เมื่อวันก่อนผมมีโอกาสได้อ่านการ์ตูนเรื่องนี้โดยบังเอิญ ซึ่งผมมองว่านี่อาจจะเป็นการ์ตูนที่น่าสนใจสำหรับคนที่มีประสบการณ์ในการเล่นหุ้นหรืออยู่ในตลาดหุ้น เพราะเนื้อหาของการ์ตูนเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับ “การเล่นหุ้น” จริงๆ ซึ่งอาจจะหาการ์ตูนหรือภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาแนวๆนี้ได้ไม่ง่ายนัก เพราะแม้จะมีภาพยนต์หลายเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการลงทุนในตลาดหุ้น แต่โดยมากแล้วหนังเหล่านั้นมักจะเล่าถึงผลลัพท์อันเลวร้ายจากการไล่ตามความโลภหรือกลโกงที่มีอยู่ในตลาดหุ้น มากกว่าจะเป็นเรื่องของการเล่นหุ้นจริงๆ
“นักลงทุน Z” เล่าเรื่องของเด็กมัธยมต้นชื่อ “เซนไซ” ที่ได้เข้าไปศึกษาในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งด้วยคะแนนสอบเข้าอันดับหนึ่งของรุ่น ด้วยคะแนนสอบที่โดดเด่น ทำให้เซนไซถูกชักชวนจากรุ่นพี่ในโรงเรียนให้ไปเข้าร่วมใน “ชมรมนักลงทุน” ซึ่งเป็นชมรมลับสุดยอดของโรงเรียน โดยหน้าที่ของชมรมนักลงทุนก็คือการทำกำไรจากการลงทุนรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ค่าเงิน หรือ Commodity (แต่เท่าที่อ่านมาตอนนี้จะเน้นหนักที่หุ้นครับ ไม่รู้ว่าเนื้อหาในภายภาคหน้าจะขยับไปที่การลงทุนอื่นหรือเปล่า) เพื่อนำมาใช้เป็นทุนสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนนี้ไม่เก็บค่าเทอมรวมถึงค่ากินอยู่ใดๆทั้งสิ้นจากนักเรียน โรงเรียนจะไปรอดหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของชมรมนี้ สุดท้ายตัวเอกก็ตัดสินใจเข้าชมรมมาแบบงงๆ และเรียนรู้ที่จะทำกำไรจากตลาดหุ้นให้ได้ครับ
ซึ่งแม้ว่าพลอตเรื่องอาจจะฟังดูเวอร์และเหนือจริงเกินไปบ้าง (ก็การ์ตูนนี่นะ) แต่ตัวเอกจะไม่ได้ถูกเซทมาให้เก่งเทพเมพเวอร์อะไรนะครับ แต่น่าจะเป็นตัวแทนของนักเล่นหุ้นหน้าใหม่ธรรมดาๆเลยนี่ละ ที่เข้ามาใหม่ก็ผิดพลาดแบบจังเบอร์ และยังต้องให้รุ่นพี่ในชมรมคอยสั่งสอนอยู่ทุกๆการซื้อขาย ซึ่งผู้อ่านก็จะได้เรียนรู้ถึงความผิดพลาดนั้นๆไปพร้อมกันกับตัวเอกของเรื่อง เช่น
ในช่วงแรกที่เซนไซเข้ามาในชมรม รุ่นพี่ได้ชวนเซนไซเล่นไพ่นกกระจอก ผลคือเซนไซแพ้ราบคาบ และรุ่นพี่ก็เยาะเย้ยเซนไซว่าเป็นไอ้ไก่อ่อน เซนไซเลยโต้กลับไปว่าก็เขาเพิ่งเล่นครั้งแรก จะไปเก่งเท่าคนที่เล่นมานานแล้วได้ไง
