ความซื่อสัตย์ ของมนุษย์
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
ด้วยการมีอะมานะฮฺ (ความซื่อสัตย์) นี่เองจะเป็นปัจจัยในการปกปักษ์รักษาศาสนา รักษาชื่อเสียง รักษาทรัพย์สิน รักษาวิญญาณ รักษาวิชาความรู้ การปกครอง การทำพินัยกรรม การเป็นพยาน การตัดสินพิพากษา การจดบันทึก และเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย อัลลอฮฺตรัสว่า
“แท้จริงเราได้นำเสนออะมานะฮฺ (บัญญัติอัล-อิสลาม) แก่ชั้นฟ้า แผ่นดิน และขุนเขาทั้งหลาย แต่พวกมันปฏิเสธจะแบกรับมันและกลัวต่อมัน (คือเป็นภาระอันหนักอึ้ง) ในขณะเดียวกันมนุษย์ที่เป็นผู้อธรรมและงมงายยิ่งได้แบกรับมันไว้ แท้จริงเขา (มนุษย์) เป็นผู้ที่อธรรมงมงายยิ่ง”
( อัล-อะหฺซาบ : 72 )
นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางท่านได้ให้ความหมายโองการนี้ว่า
“อัลลอฮฺได้นำเสนอแก่บรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินให้ทำการเคารพภักดี และปฏิบัติติตามบทบัญญัติต่างๆ ของพระองค์ แล้วพระองค์จะทรงตอบแทนให้อย่างสูง แต่หากว่าบกพร่องในหน้าที่พระองค์ก็จะลงโทษอย่างแสนสาหัสเช่นกัน สิ่งเหล่านั้นไม่ขอรับเนื่องจากกลัวว่าไม่สามารถปฏิบัติตามหน้าที่นั้นได้ ท่านนบีอาดัมผู้ซึ่งได้อธรรมต่อตนเอง และไม่รู้ว่าผลจะเป็นเช่นไรก็รับอะมานะฮฺอันนี้ไว้”
(ตัฟซีรอัฎ-เฎาะบะรีย์ เล่ม 10 หน้า 339)
อิบนุญะรีรได้อธิบายสรุปว่า “ความหมายที่น่าจะดีที่สุดในการอธิบายคำว่า “อะมานะฮฺ” คือ การมีความซื่อสัตย์ในทุกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา และเรื่องราวต่างๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพราะอัลลอฮฺมิได้เจาะจงเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะ”
(ตัฟซีรอัฎ-ฏ็อบรีย์ เล่ม 10 หน้า 342)
อิหม่ามอัล-กุรฏุบีย์ กล่าวว่า บรรดานักอรรถาธิบายอัล-กุรอานส่วนใหญ่ให้ความหมายว่า“ความซื่อสัตย์ในที่นี่หมายรวมถึงทุกเรื่องราวของศาสนา”
และบางท่านให้ความหมายว่า
“ทุกอย่างที่อัลลอฮฺกำหนดให้ปวงบ่าวถือปฏิบัติเท่านั้นที่เป็นอะมานะฮฺ เช่น การละหมาด การจ่ายซะกาต การถือศีลอด การชดใช้หนี้สิน และที่สำคัญยิ่งคือการได้รับความไว้วางใจ และที่สุดของความไว้วางใจคือการรักษาความลับ”
(ตัฟซีรอัล-กุรฏุบีย์ เล่ม 14 หน้า254-255)
อิหม่ามอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ได้รายงานหะดีษจากชัดด๊าด บิน เอาส์ เล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
“สิ่งที่จะขาดหายไปจากศาสนาของพวกท่าน คือ ความซื่อสัตย์ และสิ่งสุดท้าย คือ การละหมาด”
(บันทึกโดยอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ เล่ม : 9 หน้า : 353 หมายเลข : 9754)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่าการที่ไม่มีความซื่อสัตย์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาณวันสิ้นโลก อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเกี่ยวกับวันสิ้นโลก
ท่านตอบว่า เมื่อผู้คนขาดความซื่อสัตย์ เมื่อนั้นแหล่ะจะใกล้วันสิ้นโลก
เขาถามต่อว่า การขาดความซื่อสัตย์นั้นเป็นอย่างไร ?
