'ทีทูพี' ลุยตลาด FinTech ด้วย DeepPocket โซเชียลอีวอลเล็ต
โดย MGR Online 29 เมษายน 2559 17:16 น
'ทีทูพี' ลุยขยายนวัตกรรม อีวอลเล็ต (e-wallet) ดึงความเป็นโซเชียลเข้ามาช่วยให้ผู้ใช้สะดวกขึ้น พร้อมคว้าเงินลงทุนจาก 3 กลุ่ม เบญจจินดา 500 ตุ๊กตุ๊กส์ และ 500 สตาร์ทอัป กว่า 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หวังเติบโต 3 เท่าตัวในปีนี้ ด้วยรายได้มากกว่า 30 ล้านบาท
นายทวีชัย ภูรีทิพย์ ประธานบริหาร บริษัท ทีทูพี จำกัด กล่าวว่า จากสถิติการใช้งาน e-Wallet ในประเทศไทยที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 6.8% ในปี 2014 เป็น 7.6% ในปี 2015 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปีนี้ เช่นเดียวกับการใช้งานโมบายดีไวซ์เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ในปีที่ผ่านมาสูงถึง 61.1% แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีการเงินในอนาคต
ขณะเดียวกันมูลค่าตลาด FinTech ทั่วโลกมีการเติบโตแบบชัดเจนตั้งแต่ปี 2014 ต่อเนื่องถึงปี 2015 ที่มีมูลค่ารวมกว่า 22,000 ล้านเหรียญ หรือกว่า 8 แสนล้านบาท มีนักลงทุนที่ลงทุนในกลุ่ม FinTech เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากปี 2013 คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.4 แสนล้านบาท
'ทีทูพีมองว่าผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ยังทำธุรกรรมผ่านเงินสดอยู่ ทำให้บริษัทมีโอกาสสร้างโซลูชันขึ้นมาให้เกิดการใช้จ่ายออนไลน์มากยิ่งขึ้น ภายใต้เป้าหมายหลักคือการเปลี่ยนธุรกรรมที่ใช้เงินสดมาเป็นธุรกรรมผ่านระบบดิจิตอล เพียงแต่ถ้าทำแค่เพย์เมนต์โซลูชันอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ทำให้ต้องมีการใส่นวัตกรรมเข้าไปด้วย'
สำหรับ ทีทูพี ได้แบ่งธุรกิจออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ B2B ที่ให้บริการโซลูชันรีวอร์ดการ์ดแก่สมาชิกองค์กรในรูปแบบโปรแกรม Loyalty Card ที่ปัจจุบันมีลูกค้าใช้งานกว่า 1 ล้านคน จาก 1,500 ร้านค้าทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นรายได้หลักขององค์กรอยู่ โดยปีที่ผ่านมาทีทูพีมีรายได้ 10 ล้านบาท และจะเติบโตเป็น 30-40 ล้านบาทในปีนี้
ส่วนอีกธุรกิจคือการให้บริการแบบ B2C ผ่านแบรนด์ DeepPocket ที่เป็นโซเชียล อี-มันนี่ ให้บริการผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ที่ให้บริการด้าน e-wallet หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่ให้ลูกค้าสามารถนำไปใช้ชำระสินค้าและบริการแทนเงินสดผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยสามารถเติมเงินผ่านร้านค้าทั่วไปของไฮเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงธนาคารที่เป็นพันธมิตร
ประกอบกับที่ผ่านมา โซเชียลเน็ตเวิร์กเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดแนวคิดว่าการนำจุดดังกล่าวมาช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภค ทำให้มีการเพิ่มฟังก์ชันอย่างการยืมเงินเพื่อนในกลุ่มเข้ามา (จำกัดไม่เกินคนละ 50 บาท) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ ก่อนคืนเงินให้ทีหลัง
'DeepPocket เป็นหนึ่งในไม่กี่รายที่เป็นพาร์ทเนอร์กับมาสเตอร์การ์ด ทำให้สามารถใช้ e-wallet ในการชำระผ่านมาสเตอร์การ์ดได้ทันที หรือนำเบอร์ของมาสเตอร์การ์ดไปผูกไว้กับรูปแบบการชำระเงิน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเข้าไปขยายพันธมิตรร้านค้าเพิ่มเพราะปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่จะรองรับการชำระเงินผ่านมาสเตอร์การ์ดอยู่แล้ว ก่อนจะขยายไปยังร้านค้าออฟไลน์ในอนาคต'
