คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ผมเจอข้อมูลแล้วครับ
มันเรียกว่าเอ็นหลังแข้ง เป็นโรคที่มักจะเกิดกับคนเท้าแบน
"มารู้จัก PTTD จุดที่ทำให้นักวิ่งยางแตกมานักต่อนัก" ผมโชคดีที่เพิ่งยางแตกไปเมือสัปดาห์ก่อน ระหว่างที่รักษาก็ได้รู้จักันเต็มๆ มีประสบการณ์มาแบ่งปันเพื่อนๆ พี่ๆ นักรักวิ่งครับ ยาวหน่อยแต่รับรองว่ละเอียดยิบ โปรดอ่านผ่านตา
****ถ้าเพื่อนๆ เคยเจ็บบริเวณข้างเท้าด้านใน ร้าวไปจนถึงต้นขา ดังในภาพ อาการนี้เรียกว่า
PTTD - Posterior Tibial Tendon Dysfunction หรือว่าเอ็นเท้าอักเสบ เริ่มวิ่งเหยาะๆ จะรู้สึกเจ็บตึงนิดๆ พอทนไหว คิดว่าไม่เป็นไร แต่พอวิ่งต่อไปสัก 20 นาทีจะหายไปเอง ทว่าหลังจากวิ่งเสร็จ ลดความเร็วมาเป็นการเดิน อาการเจ็บจะกลับมารุนแรง ยิ่งวิ่งนานเท่าไหร่ ยิ่งวิ่งไกลเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความสัมพันธ์กับความเจ็บปวดนี้
*สาเหตุ
- หมออธิบายได้น่าสนใจโดยเฉพาะเคสของผม หมอเฉพาะทางเล่าว่า ขา+เท้าของคนเรามีกล้ามเนื้อหลายหมัดที่ำทำงานสีมพันธ์กันตลอดเวลา แต่ยามที่เรามุ่งออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นหลัก จริงอยู่ที่กล้ามเนื้อหลายส่วนแข็งแรงขึ้น ทนทานได้ดีขึ้น แต่ก็มีบางส่วน เช่น "เส้นเอ็น" ที่ต้องทำหน้าที่เป็นตัวยึดกล้ามเนื้อกับข้อต่อต่างๆ เขาไม่ได้ถูกพัฒนาให้แข็งแรงตามไปด้วย แค่ยืดหยุ่นตามแรงกระทำ พอเราออกกำลังกายนานๆ ได้ ทนทานความเหนื่อยได้ เส้นเอ็นเขาก็อยากร้องไห้...ที่ฉันต้องมาทนรับแรงกระทำต่างๆ ของกล้ามเนื้อ โดยที่เจ้านายไม่รู้มาก่อนว่า พวกเรานะยังไม่ได้แข็งแรงขนาดนั้น เส้นเอ็นเลยเกิดอาการบวม ตึง งอน เพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่า "รอฉันด้วย" "พัฒนาฉันด้วย" "อย่าทิ้งฉัน"
*วิธีแก้ไข
- ใส่ใจต่อการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ทำจนเป็นนิสัย ทำจนเป็นส่วนหนึ่งของการวิ่ง ไม่ว่าจะัวิ่งสั้นหรือว่าวิ่งยาว วิ่ง 5K 10K Half หรือ Full จำเป็นที่ต้องดูแลเส้นเอ็น การยืดเหยียดให้เท่าเทียมกัน