ท่านตอบว่า เมื่อผู้คนมอบหมายภาระหน้าที่ให้กับผู้ที่ไม่มีความเหมาะสม เมื่อนั้นแหล่ะจะถึงวันสิ้นโลก”
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หน้า : 36 หมายเลข : 59)
หุซัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงสองประการ ซึ่งฉันได้เห็นประการหนึ่งแล้ว (คือการมีอะมานะฮฺ) และกำลังรอคอยอีกประการหนึ่ง (คือความไม่ซื่อสัตย์) ท่านกล่าวว่า
“อะมานะฮฺ (อีมาน) ซึ่งมนุษย์รับผิดชอบที่จะรักษามันไว้นั้น ได้เกิดขึ้นจากส่วนลึกของจิตใจ ทำให้พวกเขายึดมั่นปฏิบัติตามอัลกุรอานและสุนนะฮฺอย่างเคร่งครัด”
และท่านนบีได้พูดเกี่ยวกับการไม่มีอะมานะฮฺของผู้คนว่า
“อะมานะฮฺจะออกจากจิตใจทีละนิดๆ ด้วยเวลาที่ไม่นานจนเหลือเพียงร่องรอยบางๆ ในเวลาต่อมาอะมานะฮฺที่เหลืออยู่เพียงร่องรอยก็จะหมดไปอย่างสิ้นเชิง ทิ้งไว้เสมือนรอยบวมของเท้าที่โดนถ่านไฟ เมื่อไม่มีอะมานะฮฺหลงเหลืออยู่เลย พวกเขาก็จะคดโกงกันในการซื้อขาย ผู้คนจะพากันสรรเสริญเยินยอต่อผู้เก่งกาจ ร่ำรวย มีศักดิ์ศรี ทั้งๆ ที่ผู้นั้นไม่มีอีมาน และมีนิสัยชั่วช้า คนดีมีอีมานกลับไม่มีใครสรรเสริญยกย่อง
ในช่วงเวลาหนึ่ง ที่ผู้คนมีอะมานะฮฺฉันไม่แยแสว่าจะเป็นใครก็ตามที่ฉันจะทำการซื้อขายกับเขา หากเขาเป็นมุสลิมเขาก็จะสมาคมกับฉันด้วยอิสลาม แต่หากเขาไม่ใช่มุสลิมเขาก็จะสมาคมกับฉันด้วยความสัจจะ แต่มาวันนี้ฉันไม่กล้าที่จะซื้อขายกับใครนอกจากคนที่ฉันเห็นว่าเขามีอะมานะฮฺเท่านั้น”
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข : 6496 และมุสลิม หมายเลข : 143)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่าการไม่มีความซื่อสัตย์เป็นส่วนหนึ่งจากเครื่องหมายของผู้กลับกลอก (นิฟาก) ท่านกล่าวว่า
“เครื่องหมายของผู้กลับกลอกมี 3 ประการ อันได้แก่
เมื่อพูดจาเขาจะโกหก เมื่อสัญญาเขาจะบิดพลิ้ว และเมื่อได้รับความไว้วางใจเขาจะไม่ซื่อสัตย์”
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 33 และมุสลิม หมายเลข : 55)
อนึ่ง อัลลอฮฺได้กล่าวถึงเรื่องของความซื่อสัตย์ (อัล-อะมานะฮฺ) ไว้ในอัล-กุรอานประกอบด้วย 3 นัยยะด้วยกัน มีดังนี้
หนึ่ง หมายถึง “ข้อกำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆ”
“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าทุจริตต่ออัลลอฮฺและเราะสูล
และอย่าได้ทุจริตต่อการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงกำหนดแก่พวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าเป็นที่รู้กันอยู่”
(อัล-อันฟาล : 27)
สอง หมายถึง “ของฝาก”
“แท้จริงอัลลอฮฺทรงใช้พวกเจ้าให้มอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของมัน
และเมื่อพวกเจ้าตัดสินระหว่างผู้คน พวกเจ้าก็จะต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม
แท้จริงอัลลอฮฺทรงแนะนำพวกเจ้าด้วยสิ่งซึ่งดีจริงๆ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยินและทรงเห็น”
