ขออนุญาต อ... กอปมาให้อ่านกันครับ
( ก็คิดว่าน่าอ่านละนะ ไม่งั้นคงไม่เอามา)
(1) ที่ "แก่น" (หรือ core) ของวัฒนธรรมแบบไทย ที่แตกต่างที่สุดกับวัฒนธรรมฝรั่ง
คือเราเป็นวัฒนธรรมที่วางอยู่บนฐานของการพูดหรือคำพูด (oral-based)
ในขณะที่ฝรั่งเป็นวัฒนธรรมที่วางอยู่บนฐานของตัวหนังสือ-ตัวบท (text-based)
(2) นี่ไม่ได้หมายความแค่เพียงว่าเรา "อ่านหนังสือน้อย" (เช่นที่มีการล้อเลียนกันเรื่อง "วันละ 8 บรรทัด")
แต่อยู่ที่การให้ความสำคัญต่อการพูด (oral utterance) มากกว่าต่อตัวบท
พูดแบบเป็นทางการหน่อยคือ "น้ำหนักทางสังคม" (social weight) ของคำพูดมีความสำคัญหรือมีมากกว่าตัวบท
่(3) เรื่องนี้ ดูได้จากแม้แต่ในชุมชนของคนที่มีอาชีพต้องอ่านหนังสือเขียนหนังสือโดยตรง
คือในชุมชนวิชาการ นักวิชาการยังไงก็ต้องอ่านหนังสือเขียนหนังสือมากๆแน่ๆ
แต่แม้แต่ในชุมชนนี้ และในความสัมพันธ์ของชุมชนนี้ต่อสังคมวงกว้าง ความสำคัญหรือ "น้ำหนักทางสังคม" ของตัวบทก็มีน้อยมาก
(4) ใครที่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมฝรั่ง คงรู้ว่า งานของ(ยกตัวอย่างเฉพาะนักปรัชญา) เพลโต้
เดคาร์ต ค้านท์ เฮเกล ไฮเดกเกอร์ วิตต์เกนสไตน์ ฯลฯ แต่ละคน (หรือแม้แต่หนังสือแต่ละเล่มของแต่ละคน)
ได้ generate หรือก่อให้เกิดการวิจารณ์ วิเคราะห์ วิพากษ์ (commentaries) อย่างมหาศาล
พูดแบบง่ายๆคือ นำมาซึ่งงานที่กล่าวถึงงานของคนพวกนี้เป็นตันๆ เป็นพันๆเล่ม ไม่ว่าจะผ่านไปเป็นร้อยปีก็ตาม
- นี่เป็นเพียงตัวอย่างรูปธรรมหรือปรากฏการณ์ของการที่วัฒนธรรมฝรั่งวางอยู่บนตัวบท (text-based) ดังกล่าว
(5) ในกรณีของไทย สิ่งที่ชวนสะดุดใจมากๆคือ ในประวัติศาสตร์ แม้แต่ในชุมชนวิชาการ (ที่ต้อง "อ่าน" มากๆดังกล่าว)
เรียกได้ว่า ไม่มี "ตัวบท" ใดเลย ที่กล่าวได้ว่า "มีอิทธิพล"
หรือ generate (ก่อให้เกิด) commentaries ตามมาในลักษณะเดียวกัน
แม้แต่งานเขียนทางศาสนา ("พระไตรปีฎก") - ต่างจากไบเบิ้ล -
ก็ไม่ได้มีงานศึกษา(หรือผู้ศึกษา - แม้แต่พระเอง) ตามมามากมายอะไร
ไม่มีหนังสือไทยเล่มใดในประวัติศาสตร์ที่เราสามารถกล่าวได้จริงๆว่า "ทรงอิทธิพล" ในลักษณะเดียวกับงานของฝรั่งที่กล่าวมา
