คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
เราต้องเกณฑ์ทหารเพิ่มหรือเปล่า ?
ตอบ-ขึ้นอยู่กับลำดับชั้นการตอบโต้ครับ
--------------------------------------------------------------
ด้านล่างเป็นข้อมูลจากคุณ Team Leader เคยให้ไว้เมือปี 2550
การป้องกันประเทศ แบ่งการปฏิบัติออกเป็น 3 ขั้น
ขั้นปกติ
จัดกำลังป้องกันชายแดนในเขตรับผิดชอบ เน้นการปฏิบัติ
ด้านการข่าว การเฝ้าตรวจชายแดน การจัดเตรียมสนามรบ
ด้านการข่าว ที่เราคุ้นหูกัน เช่น กกล.สุรนารี ด้านอีสานใต้
กกล.ผาเมือง ด้านเชียงใหม่-เลย, กกล.นเรศวร ด้านตาก-
แม่ฮ่องสอน
เมื่อฝ่ายตรงข้าม มีท่าทีชัดเจนจะใช้กำลังต่อฝ่ายเรา หรือ
รุกล้ำอธิปไตยด้วยกำลัง กกล.ป้องกันชายแดนจะทำการ
สกัดกั้น ทำลาย และผลักดันฝ่ายตรงข้ามที่รุกล้ำอธิปไตย
ให้ออกนอกอาณาเขตโดยเร็วที่สุด
หากสถานการณ์รุนแรงเกินขีดความสามารถ ที่จะผลักดัน
ฝ่ายตรงข้ามได้ ให้ปฏิบัติการยับยั้ง ตรึง หรือรั้งหน่วงไว้
ณ บริเวณชายแดน
โดยกำลังที่สามารถใช้ปฏิบัติการในขั้นนี้ ได้ในทันทีที่
เกิดเหตุการณ์ คือ กำลังที่บรรจุใน กกล.ป้องกันชายแดน
และ ร้อย.ร.เตรียมพร้อมของ กองทัพภาค ที่สามารถเข้า
ปฏิบัติการได้ภายใน 24 ชม.เมื่อสั่ง
ขั้นตอบโต้
เมื่อ กกล.ป้องกันชายแดน ไม่สามารถผลักดันกำลังฝ่ายตรงข้ามได้
ก็จะพิจารณาใช้กำลังรบที่มีขนาดที่เหมาะสม (กองพันเฉพาะกิจ หรือ
กรมเฉพาะกิจ) ซึ่งจัดเตรียมไว้ในแต่ละพื้นที่ เข้าทำลายและผลักดัน
กำลังฝ่ายตรงข้ามที่รุกล้ำอธิปไตยให้ออกนอกอาณาเขตโดยเร็ว
การปฏิบัติในขั้นนี้ จะมีลักษณะเป็นการรบร่วมระหว่างเหล่าทัพต่างๆ
และหากจำเป็นก็สามารถที่จะทำการรุกออกนอกประเทศ เพื่อให้ฝ่ายเรา
เป็นฝ่ายได้เปรียบทางยุทธวิธี
ห้วงเวลาของการปฏิบัติการตอบโต้ ไม่มีการกำหนดไว้เป็นการตายตัว
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์/ขีดความสามารถในการรวบกำลัง-ประกอบกำลัง
การเคลื่อนย้ายกำลัง และห้วงระยะเวลาในการการเจรจาของรัฐบาล
ขั้นป้องกันประเทศ
เมื่อฝ่ายเราใช้กำลังรบเข้าทำการตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามไปแล้ว
แต่สถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย หรือฝ่ายตรงข้ามไม่ยอมถอนกำลัง
หรือมีการเพิ่มเติมกำลัง หรือมีท่าทีชัดเจนจะขยายขอบเขตการสู้รบ
รุกเข้าสู่ใจกลางประเทศ
กองทัพก็จะใช้กำลังทั้งปวงเข้าปฏิบัติการด้วยการทำลาย และผลักดัน
กำลังของฝ่ายตรงข้ามที่รุกล้ำอธิปไตยให้หมดสิ้นไป โดยในการรบ
จะมุ่งความพยายามให้พื้นที่การรบแตกหักอยู่ ณ บริเวณแนวชายแดน
และใช้การปฏิบัติในลักษณะการรบร่วมเป็นหลัก
ห้วงเวลาของการปฏิบัติการป้องกันประเทศ อยู่ในห้วงเวลาไม่น้อยกว่า 21-45 วัน
ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหารของประเทศ
และภัยคุกคามจากฝ่ายตรงข้าม ณ ห้วงเวลานั้น
ตอบ-ขึ้นอยู่กับลำดับชั้นการตอบโต้ครับ