รุ่นพี่จึงบอกว่าที่เซนไซพูดมานั่นก็ถูก แต่มันก็ไม่ได้มีความหมายอะไร เพราะในแข่งขันเอาแพ้เอาชนะกัน ไม่มีใครสนใจหรอกว่าใครหน้าเก่าหน้าใหม่ ถ้าเล่นแล้วก็ต้องเล่นให้ชนะ แต่ทั้งๆที่ไม่รู้กฏกติกา เซนไซก็ยังเลือกที่จะเล่น เล่นเพราะถูกดึงดูดจากเสน่ห์ของเกม เล่นเพียงเพราะมันน่าสนุก เพราะเหตุนั้น รุ่นพี่จึงบอกว่าเซนไซเป็นไอ้ไก่อ่อน
เพราะในโลกของการลงทุน ในโลกของตลาดหุ้น มันก็เช่นเดียวกัน ผู้เล่นหน้าใหม่มักจะถูกดึงดูดด้วยความเย้ายวนของกลิ่นเงิน และรีบกระโจนเข้ามาในตลาดโดยที่แทบจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับตลาดหุ้นเลย ส่งผลให้คนเหล่านี้กลายเป็นไก่อ่อนไปในที่สุด
หรือในการลงทุนครั้งแรกของเซนไซ รุ่นพี่ได้ให้เงินทุนแก่เซนไซ 1000 ล้านเยน และให้เซนไซตัดสินใจลงทุนเอง โดยไม่ได้ให้คำแนะนำใดๆทั้งสิ้น บอกแต่เพียงว่าในตอนแรกไม่จำเป็นต้องศึกษาอะไรมากมาย อยากซื้ออะไรก็ซื้อไปเลย บริษัทที่ตัวเองชอบเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี (ถึงตรงนี้ผมแอบหวั่นใจว่าเอากันหยังงี้เลยเหรอ แต่พออ่านไปก็รู้สึกดีขึ้นครับเมื่อมาอธิบายว่าทำไมรุ่นพี่ถึงบอกแบบนี้) แค่กำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนแต่ละครั้งก็พอ ซึ่งเซนไซก็ยังไม่เข้าใจนัก แต่สุดท้ายเซนไซก็เลือกซื้อบริษัทเกมแห่งหนึ่งที่ตัวเองชื่นชอบ
ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้น หุ้นที่เซนไซซื้อขึ้นไปกว่า 10% รุ่นพี่จึงถามเซนไซว่าจะเอายังไงต่อกับหุ้นตัวนี้ เซนไซบอกว่าเค้าคิดว่ามันจะขึ้นไปได้ถึง 15% ถึงตอนนั้นเค้าจึงจะขาย ซึ่งในวันต่อมา หุ้นก็ขึ้นไปถึง 15% จริงๆ แต่เซนไซก็ยังคิดว่ามันจะขึ้นไปได้ถึง 20% สุดท้ายจึงตัดสินใจไม่ขาย
วันต่อมา ปรากฏว่าหุ้นของเซนไซตกลงอย่างหนัก จนกำไร 20% ลดลงเหลือแค่ 4% ถึงตรงนี้รุ่นพี่จึงบอกกับเซนไซว่า ในการเทรดครั้งนี้ ความผิดพลาดของเซนไซคือการ “ไม่ยอมทำตามกฏหรือกลยุทธ์ที่กำหนดเอาไว้ตั้งแต่ก่อนเทรด” เซนไซละเลยกลยุทธ์ที่ตั้งเอาไว้ตั้งแต่แรกและยอมให้ความเห็นที่เต็มไปด้วยอคติเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้กำไรที่ควรจะได้ 15% สุดท้ายต้องมาจบที่ 4% เท่านั้น
และรุ่นพี่ได้สั่งให้เซนไซไปศึกษาหุ้นที่จะซื้อให้มากขึ้น โดยอธิบายว่า ที่ตอนแรกบอกว่าไม่ต้องศึกษา เพราะมือใหม่มักจะมี Beginner Luck เสมอ เค้าต้องการให้เซนไซตระหนักถึงบทบาทของโชคที่มีอิทธิพลต่อกำไรหรือขาดทุน
