แด่..พี่น้องอิสลาม ความประเสริฐของเดือนรอญับ....

กระทู้สนทนา
ความประเสริฐของเดือนเราะญับ

١) قَالَ رَسُوْلُ اللهُ (ص) : إِنَّ رَجَبَ شَهْرُ اللهِ الْعَظِيْمُ ، لاَ يُقَارِبُهُ )
شَهْرٌ مِنَ الشُّهُوْرِ حُرْمَةً وَفَضْلاً ، وَالْقِتَالُ مَعَ الْكُفَّارِ فِيْهِ حَرَامٌ ،
أَلاَ أَنَّ رَجَبَ شَهْرُ اللهِ ، وَشَعْبَانَ شَهْرِي ، وَرَمَضَانَ شَهْرُ أُمَّتِي ،
أَلاَ فَمَنْ صَامَ مِنْ رَجَبَ يَوْمًا اِسْتَوْجَبَ رِضْوَانُ اللهِ الأَكْبَرِ ، وَابْتَعَدَ
عَنْهُ غَضَبُ اللهِ وَاُغْلِقَ عَنْهُ بَابٌ مِنْ أَبْوَابِ النَّارِ.
(๑) ท่านร่อซูล้ลุลอฮ (ศ.) มีวจนะว่า :
“เราะญับคือเดือนของอัลลอฮ์อันยิ่งใหญ่ ไมมี่เดือนใดเทียบเคียงความศักดิ์สิทธิ์และความประเสริฐได้ การรบราฆ่าฟันกับผู้ปฏิเสธในเดือนนี้นั้นเป็นที่ต้องห้าม พึงสังวร เราะญับคือเดือนของอัลลอฮ์ ชะอ์บานคือเดือนของฉัน และเราะมะฎอนคือเดือนของประชาชาติของฉัน พึงสังวร ผู้ใดถือศีลอดหนึ่งวันในเดือนเราะญับ ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกรย่อมเป็นที่เหมาะสมและความกริ้ว โกรธของอัลลอฮ์ย่อมต้องห่างไกลจากเขา และประตูแห่งไฟนรกถูกปิดสำหรับเขา”
٢) قَالَ مُوْسَى بن جَعْفَر الْكَاظِمُ (ع) : مَنْ صَامَ يَوْمًا مِنْ رَجَبَ )
تَبَاعَدَتْ عَنْهُ النَّارُ مَسِيْرَ سَنَةٍ ، وَمَنْ صَامَ ثَلاَثَةَ أَيَّامٍ وَجَبَتْ لَهُ
الْجَنَّةُ.
(๒) ท่านอิมามมูซา บินญะอ์ฟั้ร อัลกาซิม (อ.) กล่าวว่า : “ผู้ใดถือศีลอดหนึ่งวันในเดือนเราะญับ ไฟนรกได้ห่างเขาไปเป็นระยะเวลาเดินทางหนึ่งปี ส่วนผู้ใดถือศีลอดสามวัน สรวงสวรรค์จะต้องเป็นของเขา”.
٣) قَالَ أَيْضًا (ع) : رَجَبُ نَهْرٌ فِي الْجَنَّةِ أَشَدُّ بَيَاضًا مِنَ اللَّبَنِ ، )
وَأَحَلَّى مِنَ الْعَسَلِ ، مَنْ صَامَ يَوْمًا مِنْ رَجَبَ سَقَاهُ اللهُ (عزوجل)
مِنْ ذَلِكَ النَّهْرِ.
เอกสารวิชาการ_ความประเสริฐของเดือนอิสลาม_ลำดับที่ ๑/๒๕๕๕ หน้า ๒
(๓) ท่านยังกล่าวอีกว่า “เราะญับคือชื่อของสายธารหนึ่งในสรวงสวรรค์มีความขาวนวลยิ่งกว่าน้ำนม หอมหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง ผู้ใดถือศีลอดหนึ่งวันในเดือนเราะญับ อัลลอฮ์ (อ.ญ.) จะทรงให้เขาได้ดื่มน้ำจากสายธารนั้น”.
