[CR] "SMB"อุปกรณ์ที่นักดำน้ำมือใหม่มักจะมองข้าม

กระทู้รีวิว
หลังจากห่างหายการดำน้ำเป็นเวลา1ปีด้วยเกิดอุบัติเหตุ   เมื่อปลายเดือน เม.ย. เพื่อนที่เป็นครูท่านหนึ่งชวนให้ไปช่วยเป็น DM ที่พัทยาก็เลยตอบตกลงไปช่วย  ในการดำวันนั้นทะเลมีลมแรงและก็คุยกันแล้วว่าน้ำน่าจะขุ่น
   Dive 1 เกาะสาก  เป็นที่ทราบกันดีว่าเจ็ทสกีแล่นกันว่อนเลยครับ  เมื่อลงไปใต้น้ำก็เจอทัศนวิสัยเพียง2-3 ม. เท่านั้นต้องดำกันแบบเกาะกลุ่มกัน และแล้วสิ่งที่กังวลก็เกิดขึ้นเมื่อมีท่านหนึ่งหลุดออกจากกลุ่มผมจึงดำแยกออกไปหา  แต่ด้วยความรีบเพราะกลัวว่าน้องจะลอยขึ้นผิวน้ำแล้วโดนเรือชนทำให้ไม่ได้ดูเข็มทิศก่อนเมื่อเจอน้องที่หลุดออกไปจึงทำให้กลับเข้ากลุ่มไม่ได้  ยิ่งระยะการมองเห็นเพียง2-3ม.ยิ่งไปกันใหญ่ ก็เลยต้องดำกันเพียง2คน ดูอะไรก็ไม่เห็นสักพักจึงตัดสินใจขึ้นโดยได้ทำการยิง "SMB" (Surface Marker Buoy)หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า "sausage" ขึ้นไปก่อนแล้วทำการพักน้ำก่อนทำการขึ้นสู่ผิวน้ำในขั้นตอนต่อไป  

    ความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับ  ในจุดที่เราดำลงไปบนผิวน้ำก็มีกิจกรรมต่างๆที่ทำอยู่เมื่อถึงเวลาที่จะขึ้นความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด  
เหล่าเรือและเจ็ทสกีจะไม่ทราบเลยว่ามีนักดำน้ำอยู่ข้างล่างและจะขึ้นมาเมื่อไหร่  เราจึงต้องส่ง sausage ขึ้นไปที่ผิวน้ำก่อนในขณะที่ทำการพักน้ำ เพื่อให้ผู้ที่ทำกิจกรรมผิวน้ำได้เห็นและทำการเลี่ยงไม่เอาเรือหรือเจ็ทสกีเข้าไปใกล้ทุ่นนั้น  เมื่อครบเวลาพักน้ำก็จะทำให้เราขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างปลอดภัย
   หลายๆครั้งเราจะได้ยินข่าวเรือหรือเจ็ทสกีชนนักดำน้ำส่วนหนึ่งก็มาจากสาเหตุที่ไม่มีsausageนี่แหละครับ
เมื่อครั้งที่ผมจบOpen Water Diver มาใหม่ๆผมก็ซื้อsausageมาเพื่อใช้ส่วนตัวเลย  และฝึกใช้งานทุกไดท์ที่ดำจนคล่อง ไม่ว่าจะดำกับกลุ่มที่มีลีดเดอร์ที่เค้าจะยิงไปแล้วก็ตาม  ผมจะแยกตัวออกมาห่างจากกลุ่มแล็กน้อยแล้วยิงsausageของตัวเองเสมอ  เมื่อคล่องก็สอนให้สมาชิกท่านอื่นที่ไม่มีได้มีโอกาสได้ฝึกใช้  ใครที่มีผมก็จะบอกให้ยิงกันเลยจนบางครั้งกลุ่มดำน้ำ6-8คนยิงsausageกัน5-6ลูกก็มี