- ผมเองให้เวลากับส่วนนี้เป็นพิเศษตามคำแนะันำของพี่ๆ และอาจารย์ หรือตำราวิ่งทุกเล่มที่ได้อ่านทั้งไทยและอังกฤษ เพราะถือว่าเราซื้อเวลาการเจ็บปวดครับและประหยัดค่ารักษาพยาบาล อย่างต่ำต้องทำ 10-15 นาที ระหว่างวันก็ยังแบ่งเวลาไปยืดเหยียดที่ข้างฝา เรื่องนี้จำเป็นต้องเคร่งครัดมาก นักกีฬาอาชีพมีหนึ่งวันด้วยซ้ำที่ทำการคลายกล้ามเนื้อ ยืดเอ็นอย่างเดียว มันวิทยาศาสตร์การกีฬามากๆ
*ภาวะเสี่ยง
- โอเวอร์เทรนทุกรูปแบบไ่ม่ว่าจะเป็นเวลาหรือว่าระยะทาง
- การวิ่งทำ Tempo แบบที่ต้องใช้งานการลงเท้าหนักๆ ถี่ๆ ติดต่อกัน *สาเหตุของผมเลยละ
- ไม่วอร์มหรือยืดเหยียด ก่อน-หลังวิ่ง ไม่เจ็บวันนี้ก็การันตีไม่ได้ว่าจะเจ็บวันไหน
- ผู้ที่เท้าแบนจะเสี่ยงพบอาการนี้บ่อยกว่าคนเท่าปรกติ อาจจะเป็นเรื่องพื้นที่การลงเท้าที่เท้ากว่า (ไม่แน่ใจนะครับ คุณหมอบอกมาแบบนี้)
*การรักษา
- ประคบน้ำแข็งทันทีที่รู้สึกเจ็บตึงครั้ง 15 นาที วันละ 2-3 ครั้งให้เส้นหายบวม ให้ประคบในวันแรกที่เป็นเลยจะยิ่งดี
- ไม่ต้องนวดเพราะยิ่งกระตุ้นอาการ
- อาจใช้วิธีพันผ้าไว้
- ลดกิจกรรมการเดิน การถ่ายน้ำหนักที่ไปขาข้างที่เจ็บ
- งดวิ่งจนกว่าจะหายเจ็บสนิท ใช้เวลา 1-2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น
- มียาให้รับประทาน เป็นยาตระกูลคลายกล้ามเนื้อ แนะนำว่าให้แพทย์จ่ายให้นะครับ ยากลุ่มนี้มีผลกับกระเพาะอาหาร
*การทำกายภาพด้วยตัวเอง
- นอกจากหมั่นยืดเหยียดแล้ว ก็คือการหาลูกเทนนิสกลมๆ มา้ใช้เท้าคลึงไปมา เพื่อบริหารยืดหยุ่นของเท้า ทำได้ที่ใต้โต๊ะทำงาน
- หรือไม่ก็ฝีกใช้เท้าเขียนตัวอักษร A-Z อย่างที่รุ่นพี่เคยแนะนำครับ
*ความรุนแรง
- หากเป็นซ้ำ รื้อรัง ก็จำเป็นต้องผ่าตัด เพราะเป็นลักษณะการบวมตึงหรือเคลื่อนไหวผิดจังหวะจนมันไปเสียดสีกับกระดูก (ไม่อยากจะคิด)
- การผ่าตัด ณ จุดนี้ก็เสี่ยงติดเชื้อ เพราะว่าแผลอยู่ที่เท้าล่างสัมผัสกับพื้นโดยตรง
- มีโอกาสที่จะเดินได้ไม่สมดุลย์ดังเดิม ออกกำลังกายหนักหรือรวดเร็วไม่ได้อีกเลย
- เสิร์จดูภาพในกูเกิลด้วยคำว่า "Posterior Tibial Tendon Dysfunction" จะพบความสยดสยอง
*อื่นๆ
- PTTD เป็นอาการที่แพร่หลายในหมู่นักวิ่งมาราธอน นักวิ่งระยะสั้น นักเล่นสกี นักฟุตบอล นักเทนนิสที่ต้องเคลื่อนไหว ลงน้ำหนักที่เท้าตลอดเวลา หรือว่าเปลี่ยนรูปแบบการเคลื่อนไหวของเท้ากระทันหัน เส้นเอ็นไม่ยืดหยุ่นพอก็เป็นได้ตั้งแต่ครั้งแรก
- หลายคนสับสนว่าเจ็บที่เท้าล่าง ก็มักคิดว่าเป็นที่เอ็นร้อยหวายอักเสบ ถ้าหยิกที่เอ็นร้อยหวายแล้วไม่เจ็บจ๊ากก็แสดงว่าน่าจะเป็น PTTD
