Guarantee Maximum Loss (GML)
จากนโยบายรับจำนำข้าวเปลือกในราคา 15,000 บาทต่อตันข้าวเปลือกจากเกษตรกรของพรรคการเมืองที่สนับสนุนรัฐบาลนั้น มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกันอย่างสุดโต่ง ทั้งการสนับสนุนอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูที่ได้ออกมาชี้แจงถึงข้อดีที่จะเกิดขึ้นโดยตรงกับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เกิดการจับจ่ายใช้สอย และจะส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ขณะที่ฝ่ายคัดค้านที่มีการทักท้วงจากหลายฝ่ายถึงความเป็นไปได้ของโครงการ โดยเฉพาะในเรื่องของผลการขาดทุนจากดำเนินงานในโครงการนี้ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างมาก
ในระยะแรกๆ ของการดำเนินโครงการ เมื่อไม่ปรากฎว่า รัฐบาลสามารถดำเนินโครงการให้เกิดประสิทธิผลได้ตามที่มุ่งหวังไว้ เนื่องจากราคาข้าวในตลาดโลกไม่เป็นไปตามที่วาดฝันไว้ หลายฝ่ายก็ทักท้วงและเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนนโยบายดังกล่าว ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลก็ออกมายืนยันและสนับสนุนให้รัฐบาลดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป โดยยืนยันเหตุผลถึงข้อดีที่จะเกิดต่อเกษตรกรและระบบเศรษฐกิจ และอ้างถึงผลขาดทุนของโครงการนี้ จะไม่เกินไปกว่าผลการขาดทุนตามนโยบายรับประกันราคาของพรรคการเมืองฝั่งตรงข้าม อีกทั้งยังประนามและกล่าวหาผู้ทักท้วงหรือไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว
ในเมื่อฝ่ายสนับสนุนยังยืนยันที่จะให้ดำเนินโครงการนี้ต่อ จึงน่าจะเสนอให้มอบหมายการดำเนินโครงการนี้ให้ฝ่ายที่สนับสนุนโครงการนี้ทั้งพรรคการเมืองที่ริเริ่มโครงการโดยนายทุนหรือสมาชิก ให้ได้รับสัมปทานจากรัฐในลักษณะ Turn Key with Guarantee Maximum Loss (GML) กล่าวคือ รัฐใส่ Input (เงินสนับสนุนจากรัฐตามจำนวนที่ผู้รับสัมปทานและผู้ให้สัมปทานเห็นชอบร่วมกัน) ให้ผู้รับสัมปทานและผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ไปดำเนินโครงการรวมการบริหารจัดการเพื่อส่งมอบผลงาน (Output คือ การรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในราคาที่รัฐกำหนด) โดยต้องรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในปริมาณที่ไม่น้อยกว่าที่รัฐกำหนด และต้องคงสัดส่วนทุนขั้นต่ำก่อนฤดูกาลรับซื้อข้าวเปลือกไม่น้อยกว่าที่รัฐกำหนด
เงินสนับสนุนจากรัฐตามจำนวนที่ผู้รับสัมปทานและผู้ให้สัมปทานเห็นชอบร่วมกัน เสนอให้ใช้ตัวเลขที่ฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลพอรับได้ (ที่แม้จะกระทบกระเทือนต่อจิตใจของสุจริตชนผู้เสียภาษี) แต่จะต้องไม่เกิน (Guarantee Maximum Loss, GML) ก็คือ ผลขาดทุนจากโครงการรับประกันราคาข้าวเปลือกของรัฐบาลชุดก่อนหน้า (กำหนดไว้ที่ 4000 บาทต่อตันข้าวเปลือก) หากเหลือเท่าไหร่ก็มอบให้ผู้รับสัมปทานทั้งหมด และเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการดำเนินการต่อผู้ได้รับสัมปทานและตอบแทนความดีที่ได้ริเริ่มโครงการและเสียสละเข้ามาดำเนินโครงการ เพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างจริงใจ จึงควรเพิ่มเงินสนับสนุนให้ผู้รับสัมปทานอีก 25% ของเงินสนับสนุน
ราคารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในราคาที่รัฐกำหนด ให้กำหนดไว้ที่ไม่น้อยกว่า 15,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก จะมากกว่าก็ได้ ซึ่งเป็นราคาขั้นต่ำที่ฝ่ายสนับสนุนคงได้ศึกษาและวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้มาอย่างดีแล้ว
ปริมาณรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ให้กำหนดไว้ที่ไม่น้อยกว่า 20 ล้านตันข้าวเปลือก (ตัวเลขโดยประมาณจากปีที่ผ่านมา)
สัดส่วนทุนขั้นต่ำ กำหนดโดยสัดส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 1:1.5 เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าผู้ได้รับสัมปทานจะมีเงินมาชำระให้เกษตรกรได้ภายในเวลาที่กำหนด
ตัวอย่างการคำนวน (Output)
ปริมาณข้าวเปลือกที่เข้าโครงการ 20 ล้านตัน
ราคาต่อตันข้าวเปลือก 15,000 บาท
เงินหมุนเวียนสูงสุด 300,000 ล้านบาท
ตัวอย่างการคำนวน (Input)
เงินสนับสนุนจากรัฐ 80,000 ล้านบาท
เงินเพิ่ม 25% 20,000 บาท
เงินสนับสนุนจากรัฐทั้งหมด 100,000 ล้านบาท
หมายเหตุ ตัวเลขข้างต้นเป็นประมาณการต่อปีเท่านั้น
จะเห็นได้ว่า เงินทุนหมุนเวียนสูงสุด ในกรณีที่รับจำนำอย่างเดียวโดยไม่นำข้าวเปลือกไปแปลงสภาพและขายออก จะเท่ากับ 200,000 ล้านบาท หรือ 67% ของมูลค่าโครงการแต่ละปี
แหล่งเงินทุนหมุนเวียน ผู้รับสัมปทานจะต้องมีส่วนทุนไม่น้อยกว่า 1 ใน 2.5 ในกรณีนี้คือ 80,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการรับประกันด้าน Output ว่าจะสามารถมีเงินมารับซื้อข้าวเปลือกได้จริง โดยอาจเป็นการระดมทุนจากฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลเป็นหลักก็ได้ (โดยเฉพาะเจ้าของทฤษฎี 2 สูง) หรือหากไม่เพียงพอ ก็อาจจะระดมเงินจากสมาชิกพรรคเพื่อเน้นการมีส่วนร่วม หรือระดมเงินในตลาดทุน โดยส่วนที่เหลือเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินของผู้รับสัมปทานเอง แต่ทั้งนี้ จะต้องมีส่วนทุนไม่น้อยกว่าที่กำหนด เพื่อให้ผู้รับสัมปทานมีส่วนได้เสียอย่างจริงจังต่อการดำเนินการของโครงการ
หากคิดเฉพาะเงินส่วนเพิ่มที่รัฐจ่ายให้เป็นเงินจูงใจและตอบแทนความดี ไม่รวมผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพที่อาจทำให้ผลขาดทุนน้อยกว่าเงินสนับสนุนจากรัฐ เนื่องจากเป็นการดำเนินการโดยเอกชน ROE ที่ 25% (20,000 / 80,000) และ ROA ที่ 10% (20,000 / 200,000) น่าจะทำให้ผู้รับสัมปทานสามารถระดมทุนจากผู้สนับสนุนโครงการได้อย่างไม่ยากนัก ซึ่งรวมถึงสถาบันที่จะปล่อยเงินหมุนเวียนให้ผู้รับสัมปทานด้วย
จึงอยากขอความเห็นจากเพื่อนๆ สำหรับโครงการนี้ด้วยครับ
1. ความเป็นได้ของโครงการ ภายใต้สมมติฐานที่ หากผลขาดทุนตามที่ฝ่ายสนับสนุนกำหนดไว้ไม่เกินเงินสนับสนุนจากรัฐ
2. หากเป็นการระดมทุนในตลาดทุน พาร์ 10 บาท ราคา IPO ควรจะเท่าไหร่ครับ
3. ฝ่ายสนับสนุนจะช่วยระดมทุนเพื่อซื้อหุ้นหรือไม่ครับ หากไม่ เพราะอะไร
4. ฝ่ายไม่สนับสนุนจะช่วยระดมทุนเพื่อซื้อหุ้นหรือไม่ครับ หากไม่ เพราะอะไร