แม้แต่ในชุมชนสมัยใหม่ ยกตัวอย่างง่ายๆ กรณีนิธิ ที่(ดูเหมือน)จะมีอิทธิพลทางความคิดต่อนักวิชาการมากที่สุดในยุคใกล้
เอาเข้าจริง เรียกได้ว่าไม่มีงาน commentaries ต่องานเขียนของเขาอย่างแท้จริงหรือจริงจัง
(จิตร ภูมิศักดิ์ หรือ กรมดำรงฯ ที่เชื่อว่ามีอิทธิพลทางความคิด - ลองนึกดูดีๆว่า มีงานศึกษา texts ของทั้งสองจริงจังหรือ? แทบไม่มี)
(6) นี่ไมใช่ปัญหาแค่ว่า หนังสือไทย "คุณภาพ" ไม่ได้อยู่ในระดับของเพลโต้ ค้านท์ หรือ ไฮเดกเกอร์ ฯลฯ - ระดับคุณภาพเท่าไร
สามารถ generate งานศึกษาได้ในระดับที่สอดคล้องกัน
แต่ที่ไม่มี เพราะลักษณะของวัฒนธรรมของไทย ที่ไม่ใช่วัฒนธรรม text-based
(7) ใครที่คุ้นเคยกับงานเขียนฝรั่งและวัฒนธรรมฝรั่ง คงรู้ว่า งานเขียนบางชิ้นของบรรดา"นักคิด"ฝรั่งที่ยกตัวอย่างมา
จะถูกนำมาอภิปราย ถูกนำมาวิเคราะห์วิจารณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก (เป็นร้อยๆปี)
บางกรณีกระทั่งประโยคเดียว หรือย่อหน้าเดียว ได้ generate หรือก่อให้เกิด commentaries เป็นเล่มๆ
หรือหลายสิบเล่ม ติดต่อกันมาเป็นร้อยๆปี
(8) ในขณะที่ ในวัฒนธรรมแบบไทย เรา treat หรือปฏิบัติต่อหรือมีปฏิสัมพันธ์กับ texts ในลักษณะเดียวกับเราปฏิบัติต่อคำพูด (oral)
คือมีลักษณะ "ผ่านมา-แล้วผ่านไป" คือไม่ได้ให้น้ำหนักแบบกรณีของฝรั่ง ที่ texts จะ generate other texts
(ตัวบทก่อให้เกิดตัวบท ก่อให้เกิดตัวบท และ ก่อให้เกิดตัวบทอีก ฯลฯ ไม่มีที่สิ้นสุด)
(9) ประเด็นที่เราเคยได้ยินพูดกันว่า สังคมวัฒนธรรมไทย "ไม่สนใจปัญหาในลักษณะหลักการ"
อันที่จริง ก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ของลักษณะที่เป็น "แก่น" ทางวัฒนธรรมเรื่อง oral-based นี้
คือ สิ่งที่เรียกว่า "หลักการ" (นึกถึงเรื่องกฎหมาย, หลักปรัชญา ฯลฯ) เป็นอะไรที่มีลักษณะแบบ texts
ในขณะที่วัฒนธรรมฝรั่งปฏิบัติต่อ texts ดังกล่าว (texts generate other texts, which in turn generate more texts, etc)