ปัจจุบันมีลูกค้าที่ใช้บริการ DeepPocket อยู่ราว 7 หมื่นราย พร้อมกับตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 3 แสนราย และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีข้างหน้า เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 100% ต่อปี โดยมีปัจจัยหลักมาจากการที่สัดส่วนการใช้งานบัตรเครดิตในประเทศไทยจะอยู่ที่ราว 20% เท่านั้น ขณะที่จำนวนสมาร์ทโฟนมีสัดส่วนการใช้งานสูงถึง 130% จึงมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก
ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายหลักของ DeepPocket คือกลุ่มเกมเมอร์ที่ใช้การเติมเงินผ่านบัตรเงินสด และกลุ่มผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคารที่มีสัดส่วนกว่า 30% ของประชากร แต่ต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยมีข้อกำหนดการทำธุรกรรมไว้ที่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อทรานเซกชัน
โดยล่าสุดทางทีพูทีได้เงินลงทุนจาก 3 กลุ่มบริษัท คือกลุ่มเบญจจินดา ที่เป็นบริษัทให้ดำเนินการสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ ,500 ตุ๊กตุ๊กส์ ที่เป็นกองทุนลงทุนสตาร์ทอัปในประเทศไทย และ 500 Startups จากสหรัฐอเมริกาที่ลงทุนในกลุ่ม FinTech เป็นครั้งแรกในไทย โดยทั้ง 3 กลุ่มจะเข้ามาถือหุ้นในทีทูพีราว 20% คิดเป็นเงินร่วมทุนราว 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
แหล่งข่าว
Manager Online
http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000043647
'ทีทูพี' ลุยตลาด FinTech ด้วย DeepPocket โซเชียลอีวอลเล็ต
'ทีทูพี' ลุยตลาด FinTech ด้วย DeepPocket โซเชียลอีวอลเล็ต
โดย MGR Online 29 เมษายน 2559 17:16 น
'ทีทูพี' ลุยขยายนวัตกรรม อีวอลเล็ต (e-wallet) ดึงความเป็นโซเชียลเข้ามาช่วยให้ผู้ใช้สะดวกขึ้น พร้อมคว้าเงินลงทุนจาก 3 กลุ่ม เบญจจินดา 500 ตุ๊กตุ๊กส์ และ 500 สตาร์ทอัป กว่า 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หวังเติบโต 3 เท่าตัวในปีนี้ ด้วยรายได้มากกว่า 30 ล้านบาท
นายทวีชัย ภูรีทิพย์ ประธานบริหาร บริษัท ทีทูพี จำกัด กล่าวว่า จากสถิติการใช้งาน e-Wallet ในประเทศไทยที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 6.8% ในปี 2014 เป็น 7.6% ในปี 2015 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปีนี้ เช่นเดียวกับการใช้งานโมบายดีไวซ์เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ในปีที่ผ่านมาสูงถึง 61.1% แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีการเงินในอนาคต
ขณะเดียวกันมูลค่าตลาด FinTech ทั่วโลกมีการเติบโตแบบชัดเจนตั้งแต่ปี 2014 ต่อเนื่องถึงปี 2015 ที่มีมูลค่ารวมกว่า 22,000 ล้านเหรียญ หรือกว่า 8 แสนล้านบาท มีนักลงทุนที่ลงทุนในกลุ่ม FinTech เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากปี 2013 คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.4 แสนล้านบาท
'ทีทูพีมองว่าผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ยังทำธุรกรรมผ่านเงินสดอยู่ ทำให้บริษัทมีโอกาสสร้างโซลูชันขึ้นมาให้เกิดการใช้จ่ายออนไลน์มากยิ่งขึ้น ภายใต้เป้าหมายหลักคือการเปลี่ยนธุรกรรมที่ใช้เงินสดมาเป็นธุรกรรมผ่านระบบดิจิตอล เพียงแต่ถ้าทำแค่เพย์เมนต์โซลูชันอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ทำให้ต้องมีการใส่นวัตกรรมเข้าไปด้วย'