٤) قَالَ رَسُوْلُ اللهُ (ص) : رَجَبُ شَهْرُ الإِسْتِغْفَارِ لِأُمَّتِي ، )
فَأَكْثِرُوا فِيْهِ الإِسْتِغْفَارَ ، فَإِنَّهُ غَفُوْرٌ رَحِيْمٌ ، وَيُسَمَّى الرَّجَبُ
الأَصَبَّ لِأَنَّ الرَّحْمَةَ عَلَى أُمَّتِي تُصَبُّ صَبًّا فِيْهِ ، فَاسْتَغْفِرُوا مِنْ قَوْلِ
؛ أَسْتَغْفِرُ اللهَ وَأَسْأَلُهُ التَّوْبَةَ.
(๔) ท่านเราะซูลุ้ลลอฮ์ (ศ.) มีวจนะว่า : “เราะญับคือเดือนแห่งการขออภัยโทษสำหรับประชาชาติของฉัน ฉะนั้น พวกท่านต้องวอนขอภัยโทษให้มาก ๆ เพราะแท้จริงแล้วพระองค์คือคือผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยการให้อภัยโทษ ผู้ทรงกรุณาเสมอ เดือนเราะญับถูกเรียกว่าเดือนแห่งการโปรยปราย ก็เพราะว่า ความการุณย์จะถูกโปรยปรายลงมายังประชาชาติของฉัน ดังนั้น พวกท่านต้องกล่าวถ้อยคำนี้ อัซตัฆฟิรุ้ลลอฮ์ วะอัซอะลุฮุตเตาบะฮ์ (ข้อพระองค์วอนขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์และวอนขอการกลับตัวกลับใจต่อพระองค์)”.
٥) عَن سالِم قَالَ : دَخَلْتُ عَلَى الصَّادِقِ (ع) فِي رَجَبَ وَقَدْ بَقِيَتْ )
مِنْهُ اَيَّامٌ ، فَلَمَّا نَظَرَ إِلَيَّ قَالَ لِيْ ؛ يَا سَالِم هَلْ صُمْتَ فِي هَذَا
الشَّهْرِ شَيْئًا ؟ قُلْتُ ؛ لاَ وَاللهِ يَا ابْنَ رَسُوْلِ اللهِ ، فَقَالَ لِي ؛ فَقَدْ
فَاتَكَ مِنَ الثَّوَابِ مَا لَمْ يَعْلَمْ مَبْلَغَهُ إِلاَّ اللهَ (عزوجل) ، إِنَّ هَذَا
شَهْرٌ قَدْ فَضَّلَهُ اللهُ وَعَظَّمَ حُرْمَتَهُ ، وَأَوْجَبَ لِلصَّائِمِيْنَ فِيْهِ كَرَامَتَهُ
، قَالَ ؛ فَقُلْتُ لَهُ ؛ يَابْنَ رَسُوْلِ اللهِ ، فَإِنْ صُمْتُ مِمَّا بَقِيَ مِنْهُ شَيْئًا ،
هَلْ أَنَالُ فَوْزًا بِبَعْضِ ثَوَابِ الصَّائِمِيْنَ فِيْهِ ؟ فَقَالَ ؛ يَا سَالِم مَنْ
صَامَ يَوْمًا مِنْ آخِرِ هَذَا الشَّهْرِ كَانَ ذَلِكَ أَمَانًا مِنْ شِدَّةِ سَكَرَاتِ
الْمَوْتِ ، وَأَمَانًا مِنْ هَوْلِ لْمُطَّلِعِ وَعَذَابِ الْقَبْرِ ، وَمَنْ صَامَ يَوْمَيْنِ
مِنْ آخِرِ هَذَا الشَّهْرِ كَانَ لَهُ بِذَلِكَ جَوَازًا عَلَى الصِّرَاطِ ، وَمَنْ
เอกสารวิชาการ_ความประเสริฐของเดือนอิสลาม_ลำดับที่ ๑/๒๕๕๕ หน้า ๓
صَامَ ثَلاَثَةَ أَيَّامٍ مِنْ آخِرِ هَذَا الشَّهْرِ أَمَنَ يَوْمَ الْفَزَعِ الأَكْبَرِ مِنْ
أَهْوَالِهِ وَشَدَائِدِهِ ، وَاُعْطِيَ بَرَائَةً مِنَ النَّارِ.
