'ไอพีพีเอส' ควัก100ล. อัพเกรดระบบ-ลุยเพย์เมนต์เกตเวย์
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
"ไอพีพีเอส" มั่นใจตลาดอีวอลเลตได้แรงส่งจาก 4G-อีคอมเมิร์ซบูม เดินหน้าขยายพันธมิตร ยกสถานะขยับเป็นผู้ให้บริการเพย์เมนต์เกตเวย์ให้ผู้ค้าออนไลน์ ทุ่ม 100 ล้านบาท พัฒนาระบบ หวังโต 100% ในสิ้นปี ปั๊มลูกค้าทะลุ 2 ล้านราย โกยรายได้ 350-450 ล้านบาท
นางสาวกนกวรรณ ว่องวัฒนสิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด (ไอพีพีเอส) ผู้ให้บริการระบบกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ PayforU และผู้ให้บริการบัตรเงินสด Pay4Cash เปิดเผยว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเติบโตต่อเนื่อง จากเทรนด์การใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ที่ผ่านมามีการชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์เพียง 10% โดยส่วนใหญ่ยังใช้วิธีชำระเงิน ปลายทางทำให้ไม่สามารถก้าวเข้าสู่ดิจิทัลอีคอมเมิร์ซได้สมบูรณ์
ดังนั้น ธุรกิจกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หรืออีวอลเลต จึงมีพื้นที่เติบโตได้อีกมาก แม้จะมีบริการมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ส่วนใหญ่ผูกติดกับผู้ให้บริการมือถือทำให้ช่องทางในการใช้จ่ายและชำระเงินอิงกับสินค้าหรือบริการของผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง ขณะที่ไอพีพีเอสมีความเป็นกลาง ง่ายต่อการหาพันธมิตรปลั๊กอินใช้ระบบได้
ปัจจุบันมีทั้งค่ายมือถือ ธนาคาร กลุ่มดูหนังออนไลน์ เกมออนไลน์ ผู้ให้บริการ IPTV เข้ามาเป็นพันธมิตรโดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการหรือลูกค้าเกือบ 1 ล้านราย ธุรกรรมหลักยังเป็นการเติมเงิน เนื่องจากมีช่องทางในการเติมเงินเยอะที่สุด ทั้งจาก ATM, ธนาคาร เคาน์เตอร์เซอร์วิส บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส
"นโยบายดิจิทัลอีโคโนมีของรัฐบาลต้องการลดการผลิตธนบัตร รวมกับความพร้อมของอินฟราสตรักเจอร์ การมี 4G รวมถึงเทรนด์การใช้จ่าย หรือทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือที่ผู้บริโภคเริ่มเข้าใจ และคุ้นชินกับการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญให้อีวอลเลตเติบโตขึ้น แต่ภาครัฐที่จะต้องออกนโยบายมาผลักดันและส่งเสริม"
รวมถึงปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลเทคโนโลยีด้วย แม้ว่าปีนี้มองว่าการทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบ อีแบงกิ้งจะยังมาเป็นอันดับ 1 แต่จากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซรวมถึงการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ส่งผลให้มีการขยายตลาดแรงงาน ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ทำให้อีวอลเลตจะเป็นช่องทางหนึ่งที่คนกลุ่มนี้จะใช้ส่งเงินกลับประเทศได้
แม้ว่าปีนี้การแข่งขันในตลาดอีวอลเลตจะดุเดือดมาก จากการเข้ามาของต่างชาติ ซึ่งแต่ละรายจะมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน ในส่วนของไอพีพีเอส นอกจากมีความเป็นกลาง มีเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยแล้ว ยังเป็นบริษัทไทยที่เข้าใจวัฒนธรรมและอุปนิสัยของคนไทย จึงเป็นจุดแข็งที่จะเข้าถึงลูกค้าในตลาดนี้ ได้มากกว่าคู่แข่ง
"บริษัทเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2554 ใช้เงินลงทุนในการพัฒนาระบบราว 200 ล้านบาท และในช่วง 2 ปีนี้วางแผนไว้จะลงทุนอีก 100 ล้านบาทในการพัฒนาทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเรื่องความปลอดภัย ส่วนเรื่องการตลาดยังไม่ลงทุนมากนัก เพราะจะใช้วิธีทำตลาดผ่านช่องทาง ออนไลน์ และอาศัยพันธมิตรในการทำ โมบายเพย์เมนต์ ซึ่งนำไปสู่การขยายฐานลูกค้าได้เป็นวงกว้าง"
สำหรับรายได้หลักของบริษัทจะมาจากค่าธรรมเนียม ซึ่งเรียกเก็บในอัตราใกล้เคียงกับของคู่แข่ง พร้อมมีโปรโมชั่นตามสถานการณ์ตลาด โดยในปีนี้ตั้งเป้าว่าจะมีการเติบโตมากกว่า 100% มีลูกค้ารวม 2 ล้านราย มียอดธุรกรรมอย่างน้อย 100,000-200,000 ครั้งต่อวัน
โดยในไตรมาสแรกที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้เกือบ 100 ล้านบาท คาดในสิ้นปีจะมีรายได้ 350-450 ล้านบาท และเตรียมขยายพันธมิตรไปที่กลุ่มเทเลคอม และ รุกตลาดอีคอมเมิร์ซมากขึ้น ด้วยการเป็นผู้ให้บริการเพย์เมนต์เกตเวย์
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 24)