วัฒนธรรมไทยถือแม้แต่สิ่งที่เป็นตัวบท (กฎหมาย งานเขียน ฯลฯ) แบบเดียวกับที่ปฏิบัติต่อคำพูด ("ผ่านมา-แล้วผ่านไป")
และนี่เป็นลักษณะแม้แต่ในชุมชนที่มีอาชีพต้อง deal กับ texts โดยตรง ("นักวิชาการ")
แน่นอน เราเห็นการผลิต "งานวิจัย" อยู่ตลอดเวลา
แต่เอาเข้าจริง ลักษณะสำคัญของ "งานวิจัย" ทีเห็นก็เป็นแบบเดียวกับคำพูด คือ ผ่านมา-แล้วผ่านไป
(10) ทีน่าสะดุดใจมาก - ถ้าจะยกตัวอย่าง - ถ้าใครคุ้นเค้ยกับแวดวงกฎหมาย
จะเห็นว่าการดีเบต "ตัวบท" ในชุมชมวิชาการกฎหมายของไทยเอง ก็มีน้อยมาก
เราไม่เห็นการดีเบต วิเคราะห์ ตัวบทหรือประเด็นกฎหมายซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก อย่างทีเห็นในวัฒนธรรมตะวันตก
แน่นอน เรามีหนังสือ หรือตำรากฎหมายไม่น้อย และก็มีวารสารวิชาการกฎหมายบ้าง (แต่น่าสะดุดใจว่าน้อยมาก)
แต่ถ้าเทียบกับในวัฒนธรรมฝรั่ง จะเห็นว่า - เช่นเดียวกับในวงการอืนๆของวิชาการไทย -
ในวงการวิชาการกฎหมายไทย การดีเบต การวิเคราะห์ ฯลฯ ตัวบท ปรัชญา หลักการกฎหมายต่างๆน้อยมาก
คือมีลักษณะ "ผ่านมา-แล้วผ่านไป" เหมือนการปฏิบัติต่อคำพูด
(11) ความแตกต่างของลักษณะวัฒนธรรมฝรั่งกับไทยที่กล่าวมาข้างต้น บางครั้ง ก็มีการบรรยายกันว่า ของฝรั่งเป็น rationalism
(หรือที่วิจารณ์กันในหมู่ฝรั่งว่ามีลักษณะ intellectualist bias)
ในขณะที่ของไทยเป็นลักษณะ pragmatism
ผมเห็นว่าการบรรยายเช่นนี้ก็ถูกต้อง แต่ผมคิดว่า ไม่สามารถนำเอาลักษณะเด่นที่เป็นแก่นของวัฒนธรรมสองแบบออกมาให้เห็น
สิ่งที่เรียกว่า pragmatism ในวัฒนธรรมปรัชญาฝรั่งก็มี
แต่ถ้าใครคุ้นเคยกับงานเขียนฝรัง คงพอรู้ว่าเป็นอะไรที่ "ตลก" เหมือนกัน ที่ pragmatism ของฝรั่ง generate "ตัวบท" เป็นตันๆ
เช่นเดียวกัน คือ "ปฏิบัตินิยม" ฝรั่ง เต็มไปด้วยหนังสือเป็นตันๆที่อภิปรายเรื่อง "ปฏิบัตินิยม" และเต็มไปด้วยการดีเบตไม่มีที่สิ้นสุด
ไม่ใช่ "การปฏิบัติ" ในลักษณะของไทย ที่มีแต่การ "ปฏิบัติ" ไม่มีตัวบท!
(12) ทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่ได้ต้องการบอกว่า วัฒนธรรมแบบไหน "ดี" หรือ "ไม่ดี"
ประเด็นที่ผมสนใจ ที่เชื่อมโยงกับเรื่องนี้ คือปัญหาว่า..