(๕) มีรายงานจากท่านซาลิมว่า : ข้าพเจ้าได้เข้าไปพบท่านอิมามศอดิก (อ.) ในปลายเดือนเดือนเราะญับ เมื่อท่านมองมาที่ข้าฯ ท่านกล่าวแก่ข้าฯว่า “ซาลิมเอ๋ย ท่านถือศีลอดในเดือนนี้บ้างหรือเปล่า ?” ข้าฯตอบท่านว่า “วั้ลลอฮ์ เปล่าเลย โอ้บุตรแห่งท่านเราะซูลุ้ลลอฮ์” ท่านได้กล่าวกับข้าฯว่า “ท่านได้ทำให้ผลานิสงค์ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้จำนวนของมันนอกจากอัลลอฮ์นั้นได้ตก หายไปจากท่านแล้ว เดือนนี้คือเดือนที่อัลลอฮ์ทรงให้ความประเสริฐและให้ความศักดิ์สิทธิ์ของมัน แผ่ไพศาล และทรงให้คุณวิเศษของพระองค์จำเป็นต้องมีแก่บรรดาผู้ถือศีลอดในเดือนนี้”
ผู้รายงานกล่าวว่า ข้าฯจึงได้กล่าวต่อท่านว่า “โอ้บุตรแห่งท่านเราะซูลุ้ลลอฮ์ หากข้าฯได้ถือศีลอดในวันที่เหลือ ข้าฯจะประสบชัยได้รับผลานิสงค์ของผู้ถือศีลอดบ้างไหม ?” ท่านกล่าวว่า “ซาลิมเอ๋ย ผู้ใดถือศีลอดหนึ่งวันในช่วงท้ายของเดือนนี้ นั่นเป็นการรับประกันว่าต้องรอดจากความเจ็บปวดในวาระแห่งการเผชิญกับความตาย และเป็นการรับประกันว่าต้องรอดจากความหวาดกลัวต่อสภาพที่ต้องเห็นและการลง โทษในหลุมฝังศพ ส่วนผู้ใดถือศีลอดสองวันในช่วงท้ายของเดือนนี้ เขาจะได้รับการอนุญาตให้เดินผ่านสะพานศิรอฏ็อลมุซตะกีม และผู้ใดถือศีลอดสามวันในช่วงท้ายของเดือนนี้ เขาจะรู้สึกปลอดภัยในวันแห่งความขยาดกลัวอันยิ่งใหญ่จากความน่ากลัวและความ รุนแรงของมัน และเขาจะได้รับสิทธิเป็นเอกเทศจากไฟนรก”
٦) رُوِيَ أَنَّ : مَنْ لَمْ يَقْدِرْ عَلَى ذَلِكَ يُسَبِّحُ فِيْ كُلِّ يَوْمٍ مِأَةَ )
مَرَّةٍ بِهَذَا التَسْبِيْحِ لَيَنَالُ أَجْرَ الصِّيَامِ فِيْهِ ؛
سُبْحَانَ الإِلَهِ الْجَلِيْلِ سُبْحَانَ مَنْ لاَ يَنْبَغِي التَّسْبِيْحُ إِلاَّ لَهُ سُبْحَانَ
الأَعَزِّ الأَكْرَمِ سُبْحَانَ مَنْ لَبِسَ الْعِزِّ وَهُوَ لَهُ أَهْلٌ
(๖) มีรายงานว่า ผู้ใดไร้ความสามารถที่จะถือศีลอดนั้น ก็ให้เขากล่าวตัซบีฮ์ต่อไปนี้ ๑๐๐ ครั้ง ในทุกวัน เขาก็จะได้รับรางวัลของการถือศีลอดในเดือนนี้เช่นกัน
“ซุบฮานั้ลอิลาฮิ้ลญะลี้ล ซุบฮานะมันลายันบะฆิตตัซบีฮุ อิ้ลลาละฮู ซุบฮานั้ลอะอัซซิ้ลอักร็อม ซุบฮานะมันละบิซั้ลอิซซิ วะฮุวะละฮูอะฮ์ลุน” (มหาบริสุทธิ์ยิ่งเป็นของพระเจ้าผู้ทรงเลอเลิศ มหาบริสุทธิ์ยิ่งเป็นของพระองค์ผู้ซึ่งไม่มีผู้ใดได้รับสิทธิ์ถวายความสดุดี นอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งเป็นของผู้ทรงเกียรติศักดิ์ผู้ทรงปรานี มหาบริสุทธิ์ยิ่งเป็นของพระองค์ผู้ซึ่งทรงสวมอาภรณ์แห่งเกียรติยศและพระองค์ ก็เป็นเจ้าของมัน)
เอกสารวิชาการ_ความประเสริฐของเดือนอิสลาม_ลำดับที่ ๑/๒๕๕๕ หน้า ๔
บทเรียนที่พึงเรียนรู้
๑. เดือนเราะญับได้รับการยกย่องเป็นพิเศษจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.)
