ฉันยอมอดยอมตายดีกว่าจะทำผิด” ( พูดน่ะพูดได้ แต่เวลาเข้าตาจนจริงๆ จะมีสักกี่คนที่ทำได้อย่างที่พูด? ) มากกว่าจะทำความเข้าใจที่มาที่ไปของเรื่องราวที่เกิดขึ้น ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าเรื่องของศีลธรรมแค่มุมเดียว , การแสดงความคิดเห็น “ยิ่งแรง-ยิ่งฟิน” ไม่ต้องเกรงใจกัน บางแห่งเน้นด่าหยาบๆ บางแห่งเน้นเสียดสีประชดประชัน , เรื่องของ “เพจปลอม-เพจปล่อยข่าวลือ” ที่มาที่ไปไม่รู้ แต่ถ้าตรงใจก็ขอให้ได้กดไลค์กดแชร์รัวๆ สาธุเอาไว้ก่อน
.
นี่ยังไม่นับเรื่องการ “อวดตน” ที่หลุดโลกขึ้นเรื่อยๆ บางคนโชว์โปรไฟล์รถหรู บ้านหรู เสื้อผ้าหรู ( แต่ไปๆ มาๆ ดันเป็นของปลอม หรือไม่ใช่ของตัวเอง ) ถ้าเป็นผู้หญิงก็โชว์นมโชว์ของสงวน ไปจนถึงพวกที่ไปป่วนเว็บนาซ่า หรือไปตอบ ที่ 1 ที่ 2 555+ หรือไปทิ้งคำด่าในเว็บบอร์ด ในแชนแนลต่างๆ โดยที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เลย
.
แม้กระทั่งเว็บบอร์ดบางแห่งที่มีคนให้นิยามว่า “สังคมคุณภาพ” ณ วันนี้ เสียงสะท้อนของคนที่เล่นมานานหลายคนบอกว่า “ปลง” เพราะกระทู้สาระลดลง วันๆ มีแต่กระทู้ล่อเป้า ล่อคนมาเถียงกันด่ากัน แถมจำนวนไม่น้อยเป็นเรื่องแต่ง และแถมแต่งไม่จบอีกต่างหาก ( “แป๊บนะครับ/คะ ขอไปทำ...ก่อน เดี๋ยวมาต่อ” ) บางท่านเบื่อหน่ายเลิกเล่นไปทำเพจส่วนตัว บางท่านยังอยู่ก็ใช้ระบบกรองเอาไม่ให้เห็นกระทู้พวกนั้นซะจะได้ไม่เป็นมลพิษทางสายตาและสมอง
.
มันก็น่าคิดนะครับ..ว่าบทสรุปของนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในบทความที่ผมยกมานี้ ที่บอกว่าการเมืองและสังคมจะดีขึ้นถ้าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยรวมมีคุณภาพมากขึ้น
.
มันจะเป็นไปได้จริงหรือเปล่า?