อัล-ก็อรฎ์ (การกู้ยืม)
อัล-กอรฎ์ คือการมอบทรัพย์ให้แก่บุคคลหนึ่งนำไปใช้ประโยชน์แล้วนำมาชดใช้คืน(ในภายหลัง) หรือนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่มีการชดใช้ ทั้งนี้ก็เพื่อหวังในผลบุญจากอัลลอฮฺในทั้งสองกรณี
การบัญญัติการกู้ยืม
การให้กู้ยืมถือว่าเป็นสุนัต เพราะเป็นการทำดีต่อผู้ที่มีความจำเป็นและทำให้เขาได้สมหวังเมื่อใดที่เขายิ่งมีความจำเป็นมากและการให้กู้ก็ให้เพื่อพระองค์อัลลอฮฺอย่างแท้จริงผลบุญก็จะยิ่งมากขึ้นตามไป
ความประเสริฐของการกู้ยืม
1- อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสว่า
ความว่า มีใครบ้างไหมที่จะให้อัลลอฮฺทรงยืมหนี้ที่ดี แล้วพระองค์จะทรงเพิ่มพูนหนี้นั้นให้แก่เขามากมายหลายเท่า และอัลลอฮฺนั้นทรงกำไว้และทรงแบออก และยังพระองค์เท่านั้นพวกเจ้าจะถูกนำกลับไป (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 245)
2- รายงานจากท่านอบู ฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
ความว่า ผู้ใดที่ทำให้มุอ์มินท่านหนึ่งพ้นจากความยากลำบากหนึ่งในโลกนี้ อัลลอฮฺจะช่วยให้เขาพ้นความลำบากหนึ่งในวันกิยามะฮฺ และผู้ใดให้ความสะดวกแก่ผู้ที่ลำบาก อัลลอฮฺจะให้เกิดความง่ายแก่เขาในโลกนี้และโลกหน้า และผู้ใดที่ปกปิด(สิ่งที่น่าอับอาย)ของมุสลิมคนหนึ่ง อัลลอฮฺก็จะทรงปกปิดความน่าอับอายของเขาในโลกนี้และโลกหน้า และอัลลอฮฺจะคอยช่วยเหลือบ่าวคนหนึ่งตราบที่เขาช่วยเหลือเพื่อนของเขา (บันทึกโดยมุสลิม 2699)
- การให้กู้ยืมถือว่าเป็นสุนัตสำหรับผู้ให้กู้ และเป็นสิ่งที่มุบาหฺ(อนุญาต)สำหรับผู้ขอกู้ และทุกสิ่งที่สามารถซื้อขายได้ก็ถือว่าสามารถกู้ยืมได้เมื่อใดที่รู้จำนวนแน่นอน และผู้ให้กู้เป็นบุคคลที่มีลักษณะเป็นผู้ที่สามารถบริจาคได้ ผู้กู้ก็จะต้องชดใช้คืนสิ่งที่กู้ ถ้าเป็นสิ่งที่มีสิ่งที่เหมือนกันก็ชดใช้ด้วยสิ่งที่เหมือน ถ้าไม่มีสิ่งที่เหมือนก็ชดใช้เป็นราคาที่เท่ากันแทน
- ทุกการกู้ยืมที่นำมาซึ่งผลประโยชน์(แก่ผู้ให้กู้)ถือว่าเป็นดอกเบี้ยที่ต้องห้าม เช่นให้กู้ยืมสิ่งหนึ่งโดยมีเงื่อนไขจะต้องให้(ผู้ให้กู้)ได้อาศัยในบ้าน(ของผู้กู้) หรือให้กู้ยืมทรัพย์โดยต้องให้ผลประโยชน์ เช่นให้กู้หนึ่งพันบาทโดยจะต้องจ่ายหนึ่งพันสองร้อยบาทหลังจากหนึ่งปี เป็นต้น
- การทำดีในการกู้ยืมถือว่าเป็นสิ่งสุนัตถ้าหากไม่ได้มีเงื่อนไขล่วงหน้าไว้ เช่นกู้ยืมอูฐอายุน้อย แต่จ่ายคืนเป็นอูฐวัยย่างเข้าปีที่เจ็ดแทน ทั้งนี้เพราะเป็นการชดใช้ที่ดีกว่าและเป็นมารยาทที่ดีงาม และผู้ใดให้มุสลิมคนหนึ่งกู้ยืมสองครั้ง(ได้ผลบุญ)เท่ากับเขาได้บริจาคให้คนๆ นั้นหนึ่งครั้ง
รายงานจากท่านอบู รอฟิอฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กู้ยืมอูฐอายุน้อยตัวหนึ่งจากชายคนหนึ่ง ต่อมาได้มีอูฐที่เป็นซะกาตมาถึงยังท่าน ท่านนบี จึงได้สั่งท่านอบู รอฟิอฺ นำอูฐไปชดใช้ให้แก่ชายคนนั้น (ท่านอบู รอฟิอฺ ได้ไปดูอูฐซะกาต ดังกล่าว) แล้วท่านก็ได้กลับมาหาท่านนบีและกล่าวว่า ฉันไม่พบนอกจากอูฐที่ดีๆ วัยหกปีย่างเข้าเจ็ดปี ท่านนบีได้กล่าวว่า
ความว่า จงให้อูฐที่ดีนั้นแก่เขาไป แท้จริงคนที่ดีที่สุดคือคนที่ชดใช้อย่างดีที่สุดในหมู่พวกเขา (บันทึกโดยมุสลิม 1600)
