ร่าง กม.ดิจิทัล ฉบับ 'ไอซีที' ตั้งบอร์ด 'ดีอี' บริหารกองทุนหมื่นล้าน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ใกล้ความจริงเข้ามาทุกขณะ หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจ และสังคม พ.ศ.... ร่าง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) พ.ศ.... และร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่...) พ.ศ....
โดย นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีวาระจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 3 ฉบับในวันที่ 29 เม.ย.นี้ ซึ่งตนได้เตรียมตัวสำหรับการชี้แจงหลักการของการยกร่างกฎหมายแต่ละฉบับด้วยตนเอง หาก สนช.เห็นชอบก็จะถือว่าร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับผ่านการพิจารณาวาระแรก จากนั้นจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายแต่ละฉบับเป็นรายมาตรา เพื่อให้มีการปรับแก้ก่อนส่งกลับให้ สนช. ลงมติในการพิจารณาวาระที่ 3 และเตรียมประกาศบังคับใช้ต่อไป
เดินหน้าตั้งบอร์ด DE
ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม พ.ศ....ที่ทบทวนโดยกระทรวงไอซีที มีสาระสำคัญคือ ตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (DE) ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและขจัดอุปสรรคในการผลักดันแผนงาน มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ และมีกรรมการโดยตำแหน่งอีก 12 คน ได้แก่ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพิ่มขึ้น 2 กระทรวงจากร่างเดิมที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนหน้านี้ ทั้งให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกรรมการและเลขานุการบอร์ด
แต่ส่วนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีตั้งยังเท่าเดิมคือ ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 8 คน โดยกรรมการผู้ทรงวุฒิมีวาระ 4 ปี และดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระติดกัน ส่วนการพ้นจากตำแหน่งได้เพิ่มอำนาจให้คณะรัฐมนตรีสั่งให้ออกจากตำแหน่งได้โดยไม่ระบุสาเหตุ จากเดิมที่สั่งให้ออกได้เพราะบกพร่องต่อหน้าที่หรือประพฤติเสื่อมเสีย
เพิ่มที่ปรึกษา-รื้อบอร์ดย่อย
ร่างกฎหมายล่าสุดยังให้มีการตั้งคณะ ที่ปรึกษา มีอำนาจรวบรวมความเห็น และให้ ข้อเสนอแนะตามที่บอร์ดมอบหมาย นอกจากมีคณะกรรมการเฉพาะด้าน ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ จากร่างเดิมที่กำหนดไว้ 6 ชุด ให้เหลือแค่
1.คณะกรรมการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงกลาโหม การคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพลังงาน พาณิชย์ มหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
2.คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เกษตรฯ พาณิชย์ สาธารณสุข ศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานการส่งเสริมการลงทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และผู้แทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
และ 3.คณะกรรมการเฉพาะด้านอื่น ซึ่งตั้งตามความเห็นชอบของ ครม. โดยคณะกรรมการเฉพาะด้านนอกจากมีกรรมการโดยตำแหน่งแล้ว ยังกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งบอร์ดแต่งตั้งอีกไม่เกิน 6 คน
กองทุนหมื่น ล.ขับเคลื่อนนโยบาย
นอกจากนี้ บอร์ด DE จะมีสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รับผิดชอบงานธุรการและมีกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สนับสนุน การใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาดิจิทัล รวมทั้งการให้การอุดหนุนหรือให้กู้ยืมเงินแก่หน่วยงานรัฐและเอกชน หรือบุคคลทั่วไปในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัล ตามนโยบายระดับชาติ
โดยเงินกองทุนประกอบด้วย เงินประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี และเงิน 25% ที่ได้รับจากการจัดสรรคลื่นความถี่ ตาม พ.ร.บ. กสทช. และอีก 25% ของเงินรายได้ของสำนักงาน กสทช.เงินที่ กสทช.