ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส HPV คือ
• การมีคู่นอนหลายคน (ครั้งละหลายๆคน หรือครั้งละคน แต่มีหลายคน)
• คู่นอนมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นหรือชายอื่นหลายๆคน
• มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยๆ
• มีลูกมาก
• มีภูมิคุ้มกันต่ำ
• มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆร่วมด้วย
ไวรัส HPV มีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ก็เป็นสายพันธุ์ธรรมดาๆ บางสายพันธุ์ก็เป็นสายพันธุ์ดุ ก่อให้เกิดมะเร็งได้ เช่นสายพันธุ์ 16, 18, 45, 31, 33, 52, 58 สายพันธุ์ 16 พบได้ร้อยละ 50-60 สายพันธุ์ 18 พบได้ร้อยละ 10-15 การพัฒนาวัคซีนจึงมุ่งเน้นสายพันธุ์ 18 และ 16 เป็นส่วนใหญ่
วัคซีน HPV ทำจากอะไร
วัคซีน HPV ก็ทำจากตัวเชื้อ HPV นั่นแหละ โดยนำโปรตีนที่เปลือกหุ้มของตัวไวรัสมาเพิ่มจำนวน แล้วมาทำเป็นอนุภาคที่คล้ายตัว HPV เรียกว่า virus-like particle (VLP) ซึ่งมีโครงสร้างทุกอย่างเหมือนตัวเชื้อ HPV ต้นแบบ เพียงแต่ไม่มี DNA ที่ก่อมะเร็งเท่านั้น เจ้า VLP ตัวนี้สามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิต้านทาน (antibody) ได้ดีมากๆ แอนติบอดีที่เกิดขึ้นก็จะวิ่งไปออกันอยู่ที่มูกบริเวณปากมดลูก พอเชื้อ HPV เข้ามา มันก็จัดการเขมือบซะ !
วัคซีน HPV มีกี่ชนิด
ในการพัฒนาวิจัยวัคซีน HPV มีหลายเจ้า หลายบริษัท บางบริษัทก็ทดลองวัคซีนป้องกัน HPV โดดๆ สายพันธุ์เดียว บางเจ้าก็ทดลองวัคซีนที่มีสองสายพันธุ์รวมกัน (สายพันธุ์16 กับ 18) บางเจ้าก็ทดลองหลายๆสายพันธุ์รวมกันถึง 5 สายพันธุ์ก็มี (สายพันธุ์ 16, 18, 45, 31, และ 33) ซึ่งป้องกันได้ถึง 83 % หรือบางเจ้าต้องการให้ครอบคลุมไวรัสแบบครอบจักรวาล ก็ทดลองให้มีถึง7 ชนิดโดยเพิ่มสายพันธุ์ 52 กับ 58 เข้าไปก็มี ซึ่งก็สามารถป้องกันได้ถึง 87 %
มีวัคซีนแล้วดียังไงไม่ดียังไง
เรื่องดีก็คือ ต่อนี้ไป เราจะมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกกันแล้ว แม้จะป้องกันได้ไม่หมดเสียทีเดียว แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีความหวังอะไรเลย
แล้วมีอะไรไม่ดีล่ะ เรื่องไม่ดีก็คือ วัคซีนตัวนี้เพิ่งพัฒนาแล้วเสร็จ เพิ่งได้รับการรับรอง แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง เช่น ควรเริ่มฉีดตอนอายุเท่าไร เอาตั้งแต่แรกเกิดเลยดีไหม หรือรอให้เข้าโรงเรียนก่อน หรือค่อยฉีดตอนเข้าวัยสาว หรือรอฉีดก่อนแต่งงาน แล้วถ้าฉีดผู้ชายตัวต้นเหตุ จะมีประโยชน์หรือเปล่า ต้องฉีดกระตุ้นไหม ถ้าต้องฉีดกระตุ้น ต้องกี่ปีจึงจะฉีดซ้ำ แล้วสาวโสดประเภทมีแนวโน้มจะขึ้นคาน ต้องฉีดหรือเปล่า คนที่มีเชื้อหรือติดเชื้อ HPV อยู่แล้ว ฉีดไปจะทำให้หายเร็วขึ้นไหม ที่มองในแง่ลบสุดๆ เมื่อมีวัคซีนป้องกันแล้วจะทำให้ผู้คนประมาท ไม่ป้องกันมากขึ้นไหม จะ
ทางเพศเพิ่มขึ้นหรือเปล่า เหล่านี้เป็นประเด็นที่ยังไม่มีการศึกษา
คำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจจะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV
1 ถ้าคุณมีเพศสัมพันธ์แล้ว วัคซันนี้อาจไม่เป็นประโยชน์กับคุณเลย เพราะมีโอกาสสูงมากที่คุณเคยติดเชื้อไวรัสดังกล่าวมาแล้ว
2 ถ้าคุณอายุมากกว่า 26 ปี ผลตอบสนองจากการฉีดวัคซีนอาจไม่ดีเท่ากับคนอายุน้อยกว่า
3 ถ้าคุณสนใจฉีดวัคซีนนี้ เพราะเข้าใจว่าจะทำให้ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เช่น แปปสเมียร์ VIA หรือ Thin prep อีกต่อไป ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดมหันต์ และนำชีวิตไปสู่ความเสี่ยงอย่างยิ่ง เพราะวัคซีนนี้ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้เพียง 70 % เท่านั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก kmnci.com และ สมิตเวช
