ยักษ์แพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพลส “ช้อปปี้-ลาซาด้า” ปรับตัวสู้ศึกอีคอมเมิร์ซ มุ่งชูนวัตกรรมเร่งสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ผู้ใช้บริการ ยึดผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซ 7.5 แสนล้านบาท
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปีนี้มีคนไทยมากถึง 67% ที่เลือกซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะสูงถึง 750,000 ล้านบาท ภายในปี 2568
อย่างไรก็ตามภูมิทัศน์การแข่งขันในอีคอมเมิร์ซเริ่มรุนแรงมากขึ้น โดย 2 ยักษ์แพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพลส ช้อปปี้ และลาซาด้า ที่ครองตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมากกว่า 90% กำลังถูกท้าทายอย่างหนักจากโซเชียลคอมเมิร์ซ อย่าง TikTok Shop และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของถูกจากโรงงานอย่าง Temu ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับตัวอย่างหนักเพื่อรักษาตลาดตัวเองเอาไว้
โดย ช้อปปี้ถือเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมและสร้างมาตรฐานใหม่ในอีคอมเมิร์ซไทย ช้อปปี้ นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ก้าวเป็นแพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพลสอันดับ 1 โดยมีส่วนแบ่งตลาด 56% มีผู้ใช้งาน 50 ล้านคนต่อเดือน
ช้อปปี้ สร้างชื่อจากคูปองส่งฟรี ไม่มีเงื่อนไข และ Shopee Live ไลฟ์สตริ่มมิ่ง หรือ ไลฟ์สดขายของ เครื่องมือช่วยร้านค้าสร้างยอดขาย และสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ให้ผู้บริโภค นอกจากนี้ช้อปปี้ ยังมีโปรแกรม Shopee Affiliate Program การสร้างรายได้จากการแชร์ลิงก์โปรโมตสินค้า ร้านค้า หรือ หน้าแคมเปญ จากแอป Shopee และจะได้รับค่าตอบแทนเป็น % ค่าคอมมิชชัน ของสินค้าทุกชิ้นที่มีคนซื้อจริงหลังคลิกลิงก์ โดยจะต้องเป็นออเดอร์ที่สำเร็จ และเป็นแพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพสรายแรกที่นำ ล่าสุดเปิด Shopee Video แหล่งรวมคลังรีวีวที่ได้รับความนิยมจากนักช้อป คอนเทนต์ครีเอเตอร์ และแบรนด์พันธมิตร โดยเป็นฟีเจอร์มาแรงอย่างมาก
จากการตรวจสอบข้อมูลจาก Creden พบว่าบริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด ระหว่างปี 2562-2566 พบว่าช้อปปี้สามารถพลิกทำกำไรอย่างรวดเร็ว โดยปี 2564 ขาดทุน 4,972,561,566 บาท (ขาดทุนมากที่สุด) แต่ในปี 2565 สามารถทำกำไร 2,380,269,060 บาท (กำไรสูงสุด) และในปี 2566 มีกำไรต่อเนื่อง 2,165,702,217 บาท
รายได้-กำไร บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด
ปี 2562
- รายได้ 1,986,021,185 บาท
- ขาดทุน 4,745,723,178 บาท
ปี 2563
- รายได้ 5,812,790,479 บาท
- ขาดทุน 4,170,174,144 บาท
ปี 2564
- รายได้ 13,322,184,294 บาท
- ขาดทุน 4,972,561,566 บาท (ขาดทุนมากที่สุด)
ปี 2565:
- รายได้ 21,709,715,956 บาท
- กำไร 2,380,269,060 บาท (กำไรสูงสุด)
ปี 2566:
- รายได้ 29,476,729,160 บาท (สูงสุดในช่วง 5 ปี)
- กำไร 2,165,702,217 บาท
สุดปัง 120 ล้านในวันเดียว "มหกรรมไลฟ์คอมเมิร์ซ" ยอดขายพุ่งทะลุเป้า
ส่วน “ลาซาด้า” ยักษ์แพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพลสอีกรายหนึ่งที่ดำเนินธุรกิจในไทยมา 12 ปี โดยมีแบ็กอัพใหญ่สำคัญคือ “อาลีบาบา กรุ๊ป” ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซโลก ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 โดยครองส่วนแบ่งตลาดราว 40% ล่าสุด ลาซาด้า ประกาศเดินหน้าลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ การยกระดับประสบการณ์นักช้อป นวัตกรรมและเทคโนโลยี และการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ยกระดับประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล
เพื่อตอบรับการขยายตัวของกลุ่มนักช้อปหญิงและบทบาทที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z ลาซาด้า เดินหน้ากลยุทธ์เพิ่มประสบการณ์การช้อปที่แตกต่าง ภายใต้แนวคิด “Customer-First” เน้นการตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราการซื้อซ้ำและความเหนียวแน่นของนักช้อป โดยสร้างความแตกต่างในหมวดหมู่สินค้าพรีเมียม แฟชัน และความงาม ซึ่งเป็นจุดแข็งของแพลตฟอร์ม เห็นได้จากยอดขายรวมของ LazMall ในช่วงเมกะแคมเปญ ซึ่งก้าวกระโดดมากกว่า 7 เท่า เมื่อเทียบกับวันปกติ ในขณะที่ LazBEAUTY มีจำนวนสมาชิกในไทยกว่า 1 ล้านราย
ลาซาด้า เสริมความแข็งแกร่งของ LazMall ผ่านการขยายพันธมิตรแบรนด์เอ็กซ์คลูซีฟ และรุกเซ็กเมนต์สินค้าลักชูรี ผ่านหมวดสินค้า LazMall Premium Brand นอกจากนี้ ยังตอกย้ำ LazLOOK ในฐานะจุดหมายสินค้าแฟชัน ผ่านแคมเปญรายสัปดาห์ที่จะเข้ามาสร้างความตื่นเต้นและสีสันให้แก่นักช้อปอย่างต่อเนื่อง
ลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้การช้อปเป็นเรื่องสะดวกและสนุกยิ่งขึ้น ลาซาด้า ยังนำเทคโนโลยี AI เข้ามาขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมและฟีเจอร์ต่าง ๆ โดยมี Gamification เป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมกับนักช้อป ที่ผ่านมา LazGame ได้รับผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างมากในประเทศไทย โดยมีผู้เล่นเกมกว่า 1 ล้านคนต่อวัน ซึ่งนักช้อปกลุ่มนี้มีการใช้งานแอปพลิเคชันนานกว่าค่าเฉลี่ยของแพลตฟอร์มถึง 3 เท่า และราว 82% กลับมาใช้งานแอปพลิเคชันเป็นประจำทุกวัน
อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่สะท้อนถึงความสำเร็จของการลงทุนด้านนวัตกรรมของลาซาด้า คือ ฟีเจอร์ “ถามผู้ใช้งานจริง (Ask the Buyer)” ซึ่งนำเทคโนโลยี AI มาช่วยตั้งคำถามเชิญชวนให้ผู้ซื้อรายก่อน ๆ มาร่วมรีวิวสินค้า เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อรายใหม่ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น โดยปัจจุบันมีการตอบคำถามจากผู้ซื้อจริงไปแล้วกว่า 1.5 ล้านครั้ง
ส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพผู้ขายไทย
ด้วยพันธกิจในการสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ลาซาด้า ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโซลูชันการตลาดเพื่อสนับสนุนผู้ขายให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ เช่น เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยี AI ช่วยปรับแต่งรูปภาพ เขียนคำอธิบายสินค้า และให้บริการลูกค้า โดยพบว่าสามารถเพิ่มอัตราการซื้อได้กว่า 30%
จากการตรวจสอบข้อมูลจาก Creden พบว่าบริษัทลาซาด้า จำกัด มีแนวโน้มผลประกอบการที่ดีขึ้นต่อเนื่อง รายได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2567 มีรายได้ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท และสามารถทำกำไรได้ในช่วง 4 ปีหลัง (2564-2567) โดยมีกำไรเติบโตขึ้นทุกปี
รายได้-กำไร บริษัทลาซาด้า จำกัด
ปี 2563
รายได้ 10,011,765,022 บาท
ขาดทุน 3,988,774,672 บาท
ปี 2564
รายได้ 14,675,291,653 บาท
กำไร 226,886,476 บาท
ปี 2565
รายได้ 20,675,450,640 บาท
กำไร 413,084,772 บาท
ปี 2566
รายได้ 21,470,930,506 บาท
กำไร 604,552,343 บาท
ปี 2567
รายได้ 28,291,266,920 บาท
กำไร 836,357,146 บาท
Cr.