(อัล-นิสาอฺ : 58)
สาม หมายถึง “การมีจิตใจที่บริสุทธิ์ รักศักดิ์ศรี”
“แท้จริงคนดีที่ท่านควรจะจ้างเขาไว้คือ ผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่ซื่อสัตย์”
(อัล-เกาะศ็อศ : 26)
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงตัวอย่างของการมีความซื่อสัตย์ อาทิเช่น
1. การรักษาความลับระหว่างสามีภรรยา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
“ในวันกิยามะฮฺผู้ที่ชั่วช้าที่สุด ณ อัลลอฮฺ คือ ผู้ที่เปิดเผยความลับเรื่องการร่วมประเวณีกับภรรยาของเขา”
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 1437)
2. การตัดสินคดีด้วยความยุติธรรม ท่านอบูซัร – เราะฎิยัลลอฮุอันฮู - เล่าว่า ฉันได้ขอให้ท่านเราะสูลแต่งตั้งฉันให้รับภาระหน้าที่ในการปกครอง ท่านได้จับไหล่ของฉันพร้อมกับกล่าวว่า
“โอ้อบูซัร ท่านนั้นอ่อนแอเกินกว่าที่จะแบกภาระหน้าที่นี้ได้ สิ่งนี้เป็นอะมานะฮฺและมันจะนำมาซึ่งความอัปยศอดสูในวันกิยามะฮฺ นอกจากผู้ที่มีความซื่อสัตย์ที่รับผิดชอบต่อภาระหน้าที่อย่างเคร่งครัดเท่านั้น”
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 1825)
3. การมีความซื่อสัตย์ของผู้นำที่มีต่อผู้อยู่ภายใต้บังคับบัญชา
4. การมีความซื่อสัตย์ของสามีต่อภรรยา
5. ความรับผิดชอบของภรรยาในการดูแลบ้านเรือนและบรรดาลูกๆ ของสามี
6. ความซื่อสัตย์ของผู้จัดการต่อเจ้าหน้าที่และพนักงานฝ่ายต่างๆ
7. ความรับผิดชอบของพนักงานต่อภาระงานและหน้าที่ๆ ได้รับความไว้วางใจ
8. ความรับผิดชอบของครูบาอาจารย์ต่อบรรดาสานุศิษย์
สรุปได้ว่า ความซื่อสัตย์มีความเกี่ยวพันกับทุกๆ กิจการงานทั้งเรื่องศาสนาและเรื่องอื่นๆ ดังทัศนะของอิหม่ามอัล-กุรฏุบีย์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ดังนั้นคำว่า “อะมานะฮฺ” หรือความซื่อสัตย์จึงมีคำนิยามที่กว้างเกินกว่าจินตนาการของคนบางคนที่มองว่าอะมานะฮฺเป็นแค่ของฝากเท่านั้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้วอะมานะฮฺของบุคคลๆ หนึ่งที่มีต่อศาสนาของเขานั้นหมายรวมถึงการปฏิบัติและรักษาหน้าที่ ฉะนั้นเวลาของมุสลิมก็ถือว่าเป็นอะมานะฮฺ เกียรติของเขาก็เป็นอะมานะฮฺ ทรัพย์สินก็เป็นอะมานะฮฺที่เขาจะต้องรับผิดชอบดูแลรักษา การฟัง การมอง การพูดและอวัยวะทั้งหมดในร่างกายล้วนแล้วเป็นอะมานะฮฺที่เขาจะต้องดูแลเอาใจใส่ให้อยู่ภายใต้การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺอยู่อย่างสม่ำเสมอ
โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงโปรดให้เราเป็นผู้ที่รักษาอะมานะฮฺด้วยเถิด และได้โปรดคุ้มครองเราให้รอดพ้นจากการทุจริต และจากคุณลักษณะที่ไม่ดีทั้งมวลด้วยเทอญ อามีน
แปลโดย : อับดุศศอมัด อัดนาน / Islamhouse
ความซื่อสัตย์ของมนุษย์กับมุมมองคำสอนศาสนาอิสลาม
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