    มีเหตุการณ์หนึ่งที่ผมจะจำจนตายเมื่อผมลงดำน้ำแล้วลืมเอาsausageลงไปด้วย  ทำให้ผมต้องลอยคอเดียวดายกลางทะเลอันดามันเกือบ3ชั่วโมง
ที่เกาะบอน  อันดามัน
    วันนั้นเป็นวันที่2ของการดำน้ำ  เป็นไดท์แรกของวันเราลงดำกันตอน7:00 น. ลงที่หัวเกาะและจะดำเข้าในอ่าว ด้วยความเร่งรีบในการเตรียมกล้องทำให้ผมปิดฝาHousing กล้องไม่ดี  เมื่อดำลงไปเพียง5นาทีน้ำก็เริ่มเข้ากล้องที่ความลึกประมาณ20ม.  ผมจึงเอาบัดดี๊ของผมไปฝากกับกลุ่มแล้วแจ้งว่าจะขอขึ้นก่อน
    เมื่อพักน้ำที่5ม.ด้วยกระแสน้ำที่แรงทำให้ผมลอยออกไปทางหัวเกาะโดยไม่รู้ตัว  เมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำก็หลุดออกมาไกลแล้ว  คลื่นหลังเกาะตรงที่ผมลอยอยู่สูงประมาณ 1ม. และผมอยู่ทางทิศตะวันออกของเรือทำให้ย้อนแสงเรือจึงมองไม่เห็นผม  และเรือดิงกี้ก็ไม่คิดหรอกว่าจะมีใครขึ้นในตอนนั้น  กว่าเรือจะรู้ว่ามีคนหายไปก็กว่า1ช.ม.  เพราะพวกผมดำกันเกือบ1ชั่วโมงครึ่ง  กว่าจะรับนักดำน้ำขึ้นเรือหมดก็2ช.ม. แล้วตามหาผมอีก.........ยาว......
    ย้อนกลับไปตอนที่ผมพักน้ำผมก็หาsausageทันที.....แต่ไม่พบเพราะผมลืม......  ก็เลยใช้วิธีรักษาระดับโดยดูความลึกจาก Dive Com เมื่อขึ้นผิวน้ำผมยังอยู่ไม่ห่างเรือดิงกี้มากนักประมาณ2-300ม. ถ้าผมมีsausageดิงกี้ก็คงจะเห็นผม....เศร้าเศร้า ผมลอยห่างออกจากเรือจนพ้นหัวเกาะและไม่สามารถมองเห็นเรือใหญ่ได้อีก  น้ำไหล1ช.ม. ลองคิดดูว่าจะไกลแค่ไหน...........วังเวง........
กะด้วยสายตาผมลอยห่างจากเรือใหญ่น่าจะเป็นกิโล รวมแล้วเกือบ3ช.ม.ที่ต้อง......รอคอย......และลอยคอร้องไห้ร้องไห้

ที่นี้เรามาดูว่า"SMB"หรือ"sausage"มีกี่แบบ และควรเลือกแบบไหนดี
เอาที่เห็นกันเป็นส่วนใหญ่ในร้านขายอุปกรณ์ดำน้ำบ้านเรา  sausageมาตรฐานโดยทั่วไปจะมีขนาด 160 cm.ขึ้นไปจนถึง 200 cm.

แบบที่1 ราคาประมาณ300+- ผลิตจากพลาสติก100% แบบเดียวกับห่วงยางเด็กเล่น เชือกที่ให้มาก็มีขนาดเล็กประมาณ2ม.ม. ไม่แนะนำให้ใช้เพราะวัสดุคุณภาพต่ำแตกและรั่วง่ายมาก
แบบที่2 ราคา1,000+- ผลิดจากผ้าไนล่อนเคลือบPVCซึ่งทนทานกว่าแบบแรกแน่นอน  แบบนี้จะไม่มีวาล์วกักอากาศซึ่งจะทำให้อากาศที่เข้าไปสามารถออกมาได้เมื่ออยู่พ้นน้ำในแนวนอนใช้งานทนทานและดูแลง่าย  แนะนำให้ใช้เริ่มต้นที่แบบนี้
แบบที่3 ราคา2,000+  ผลิดจากผ้าไนล่อนเคลือบPVCแต่แบบนี้จะมีวาล์วกักอากาศ Dump Valve เวลาเก็บต้องดึงเชือกเพื่อให้วาล์วเปิดเพื่อเอาลมออก
****หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาว่าเวลาเติมลมในsausageอย่าเติมมากเพราะเมื่อขึ้นมาผิวน้ำอากาศจะขยายตัวทำให้sausageแตกได้  ผมอยากให้ลบความคิดนี้ออกไปเลยครับ  ทั่วไปเราเติมลมsausageที่ความลึก5-7ม. ความกดอากาศยังไม่ถึง2bar โอกาศที่อากาศจะขยายตัวเป็น2เท่านั้นไม่มีทางเกิด และถึงเราจะเติมอากาศจนเต็มsausageมันก็จะไม่แตกเพราะอากาศที่ขยายตัวจนล้นsausageจะไหลออกมาตรงทางเข้า แล้วมันจะแตกได้อย่างไร?????
   และถึงแม้ว่าคุณจะใช้sausageที่มีมีวาล์วกักอากาศ Dump Valve ก็จะระบายอากาศส่วนเกินออกให้เมื่อเกินแรงดันส่วนเกินที่สปริงวาล์ว  