หากเซนไซศึกษาหุ้นที่จะซื้อโดยใช้มุมมองของมือใหม่ แล้วเกิดทำกำไรได้ (ซึ่งเป็นผลจาก Beginner Luck) มันอาจทำให้เซนไซเข้าใจผิดไปว่าวิธีที่ตัวเองใช้จะทำให้เกิดกำไรได้แน่นอน (อันนี้ผมตีความเอานะครับ อาจจะผิดจากที่เค้าจะสื่อก็ได้ เพราะในเรื่องบอกแค่ว่าในตอนแรกเซนไซลงทุนด้วยแววตาของมือใหม่ที่มีประกาย ทำให้พระเจ้าอยากช่วยเหลือ แต่ตอนนี้แววตาของเซนไซเต็มไปด้วยความโลภ และใช้โชคที่มีไปหมดแล้ว ต่อจากนี้จะต้องใช้ฝีมือแล้ว)
โทนของเนื้อหาในสองเล่มแรกก็จะประมาณนี้ครับ จะเห็นได้ว่าเนื้อหามันค่อนข้างเกี่ยวข้องกับการเล่นหุ้นจริงๆ ทำให้นักลงทุนรายย่อยน่าจะมีอารมณ์ร่วมได้ไม่ยาก (ซึ่งถ้ามันเป็นเรื่องแบบชีวิตเสเพลของนักปั่นหุ้นหรือกลโกงปล้นชาติเราอาจจะไม่อินกันเท่าไหร่ เพราะมันไกลตัวไปนิด)
โดยสรุป หลังจากอ่านไปสองเล่ม ผมมองว่าเป็นการ์ตูนที่อ่านได้เพลินๆเรื่องหนึ่งครับ โดยเฉพาะคนที่เล่นหุ้นน่าจะสนุกไปกับมันได้ไม่ยาก แต่ก็อย่าไปคาดหวังว่าจะได้ความรู้ที่เอาไปใช้ทำกำไรหรือปรัชญาลึกซึ้งอะไรนะครับ เพราะของแบบนี้หาได้ในหนังสือเฉพาะทางจริงๆหรือจากประสบการณ์จริงจะได้ประสิทธิภาพมากกว่าอยู่แล้ว
ปล. แปลไทยผมไม่แน่ใจว่ามีเป็นเล่มไหม แต่ E-Book หาได้ใน Ookbee ครับ
ปล2. แปล Eng ไปร้อยกว่าตอนแล้ว
[รีวิว + เล่าเนื้อเรื่อง] “Investor Z” การ์ตูนญี่ปุ่นที่ว่าด้วยเรื่องของการลงทุนในตลาดหุ้น
เมื่อวันก่อนผมมีโอกาสได้อ่านการ์ตูนเรื่องนี้โดยบังเอิญ ซึ่งผมมองว่านี่อาจจะเป็นการ์ตูนที่น่าสนใจสำหรับคนที่มีประสบการณ์ในการเล่นหุ้นหรืออยู่ในตลาดหุ้น เพราะเนื้อหาของการ์ตูนเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับ “การเล่นหุ้น” จริงๆ ซึ่งอาจจะหาการ์ตูนหรือภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาแนวๆนี้ได้ไม่ง่ายนัก เพราะแม้จะมีภาพยนต์หลายเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการลงทุนในตลาดหุ้น แต่โดยมากแล้วหนังเหล่านั้นมักจะเล่าถึงผลลัพท์อันเลวร้ายจากการไล่ตามความโลภหรือกลโกงที่มีอยู่ในตลาดหุ้น มากกว่าจะเป็นเรื่องของการเล่นหุ้นจริงๆ
“นักลงทุน Z” เล่าเรื่องของเด็กมัธยมต้นชื่อ “เซนไซ” ที่ได้เข้าไปศึกษาในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งด้วยคะแนนสอบเข้าอันดับหนึ่งของรุ่น ด้วยคะแนนสอบที่โดดเด่น ทำให้เซนไซถูกชักชวนจากรุ่นพี่ในโรงเรียนให้ไปเข้าร่วมใน “ชมรมนักลงทุน” ซึ่งเป็นชมรมลับสุดยอดของโรงเรียน โดยหน้าที่ของชมรมนักลงทุนก็คือการทำกำไรจากการลงทุนรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ค่าเงิน