--------------------------------------------------------------
ด้านล่างเป็นข้อมูลจากคุณ Team Leader เคยให้ไว้เมือปี 2550
การป้องกันประเทศ แบ่งการปฏิบัติออกเป็น 3 ขั้น
ขั้นปกติ
จัดกำลังป้องกันชายแดนในเขตรับผิดชอบ เน้นการปฏิบัติ
ด้านการข่าว การเฝ้าตรวจชายแดน การจัดเตรียมสนามรบ
ด้านการข่าว ที่เราคุ้นหูกัน เช่น กกล.สุรนารี ด้านอีสานใต้
กกล.ผาเมือง ด้านเชียงใหม่-เลย, กกล.นเรศวร ด้านตาก-
แม่ฮ่องสอน
เมื่อฝ่ายตรงข้าม มีท่าทีชัดเจนจะใช้กำลังต่อฝ่ายเรา หรือ
รุกล้ำอธิปไตยด้วยกำลัง กกล.ป้องกันชายแดนจะทำการ
สกัดกั้น ทำลาย และผลักดันฝ่ายตรงข้ามที่รุกล้ำอธิปไตย
ให้ออกนอกอาณาเขตโดยเร็วที่สุด
หากสถานการณ์รุนแรงเกินขีดความสามารถ ที่จะผลักดัน
ฝ่ายตรงข้ามได้ ให้ปฏิบัติการยับยั้ง ตรึง หรือรั้งหน่วงไว้
ณ บริเวณชายแดน
โดยกำลังที่สามารถใช้ปฏิบัติการในขั้นนี้ ได้ในทันทีที่
เกิดเหตุการณ์ คือ กำลังที่บรรจุใน กกล.ป้องกันชายแดน
และ ร้อย.ร.เตรียมพร้อมของ กองทัพภาค ที่สามารถเข้า
ปฏิบัติการได้ภายใน 24 ชม.เมื่อสั่ง
ขั้นตอบโต้
เมื่อ กกล.ป้องกันชายแดน ไม่สามารถผลักดันกำลังฝ่ายตรงข้ามได้
ก็จะพิจารณาใช้กำลังรบที่มีขนาดที่เหมาะสม (กองพันเฉพาะกิจ หรือ
กรมเฉพาะกิจ) ซึ่งจัดเตรียมไว้ในแต่ละพื้นที่ เข้าทำลายและผลักดัน
กำลังฝ่ายตรงข้ามที่รุกล้ำอธิปไตยให้ออกนอกอาณาเขตโดยเร็ว
การปฏิบัติในขั้นนี้ จะมีลักษณะเป็นการรบร่วมระหว่างเหล่าทัพต่างๆ
และหากจำเป็นก็สามารถที่จะทำการรุกออกนอกประเทศ เพื่อให้ฝ่ายเรา
เป็นฝ่ายได้เปรียบทางยุทธวิธี
ห้วงเวลาของการปฏิบัติการตอบโต้ ไม่มีการกำหนดไว้เป็นการตายตัว
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์/ขีดความสามารถในการรวบกำลัง-ประกอบกำลัง
การเคลื่อนย้ายกำลัง และห้วงระยะเวลาในการการเจรจาของรัฐบาล
ขั้นป้องกันประเทศ
เมื่อฝ่ายเราใช้กำลังรบเข้าทำการตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามไปแล้ว
แต่สถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย หรือฝ่ายตรงข้ามไม่ยอมถอนกำลัง
หรือมีการเพิ่มเติมกำลัง หรือมีท่าทีชัดเจนจะขยายขอบเขตการสู้รบ
รุกเข้าสู่ใจกลางประเทศ
กองทัพก็จะใช้กำลังทั้งปวงเข้าปฏิบัติการด้วยการทำลาย และผลักดัน
กำลังของฝ่ายตรงข้ามที่รุกล้ำอธิปไตยให้หมดสิ้นไป โดยในการรบ
จะมุ่งความพยายามให้พื้นที่การรบแตกหักอยู่ ณ บริเวณแนวชายแดน
และใช้การปฏิบัติในลักษณะการรบร่วมเป็นหลัก
ห้วงเวลาของการปฏิบัติการป้องกันประเทศ อยู่ในห้วงเวลาไม่น้อยกว่า 21-45 วัน
ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหารของประเทศ
และภัยคุกคามจากฝ่ายตรงข้าม ณ ห้วงเวลานั้น
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบการจัดส่องกำลังบำรุงหรือทหารที่พร้อมรบครับหากถ้าหากโดนโจมตี จากเพื่อนบ้าน