ด้วยการมีอะมานะฮฺ (ความซื่อสัตย์) นี่เองจะเป็นปัจจัยในการปกปักษ์รักษาศาสนา รักษาชื่อเสียง รักษาทรัพย์สิน รักษาวิญญาณ รักษาวิชาความรู้ การปกครอง การทำพินัยกรรม การเป็นพยาน การตัดสินพิพากษา การจดบันทึก และเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย อัลลอฮฺตรัสว่า
“แท้จริงเราได้นำเสนออะมานะฮฺ (บัญญัติอัล-อิสลาม) แก่ชั้นฟ้า แผ่นดิน และขุนเขาทั้งหลาย แต่พวกมันปฏิเสธจะแบกรับมันและกลัวต่อมัน (คือเป็นภาระอันหนักอึ้ง) ในขณะเดียวกันมนุษย์ที่เป็นผู้อธรรมและงมงายยิ่งได้แบกรับมันไว้ แท้จริงเขา (มนุษย์) เป็นผู้ที่อธรรมงมงายยิ่ง”
( อัล-อะหฺซาบ : 72 )
นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางท่านได้ให้ความหมายโองการนี้ว่า
“อัลลอฮฺได้นำเสนอแก่บรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินให้ทำการเคารพภักดี และปฏิบัติติตามบทบัญญัติต่างๆ ของพระองค์ แล้วพระองค์จะทรงตอบแทนให้อย่างสูง แต่หากว่าบกพร่องในหน้าที่พระองค์ก็จะลงโทษอย่างแสนสาหัสเช่นกัน สิ่งเหล่านั้นไม่ขอรับเนื่องจากกลัวว่าไม่สามารถปฏิบัติตามหน้าที่นั้นได้ ท่านนบีอาดัมผู้ซึ่งได้อธรรมต่อตนเอง และไม่รู้ว่าผลจะเป็นเช่นไรก็รับอะมานะฮฺอันนี้ไว้”
(ตัฟซีรอัฎ-เฎาะบะรีย์ เล่ม 10 หน้า 339)
อิบนุญะรีรได้อธิบายสรุปว่า “ความหมายที่น่าจะดีที่สุดในการอธิบายคำว่า “อะมานะฮฺ” คือ การมีความซื่อสัตย์ในทุกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา และเรื่องราวต่างๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพราะอัลลอฮฺมิได้เจาะจงเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะ”
(ตัฟซีรอัฎ-ฏ็อบรีย์ เล่ม 10 หน้า 342)
อิหม่ามอัล-กุรฏุบีย์ กล่าวว่า บรรดานักอรรถาธิบายอัล-กุรอานส่วนใหญ่ให้ความหมายว่า“ความซื่อสัตย์ในที่นี่หมายรวมถึงทุกเรื่องราวของศาสนา”
และบางท่านให้ความหมายว่า
“ทุกอย่างที่อัลลอฮฺกำหนดให้ปวงบ่าวถือปฏิบัติเท่านั้นที่เป็นอะมานะฮฺ เช่น การละหมาด การจ่ายซะกาต การถือศีลอด การชดใช้หนี้สิน และที่สำคัญยิ่งคือการได้รับความไว้วางใจ และที่สุดของความไว้วางใจคือการรักษาความลับ”
(ตัฟซีรอัล-กุรฏุบีย์ เล่ม 14 หน้า254-255)
อิหม่ามอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ได้รายงานหะดีษจากชัดด๊าด บิน เอาส์ เล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
“สิ่งที่จะขาดหายไปจากศาสนาของพวกท่าน คือ ความซื่อสัตย์ และสิ่งสุดท้าย คือ การละหมาด”
(บันทึกโดยอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ เล่ม : 9 หน้า : 353 หมายเลข : 9754)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่าการที่ไม่มีความซื่อสัตย์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาณวันสิ้นโลก อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเกี่ยวกับวันสิ้นโลก
ท่านตอบว่า เมื่อผู้คนขาดความซื่อสัตย์ เมื่อนั้นแหล่ะจะใกล้วันสิ้นโลก
เขาถามต่อว่า การขาดความซื่อสัตย์นั้นเป็นอย่างไร ?