๒. อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงให้เกียรติเดือนเราะญับด้วยการตรัสว่าเป็น “เดือนของอัลลอฮ์” ทั้ง ๆ ที่ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้และโลกอื่นใด ล้วนเป็นกรรมสิทธิ์แต่เพียงพระองค์เดียวของอัลลอฮ์ทั้งสิ้น
๓. มีกฎเกณฑ์ข้อห้ามหลายประการในเดือนเราะญับอันศักดิ์สิทธิ์นี้ อาทิ การรบราฆ่าฟันและการต่อสู้กัน ซึ่งแม้แต่ผู้ปฏิเสธชาวมักกะฮ์ก็ยังต้องยอมรับกฎเกณฑ์ข้อนี้ด้วย
๔. บุคคลใดเรียนรู้และแสวงหาความประเสริฐอันจำเพาะของเดือนเราะญับ เขาจะได้รับ ความการุณย์ของอัลลอฮ์ที่โปรยปรายลงมายังเขา
๕. กิจวัตรอันพึงปฏิบัติที่สำคัญของเดือนนี้ก็คือการถือศีลอด การกล่าวคำขออภัยโทษ (อิซติฆฟ้าร) และการกล่าวถวายความบริสุทธิ์ (ตัซบีฮ์)
๖. ดีที่สุดควรถือศีลอดอย่างน้อย ๓ วันในเดือนนี้ กล่าวคือ มีผลานิสงค์มากมายที่ผู้ถือศีลอดในเดือนนี้ควรจะได้รับ ซึ่งจำนวนของมันไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้นอกจากอัลลอฮ์ (ซ.บ) เพียงพระองค์เดียว อาทิ ได้รับความพึงพอพระทัยของอัลลอฮ์ ห่างไกลจากความกริ้วโกรธของอัลลอฮ์ ได้รับหลัก ประกันว่าไม่ต้องเผชิญกับความเจ็บปวดแห่งวาระสุดท้ายที่ความตายมาเยือน ไม่ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์อันน่าสพรึงกลัวและการลงทัณฑ์ในหลุมฝังศพ ไม่ต้องเข้าไกลประตูแห่งไฟนรกเป็นระยะเวลาเดินทางประมาณหนึ่งปี จะได้ดื่มน้ำจากธารน้ำเราะญับซึ่งมีแต่ความหอมหวานและสีขาวนวล ได้รับการอนุญาตให้ผ่านศิรอฏ็อลมุซตะกีมโดยง่ายดาย และมีหลักประกันที่ไม่ต้องเผชิญกับความหวาดกลัวและความรุนแรงในวันกิยามะฮ์
๗. ต้องกล่าวคำขออภัยโทษให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ในเดือนนี้
๘. ผู้ที่ไม่มีความสามารถถือศีลอดได้ ก็สมควรกล่าวคำตัซบีฮ์เฉพาะของเดือนนี้ โดยปรารถนารางวัลเทียบเท่าการถือศีลอด.

(ขออัลลอฮ์ทรงยอมรับการงานของพวกเราและการถือศีลอดของพวกเรา และได้โปรดบันดาลให้เราเป็นหนึ่งในพวกที่ได้วอนขอการอภัยโทษ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่