Credit: http://www.thaijoggingclub.or.th/index.php/head-article/runner-article/106-pttd-injury
มันเรียกว่าเอ็นหลังแข้ง เป็นโรคที่มักจะเกิดกับคนเท้าแบน
"มารู้จัก PTTD จุดที่ทำให้นักวิ่งยางแตกมานักต่อนัก" ผมโชคดีที่เพิ่งยางแตกไปเมือสัปดาห์ก่อน ระหว่างที่รักษาก็ได้รู้จักันเต็มๆ มีประสบการณ์มาแบ่งปันเพื่อนๆ พี่ๆ นักรักวิ่งครับ ยาวหน่อยแต่รับรองว่ละเอียดยิบ โปรดอ่านผ่านตา
****ถ้าเพื่อนๆ เคยเจ็บบริเวณข้างเท้าด้านใน ร้าวไปจนถึงต้นขา ดังในภาพ อาการนี้เรียกว่า
PTTD - Posterior Tibial Tendon Dysfunction หรือว่าเอ็นเท้าอักเสบ เริ่มวิ่งเหยาะๆ จะรู้สึกเจ็บตึงนิดๆ พอทนไหว คิดว่าไม่เป็นไร แต่พอวิ่งต่อไปสัก 20 นาทีจะหายไปเอง ทว่าหลังจากวิ่งเสร็จ ลดความเร็วมาเป็นการเดิน อาการเจ็บจะกลับมารุนแรง ยิ่งวิ่งนานเท่าไหร่ ยิ่งวิ่งไกลเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความสัมพันธ์กับความเจ็บปวดนี้
*สาเหตุ
- หมออธิบายได้น่าสนใจโดยเฉพาะเคสของผม หมอเฉพาะทางเล่าว่า ขา+เท้าของคนเรามีกล้ามเนื้อหลายหมัดที่ำทำงานสีมพันธ์กันตลอดเวลา แต่ยามที่เรามุ่งออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นหลัก จริงอยู่ที่กล้ามเนื้อหลายส่วนแข็งแรงขึ้น ทนทานได้ดีขึ้น แต่ก็มีบางส่วน เช่น "เส้นเอ็น" ที่ต้องทำหน้าที่เป็นตัวยึดกล้ามเนื้อกับข้อต่อต่างๆ เขาไม่ได้ถูกพัฒนาให้แข็งแรงตามไปด้วย แค่ยืดหยุ่นตามแรงกระทำ พอเราออกกำลังกายนานๆ ได้ ทนทานความเหนื่อยได้ เส้นเอ็นเขาก็อยากร้องไห้...ที่ฉันต้องมาทนรับแรงกระทำต่างๆ ของกล้ามเนื้อ โดยที่เจ้านายไม่รู้มาก่อนว่า พวกเรานะยังไม่ได้แข็งแรงขนาดนั้น เส้นเอ็นเลยเกิดอาการบวม ตึง งอน เพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่า "รอฉันด้วย" "พัฒนาฉันด้วย" "อย่าทิ้งฉัน"
*วิธีแก้ไข
- ใส่ใจต่อการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ทำจนเป็นนิสัย ทำจนเป็นส่วนหนึ่งของการวิ่ง ไม่ว่าจะัวิ่งสั้นหรือว่าวิ่งยาว วิ่ง 5K 10K Half หรือ Full จำเป็นที่ต้องดูแลเส้นเอ็น การยืดเหยียดให้เท่าเทียมกัน