ด้วยลักษณะดังกล่าว (ถ้าการวิเคราะห์ข้างต้นของผมถูกต้องหรือฟังขึ้น)
มีผลต่อการจะเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยในลักษณะ "เชิงโครงสร้าง" หรือ "ถึงราก" อย่างไร
(13) ประเด็นรูปธรรม("เล็กๆ"?)หนึ่ง ที่พอเห็นได้จากความแตกต่างทางวัฒนธรรมดังกล่าว ต่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมือง
คือ เราไม่สามารถที่จะ effect (ก่อให้เกิดผล) การเปลี่ยนแปลงด้วย texts
หรือไม่สามารถทำได้ในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมฝรั่ง
(เราสามารถพูดได้ว่า งานเขียนของล็อค หรือรุสโซ สามารถมีผลต่อการเปลี่ยนผ่านการเมืองของฝรั่งได้
จะเป็นเรื่องยากมากๆ หรือเป็นไปไม่ได้ ที่จะเห็นปรากฏการณ์ในลักษณะเดียวกัน)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เครดิต อาจารย์....ด้วยการเผยแพร่บทความ แทนการออกชื่อนะครับ
เราเป็นวัฒนธรรมที่วางอยู่บนฐานของการพูดหรือคำพูด
( ก็คิดว่าน่าอ่านละนะ ไม่งั้นคงไม่เอามา)
(1) ที่ "แก่น" (หรือ core) ของวัฒนธรรมแบบไทย ที่แตกต่างที่สุดกับวัฒนธรรมฝรั่ง
คือเราเป็นวัฒนธรรมที่วางอยู่บนฐานของการพูดหรือคำพูด (oral-based)
ในขณะที่ฝรั่งเป็นวัฒนธรรมที่วางอยู่บนฐานของตัวหนังสือ-ตัวบท (text-based)
(2) นี่ไม่ได้หมายความแค่เพียงว่าเรา "อ่านหนังสือน้อย" (เช่นที่มีการล้อเลียนกันเรื่อง "วันละ 8 บรรทัด")
แต่อยู่ที่การให้ความสำคัญต่อการพูด (oral utterance) มากกว่าต่อตัวบท
พูดแบบเป็นทางการหน่อยคือ "น้ำหนักทางสังคม" (social weight) ของคำพูดมีความสำคัญหรือมีมากกว่าตัวบท
่(3) เรื่องนี้ ดูได้จากแม้แต่ในชุมชนของคนที่มีอาชีพต้องอ่านหนังสือเขียนหนังสือโดยตรง
คือในชุมชนวิชาการ นักวิชาการยังไงก็ต้องอ่านหนังสือเขียนหนังสือมากๆแน่ๆ
แต่แม้แต่ในชุมชนนี้ และในความสัมพันธ์ของชุมชนนี้ต่อสังคมวงกว้าง ความสำคัญหรือ "น้ำหนักทางสังคม" ของตัวบทก็มีน้อยมาก
(4) ใครที่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมฝรั่ง คงรู้ว่า งานของ(ยกตัวอย่างเฉพาะนักปรัชญา) เพลโต้
เดคาร์ต ค้านท์ เฮเกล ไฮเดกเกอร์ วิตต์เกนสไตน์ ฯลฯ แต่ละคน (หรือแม้แต่หนังสือแต่ละเล่มของแต่ละคน)
ได้ generate หรือก่อให้เกิดการวิจารณ์ วิเคราะห์ วิพากษ์ (commentaries) อย่างมหาศาล
พูดแบบง่ายๆคือ นำมาซึ่งงานที่กล่าวถึงงานของคนพวกนี้เป็นตันๆ เป็นพันๆเล่ม ไม่ว่าจะผ่านไปเป็นร้อยปีก็ตาม
- นี่เป็นเพียงตัวอย่างรูปธรรมหรือปรากฏการณ์ของการที่วัฒนธรรมฝรั่งวางอยู่บนตัวบท (text-based) ดังกล่าว
(5) ในกรณีของไทย สิ่งที่ชวนสะดุดใจมากๆคือ ในประวัติศาสตร์ แม้แต่ในชุมชนวิชาการ (ที่ต้อง "อ่าน" มากๆดังกล่าว)