โอนให้จากการมอบอำนาจให้เป็นผู้จัดให้มีบริการโทรคมนาคมตามแผน USO รวมถึงเงินสมทบเข้า USO จากผู้รับใบอนุญาตโทรคมนาคม ตามความจำเป็น เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ หรือที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมาย รวมถึงดอกผลหรือรายได้อื่นที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน โดยเงินในส่วนที่ได้รับจากการจัดสรรของ กสทช. และการจัดสรรคลื่นความถี่ ให้กองทุนมีเงินสดหรือเงินสดหมุนเวียนสูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท และให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจปรับเพิ่มได้โดยคำนึงถึงความเพียงพอของการดำเนินงาน ตามวัตถุประสงค์กองทุน ส่วนที่เกินจากที่กำหนดไว้ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ส่วนเงินกองทุน ให้ใช้จ่ายเพื่อการ ส่งเสริมช่วยเหลือหน่วยงานรัฐและเอกชนหรือ บุคคลทั่วไปในการดำเนินการพัฒนาดิจิทัล โดยการอุดหนุนให้ทุนหรือกู้ยืมโดยมีหรือไม่มีดอกเบี้ย หรือโดยมีหรือไม่มีหลักประกัน ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้อง จัดสรรเป็นเงินอุดหนุนหรือค่าใช้จ่ายแก่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลฯ นอกเหนือจาก ที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน ตามที่ร้องขอ หรือกรรมการเป็นสมควร
โดยจะมีคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลฯ ที่มีรองประธานบอร์ดดิจิทัลเป็นประธาน มีรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นรองประธาน กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวง การคลัง ปลัดกระทรวงดิจิทัล ผู้อำนวยการ สำนักงบประมาณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในบอร์ดดิจิทัลฯ อีก 3 คน เป็นผู้พิจารณาอนุมัติการจัดสรรเงิน รวมถึงการวางกฎระเบียบ และรายงานสถานการณ์ต่อบอร์ดดิจิทัลและคณะรัฐมนตรี
ตั้งสำนักงานส่งเสริม ศก.ดิจิทัล
และมีการตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล มีสถานะเป็นหน่วยงานรัฐที่เป็นนิติบุคคล แต่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่จัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ส่งเสริมหรือสนับสนุนการลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหรือนวัตกรรมดิจิทัล เสนอแนะติดตามเร่งรัดการแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบ หรือมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของอุตสาหกรรมหรือนวัตกรรมดิจิทัล
ทั้งยังให้สำนักงานมีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ ถือหุ้น เข้าเป็นหุ้นส่วน หรือร่วมทุนกับบุคคลอื่น ทำความตกลงหรือความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
เงินรายได้สำนักงานมาจากทุนประเดิมของรัฐ เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรเป็นรายปี ดอกผลและประโยชน์หรือรายได้อื่นที่มาจากการดำเนินงาน โดยทรัพย์สินของสำนักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ไม่ต้องนำส่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน โดยมีคณะกรรมการกำกับสำนักงาน ซึ่งมีปลัดกระทรวงดิจิทัล เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4-6 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง (วาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน) คอยกำกับการทำงาน
ส่วนผู้อำนวยการขึ้นตรงกับบอร์ดมีวาระ 4 ปี ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระติดกัน คุณสมบัติต้องมีความรู้ ประสบการณ์ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือกิจการด้านเศรษฐกิจดิจิทัล อายุไม่เกิน 55 ปี (บอร์ดอาจยกเว้นได้) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือบริหารพรรคการเมือง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับกิจการด้านนี้ และให้อำนาจรัฐมนตรีกำกับดูแลกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย และแผนยุทธศาสตร์
ไม่ยุบซิป้า-รวม สนง.ดิจิทัล
และในร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้ ไม่ได้ยุบสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า แต่ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้นเมื่อเริ่มก่อตั้ง ให้รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล แต่งตั้งผู้ที่เห็นสมควรทำหน้าที่ผู้อำนวยการ เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการภายใน 180 วัน ทั้งให้รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเลือกข้าราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานในสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นการชั่วคราว
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 25)
ร่าง กม.ดิจิทัล ฉบับ 'ไอซีที' ตั้งบอร์ด 'ดีอี' บริหารกองทุนหมื่นล้าน
ร่าง กม.ดิจิทัล ฉบับ 'ไอซีที' ตั้งบอร์ด 'ดีอี' บริหารกองทุนหมื่นล้าน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ใกล้ความจริงเข้ามาทุกขณะ หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจ และสังคม พ.ศ.... ร่าง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) พ.ศ.... และร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่...) พ.ศ....