- ผมเองให้เวลากับส่วนนี้เป็นพิเศษตามคำแนะันำของพี่ๆ และอาจารย์ หรือตำราวิ่งทุกเล่มที่ได้อ่านทั้งไทยและอังกฤษ เพราะถือว่าเราซื้อเวลาการเจ็บปวดครับและประหยัดค่ารักษาพยาบาล อย่างต่ำต้องทำ 10-15 นาที ระหว่างวันก็ยังแบ่งเวลาไปยืดเหยียดที่ข้างฝา เรื่องนี้จำเป็นต้องเคร่งครัดมาก นักกีฬาอาชีพมีหนึ่งวันด้วยซ้ำที่ทำการคลายกล้ามเนื้อ ยืดเอ็นอย่างเดียว มันวิทยาศาสตร์การกีฬามากๆ
*ภาวะเสี่ยง
- โอเวอร์เทรนทุกรูปแบบไ่ม่ว่าจะเป็นเวลาหรือว่าระยะทาง
- การวิ่งทำ Tempo แบบที่ต้องใช้งานการลงเท้าหนักๆ ถี่ๆ ติดต่อกัน *สาเหตุของผมเลยละ
- ไม่วอร์มหรือยืดเหยียด ก่อน-หลังวิ่ง ไม่เจ็บวันนี้ก็การันตีไม่ได้ว่าจะเจ็บวันไหน
- ผู้ที่เท้าแบนจะเสี่ยงพบอาการนี้บ่อยกว่าคนเท่าปรกติ อาจจะเป็นเรื่องพื้นที่การลงเท้าที่เท้ากว่า (ไม่แน่ใจนะครับ คุณหมอบอกมาแบบนี้)
*การรักษา
- ประคบน้ำแข็งทันทีที่รู้สึกเจ็บตึงครั้ง 15 นาที วันละ 2-3 ครั้งให้เส้นหายบวม ให้ประคบในวันแรกที่เป็นเลยจะยิ่งดี
- ไม่ต้องนวดเพราะยิ่งกระตุ้นอาการ
- อาจใช้วิธีพันผ้าไว้
- ลดกิจกรรมการเดิน การถ่ายน้ำหนักที่ไปขาข้างที่เจ็บ
- งดวิ่งจนกว่าจะหายเจ็บสนิท ใช้เวลา 1-2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น
- มียาให้รับประทาน เป็นยาตระกูลคลายกล้ามเนื้อ แนะนำว่าให้แพทย์จ่ายให้นะครับ ยากลุ่มนี้มีผลกับกระเพาะอาหาร
*การทำกายภาพด้วยตัวเอง
- นอกจากหมั่นยืดเหยียดแล้ว ก็คือการหาลูกเทนนิสกลมๆ มา้ใช้เท้าคลึงไปมา เพื่อบริหารยืดหยุ่นของเท้า ทำได้ที่ใต้โต๊ะทำงาน
- หรือไม่ก็ฝีกใช้เท้าเขียนตัวอักษร A-Z อย่างที่รุ่นพี่เคยแนะนำครับ
*ความรุนแรง
- หากเป็นซ้ำ รื้อรัง ก็จำเป็นต้องผ่าตัด เพราะเป็นลักษณะการบวมตึงหรือเคลื่อนไหวผิดจังหวะจนมันไปเสียดสีกับกระดูก (ไม่อยากจะคิด)
- การผ่าตัด ณ จุดนี้ก็เสี่ยงติดเชื้อ เพราะว่าแผลอยู่ที่เท้าล่างสัมผัสกับพื้นโดยตรง
- มีโอกาสที่จะเดินได้ไม่สมดุลย์ดังเดิม ออกกำลังกายหนักหรือรวดเร็วไม่ได้อีกเลย
- เสิร์จดูภาพในกูเกิลด้วยคำว่า "Posterior Tibial Tendon Dysfunction" จะพบความสยดสยอง
*อื่นๆ
- PTTD เป็นอาการที่แพร่หลายในหมู่นักวิ่งมาราธอน นักวิ่งระยะสั้น นักเล่นสกี นักฟุตบอล นักเทนนิสที่ต้องเคลื่อนไหว ลงน้ำหนักที่เท้าตลอดเวลา หรือว่าเปลี่ยนรูปแบบการเคลื่อนไหวของเท้ากระทันหัน เส้นเอ็นไม่ยืดหยุ่นพอก็เป็นได้ตั้งแต่ครั้งแรก