https://www.thansettakij.com/technology/technology/607862
“ช้อปปี้-ลาซาด้า”พลิกเกมสู้ “TEMU-TikTok Shop” ยึดหัวหาดผู้นำอีคอมเมิร์ซ
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปีนี้มีคนไทยมากถึง 67% ที่เลือกซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะสูงถึง 750,000 ล้านบาท ภายในปี 2568
อย่างไรก็ตามภูมิทัศน์การแข่งขันในอีคอมเมิร์ซเริ่มรุนแรงมากขึ้น โดย 2 ยักษ์แพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพลส ช้อปปี้ และลาซาด้า ที่ครองตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมากกว่า 90% กำลังถูกท้าทายอย่างหนักจากโซเชียลคอมเมิร์ซ อย่าง TikTok Shop และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของถูกจากโรงงานอย่าง Temu ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับตัวอย่างหนักเพื่อรักษาตลาดตัวเองเอาไว้
โดย ช้อปปี้ถือเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมและสร้างมาตรฐานใหม่ในอีคอมเมิร์ซไทย ช้อปปี้ นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ก้าวเป็นแพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพลสอันดับ 1 โดยมีส่วนแบ่งตลาด 56% มีผู้ใช้งาน 50 ล้านคนต่อเดือน
ช้อปปี้ สร้างชื่อจากคูปองส่งฟรี ไม่มีเงื่อนไข และ Shopee Live ไลฟ์สตริ่มมิ่ง หรือ ไลฟ์สดขายของ เครื่องมือช่วยร้านค้าสร้างยอดขาย และสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ให้ผู้บริโภค นอกจากนี้ช้อปปี้ ยังมีโปรแกรม Shopee Affiliate Program การสร้างรายได้จากการแชร์ลิงก์โปรโมตสินค้า ร้านค้า หรือ หน้าแคมเปญ จากแอป Shopee และจะได้รับค่าตอบแทนเป็น % ค่าคอมมิชชัน ของสินค้าทุกชิ้นที่มีคนซื้อจริงหลังคลิกลิงก์ โดยจะต้องเป็นออเดอร์ที่สำเร็จ และเป็นแพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพสรายแรกที่นำ ล่าสุดเปิด Shopee Video แหล่งรวมคลังรีวีวที่ได้รับความนิยมจากนักช้อป คอนเทนต์ครีเอเตอร์ และแบรนด์พันธมิตร โดยเป็นฟีเจอร์มาแรงอย่างมาก
จากการตรวจสอบข้อมูลจาก Creden พบว่าบริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด ระหว่างปี 2562-2566 พบว่าช้อปปี้สามารถพลิกทำกำไรอย่างรวดเร็ว โดยปี 2564 ขาดทุน 4,972,561,566 บาท (ขาดทุนมากที่สุด) แต่ในปี 2565 สามารถทำกำไร 2,380,269,060 บาท (กำไรสูงสุด) และในปี 2566 มีกำไรต่อเนื่อง 2,165,702,217 บาท
รายได้-กำไร บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด
ปี 2562
- รายได้ 1,986,021,185 บาท
- ขาดทุน 4,745,723,178 บาท
ปี 2563
- รายได้ 5,812,790,479 บาท
- ขาดทุน 4,170,174,144 บาท
ปี 2564
- รายได้ 13,322,184,294 บาท
- ขาดทุน 4,972,561,566 บาท (ขาดทุนมากที่สุด)
ปี 2565:
- รายได้ 21,709,715,956 บาท
- กำไร 2,380,269,060 บาท (กำไรสูงสุด)
ปี 2566:
- รายได้ 29,476,729,160 บาท (สูงสุดในช่วง 5 ปี)
- กำไร 2,165,702,217 บาท
สุดปัง 120 ล้านในวันเดียว "มหกรรมไลฟ์คอมเมิร์ซ" ยอดขายพุ่งทะลุเป้า
ส่วน “ลาซาด้า” ยักษ์แพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพลสอีกรายหนึ่งที่ดำเนินธุรกิจในไทยมา 12 ปี โดยมีแบ็กอัพใหญ่สำคัญคือ “อาลีบาบา กรุ๊ป” ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซโลก ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 โดยครองส่วนแบ่งตลาดราว 40% ล่าสุด ลาซาด้า ประกาศเดินหน้าลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ การยกระดับประสบการณ์นักช้อป นวัตกรรมและเทคโนโลยี และการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ยกระดับประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล
เพื่อตอบรับการขยายตัวของกลุ่มนักช้อปหญิงและบทบาทที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z ลาซาด้า เดินหน้ากลยุทธ์เพิ่มประสบการณ์การช้อปที่แตกต่าง ภายใต้แนวคิด “Customer-First” เน้นการตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราการซื้อซ้ำและความเหนียวแน่นของนักช้อป โดยสร้างความแตกต่างในหมวดหมู่สินค้าพรีเมียม แฟชัน และความงาม ซึ่งเป็นจุดแข็งของแพลตฟอร์ม เห็นได้จากยอดขายรวมของ LazMall ในช่วงเมกะแคมเปญ ซึ่งก้าวกระโดดมากกว่า 7 เท่า เมื่อเทียบกับวันปกติ ในขณะที่ LazBEAUTY มีจำนวนสมาชิกในไทยกว่า 1 ล้านราย
ลาซาด้า เสริมความแข็งแกร่งของ LazMall ผ่านการขยายพันธมิตรแบรนด์เอ็กซ์คลูซีฟ และรุกเซ็กเมนต์สินค้าลักชูรี ผ่านหมวดสินค้า LazMall Premium Brand นอกจากนี้ ยังตอกย้ำ LazLOOK ในฐานะจุดหมายสินค้าแฟชัน ผ่านแคมเปญรายสัปดาห์ที่จะเข้ามาสร้างความตื่นเต้นและสีสันให้แก่นักช้อปอย่างต่อเนื่อง
ลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้การช้อปเป็นเรื่องสะดวกและสนุกยิ่งขึ้น ลาซาด้า ยังนำเทคโนโลยี AI เข้ามาขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมและฟีเจอร์ต่าง ๆ โดยมี Gamification เป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมกับนักช้อป ที่ผ่านมา LazGame ได้รับผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างมากในประเทศไทย โดยมีผู้เล่นเกมกว่า 1 ล้านคนต่อวัน ซึ่งนักช้อปกลุ่มนี้มีการใช้งานแอปพลิเคชันนานกว่าค่าเฉลี่ยของแพลตฟอร์มถึง 3 เท่า และราว 82% กลับมาใช้งานแอปพลิเคชันเป็นประจำทุกวัน
อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่สะท้อนถึงความสำเร็จของการลงทุนด้านนวัตกรรมของลาซาด้า คือ ฟีเจอร์ “ถามผู้ใช้งานจริง (Ask the Buyer)” ซึ่งนำเทคโนโลยี AI มาช่วยตั้งคำถามเชิญชวนให้ผู้ซื้อรายก่อน ๆ มาร่วมรีวิวสินค้า เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อรายใหม่ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น โดยปัจจุบันมีการตอบคำถามจากผู้ซื้อจริงไปแล้วกว่า 1.5 ล้านครั้ง
ส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพผู้ขายไทย
ด้วยพันธกิจในการสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ลาซาด้า ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโซลูชันการตลาดเพื่อสนับสนุนผู้ขายให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ เช่น เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยี AI ช่วยปรับแต่งรูปภาพ เขียนคำอธิบายสินค้า และให้บริการลูกค้า โดยพบว่าสามารถเพิ่มอัตราการซื้อได้กว่า 30%
จากการตรวจสอบข้อมูลจาก Creden พบว่าบริษัทลาซาด้า จำกัด มีแนวโน้มผลประกอบการที่ดีขึ้นต่อเนื่อง รายได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2567 มีรายได้ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท และสามารถทำกำไรได้ในช่วง 4 ปีหลัง (2564-2567) โดยมีกำไรเติบโตขึ้นทุกปี
รายได้-กำไร บริษัทลาซาด้า จำกัด
ปี 2563
รายได้ 10,011,765,022 บาท
ขาดทุน 3,988,774,672 บาท
ปี 2564
รายได้ 14,675,291,653 บาท
กำไร 226,886,476 บาท
ปี 2565
รายได้ 20,675,450,640 บาท
กำไร 413,084,772 บาท
ปี 2566
รายได้ 21,470,930,506 บาท
กำไร 604,552,343 บาท
ปี 2567
รายได้ 28,291,266,920 บาท
กำไร 836,357,146 บาท
Cr. https://www.thansettakij.com/technology/technology/607862