หลากหลายข้อสงสัย-เกี่ยวกับเอชไอวี

1.    พ่อติดเชื้อเอชไอวี แต่แม่ไม่มีเชื้อเอชไอวี ลูกจะติดเชื้อเอชไอวีไหม?
ไม่ติดครับ เพราะลูกที่ติดเอชไอวีจะต้องติดจากแม่เท่านั้น เชื้ออสุจิจากพ่อไม่มีเชื้อเอชไอวี (ยกเว้นน้ำอสุจิ)

2.    นมแม่ที่มีเชื้อเอชไอวีจะติดลูกไหม?
ติดครับ เดี๋ยวนี้เขาห้ามแม่ที่มีเชื้อเอชไอวีให้ลูกดูดนม แต่ให้ใช้นมผงแทน

3.    อยู่บ้านเดียวกัน จะติดเชื้อเอชไอวีไหม?
ถ้าไม่มีเพศสัมพันธ์ก็ไม่ติด ถ้าเพียงแค่อยู่บ้านเดียวกัน กินข้าวด้วยกัน จับมือถูกเนื้อต้องตัวตามปกติ นอนเตียงเดียวกัน ใช้ห้องน้ำร่วมกัน ซักเสื้อผ้าร่วมกัน แค่นี้ไม่ติดครับ

4.    คู่นอนมีเชื้อเอชไอวีมีโอกาสติดเรามากแค่ไหน?
โอกาสรับเชื้อมีมาก คำว่ามีมากก็ไม่ได้แปลว่าต้องติดเสมอไป เพราะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่การใช้ถุงยางอนามัยป้องกันก็ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อได้ นอกจากนั้นถ้าหากว่าคู่นอนที่รับประทานยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอจนมีปริมาณเชื้อไวรัสต่ำโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อติดต่อไปยังคนอื่นก็น้อยลงเช่นกันครับนอกจากนั้นการคนที่จะติดเชื้อต้องมีการกระทำที่"บ่อยครั้ง" หรือ"ซ้ำซาก" และขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย และยังขึ้นอยู่กับช่องทางการมีเพศสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการร่วมเพศครั้งเดียวกับคนมีเชื้ออาจติดเอชไอวีก็ได้ ไม่ติดก็ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่ใช่ภรรยาหรือสามีละก้อใส่ถุงยางอนามัยดีที่สุด เพราะพลาดแล้วไม่มีโอกาสแก้ตัวอย่าเสี่ยงดีกว่า

5.    จูบคุณคิดว่าไม่สำคัญ?
ก็ไม่สำคัญจริงๆแหละ ในน้ำลายมีปริมาณเชื้อน้อย จูบธรรมดาไม่ติดหรอกครับ มีคนคำนวณว่าปริมาณน้ำลายที่มีเชื้อพอที่จะติดต่อกัน ต้องมีอย่างน้อย 1 ขวดลิตร

6.    ลงอ่างติดเอชไอวีไหม?
ปกติเชื้อไวรัสเอชไอวีมักใจเสาะ โดนน้ำอุ่นในอ่าง โดนสบู่จำนวนไวรัสก็ตายไปแยะแล้ว ยิ่งเจอน้ำประปาในเมืองไทยกลิ่นคลอรีนคลุ้งไปหมดเชื้อเอชไอวีก็อยู่ไม่ได้แล้ว ดังนั้นถ้าไปอาบน้ำเฉยๆ ก็สบายใจได้เลยครับ

7.    ใช้ห้องน้ำร่วมกับคนมีเชื้อเอชไอวี..ติดไหม?
อุจจาระและน้ำปัสสาวะมีปริมาณไวรัสที่น้อยมากจนไม่สามารถติดต่อกันได้ ดีไม่ดีโดนน้ำยาฆ่าเชื้อก็หงิกไปเลย ส่วนน้ำอสุจิหรือน้ำจากช่องคลอดก็ไม่สามารถอยู่ในห้องน้ำได้นาน แม้จะสัมผัสถูกผิวหนังบางส่วนนอกร่างกายก็ไม่สามารถผ่านสู่ร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการใช้น้ำยาล้างห้องน้ำทำความสะอาดเป็นครั้งคราวก็ช่วยได้เยอะ เพราะน้ำยาเหล่านี้เป็นตัวฆ่าเชื้อเอชไอวีโดยตรงทีเดียว