ท่านตอบว่า เมื่อผู้คนมอบหมายภาระหน้าที่ให้กับผู้ที่ไม่มีความเหมาะสม เมื่อนั้นแหล่ะจะถึงวันสิ้นโลก”
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หน้า : 36 หมายเลข : 59)
หุซัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงสองประการ ซึ่งฉันได้เห็นประการหนึ่งแล้ว (คือการมีอะมานะฮฺ) และกำลังรอคอยอีกประการหนึ่ง (คือความไม่ซื่อสัตย์) ท่านกล่าวว่า
“อะมานะฮฺ (อีมาน) ซึ่งมนุษย์รับผิดชอบที่จะรักษามันไว้นั้น ได้เกิดขึ้นจากส่วนลึกของจิตใจ ทำให้พวกเขายึดมั่นปฏิบัติตามอัลกุรอานและสุนนะฮฺอย่างเคร่งครัด”
และท่านนบีได้พูดเกี่ยวกับการไม่มีอะมานะฮฺของผู้คนว่า
“อะมานะฮฺจะออกจากจิตใจทีละนิดๆ ด้วยเวลาที่ไม่นานจนเหลือเพียงร่องรอยบางๆ ในเวลาต่อมาอะมานะฮฺที่เหลืออยู่เพียงร่องรอยก็จะหมดไปอย่างสิ้นเชิง ทิ้งไว้เสมือนรอยบวมของเท้าที่โดนถ่านไฟ เมื่อไม่มีอะมานะฮฺหลงเหลืออยู่เลย พวกเขาก็จะคดโกงกันในการซื้อขาย ผู้คนจะพากันสรรเสริญเยินยอต่อผู้เก่งกาจ ร่ำรวย มีศักดิ์ศรี ทั้งๆ ที่ผู้นั้นไม่มีอีมาน และมีนิสัยชั่วช้า คนดีมีอีมานกลับไม่มีใครสรรเสริญยกย่อง
ในช่วงเวลาหนึ่ง ที่ผู้คนมีอะมานะฮฺฉันไม่แยแสว่าจะเป็นใครก็ตามที่ฉันจะทำการซื้อขายกับเขา หากเขาเป็นมุสลิมเขาก็จะสมาคมกับฉันด้วยอิสลาม แต่หากเขาไม่ใช่มุสลิมเขาก็จะสมาคมกับฉันด้วยความสัจจะ แต่มาวันนี้ฉันไม่กล้าที่จะซื้อขายกับใครนอกจากคนที่ฉันเห็นว่าเขามีอะมานะฮฺเท่านั้น”
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข : 6496 และมุสลิม หมายเลข : 143)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่าการไม่มีความซื่อสัตย์เป็นส่วนหนึ่งจากเครื่องหมายของผู้กลับกลอก (นิฟาก) ท่านกล่าวว่า
“เครื่องหมายของผู้กลับกลอกมี 3 ประการ อันได้แก่
เมื่อพูดจาเขาจะโกหก เมื่อสัญญาเขาจะบิดพลิ้ว และเมื่อได้รับความไว้วางใจเขาจะไม่ซื่อสัตย์”
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 33 และมุสลิม หมายเลข : 55)
อนึ่ง อัลลอฮฺได้กล่าวถึงเรื่องของความซื่อสัตย์ (อัล-อะมานะฮฺ) ไว้ในอัล-กุรอานประกอบด้วย 3 นัยยะด้วยกัน มีดังนี้
หนึ่ง หมายถึง “ข้อกำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆ”
“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าทุจริตต่ออัลลอฮฺและเราะสูล
และอย่าได้ทุจริตต่อการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงกำหนดแก่พวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าเป็นที่รู้กันอยู่”
(อัล-อันฟาล : 27)
สอง หมายถึง “ของฝาก”
“แท้จริงอัลลอฮฺทรงใช้พวกเจ้าให้มอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของมัน
และเมื่อพวกเจ้าตัดสินระหว่างผู้คน พวกเจ้าก็จะต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม
แท้จริงอัลลอฮฺทรงแนะนำพวกเจ้าด้วยสิ่งซึ่งดีจริงๆ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยินและทรงเห็น”
(อัล-นิสาอฺ : 58)
สาม หมายถึง “การมีจิตใจที่บริสุทธิ์ รักศักดิ์ศรี”
“แท้จริงคนดีที่ท่านควรจะจ้างเขาไว้คือ ผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่ซื่อสัตย์”
(อัล-เกาะศ็อศ : 26)
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงตัวอย่างของการมีความซื่อสัตย์ อาทิเช่น
1. การรักษาความลับระหว่างสามีภรรยา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
“ในวันกิยามะฮฺผู้ที่ชั่วช้าที่สุด ณ อัลลอฮฺ คือ ผู้ที่เปิดเผยความลับเรื่องการร่วมประเวณีกับภรรยาของเขา”
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 1437)
2. การตัดสินคดีด้วยความยุติธรรม ท่านอบูซัร – เราะฎิยัลลอฮุอันฮู - เล่าว่า ฉันได้ขอให้ท่านเราะสูลแต่งตั้งฉันให้รับภาระหน้าที่ในการปกครอง ท่านได้จับไหล่ของฉันพร้อมกับกล่าวว่า
“โอ้อบูซัร ท่านนั้นอ่อนแอเกินกว่าที่จะแบกภาระหน้าที่นี้ได้ สิ่งนี้เป็นอะมานะฮฺและมันจะนำมาซึ่งความอัปยศอดสูในวันกิยามะฮฺ นอกจากผู้ที่มีความซื่อสัตย์ที่รับผิดชอบต่อภาระหน้าที่อย่างเคร่งครัดเท่านั้น”
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 1825)
3. การมีความซื่อสัตย์ของผู้นำที่มีต่อผู้อยู่ภายใต้บังคับบัญชา
4. การมีความซื่อสัตย์ของสามีต่อภรรยา
5. ความรับผิดชอบของภรรยาในการดูแลบ้านเรือนและบรรดาลูกๆ ของสามี
6. ความซื่อสัตย์ของผู้จัดการต่อเจ้าหน้าที่และพนักงานฝ่ายต่างๆ
7. ความรับผิดชอบของพนักงานต่อภาระงานและหน้าที่ๆ ได้รับความไว้วางใจ
8. ความรับผิดชอบของครูบาอาจารย์ต่อบรรดาสานุศิษย์
สรุปได้ว่า ความซื่อสัตย์มีความเกี่ยวพันกับทุกๆ กิจการงานทั้งเรื่องศาสนาและเรื่องอื่นๆ ดังทัศนะของอิหม่ามอัล-กุรฏุบีย์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ดังนั้นคำว่า “อะมานะฮฺ” หรือความซื่อสัตย์จึงมีคำนิยามที่กว้างเกินกว่าจินตนาการของคนบางคนที่มองว่าอะมานะฮฺเป็นแค่ของฝากเท่านั้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้วอะมานะฮฺของบุคคลๆ หนึ่งที่มีต่อศาสนาของเขานั้นหมายรวมถึงการปฏิบัติและรักษาหน้าที่ ฉะนั้นเวลาของมุสลิมก็ถือว่าเป็นอะมานะฮฺ เกียรติของเขาก็เป็นอะมานะฮฺ ทรัพย์สินก็เป็นอะมานะฮฺที่เขาจะต้องรับผิดชอบดูแลรักษา การฟัง การมอง การพูดและอวัยวะทั้งหมดในร่างกายล้วนแล้วเป็นอะมานะฮฺที่เขาจะต้องดูแลเอาใจใส่ให้อยู่ภายใต้การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺอยู่อย่างสม่ำเสมอ
โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงโปรดให้เราเป็นผู้ที่รักษาอะมานะฮฺด้วยเถิด และได้โปรดคุ้มครองเราให้รอดพ้นจากการทุจริต และจากคุณลักษณะที่ไม่ดีทั้งมวลด้วยเทอญ อามีน
แปลโดย : อับดุศศอมัด อัดนาน / Islamhouse