หรือ Commodity (แต่เท่าที่อ่านมาตอนนี้จะเน้นหนักที่หุ้นครับ ไม่รู้ว่าเนื้อหาในภายภาคหน้าจะขยับไปที่การลงทุนอื่นหรือเปล่า) เพื่อนำมาใช้เป็นทุนสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนนี้ไม่เก็บค่าเทอมรวมถึงค่ากินอยู่ใดๆทั้งสิ้นจากนักเรียน โรงเรียนจะไปรอดหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของชมรมนี้ สุดท้ายตัวเอกก็ตัดสินใจเข้าชมรมมาแบบงงๆ และเรียนรู้ที่จะทำกำไรจากตลาดหุ้นให้ได้ครับ
ซึ่งแม้ว่าพลอตเรื่องอาจจะฟังดูเวอร์และเหนือจริงเกินไปบ้าง (ก็การ์ตูนนี่นะ) แต่ตัวเอกจะไม่ได้ถูกเซทมาให้เก่งเทพเมพเวอร์อะไรนะครับ แต่น่าจะเป็นตัวแทนของนักเล่นหุ้นหน้าใหม่ธรรมดาๆเลยนี่ละ ที่เข้ามาใหม่ก็ผิดพลาดแบบจังเบอร์ และยังต้องให้รุ่นพี่ในชมรมคอยสั่งสอนอยู่ทุกๆการซื้อขาย ซึ่งผู้อ่านก็จะได้เรียนรู้ถึงความผิดพลาดนั้นๆไปพร้อมกันกับตัวเอกของเรื่อง เช่น
ในช่วงแรกที่เซนไซเข้ามาในชมรม รุ่นพี่ได้ชวนเซนไซเล่นไพ่นกกระจอก ผลคือเซนไซแพ้ราบคาบ และรุ่นพี่ก็เยาะเย้ยเซนไซว่าเป็นไอ้ไก่อ่อน เซนไซเลยโต้กลับไปว่าก็เขาเพิ่งเล่นครั้งแรก จะไปเก่งเท่าคนที่เล่นมานานแล้วได้ไง
รุ่นพี่จึงบอกว่าที่เซนไซพูดมานั่นก็ถูก แต่มันก็ไม่ได้มีความหมายอะไร เพราะในแข่งขันเอาแพ้เอาชนะกัน ไม่มีใครสนใจหรอกว่าใครหน้าเก่าหน้าใหม่ ถ้าเล่นแล้วก็ต้องเล่นให้ชนะ แต่ทั้งๆที่ไม่รู้กฏกติกา เซนไซก็ยังเลือกที่จะเล่น เล่นเพราะถูกดึงดูดจากเสน่ห์ของเกม เล่นเพียงเพราะมันน่าสนุก เพราะเหตุนั้น รุ่นพี่จึงบอกว่าเซนไซเป็นไอ้ไก่อ่อน
เพราะในโลกของการลงทุน ในโลกของตลาดหุ้น มันก็เช่นเดียวกัน ผู้เล่นหน้าใหม่มักจะถูกดึงดูดด้วยความเย้ายวนของกลิ่นเงิน และรีบกระโจนเข้ามาในตลาดโดยที่แทบจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับตลาดหุ้นเลย ส่งผลให้คนเหล่านี้กลายเป็นไก่อ่อนไปในที่สุด
หรือในการลงทุนครั้งแรกของเซนไซ รุ่นพี่ได้ให้เงินทุนแก่เซนไซ 1000 ล้านเยน และให้เซนไซตัดสินใจลงทุนเอง โดยไม่ได้ให้คำแนะนำใดๆทั้งสิ้น บอกแต่เพียงว่าในตอนแรกไม่จำเป็นต้องศึกษาอะไรมากมาย อยากซื้ออะไรก็ซื้อไปเลย บริษัทที่ตัวเองชอบเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี (ถึงตรงนี้ผมแอบหวั่นใจว่าเอากันหยังงี้เลยเหรอ แต่พออ่านไปก็รู้สึกดีขึ้นครับเมื่อมาอธิบายว่าทำไมรุ่นพี่ถึงบอกแบบนี้) แค่กำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนแต่ละครั้งก็พอ ซึ่งเซนไซก็ยังไม่เข้าใจนัก แต่สุดท้ายเซนไซก็เลือกซื้อบริษัทเกมแห่งหนึ่งที่ตัวเองชื่นชอบ
ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้น หุ้นที่เซนไซซื้อขึ้นไปกว่า 10% รุ่นพี่จึงถามเซนไซว่าจะเอายังไงต่อกับหุ้นตัวนี้ เซนไซบอกว่าเค้าคิดว่ามันจะขึ้นไปได้ถึง 15% ถึงตอนนั้นเค้าจึงจะขาย ซึ่งในวันต่อมา หุ้นก็ขึ้นไปถึง 15% จริงๆ แต่เซนไซก็ยังคิดว่ามันจะขึ้นไปได้ถึง 20% สุดท้ายจึงตัดสินใจไม่ขาย
วันต่อมา ปรากฏว่าหุ้นของเซนไซตกลงอย่างหนัก จนกำไร 20% ลดลงเหลือแค่ 4% ถึงตรงนี้รุ่นพี่จึงบอกกับเซนไซว่า ในการเทรดครั้งนี้ ความผิดพลาดของเซนไซคือการ “ไม่ยอมทำตามกฏหรือกลยุทธ์ที่กำหนดเอาไว้ตั้งแต่ก่อนเทรด” เซนไซละเลยกลยุทธ์ที่ตั้งเอาไว้ตั้งแต่แรกและยอมให้ความเห็นที่เต็มไปด้วยอคติเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้กำไรที่ควรจะได้ 15% สุดท้ายต้องมาจบที่ 4% เท่านั้น
และรุ่นพี่ได้สั่งให้เซนไซไปศึกษาหุ้นที่จะซื้อให้มากขึ้น โดยอธิบายว่า ที่ตอนแรกบอกว่าไม่ต้องศึกษา เพราะมือใหม่มักจะมี Beginner Luck เสมอ เค้าต้องการให้เซนไซตระหนักถึงบทบาทของโชคที่มีอิทธิพลต่อกำไรหรือขาดทุน
หากเซนไซศึกษาหุ้นที่จะซื้อโดยใช้มุมมองของมือใหม่ แล้วเกิดทำกำไรได้ (ซึ่งเป็นผลจาก Beginner Luck) มันอาจทำให้เซนไซเข้าใจผิดไปว่าวิธีที่ตัวเองใช้จะทำให้เกิดกำไรได้แน่นอน (อันนี้ผมตีความเอานะครับ อาจจะผิดจากที่เค้าจะสื่อก็ได้ เพราะในเรื่องบอกแค่ว่าในตอนแรกเซนไซลงทุนด้วยแววตาของมือใหม่ที่มีประกาย ทำให้พระเจ้าอยากช่วยเหลือ แต่ตอนนี้แววตาของเซนไซเต็มไปด้วยความโลภ และใช้โชคที่มีไปหมดแล้ว ต่อจากนี้จะต้องใช้ฝีมือแล้ว)
โทนของเนื้อหาในสองเล่มแรกก็จะประมาณนี้ครับ จะเห็นได้ว่าเนื้อหามันค่อนข้างเกี่ยวข้องกับการเล่นหุ้นจริงๆ ทำให้นักลงทุนรายย่อยน่าจะมีอารมณ์ร่วมได้ไม่ยาก (ซึ่งถ้ามันเป็นเรื่องแบบชีวิตเสเพลของนักปั่นหุ้นหรือกลโกงปล้นชาติเราอาจจะไม่อินกันเท่าไหร่ เพราะมันไกลตัวไปนิด)
โดยสรุป หลังจากอ่านไปสองเล่ม ผมมองว่าเป็นการ์ตูนที่อ่านได้เพลินๆเรื่องหนึ่งครับ โดยเฉพาะคนที่เล่นหุ้นน่าจะสนุกไปกับมันได้ไม่ยาก แต่ก็อย่าไปคาดหวังว่าจะได้ความรู้ที่เอาไปใช้ทำกำไรหรือปรัชญาลึกซึ้งอะไรนะครับ เพราะของแบบนี้หาได้ในหนังสือเฉพาะทางจริงๆหรือจากประสบการณ์จริงจะได้ประสิทธิภาพมากกว่าอยู่แล้ว
ปล. แปลไทยผมไม่แน่ใจว่ามีเป็นเล่มไหม แต่ E-Book หาได้ใน Ookbee ครับ
ปล2. แปล Eng ไปร้อยกว่าตอนแล้ว