โดย นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีวาระจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 3 ฉบับในวันที่ 29 เม.ย.นี้ ซึ่งตนได้เตรียมตัวสำหรับการชี้แจงหลักการของการยกร่างกฎหมายแต่ละฉบับด้วยตนเอง หาก สนช.เห็นชอบก็จะถือว่าร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับผ่านการพิจารณาวาระแรก จากนั้นจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายแต่ละฉบับเป็นรายมาตรา เพื่อให้มีการปรับแก้ก่อนส่งกลับให้ สนช. ลงมติในการพิจารณาวาระที่ 3 และเตรียมประกาศบังคับใช้ต่อไป
เดินหน้าตั้งบอร์ด DE
ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม พ.ศ....ที่ทบทวนโดยกระทรวงไอซีที มีสาระสำคัญคือ ตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (DE) ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและขจัดอุปสรรคในการผลักดันแผนงาน มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ และมีกรรมการโดยตำแหน่งอีก 12 คน ได้แก่ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพิ่มขึ้น 2 กระทรวงจากร่างเดิมที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนหน้านี้ ทั้งให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกรรมการและเลขานุการบอร์ด
แต่ส่วนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีตั้งยังเท่าเดิมคือ ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 8 คน โดยกรรมการผู้ทรงวุฒิมีวาระ 4 ปี และดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระติดกัน ส่วนการพ้นจากตำแหน่งได้เพิ่มอำนาจให้คณะรัฐมนตรีสั่งให้ออกจากตำแหน่งได้โดยไม่ระบุสาเหตุ จากเดิมที่สั่งให้ออกได้เพราะบกพร่องต่อหน้าที่หรือประพฤติเสื่อมเสีย
เพิ่มที่ปรึกษา-รื้อบอร์ดย่อย
ร่างกฎหมายล่าสุดยังให้มีการตั้งคณะ ที่ปรึกษา มีอำนาจรวบรวมความเห็น และให้ ข้อเสนอแนะตามที่บอร์ดมอบหมาย นอกจากมีคณะกรรมการเฉพาะด้าน ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ จากร่างเดิมที่กำหนดไว้ 6 ชุด ให้เหลือแค่
1.คณะกรรมการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงกลาโหม การคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพลังงาน พาณิชย์ มหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
2.คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เกษตรฯ พาณิชย์ สาธารณสุข ศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานการส่งเสริมการลงทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และผู้แทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
และ 3.คณะกรรมการเฉพาะด้านอื่น ซึ่งตั้งตามความเห็นชอบของ ครม. โดยคณะกรรมการเฉพาะด้านนอกจากมีกรรมการโดยตำแหน่งแล้ว ยังกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งบอร์ดแต่งตั้งอีกไม่เกิน 6 คน
กองทุนหมื่น ล.ขับเคลื่อนนโยบาย
นอกจากนี้ บอร์ด DE จะมีสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รับผิดชอบงานธุรการและมีกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สนับสนุน การใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาดิจิทัล รวมทั้งการให้การอุดหนุนหรือให้กู้ยืมเงินแก่หน่วยงานรัฐและเอกชน หรือบุคคลทั่วไปในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัล ตามนโยบายระดับชาติ
โดยเงินกองทุนประกอบด้วย เงินประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี และเงิน 25% ที่ได้รับจากการจัดสรรคลื่นความถี่ ตาม พ.ร.บ. กสทช. และอีก 25% ของเงินรายได้ของสำนักงาน กสทช.เงินที่ กสทช.