ที่นี้คงได้คำตอบแล้วว่าควรเลือกsausageแบบไหนดี

เชือก....ส่วนประกอบสำคัญที่หลายคนมองข้าม
    ถ้าคุณเลือกsausageแบบที่2,3จะไม่มีเชือกมาด้วยผมแนะนำให้ใช้เชือกที่เป็นแบบแบนๆเหมือนริบบิ้น  
ที่แนะนำแบบนี้เพราะแบบริบบิ้นเมื่อมันพันกันเป็นปมใต้น้ำจะสามรถแกะและแก้ไขได้ง่ายกว่า  ชีวิตคุณจะสบายขึ้นเยอะ
แบบสำเร็จรูปราคาประมาณ600+ คุณสมบัติที่ดีของมันคือมีความแข็งไม่อ่อนนุ่มใต้น้ำ  ทำให้โอกาสที่จะพันกันจนเป็นปมมีน้อย  
****มีความยาว5-6ม. ซึ่งเมื่อนำมาประกอบกับsausageก็จะได้ระยะรวม8ม.  เป็นระยะความลึกที่เหมาะสมในการใช้งาน
****มีความกว้าง2ซ.ม. มองเห็นได้ง่ายทำให้ปลอดภัยแก่เพื่อนนักดำน้ำท่านอื่นที่อยู่ใกล้  
****มีห่วงเพื่อถ่วงน้ำหนัก  ทำให้เมื่อปล่อยสายจะไม่ลอยเปะปะไปตามกระแสน้ำซึ่งอาจจะไปพันกับนักดำน้ำท่านอื่น
****ทนทาน/ดูแลรักษาง่าย


เชือกแบบกลม  ถ้าจะใช้แบบนี้ควรบรรจุเชือกในreel ซึ่งจะสามารถบรรจุเชือกได้มากว่า5ม.ขึ้นไป  แต่ผมไม่อยากแนะนำให้ใช้เพราะควรจะมีความชำนาญในระดับหนึ่งด้วยเชือกที่มีขนาดเล็ก 2 mm.อาจเป็นปัญหากับนักดำน้ำที่ไม่ชำนาญได้  ถ้าจะใช้ต้องฝึกบ่อยๆต้องหยุดเชือกที่ระดับความลึกที่ต้อกการเป็น  
เคยเจอนักดำน้ำที่ทำreelหลุดจากมือตอนพักน้ำต้องใช้มือม้วนเชือกเก็บนานที่เดียว  และเมื่อใช้ประกอบกับsausageก็จะทำให้เทอะทะเป็นภาระเพิ่มแก่นักดำน้ำกันไปอีก


ทีนีเรามาดูว่าเราควรยิงsausageที่ความลึกเท่าไรดี  
   ไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่เราจะต้องยิงที่ 5m.เท่านั้น   ผมแนะนำว่าเราควรยิงที่ระยะความยาวสาย+ด้วยตัวsausageสำหรับท่านที่ใช้สายริบบิ้นสำเร็จรูปก็คือ6+1.5 m.
ส่วนตัวผมจะยิงที่ระยะ 8 m.แล้วไต่ระดับมาพักน้ำที่ 5m.
ทีนี้ทุกท่านก็คงตัดสินใจกันได้แล้วว่าจะเลือกsausageแบบไหนดี  ไกล้งาน TDEX ก็ไปหาซื้อกันซ่ะนะราคาไม่แพงคุ้มค่ากับการ.......ลอยคอ 555
ชื่อสินค้า:   Surface Marker Buoy
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่