แนะรัฐขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ | เดลินิวส์
„ม.หอการค้าไทย ประเมินเศรษฐกิจไทยังซึม และปัญหาภัยแล้งลากยาวถึงก.ค. หวั่นกระทบเงินในกระเป๋าประชาชน แนะรัฐพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น
วันอังคารที่ 19 เมษายน 2559 เวลา 17:08 น. หมวด: เศรษฐกิจ คำสำคัญ: หอการค้า เศรษฐกิจ ภัยแล้ง เงิน ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เงินเฟ้อ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้สำรวจค่าครองชีพไทยแพงจริงหรือไม่ในภาวะภัยแล้ง และเงินเฟ้อติดลบ จากตัวอย่าง 1,356 รายทั่วประเทศ พบว่าจากปัญหาภัยแล้ง เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ซึมตัวต่อเนื่อง ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อที่ผ่านมารวมถึงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ติดลบ 0.6% ประชาชนจึงรู้สึกว่าราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับหลายปีก่อนโดยรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนในปี 58 อยู่ที่ 26,915 บาท รายจ่าย 21,157 บาท และ 75.2% มีหนี้สินครัวเรือนเฉลี่ย 156,770 บาท
ส่งผลให้ประชากรส่วนใหญ่มองว่ามีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มรับจ้างรายวัน ซึ่งยังพบอีกว่าทำให้ต้องกู้ยืมเงินทั้งในและนอกระบบถึง 62% เป็นสาเหตุของหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นนอกจากนี้ ยังคาดว่าปัญหาภัยแล้งอาจยาวนานไปถึงเดือนก.ค.ซึ่งจะส่งผลต่อวงเงินในระบบหายไป 120,000 ล้านบาท ดังนั้นจึงฝากถึงรัฐบาลควรพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคนไทยอย่างน้อยวันละ 10-15 บาท หรือ 5-7% ตามแต่ละพื้นที่
เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบัน หลังไม่ได้ปรับขึ้นติดต่อกันในช่วง 3 ปี อีกทั้งควรเร่งการลงทุนทั้งโครงการขนาดใหญ่ และโครงการขนาดเล็กเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระระบบช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้ถึง 200,000-300,000 ล้านบาท“ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่ามีสินค้า 9 ประเภทที่ปรับเพิ่มขึ้นจนกระทบต่อค่าครองชีพ คือ เนื้อหมูและไก่,ปลา,อาหารทะเล,ผลไม้,อาหารจานเดียว/อาหารตามสั่ง,ข้าวราด แกง,ก๋วยเตี๋ยว,ปัจจัยทางการเกษตร (ปุ๋ย,อาหารสัตว์,ยา/เคมีกำจัดศัตรูพืช) และค่าเทอม/ค่ากวดวิชา ซึ่งส่วนใหญ่จะกระทบต่อกลุ่มอาชีพเกษตรกร,พนักงานบริษัทและลูกจ้างทั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่สูงมากนัก”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานราคาสินค้าในสัปดาห์ที่3ของเดือนเม.ย.59 พบว่าผักคะน้า,ผักบุ้งจีน,ผักกวางตุ้ง,ผักชี,ต้นหอม,พริกขี้หนู(จินดา ), มะนาวและเนื้อสุกร ได้ปรับตัวสูงขึ้นจากก่อนเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากผลกระทบจากอาหารที่ร้อนและแล้งจัดทำให้ผักส่วนใหญ่เจริญเติบโตช้า และผลผลิตมีน้อยลง“
อ่านต่อที่ :
http://dailynews.co.th/economic/392640
แนะรัฐขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
„ม.หอการค้าไทย ประเมินเศรษฐกิจไทยังซึม และปัญหาภัยแล้งลากยาวถึงก.ค. หวั่นกระทบเงินในกระเป๋าประชาชน แนะรัฐพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น
วันอังคารที่ 19 เมษายน 2559 เวลา 17:08 น. หมวด: เศรษฐกิจ คำสำคัญ: หอการค้า เศรษฐกิจ ภัยแล้ง เงิน ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เงินเฟ้อ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้สำรวจค่าครองชีพไทยแพงจริงหรือไม่ในภาวะภัยแล้ง และเงินเฟ้อติดลบ จากตัวอย่าง 1,356 รายทั่วประเทศ พบว่าจากปัญหาภัยแล้ง เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ซึมตัวต่อเนื่อง ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อที่ผ่านมารวมถึงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ติดลบ 0.6% ประชาชนจึงรู้สึกว่าราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับหลายปีก่อนโดยรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนในปี 58 อยู่ที่ 26,915 บาท รายจ่าย 21,157 บาท และ 75.2% มีหนี้สินครัวเรือนเฉลี่ย 156,770 บาท
ส่งผลให้ประชากรส่วนใหญ่มองว่ามีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มรับจ้างรายวัน ซึ่งยังพบอีกว่าทำให้ต้องกู้ยืมเงินทั้งในและนอกระบบถึง 62% เป็นสาเหตุของหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นนอกจากนี้ ยังคาดว่าปัญหาภัยแล้งอาจยาวนานไปถึงเดือนก.ค.ซึ่งจะส่งผลต่อวงเงินในระบบหายไป 120,000 ล้านบาท ดังนั้นจึงฝากถึงรัฐบาลควรพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคนไทยอย่างน้อยวันละ 10-15 บาท หรือ 5-7% ตามแต่ละพื้นที่
เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบัน หลังไม่ได้ปรับขึ้นติดต่อกันในช่วง 3 ปี อีกทั้งควรเร่งการลงทุนทั้งโครงการขนาดใหญ่ และโครงการขนาดเล็กเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระระบบช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้ถึง 200,000-300,000 ล้านบาท“ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่ามีสินค้า 9 ประเภทที่ปรับเพิ่มขึ้นจนกระทบต่อค่าครองชีพ คือ เนื้อหมูและไก่,ปลา,อาหารทะเล,ผลไม้,อาหารจานเดียว/อาหารตามสั่ง,ข้าวราด แกง,ก๋วยเตี๋ยว,ปัจจัยทางการเกษตร (ปุ๋ย,อาหารสัตว์,ยา/เคมีกำจัดศัตรูพืช) และค่าเทอม/ค่ากวดวิชา ซึ่งส่วนใหญ่จะกระทบต่อกลุ่มอาชีพเกษตรกร,พนักงานบริษัทและลูกจ้างทั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่สูงมากนัก”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานราคาสินค้าในสัปดาห์ที่3ของเดือนเม.ย.59 พบว่าผักคะน้า,ผักบุ้งจีน,ผักกวางตุ้ง,ผักชี,ต้นหอม,พริกขี้หนู(จินดา ), มะนาวและเนื้อสุกร ได้ปรับตัวสูงขึ้นจากก่อนเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากผลกระทบจากอาหารที่ร้อนและแล้งจัดทำให้ผักส่วนใหญ่เจริญเติบโตช้า และผลผลิตมีน้อยลง“
อ่านต่อที่ : http://dailynews.co.th/economic/392640