การกู้ยืมกับคำสอนศาสนาอิสลาม
อัล-กอรฎ์ คือการมอบทรัพย์ให้แก่บุคคลหนึ่งนำไปใช้ประโยชน์แล้วนำมาชดใช้คืน(ในภายหลัง) หรือนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่มีการชดใช้ ทั้งนี้ก็เพื่อหวังในผลบุญจากอัลลอฮฺในทั้งสองกรณี
การบัญญัติการกู้ยืม
การให้กู้ยืมถือว่าเป็นสุนัต เพราะเป็นการทำดีต่อผู้ที่มีความจำเป็นและทำให้เขาได้สมหวังเมื่อใดที่เขายิ่งมีความจำเป็นมากและการให้กู้ก็ให้เพื่อพระองค์อัลลอฮฺอย่างแท้จริงผลบุญก็จะยิ่งมากขึ้นตามไป
ความประเสริฐของการกู้ยืม
1- อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสว่า
ความว่า มีใครบ้างไหมที่จะให้อัลลอฮฺทรงยืมหนี้ที่ดี แล้วพระองค์จะทรงเพิ่มพูนหนี้นั้นให้แก่เขามากมายหลายเท่า และอัลลอฮฺนั้นทรงกำไว้และทรงแบออก และยังพระองค์เท่านั้นพวกเจ้าจะถูกนำกลับไป (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 245)
2- รายงานจากท่านอบู ฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
ความว่า ผู้ใดที่ทำให้มุอ์มินท่านหนึ่งพ้นจากความยากลำบากหนึ่งในโลกนี้ อัลลอฮฺจะช่วยให้เขาพ้นความลำบากหนึ่งในวันกิยามะฮฺ และผู้ใดให้ความสะดวกแก่ผู้ที่ลำบาก อัลลอฮฺจะให้เกิดความง่ายแก่เขาในโลกนี้และโลกหน้า และผู้ใดที่ปกปิด(สิ่งที่น่าอับอาย)ของมุสลิมคนหนึ่ง อัลลอฮฺก็จะทรงปกปิดความน่าอับอายของเขาในโลกนี้และโลกหน้า และอัลลอฮฺจะคอยช่วยเหลือบ่าวคนหนึ่งตราบที่เขาช่วยเหลือเพื่อนของเขา (บันทึกโดยมุสลิม 2699)
- การให้กู้ยืมถือว่าเป็นสุนัตสำหรับผู้ให้กู้ และเป็นสิ่งที่มุบาหฺ(อนุญาต)สำหรับผู้ขอกู้ และทุกสิ่งที่สามารถซื้อขายได้ก็ถือว่าสามารถกู้ยืมได้เมื่อใดที่รู้จำนวนแน่นอน และผู้ให้กู้เป็นบุคคลที่มีลักษณะเป็นผู้ที่สามารถบริจาคได้ ผู้กู้ก็จะต้องชดใช้คืนสิ่งที่กู้ ถ้าเป็นสิ่งที่มีสิ่งที่เหมือนกันก็ชดใช้ด้วยสิ่งที่เหมือน ถ้าไม่มีสิ่งที่เหมือนก็ชดใช้เป็นราคาที่เท่ากันแทน
- ทุกการกู้ยืมที่นำมาซึ่งผลประโยชน์(แก่ผู้ให้กู้)ถือว่าเป็นดอกเบี้ยที่ต้องห้าม เช่นให้กู้ยืมสิ่งหนึ่งโดยมีเงื่อนไขจะต้องให้(ผู้ให้กู้)ได้อาศัยในบ้าน(ของผู้กู้) หรือให้กู้ยืมทรัพย์โดยต้องให้ผลประโยชน์ เช่นให้กู้หนึ่งพันบาทโดยจะต้องจ่ายหนึ่งพันสองร้อยบาทหลังจากหนึ่งปี เป็นต้น
- การทำดีในการกู้ยืมถือว่าเป็นสิ่งสุนัตถ้าหากไม่ได้มีเงื่อนไขล่วงหน้าไว้ เช่นกู้ยืมอูฐอายุน้อย แต่จ่ายคืนเป็นอูฐวัยย่างเข้าปีที่เจ็ดแทน ทั้งนี้เพราะเป็นการชดใช้ที่ดีกว่าและเป็นมารยาทที่ดีงาม และผู้ใดให้มุสลิมคนหนึ่งกู้ยืมสองครั้ง(ได้ผลบุญ)เท่ากับเขาได้บริจาคให้คนๆ นั้นหนึ่งครั้ง
รายงานจากท่านอบู รอฟิอฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กู้ยืมอูฐอายุน้อยตัวหนึ่งจากชายคนหนึ่ง ต่อมาได้มีอูฐที่เป็นซะกาตมาถึงยังท่าน ท่านนบี จึงได้สั่งท่านอบู รอฟิอฺ นำอูฐไปชดใช้ให้แก่ชายคนนั้น (ท่านอบู รอฟิอฺ ได้ไปดูอูฐซะกาต ดังกล่าว) แล้วท่านก็ได้กลับมาหาท่านนบีและกล่าวว่า ฉันไม่พบนอกจากอูฐที่ดีๆ วัยหกปีย่างเข้าเจ็ดปี ท่านนบีได้กล่าวว่า
ความว่า จงให้อูฐที่ดีนั้นแก่เขาไป แท้จริงคนที่ดีที่สุดคือคนที่ชดใช้อย่างดีที่สุดในหมู่พวกเขา (บันทึกโดยมุสลิม 1600)