เรียกได้ว่า ไม่มี "ตัวบท" ใดเลย ที่กล่าวได้ว่า "มีอิทธิพล"
หรือ generate (ก่อให้เกิด) commentaries ตามมาในลักษณะเดียวกัน
แม้แต่งานเขียนทางศาสนา ("พระไตรปีฎก") - ต่างจากไบเบิ้ล -
ก็ไม่ได้มีงานศึกษา(หรือผู้ศึกษา - แม้แต่พระเอง) ตามมามากมายอะไร
ไม่มีหนังสือไทยเล่มใดในประวัติศาสตร์ที่เราสามารถกล่าวได้จริงๆว่า "ทรงอิทธิพล" ในลักษณะเดียวกับงานของฝรั่งที่กล่าวมา
แม้แต่ในชุมชนสมัยใหม่ ยกตัวอย่างง่ายๆ กรณีนิธิ ที่(ดูเหมือน)จะมีอิทธิพลทางความคิดต่อนักวิชาการมากที่สุดในยุคใกล้
เอาเข้าจริง เรียกได้ว่าไม่มีงาน commentaries ต่องานเขียนของเขาอย่างแท้จริงหรือจริงจัง
(จิตร ภูมิศักดิ์ หรือ กรมดำรงฯ ที่เชื่อว่ามีอิทธิพลทางความคิด - ลองนึกดูดีๆว่า มีงานศึกษา texts ของทั้งสองจริงจังหรือ? แทบไม่มี)
(6) นี่ไมใช่ปัญหาแค่ว่า หนังสือไทย "คุณภาพ" ไม่ได้อยู่ในระดับของเพลโต้ ค้านท์ หรือ ไฮเดกเกอร์ ฯลฯ - ระดับคุณภาพเท่าไร
สามารถ generate งานศึกษาได้ในระดับที่สอดคล้องกัน
แต่ที่ไม่มี เพราะลักษณะของวัฒนธรรมของไทย ที่ไม่ใช่วัฒนธรรม text-based
(7) ใครที่คุ้นเคยกับงานเขียนฝรั่งและวัฒนธรรมฝรั่ง คงรู้ว่า งานเขียนบางชิ้นของบรรดา"นักคิด"ฝรั่งที่ยกตัวอย่างมา
จะถูกนำมาอภิปราย ถูกนำมาวิเคราะห์วิจารณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก (เป็นร้อยๆปี)
บางกรณีกระทั่งประโยคเดียว หรือย่อหน้าเดียว ได้ generate หรือก่อให้เกิด commentaries เป็นเล่มๆ
หรือหลายสิบเล่ม ติดต่อกันมาเป็นร้อยๆปี
(8) ในขณะที่ ในวัฒนธรรมแบบไทย เรา treat หรือปฏิบัติต่อหรือมีปฏิสัมพันธ์กับ texts ในลักษณะเดียวกับเราปฏิบัติต่อคำพูด (oral)
คือมีลักษณะ "ผ่านมา-แล้วผ่านไป" คือไม่ได้ให้น้ำหนักแบบกรณีของฝรั่ง ที่ texts จะ generate other texts
(ตัวบทก่อให้เกิดตัวบท ก่อให้เกิดตัวบท และ ก่อให้เกิดตัวบทอีก ฯลฯ ไม่มีที่สิ้นสุด)
(9) ประเด็นที่เราเคยได้ยินพูดกันว่า สังคมวัฒนธรรมไทย "ไม่สนใจปัญหาในลักษณะหลักการ"
อันที่จริง ก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ของลักษณะที่เป็น "แก่น" ทางวัฒนธรรมเรื่อง oral-based นี้
คือ สิ่งที่เรียกว่า "หลักการ" (นึกถึงเรื่องกฎหมาย, หลักปรัชญา ฯลฯ) เป็นอะไรที่มีลักษณะแบบ texts
ในขณะที่วัฒนธรรมฝรั่งปฏิบัติต่อ texts ดังกล่าว (texts generate other texts, which in turn generate more texts, etc)
วัฒนธรรมไทยถือแม้แต่สิ่งที่เป็นตัวบท (กฎหมาย งานเขียน ฯลฯ) แบบเดียวกับที่ปฏิบัติต่อคำพูด ("ผ่านมา-แล้วผ่านไป")
และนี่เป็นลักษณะแม้แต่ในชุมชนที่มีอาชีพต้อง deal กับ texts โดยตรง ("นักวิชาการ")
แน่นอน เราเห็นการผลิต "งานวิจัย" อยู่ตลอดเวลา