โอนให้จากการมอบอำนาจให้เป็นผู้จัดให้มีบริการโทรคมนาคมตามแผน USO รวมถึงเงินสมทบเข้า USO จากผู้รับใบอนุญาตโทรคมนาคม ตามความจำเป็น เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ หรือที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมาย รวมถึงดอกผลหรือรายได้อื่นที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน โดยเงินในส่วนที่ได้รับจากการจัดสรรของ กสทช. และการจัดสรรคลื่นความถี่ ให้กองทุนมีเงินสดหรือเงินสดหมุนเวียนสูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท และให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจปรับเพิ่มได้โดยคำนึงถึงความเพียงพอของการดำเนินงาน ตามวัตถุประสงค์กองทุน ส่วนที่เกินจากที่กำหนดไว้ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ส่วนเงินกองทุน ให้ใช้จ่ายเพื่อการ ส่งเสริมช่วยเหลือหน่วยงานรัฐและเอกชนหรือ บุคคลทั่วไปในการดำเนินการพัฒนาดิจิทัล โดยการอุดหนุนให้ทุนหรือกู้ยืมโดยมีหรือไม่มีดอกเบี้ย หรือโดยมีหรือไม่มีหลักประกัน ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้อง จัดสรรเป็นเงินอุดหนุนหรือค่าใช้จ่ายแก่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลฯ นอกเหนือจาก ที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน ตามที่ร้องขอ หรือกรรมการเป็นสมควร
โดยจะมีคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลฯ ที่มีรองประธานบอร์ดดิจิทัลเป็นประธาน มีรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นรองประธาน กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวง การคลัง ปลัดกระทรวงดิจิทัล ผู้อำนวยการ สำนักงบประมาณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในบอร์ดดิจิทัลฯ อีก 3 คน เป็นผู้พิจารณาอนุมัติการจัดสรรเงิน รวมถึงการวางกฎระเบียบ และรายงานสถานการณ์ต่อบอร์ดดิจิทัลและคณะรัฐมนตรี
ตั้งสำนักงานส่งเสริม ศก.ดิจิทัล
และมีการตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล มีสถานะเป็นหน่วยงานรัฐที่เป็นนิติบุคคล แต่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่จัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ส่งเสริมหรือสนับสนุนการลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหรือนวัตกรรมดิจิทัล เสนอแนะติดตามเร่งรัดการแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบ หรือมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของอุตสาหกรรมหรือนวัตกรรมดิจิทัล
ทั้งยังให้สำนักงานมีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ ถือหุ้น เข้าเป็นหุ้นส่วน หรือร่วมทุนกับบุคคลอื่น ทำความตกลงหรือความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
เงินรายได้สำนักงานมาจากทุนประเดิมของรัฐ เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรเป็นรายปี ดอกผลและประโยชน์หรือรายได้อื่นที่มาจากการดำเนินงาน โดยทรัพย์สินของสำนักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ไม่ต้องนำส่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน โดยมีคณะกรรมการกำกับสำนักงาน ซึ่งมีปลัดกระทรวงดิจิทัล เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4-6 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง (วาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน) คอยกำกับการทำงาน
ส่วนผู้อำนวยการขึ้นตรงกับบอร์ดมีวาระ 4 ปี ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระติดกัน คุณสมบัติต้องมีความรู้ ประสบการณ์ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือกิจการด้านเศรษฐกิจดิจิทัล อายุไม่เกิน 55 ปี (บอร์ดอาจยกเว้นได้) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือบริหารพรรคการเมือง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับกิจการด้านนี้ และให้อำนาจรัฐมนตรีกำกับดูแลกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย และแผนยุทธศาสตร์
ไม่ยุบซิป้า-รวม สนง.ดิจิทัล
และในร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้ ไม่ได้ยุบสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า แต่ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้นเมื่อเริ่มก่อตั้ง ให้รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล แต่งตั้งผู้ที่เห็นสมควรทำหน้าที่ผู้อำนวยการ เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการภายใน 180 วัน ทั้งให้รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเลือกข้าราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานในสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นการชั่วคราว
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 25)