Guarantee Maximum Loss (GML)
จากนโยบายรับจำนำข้าวเปลือกในราคา 15,000 บาทต่อตันข้าวเปลือกจากเกษตรกรของพรรคการเมืองที่สนับสนุนรัฐบาลนั้น มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกันอย่างสุดโต่ง ทั้งการสนับสนุนอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูที่ได้ออกมาชี้แจงถึงข้อดีที่จะเกิดขึ้นโดยตรงกับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เกิดการจับจ่ายใช้สอย และจะส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ขณะที่ฝ่ายคัดค้านที่มีการทักท้วงจากหลายฝ่ายถึงความเป็นไปได้ของโครงการ โดยเฉพาะในเรื่องของผลการขาดทุนจากดำเนินงานในโครงการนี้ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างมาก
ในระยะแรกๆ ของการดำเนินโครงการ เมื่อไม่ปรากฎว่า รัฐบาลสามารถดำเนินโครงการให้เกิดประสิทธิผลได้ตามที่มุ่งหวังไว้ เนื่องจากราคาข้าวในตลาดโลกไม่เป็นไปตามที่วาดฝันไว้ หลายฝ่ายก็ทักท้วงและเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนนโยบายดังกล่าว ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลก็ออกมายืนยันและสนับสนุนให้รัฐบาลดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป โดยยืนยันเหตุผลถึงข้อดีที่จะเกิดต่อเกษตรกรและระบบเศรษฐกิจ และอ้างถึงผลขาดทุนของโครงการนี้ จะไม่เกินไปกว่าผลการขาดทุนตามนโยบายรับประกันราคาของพรรคการเมืองฝั่งตรงข้าม อีกทั้งยังประนามและกล่าวหาผู้ทักท้วงหรือไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว
ในเมื่อฝ่ายสนับสนุนยังยืนยันที่จะให้ดำเนินโครงการนี้ต่อ จึงน่าจะเสนอให้มอบหมายการดำเนินโครงการนี้ให้ฝ่ายที่สนับสนุนโครงการนี้ทั้งพรรคการเมืองที่ริเริ่มโครงการโดยนายทุนหรือสมาชิก ให้ได้รับสัมปทานจากรัฐในลักษณะ Turn Key with Guarantee Maximum Loss (GML) กล่าวคือ รัฐใส่ Input (เงินสนับสนุนจากรัฐตามจำนวนที่ผู้รับสัมปทานและผู้ให้สัมปทานเห็นชอบร่วมกัน) ให้ผู้รับสัมปทานและผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ไปดำเนินโครงการรวมการบริหารจัดการเพื่อส่งมอบผลงาน (Output คือ การรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในราคาที่รัฐกำหนด) โดยต้องรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในปริมาณที่ไม่น้อยกว่าที่รัฐกำหนด และต้องคงสัดส่วนทุนขั้นต่ำก่อนฤดูกาลรับซื้อข้าวเปลือกไม่น้อยกว่าที่รัฐกำหนด
เงินสนับสนุนจากรัฐตามจำนวนที่ผู้รับสัมปทานและผู้ให้สัมปทานเห็นชอบร่วมกัน เสนอให้ใช้ตัวเลขที่ฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลพอรับได้ (ที่แม้จะกระทบกระเทือนต่อจิตใจของสุจริตชนผู้เสียภาษี) แต่จะต้องไม่เกิน (Guarantee Maximum Loss, GML) ก็คือ ผลขาดทุนจากโครงการรับประกันราคาข้าวเปลือกของรัฐบาลชุดก่อนหน้า (กำหนดไว้ที่ 4000 บาทต่อตันข้าวเปลือก) หากเหลือเท่าไหร่ก็มอบให้ผู้รับสัมปทานทั้งหมด และเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการดำเนินการต่อผู้ได้รับสัมปทานและตอบแทนความดีที่ได้ริเริ่มโครงการและเสียสละเข้ามาดำเนินโครงการ เพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างจริงใจ จึงควรเพิ่มเงินสนับสนุนให้ผู้รับสัมปทานอีก 25% ของเงินสนับสนุน
ราคารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในราคาที่รัฐกำหนด ให้กำหนดไว้ที่ไม่น้อยกว่า 15,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก จะมากกว่าก็ได้ ซึ่งเป็นราคาขั้นต่ำที่ฝ่ายสนับสนุนคงได้ศึกษาและวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้มาอย่างดีแล้ว
ปริมาณรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ให้กำหนดไว้ที่ไม่น้อยกว่า 20 ล้านตันข้าวเปลือก (ตัวเลขโดยประมาณจากปีที่ผ่านมา)
สัดส่วนทุนขั้นต่ำ กำหนดโดยสัดส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 1:1.5 เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าผู้ได้รับสัมปทานจะมีเงินมาชำระให้เกษตรกรได้ภายในเวลาที่กำหนด
ตัวอย่างการคำนวน (Output)
ปริมาณข้าวเปลือกที่เข้าโครงการ 20 ล้านตัน
ราคาต่อตันข้าวเปลือก 15,000 บาท
เงินหมุนเวียนสูงสุด 300,000 ล้านบาท
ตัวอย่างการคำนวน (Input)
เงินสนับสนุนจากรัฐ 80,000 ล้านบาท
เงินเพิ่ม 25% 20,000 บาท
เงินสนับสนุนจากรัฐทั้งหมด 100,000 ล้านบาท
หมายเหตุ ตัวเลขข้างต้นเป็นประมาณการต่อปีเท่านั้น
จะเห็นได้ว่า เงินทุนหมุนเวียนสูงสุด ในกรณีที่รับจำนำอย่างเดียวโดยไม่นำข้าวเปลือกไปแปลงสภาพและขายออก จะเท่ากับ 200,000 ล้านบาท หรือ 67% ของมูลค่าโครงการแต่ละปี
แหล่งเงินทุนหมุนเวียน ผู้รับสัมปทานจะต้องมีส่วนทุนไม่น้อยกว่า 1 ใน 2.5 ในกรณีนี้คือ 80,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการรับประกันด้าน Output ว่าจะสามารถมีเงินมารับซื้อข้าวเปลือกได้จริง โดยอาจเป็นการระดมทุนจากฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลเป็นหลักก็ได้ (โดยเฉพาะเจ้าของทฤษฎี 2 สูง) หรือหากไม่เพียงพอ ก็อาจจะระดมเงินจากสมาชิกพรรคเพื่อเน้นการมีส่วนร่วม หรือระดมเงินในตลาดทุน โดยส่วนที่เหลือเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินของผู้รับสัมปทานเอง แต่ทั้งนี้ จะต้องมีส่วนทุนไม่น้อยกว่าที่กำหนด เพื่อให้ผู้รับสัมปทานมีส่วนได้เสียอย่างจริงจังต่อการดำเนินการของโครงการ
หากคิดเฉพาะเงินส่วนเพิ่มที่รัฐจ่ายให้เป็นเงินจูงใจและตอบแทนความดี ไม่รวมผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพที่อาจทำให้ผลขาดทุนน้อยกว่าเงินสนับสนุนจากรัฐ เนื่องจากเป็นการดำเนินการโดยเอกชน ROE ที่ 25% (20,000 / 80,000) และ ROA ที่ 10% (20,000 / 200,000) น่าจะทำให้ผู้รับสัมปทานสามารถระดมทุนจากผู้สนับสนุนโครงการได้อย่างไม่ยากนัก ซึ่งรวมถึงสถาบันที่จะปล่อยเงินหมุนเวียนให้ผู้รับสัมปทานด้วย
จึงอยากขอความเห็นจากเพื่อนๆ สำหรับโครงการนี้ด้วยครับ
1. ความเป็นได้ของโครงการ ภายใต้สมมติฐานที่ หากผลขาดทุนตามที่ฝ่ายสนับสนุนกำหนดไว้ไม่เกินเงินสนับสนุนจากรัฐ
2. หากเป็นการระดมทุนในตลาดทุน พาร์ 10 บาท ราคา IPO ควรจะเท่าไหร่ครับ
3. ฝ่ายสนับสนุนจะช่วยระดมทุนเพื่อซื้อหุ้นหรือไม่ครับ หากไม่ เพราะอะไร
4. ฝ่ายไม่สนับสนุนจะช่วยระดมทุนเพื่อซื้อหุ้นหรือไม่ครับ หากไม่ เพราะอะไร