แต่เอาเข้าจริง ลักษณะสำคัญของ "งานวิจัย" ทีเห็นก็เป็นแบบเดียวกับคำพูด คือ ผ่านมา-แล้วผ่านไป
(10) ทีน่าสะดุดใจมาก - ถ้าจะยกตัวอย่าง - ถ้าใครคุ้นเค้ยกับแวดวงกฎหมาย
จะเห็นว่าการดีเบต "ตัวบท" ในชุมชมวิชาการกฎหมายของไทยเอง ก็มีน้อยมาก
เราไม่เห็นการดีเบต วิเคราะห์ ตัวบทหรือประเด็นกฎหมายซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก อย่างทีเห็นในวัฒนธรรมตะวันตก
แน่นอน เรามีหนังสือ หรือตำรากฎหมายไม่น้อย และก็มีวารสารวิชาการกฎหมายบ้าง (แต่น่าสะดุดใจว่าน้อยมาก)
แต่ถ้าเทียบกับในวัฒนธรรมฝรั่ง จะเห็นว่า - เช่นเดียวกับในวงการอืนๆของวิชาการไทย -
ในวงการวิชาการกฎหมายไทย การดีเบต การวิเคราะห์ ฯลฯ ตัวบท ปรัชญา หลักการกฎหมายต่างๆน้อยมาก
คือมีลักษณะ "ผ่านมา-แล้วผ่านไป" เหมือนการปฏิบัติต่อคำพูด
(11) ความแตกต่างของลักษณะวัฒนธรรมฝรั่งกับไทยที่กล่าวมาข้างต้น บางครั้ง ก็มีการบรรยายกันว่า ของฝรั่งเป็น rationalism
(หรือที่วิจารณ์กันในหมู่ฝรั่งว่ามีลักษณะ intellectualist bias)
ในขณะที่ของไทยเป็นลักษณะ pragmatism
ผมเห็นว่าการบรรยายเช่นนี้ก็ถูกต้อง แต่ผมคิดว่า ไม่สามารถนำเอาลักษณะเด่นที่เป็นแก่นของวัฒนธรรมสองแบบออกมาให้เห็น
สิ่งที่เรียกว่า pragmatism ในวัฒนธรรมปรัชญาฝรั่งก็มี
แต่ถ้าใครคุ้นเคยกับงานเขียนฝรัง คงพอรู้ว่าเป็นอะไรที่ "ตลก" เหมือนกัน ที่ pragmatism ของฝรั่ง generate "ตัวบท" เป็นตันๆ
เช่นเดียวกัน คือ "ปฏิบัตินิยม" ฝรั่ง เต็มไปด้วยหนังสือเป็นตันๆที่อภิปรายเรื่อง "ปฏิบัตินิยม" และเต็มไปด้วยการดีเบตไม่มีที่สิ้นสุด
ไม่ใช่ "การปฏิบัติ" ในลักษณะของไทย ที่มีแต่การ "ปฏิบัติ" ไม่มีตัวบท!
(12) ทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่ได้ต้องการบอกว่า วัฒนธรรมแบบไหน "ดี" หรือ "ไม่ดี"
ประเด็นที่ผมสนใจ ที่เชื่อมโยงกับเรื่องนี้ คือปัญหาว่า..
ด้วยลักษณะดังกล่าว (ถ้าการวิเคราะห์ข้างต้นของผมถูกต้องหรือฟังขึ้น)
มีผลต่อการจะเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยในลักษณะ "เชิงโครงสร้าง" หรือ "ถึงราก" อย่างไร
(13) ประเด็นรูปธรรม("เล็กๆ"?)หนึ่ง ที่พอเห็นได้จากความแตกต่างทางวัฒนธรรมดังกล่าว ต่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมือง
คือ เราไม่สามารถที่จะ effect (ก่อให้เกิดผล) การเปลี่ยนแปลงด้วย texts
หรือไม่สามารถทำได้ในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมฝรั่ง
(เราสามารถพูดได้ว่า งานเขียนของล็อค หรือรุสโซ สามารถมีผลต่อการเปลี่ยนผ่านการเมืองของฝรั่งได้
จะเป็นเรื่องยากมากๆ หรือเป็นไปไม่ได้ ที่จะเห็นปรากฏการณ์ในลักษณะเดียวกัน)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้