8.    กินอาหารกับคนมีเชื้อเอชไอวี ติดไหม?
ไม่ติดครับ น้ำลายมีปริมาณเชื้อน้อยมากจนไม่สามารถติดต่อกันได้ และถ้าเป็นอาหารร้อนๆยิ่งทำให้เชื้อเอชไอวีตายเร็วขึ้น แม้เชื้อเอชไอวีจะลงสู่กระเพาะก็จะโดนกรดในกระเพาะทำลายไป ยังไม่เคยมีรายงานว่ามีคนติดเชื้อเอชไอวีโดยวิธีนี้ ถ้ากลัวมากใช้ช้อนกลางครับ

9.    คนทำอาหารมีเลือดออก จะติดไหม?
เลือดที่หยดลงอาหาร ถ้าอาหารนั้นได้ผ่านการอุ่นหรือหรือทำให้ร้อน 50 องศาเซลเซียส นานกว่า 15 นาที เชื้อเอชไอวีก็ตายหมดแล้ว แต่ถ้ายังไม่ได้อุ่นก็มีสิทธิ์ได้ (แต่ไม่มาก) ถ้าปากเรา ฟันเรา เหงือกเรา ไม่มีแผล ไม่ผุไม่อักเสบ ก็ไม่มีอะไรน่ากลัวเท่าไหร่

10.    ในสระว่ายน้ำด้วยกัน จะติดไหม?
แม้จะมีเลือด น้ำเหลือง หรือน้ำอสุจิ หรือน้ำจากช่องคลอด น้ำปัสสาวะลงไปในสระ มันก็จะถูกเจือจาง ไปจนปริมาณไม่เข้มข้นพอที่จะติดต่อได้ และคลอรีนในสระก็เป็นตัวฆ่าเชื้อโรค ที่ดีอีกด้วย ไม่มีอะไรต้องห่วงครับ

11.    ยุงกัด ติดไหม?
ยุงไม่ใช่พาหะนำเชื้อเอชไอวีได้ เหมือนยุงลายนำเชื้อไข้เลือดออก หรือยุงก้นปล่องนำเชื้อมาลาเรีย เชื้อเอชไอวีเองก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในตัวยุงได้นานเมื่อยุงดูดเลือดคนที่มีเชื้อเอชไอวีไปแล้วไม่นานเชื้อจะตายอยู่ในกระเพาะยุง เมื่อยุงไปกัดคนอื่นก็ไม่ติดต่อ อีกอย่างเชื้อเอชไอวีไม่สามารถแบ่งตัวหรือเจริญเติบโตในกระเพาะยุงได้ จึงไม่สามารถเล็ดลอดไปสู่น้ำลายยุง จึงไม่ติดต่อ แล้วปากยุงที่เพิ่งกัดคนมีเลือดเอชไอวีบวกล่ะ ข้อนั้นไม่ต้องห่วงเพราะปากยุงมักไม่มีเลือดติดอยู่หรือ แม้จะมีก็น้อยมาก ไม่เหมือนเข็มฉีดยา ที่อาจมีเลือดติดซ่อนอยู่ได้ ดังนั้นถึงแม้จะกัดคนหลายคนก็ไม่ติดครับ เคยมีการศึกษาให้ยุงไปกัดคนที่มีเชื้อเอชไอวี หลังจากนั้น 4 ชั่วโมง

12.    คนบ้าเที่ยวเอาเข็มมาไล่ทิ่มชาวบ้าน จะติดไหม?
ถ้าคนบ้านั้นมีเชื้อเอชไอวีใช้เข็มทิ่มแทงตัวเองมีเลือดสดๆติดอยู่ก็มีสิทธิ์ติด แต่ถ้าเข็มที่โดนเลือดมานานเป็นชั่วโมงปริมาณเชื้อก็จะตายไปแยะ โอกาสติดก็น้อยลงครับ

13.    ใช้เสื้อผ้าร่วมกับคนมีเชื้อเอดส์ติดไหม?
ไม่ติดแน่นอน ไม่ว่าเสื้อผ้านั้นจะซักหรือไม่ซักก็ตาม เพราะเหงื่อ (หรืออาจมีน้ำลายด้วย) ไม่มีปริมาณมากพอที่จะก่อโรคได้ (แม้เรามีแผลก็ตาม) ยิ่งถ้าได้ซักก่อนโดนผงซักฟอก โดนเครื่องซักผ้าหมุนติ้วอย่างนั้นก็เวียนหัวตายไปแล้วครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก    bangkokhealth.com

Report by LIV APCO
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่