Report by LIV APCO
HPV VACCINE
• การมีคู่นอนหลายคน (ครั้งละหลายๆคน หรือครั้งละคน แต่มีหลายคน)
• คู่นอนมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นหรือชายอื่นหลายๆคน
• มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยๆ
• มีลูกมาก
• มีภูมิคุ้มกันต่ำ
• มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆร่วมด้วย
ไวรัส HPV มีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ก็เป็นสายพันธุ์ธรรมดาๆ บางสายพันธุ์ก็เป็นสายพันธุ์ดุ ก่อให้เกิดมะเร็งได้ เช่นสายพันธุ์ 16, 18, 45, 31, 33, 52, 58 สายพันธุ์ 16 พบได้ร้อยละ 50-60 สายพันธุ์ 18 พบได้ร้อยละ 10-15 การพัฒนาวัคซีนจึงมุ่งเน้นสายพันธุ์ 18 และ 16 เป็นส่วนใหญ่
วัคซีน HPV ทำจากอะไร
วัคซีน HPV ก็ทำจากตัวเชื้อ HPV นั่นแหละ โดยนำโปรตีนที่เปลือกหุ้มของตัวไวรัสมาเพิ่มจำนวน แล้วมาทำเป็นอนุภาคที่คล้ายตัว HPV เรียกว่า virus-like particle (VLP) ซึ่งมีโครงสร้างทุกอย่างเหมือนตัวเชื้อ HPV ต้นแบบ เพียงแต่ไม่มี DNA ที่ก่อมะเร็งเท่านั้น เจ้า VLP ตัวนี้สามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิต้านทาน (antibody) ได้ดีมากๆ แอนติบอดีที่เกิดขึ้นก็จะวิ่งไปออกันอยู่ที่มูกบริเวณปากมดลูก พอเชื้อ HPV เข้ามา มันก็จัดการเขมือบซะ !
วัคซีน HPV มีกี่ชนิด
ในการพัฒนาวิจัยวัคซีน HPV มีหลายเจ้า หลายบริษัท บางบริษัทก็ทดลองวัคซีนป้องกัน HPV โดดๆ สายพันธุ์เดียว บางเจ้าก็ทดลองวัคซีนที่มีสองสายพันธุ์รวมกัน (สายพันธุ์16 กับ 18) บางเจ้าก็ทดลองหลายๆสายพันธุ์รวมกันถึง 5 สายพันธุ์ก็มี (สายพันธุ์ 16, 18, 45, 31, และ 33) ซึ่งป้องกันได้ถึง 83 % หรือบางเจ้าต้องการให้ครอบคลุมไวรัสแบบครอบจักรวาล ก็ทดลองให้มีถึง7 ชนิดโดยเพิ่มสายพันธุ์ 52 กับ 58 เข้าไปก็มี ซึ่งก็สามารถป้องกันได้ถึง 87 %
มีวัคซีนแล้วดียังไงไม่ดียังไง
เรื่องดีก็คือ ต่อนี้ไป เราจะมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกกันแล้ว แม้จะป้องกันได้ไม่หมดเสียทีเดียว แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีความหวังอะไรเลย
แล้วมีอะไรไม่ดีล่ะ เรื่องไม่ดีก็คือ วัคซีนตัวนี้เพิ่งพัฒนาแล้วเสร็จ เพิ่งได้รับการรับรอง แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง เช่น ควรเริ่มฉีดตอนอายุเท่าไร เอาตั้งแต่แรกเกิดเลยดีไหม หรือรอให้เข้าโรงเรียนก่อน หรือค่อยฉีดตอนเข้าวัยสาว หรือรอฉีดก่อนแต่งงาน แล้วถ้าฉีดผู้ชายตัวต้นเหตุ จะมีประโยชน์หรือเปล่า ต้องฉีดกระตุ้นไหม ถ้าต้องฉีดกระตุ้น ต้องกี่ปีจึงจะฉีดซ้ำ แล้วสาวโสดประเภทมีแนวโน้มจะขึ้นคาน ต้องฉีดหรือเปล่า คนที่มีเชื้อหรือติดเชื้อ HPV อยู่แล้ว ฉีดไปจะทำให้หายเร็วขึ้นไหม ที่มองในแง่ลบสุดๆ เมื่อมีวัคซีนป้องกันแล้วจะทำให้ผู้คนประมาท ไม่ป้องกันมากขึ้นไหม จะทางเพศเพิ่มขึ้นหรือเปล่า เหล่านี้เป็นประเด็นที่ยังไม่มีการศึกษา
คำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจจะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV
1 ถ้าคุณมีเพศสัมพันธ์แล้ว วัคซันนี้อาจไม่เป็นประโยชน์กับคุณเลย เพราะมีโอกาสสูงมากที่คุณเคยติดเชื้อไวรัสดังกล่าวมาแล้ว
2 ถ้าคุณอายุมากกว่า 26 ปี ผลตอบสนองจากการฉีดวัคซีนอาจไม่ดีเท่ากับคนอายุน้อยกว่า
3 ถ้าคุณสนใจฉีดวัคซีนนี้ เพราะเข้าใจว่าจะทำให้ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เช่น แปปสเมียร์ VIA หรือ Thin prep อีกต่อไป ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดมหันต์ และนำชีวิตไปสู่ความเสี่ยงอย่างยิ่ง เพราะวัคซีนนี้ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้เพียง 70 % เท่านั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก kmnci.com และ สมิตเวช
Report by LIV APCO