เรามารู้จักวิธีการออกนโยบายรัฐผ่านโครงสร้างพื้นฐาน by void

โครงการ คือ การกระทำที่มีจุดประสงค์และระยะเวลาที่ชัดเจนในการเริ่มและจบอย่างชัดเจน เช่น โครงการรถยนต์คันแรก เป็นต้น

พนักงานรัฐมี 2 แบบ หนึ่งคือราชการประจำ เช่น ครู ทหาร ตำรวจ ฯลฯ สองคือมาจากการเลือกตั้ง เช่น รัฐมนตรี นายกฯ ฯลฯ
ทีนี้เรามาพูดถึงหน้าที่ของสองอย่าง ราชการประจำจะทำงานประจำตามชื่อ เช่น ตำรวจก็มีหน้าที่รักษาความสงบให้บ้านเมืองมอบความมั่นคงให้แก่ประชาชน ทหารก็มีหน้าที่ปกป้องอำนาจอธิปไตยจากต่างชาติ ฯลฯ ส่วนพนักงานรัฐชั่วคราวจะมีหน้าที่ออกนโยบายต่างๆให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในขณะนั้น

คำถามมีอยู่ว่า โครงการที่รัฐออกมาแต่ละโครงการนั้นอันไหนดีไม่ดี ควรทำโครงการไหนก่อนหลัง?

ผมขอสมมุติที่ว่าผมเป็นนายกและต้องการพัฒนาถนนลูกรังเป็นลาดยางซึ่งเดิมถนนนี้เชื่อมต่อหมู่บ้าน A กับ หมู่บ้าน B คำถามแรกเราควรคำนึงเรื่องอะไรเป็นอันดับแรก คำตอบคือผู้ใช้งาน(User) เราควรตรวจสอบว่าประชากรหมู่บ้าน A และ B มีเท่าไหร่ และถนนลูกรังเดิมมีสัดส่วนการใช้งานกี่คน รถที่เป็นพาหนะผ่านเฉลี่ยวันนึงมีรถอะไรบ้างและจำนวนอย่างละเท่าไหร่?

เมื่อเราได้ข้อมูลการใช้ถนนลูกรังเดิมแล้ว เราจะสามารถออกแบบถนนตามความเหมาะสมได้

ต่อไปในการออกแบบถนนแน่นอนว่ามีหลายไอเดีย เช่น ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ซึ่งแน่นอนว่ามีหลายระดับให้เราเลือก คำถามมีต่อว่าเราควรจะสร้างถนนใหม่แบบไหน คำตอบคือให้เราดู benefit และ loss ของมัน

หลักการคิด Benefit และ loss คิดเหมือนกำไรขาดทุน แต่ทว่าโครงสร้างพื้นฐานนั้นไม่ได้คิดเพียงปีเดียวหรือวันเดียว หากแต่เราใช้งานเป็นเวลาสิบๆปี เราจำเป็นจะต้องคิดอัตราดอกเบี้ยลงไปด้วย โดยผมจะให้สูตรคำนวนดังนี้

F = P(1+i)^n ( F เท่ากับ P คูณด้วย 1+i กำลัง n)
F คือ มูลค่าของเงินในอนาคต
P คือ มูลค่าของเงินในปัจจุบัน
i คือ อัตราดอกเบี้ย
n คือ จำนวนปีที่เราสนใจ
ทีนี้เวลาเราประเมินเช่นถนนที่เราจะสร้างมีอายุ 30 ปี เราจำเป็นต้องคิดมูลค่ากับไปที่ปัจจุบัน หลักการคือเงินในช่วงเวลาเดียวกันสามารถบวกลบกันได้
สูตรก็จะเปลี่ยนเป็น
P = F/(1+i)^n (Pเท่ากับFหารด้วย 1+i กำลัง n)
เราก็จะได้ค่าเงินที่ปัจจุบัน
ทีนี้เราต้องมาเข้าใจ benefit ของถนนกันครับ ถนนนี้หลักๆจะมี benefit 2 แบบ คือ Time saving benefit(ประโยชน์ที่ได้จากการที่เราใช้เวลาขับรถน้อยลง) กับ Energy saving benefit(ประโยชน์ที่ได้รับจากการประหยัดน้ำมันหรือแก๊สสำหรับพาหนะโดยสาร)
ส่วน Loss คือสิ่งที่เราเสียประโยชน์ สำหรับเรื่องถนนแล้วเรามีเรื่องคำนึงหลัก 3 เรื่อง หนึ่งคือ Construction cost(ค่าก่อสร้าง) สองคือ Maintenance cost(ค่าซ่อมบำรุงรักษา) และสุดท้ายคือมลภาวะ โดยให้เราเอาผลรวม benefit กับ loss ในปีเดียวกันมาหักลบกันก่อนจึงค่อยเปลี่ยนมูลค่าจากอนาคตกลับเป็นปัจจุบัน

เอาละเรามาลองคำนวนคร่าวๆกันนะครับโดยผมมีตัวเลขสมมุติขึ้นมาเรามีค่าก่อสร้าง 10 ล้านบาท ถนนมีอายุการใช้งาน 20 ปี เรามี Benefit  รวมต่อปี 2 ล้านบาท และ loss ที่เกิดจาก maintenance และมลภาวะรวมต่อปี 1 ล้านบาท คำถามเราควรสร้างถนนนี้หรือไม่ ลองให้พวกท่านคิดกันเล่นๆนะครับเดี๋ยวผมกลับมาเฉลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่