- หลายคนสับสนว่าเจ็บที่เท้าล่าง ก็มักคิดว่าเป็นที่เอ็นร้อยหวายอักเสบ ถ้าหยิกที่เอ็นร้อยหวายแล้วไม่เจ็บจ๊ากก็แสดงว่าน่าจะเป็น PTTD
Credit: http://www.thaijoggingclub.or.th/index.php/head-article/runner-article/106-pttd-injury
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 16
อาการคล้ายๆกัน แต่ผมอาการดีขึ้นเยอะแล้วครับ น่าจะเป็นที่เส้นเอ็นหรือเปล่า เพราะว่าก่อนหน้านี้ เป็นตึงๆด้านในฝ่าเท้าเหมือนกันเลยเป็นๆหายๆ เวลาที่เราเดินแล้วยืดเท้า มันจะตึงแบบแปล๊บๆใต้อุ้งเท้า ช่วงนั้นอยากจะลดความอ้วนก็เลยไปวิ่ง อาการเลยหนักเข้าไปอีก รู้สึกตึงมากๆทำให้เดินยาก เดินไม่สะดวก เลยตัดสินใจไปหาหมอเพราะอยากจะตรวจเบื้องต้นว่าเป็นที่อะไร ก็ตามที่บอกเลยครับ การออกกำลังกายที่ฝืนกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นไปหน่อยเลยเป็นตัวกระตุ้นเข้าไปอีก เลยก็ได้ยามากินแล้วก็ต้องหยุดออกกำลังกายไปก่อน เดินให้น้อยที่สุด ทำตามคำแนะนำของหมอ แต่มันยังไม่หายขาด ยังกลับมาเป็นอีกเรื่อยๆก็เลยงง ว่าเป็นเพราะอะไร เลยอยากเปลี่ยนวิธีการรักษาหาวิธีอื่นเผื่อจะดีขึ้น มีคนแนะให้ใช้แผ่นรองเท้า PBS มีหาข้อมูลและติดต่อเล่าอาการที่ผมเป็นกับทางเพจ https://www.facebook.com/PBSofficial.TH แล้วก็เริ่มนัดวันเข้าไปให้อาจารย์ตรวจ balance ของเท้าด้วย เพราะว่าสรีระรูปเท้าแต่ละคนไม่เหมือนกัน เวลาทำแผ่นรองเท้ามาจะได้เข้ากับเรามากที่สุด แผ่นรองเท้าจะเป็นพลาสติก จะแข็งมาก ส่วนผลลัพธ์แต่ละคนอาจจะใช้ระยะเวลาไม่เท่ากัน ตามอาการหนักเบาแต่ละคน ซึ่งทางอาจารย์ก็แนะนำให้ใส่ต่อไปสัก 3 เดือนเพื่อผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว ผมใส่มาเข้าเดือนที่ 2 ได้นะ กว่าอาการจะดีขึ้น จนตอนนี้พยายามใส่มาได้จะ 5 เดือน แล้วรูปเท้าเริ่มดีขึ้นครับ ไม่โย้เข้าหากันแต่ก็พยายามใส่ไปเรื่อยๆครับ
แสดงความคิดเห็น
ปวดเอ็นข้างเท้าด้านในเกิดจากอะไร
อยากทราบว่าสาเหตุเกิดจากรองเท้าหลวม วิ่งผิด หรืออะไรยังไง
ปล.รูปประกอบไม่ใช่เท้าของผม หามาจาก google
ข้อมูลเพิ่มเติม :
เป็นคนเท้าบาน
ใช้รองเท้า asics gel columbus
รองเท้าหลวมครึ่งเบอร์
วิ่งลงปลายเท้าเกือบๆครึ่งเท้า ทำให้รู้สึกเกร็งๆ และอวดเอ็นเท้าด้านใน