'ไอพีพีเอส' ควัก100ล. อัพเกรดระบบ-ลุยเพย์เมนต์เกตเวย์
'ไอพีพีเอส' ควัก100ล. อัพเกรดระบบ-ลุยเพย์เมนต์เกตเวย์
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
"ไอพีพีเอส" มั่นใจตลาดอีวอลเลตได้แรงส่งจาก 4G-อีคอมเมิร์ซบูม เดินหน้าขยายพันธมิตร ยกสถานะขยับเป็นผู้ให้บริการเพย์เมนต์เกตเวย์ให้ผู้ค้าออนไลน์ ทุ่ม 100 ล้านบาท พัฒนาระบบ หวังโต 100% ในสิ้นปี ปั๊มลูกค้าทะลุ 2 ล้านราย โกยรายได้ 350-450 ล้านบาท
นางสาวกนกวรรณ ว่องวัฒนสิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด (ไอพีพีเอส) ผู้ให้บริการระบบกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ PayforU และผู้ให้บริการบัตรเงินสด Pay4Cash เปิดเผยว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเติบโตต่อเนื่อง จากเทรนด์การใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ที่ผ่านมามีการชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์เพียง 10% โดยส่วนใหญ่ยังใช้วิธีชำระเงิน ปลายทางทำให้ไม่สามารถก้าวเข้าสู่ดิจิทัลอีคอมเมิร์ซได้สมบูรณ์
ดังนั้น ธุรกิจกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หรืออีวอลเลต จึงมีพื้นที่เติบโตได้อีกมาก แม้จะมีบริการมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ส่วนใหญ่ผูกติดกับผู้ให้บริการมือถือทำให้ช่องทางในการใช้จ่ายและชำระเงินอิงกับสินค้าหรือบริการของผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง ขณะที่ไอพีพีเอสมีความเป็นกลาง ง่ายต่อการหาพันธมิตรปลั๊กอินใช้ระบบได้
ปัจจุบันมีทั้งค่ายมือถือ ธนาคาร กลุ่มดูหนังออนไลน์ เกมออนไลน์ ผู้ให้บริการ IPTV เข้ามาเป็นพันธมิตรโดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการหรือลูกค้าเกือบ 1 ล้านราย ธุรกรรมหลักยังเป็นการเติมเงิน เนื่องจากมีช่องทางในการเติมเงินเยอะที่สุด ทั้งจาก ATM, ธนาคาร เคาน์เตอร์เซอร์วิส บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส
"นโยบายดิจิทัลอีโคโนมีของรัฐบาลต้องการลดการผลิตธนบัตร รวมกับความพร้อมของอินฟราสตรักเจอร์ การมี 4G รวมถึงเทรนด์การใช้จ่าย หรือทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือที่ผู้บริโภคเริ่มเข้าใจ และคุ้นชินกับการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญให้อีวอลเลตเติบโตขึ้น แต่ภาครัฐที่จะต้องออกนโยบายมาผลักดันและส่งเสริม"
รวมถึงปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลเทคโนโลยีด้วย แม้ว่าปีนี้มองว่าการทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบ อีแบงกิ้งจะยังมาเป็นอันดับ 1 แต่จากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซรวมถึงการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ส่งผลให้มีการขยายตลาดแรงงาน ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ทำให้อีวอลเลตจะเป็นช่องทางหนึ่งที่คนกลุ่มนี้จะใช้ส่งเงินกลับประเทศได้
แม้ว่าปีนี้การแข่งขันในตลาดอีวอลเลตจะดุเดือดมาก จากการเข้ามาของต่างชาติ ซึ่งแต่ละรายจะมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน ในส่วนของไอพีพีเอส นอกจากมีความเป็นกลาง มีเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยแล้ว ยังเป็นบริษัทไทยที่เข้าใจวัฒนธรรมและอุปนิสัยของคนไทย จึงเป็นจุดแข็งที่จะเข้าถึงลูกค้าในตลาดนี้ ได้มากกว่าคู่แข่ง
"บริษัทเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2554 ใช้เงินลงทุนในการพัฒนาระบบราว 200 ล้านบาท และในช่วง 2 ปีนี้วางแผนไว้จะลงทุนอีก 100 ล้านบาทในการพัฒนาทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเรื่องความปลอดภัย ส่วนเรื่องการตลาดยังไม่ลงทุนมากนัก เพราะจะใช้วิธีทำตลาดผ่านช่องทาง ออนไลน์ และอาศัยพันธมิตรในการทำ โมบายเพย์เมนต์ ซึ่งนำไปสู่การขยายฐานลูกค้าได้เป็นวงกว้าง"
สำหรับรายได้หลักของบริษัทจะมาจากค่าธรรมเนียม ซึ่งเรียกเก็บในอัตราใกล้เคียงกับของคู่แข่ง พร้อมมีโปรโมชั่นตามสถานการณ์ตลาด โดยในปีนี้ตั้งเป้าว่าจะมีการเติบโตมากกว่า 100% มีลูกค้ารวม 2 ล้านราย มียอดธุรกรรมอย่างน้อย 100,000-200,000 ครั้งต่อวัน
โดยในไตรมาสแรกที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้เกือบ 100 ล้านบาท คาดในสิ้นปีจะมีรายได้ 350-450 ล้านบาท และเตรียมขยายพันธมิตรไปที่กลุ่มเทเลคอม และ รุกตลาดอีคอมเมิร์ซมากขึ้น ด้วยการเป็นผู้ให้บริการเพย์เมนต์เกตเวย์
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 24)