สำหรับ ทีทูพี ได้แบ่งธุรกิจออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ B2B ที่ให้บริการโซลูชันรีวอร์ดการ์ดแก่สมาชิกองค์กรในรูปแบบโปรแกรม Loyalty Card ที่ปัจจุบันมีลูกค้าใช้งานกว่า 1 ล้านคน จาก 1,500 ร้านค้าทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นรายได้หลักขององค์กรอยู่ โดยปีที่ผ่านมาทีทูพีมีรายได้ 10 ล้านบาท และจะเติบโตเป็น 30-40 ล้านบาทในปีนี้
ส่วนอีกธุรกิจคือการให้บริการแบบ B2C ผ่านแบรนด์ DeepPocket ที่เป็นโซเชียล อี-มันนี่ ให้บริการผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ที่ให้บริการด้าน e-wallet หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่ให้ลูกค้าสามารถนำไปใช้ชำระสินค้าและบริการแทนเงินสดผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยสามารถเติมเงินผ่านร้านค้าทั่วไปของไฮเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงธนาคารที่เป็นพันธมิตร
ประกอบกับที่ผ่านมา โซเชียลเน็ตเวิร์กเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดแนวคิดว่าการนำจุดดังกล่าวมาช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภค ทำให้มีการเพิ่มฟังก์ชันอย่างการยืมเงินเพื่อนในกลุ่มเข้ามา (จำกัดไม่เกินคนละ 50 บาท) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ ก่อนคืนเงินให้ทีหลัง
'DeepPocket เป็นหนึ่งในไม่กี่รายที่เป็นพาร์ทเนอร์กับมาสเตอร์การ์ด ทำให้สามารถใช้ e-wallet ในการชำระผ่านมาสเตอร์การ์ดได้ทันที หรือนำเบอร์ของมาสเตอร์การ์ดไปผูกไว้กับรูปแบบการชำระเงิน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเข้าไปขยายพันธมิตรร้านค้าเพิ่มเพราะปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่จะรองรับการชำระเงินผ่านมาสเตอร์การ์ดอยู่แล้ว ก่อนจะขยายไปยังร้านค้าออฟไลน์ในอนาคต'
ปัจจุบันมีลูกค้าที่ใช้บริการ DeepPocket อยู่ราว 7 หมื่นราย พร้อมกับตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 3 แสนราย และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีข้างหน้า เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 100% ต่อปี โดยมีปัจจัยหลักมาจากการที่สัดส่วนการใช้งานบัตรเครดิตในประเทศไทยจะอยู่ที่ราว 20% เท่านั้น ขณะที่จำนวนสมาร์ทโฟนมีสัดส่วนการใช้งานสูงถึง 130% จึงมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก
ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายหลักของ DeepPocket คือกลุ่มเกมเมอร์ที่ใช้การเติมเงินผ่านบัตรเงินสด และกลุ่มผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคารที่มีสัดส่วนกว่า 30% ของประชากร แต่ต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยมีข้อกำหนดการทำธุรกรรมไว้ที่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อทรานเซกชัน
โดยล่าสุดทางทีพูทีได้เงินลงทุนจาก 3 กลุ่มบริษัท คือกลุ่มเบญจจินดา ที่เป็นบริษัทให้ดำเนินการสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ ,500 ตุ๊กตุ๊กส์ ที่เป็นกองทุนลงทุนสตาร์ทอัปในประเทศไทย และ 500 Startups จากสหรัฐอเมริกาที่ลงทุนในกลุ่ม FinTech เป็นครั้งแรกในไทย โดยทั้ง 3 กลุ่มจะเข้ามาถือหุ้นในทีทูพีราว 20% คิดเป็นเงินร่วมทุนราว 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
แหล่งข่าว
Manager Online
http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000043647