โลกโซเชียลฯแห่แชร์เรื่องเล่า "ข้างบ้านทำน้ำพริกขาย" คาดเป็นข้อมูลของอีกฝ่ายเพื่อหักล้าง "แม่ประนอม" ระบุ "ลูกสาวคนโต" ไม่ต้องการให้เซ้งแผงขายน้ำพริกที่ตลาด เพื่อดูแลให้ลูกจ้างมีงานมีเงินใช้ แต่ "น้องสาว" อยากได้เงินก้อนเลยยุ "แม่" ออกสื่อสร้างเรื่องดราม่า
วานนี้ (27 มี.ค.) ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า "Pat Hemasuk" ได้โพสต์บทความเล่าเรื่องข้างบ้านทำน้ำพริกขาย โดยมีคนแห่แชร์เป็นจำนวนมาก คาดกันว่าเป็นความจริงอีกด้านของกรณีมรดก นางประนอม แดงสุภา หรือ แม่ประนอม เจ้าของกิจการน้ำพริกเผาชื่อดัง
บทความดังกล่าวระบุว่า "ข้างบ้านผมเขาทำน้ำพริกขายครับ ทำมานานตั้งแต่แม่หาบขายที่ตลาด แต่โชคดีที่น้ำพริกติดปากคนในซอยบ้านผมและตลาดนัดใกล้บ้าน ก็เลยทำขายมากขึ้น จากพ่อแม่ลูกนั่งโขลกด้วยครกกันก็กลายเป็นเครื่องปั่นเครื่องบด จากหาบก็พัฒนากลายเป็นรถเข็น ต่อมาก็ไม่พอขายจนต้องไปจ้างคนในซอยบ้านมาช่วยทำงาน จากรถเข็นก็กลายเป็นเช่าแผงในตลาดขายถาวรเสียเลย ส่งลูกทุกคนเรียนได้สูงๆ ตามที่ลูกอยากจะเรียน
พอพ่อแม่แก่ตัวลงลูกๆ ก็เข้ามาดูแลพวกลูกจ้างโขลกน้ำพริกเอง ลูกคนโตเก่งกว่าสักหน่อยเพราะดูแลงานมาตั้งแต่แม่เริ่มจ้างคนมาช่วย และไม่อยากจะทำน้ำพริกของแม่อย่างเดียว ก็ไปทำธุรกิจปลูกทาวเฮาส์ขายของตัวเองกับสามี แต่ก็ยังดูแลคนงานที่จ้างมาโขลกน้ำพริกขายน้ำพริกแทนแม่ที่ตลาดมาหลายสิบปีให้ยังมีงานทำน้ำพริกต่อไปไม่ต้องตกงาน
แต่ลูกคนน้องกลับคิดว่าน้ำพริกแม่ติดตลาดแล้ว จะเซ้งแผงของแม่ที่ตลาดพร้อมยี่ห้อน้ำพริกไปน่าจะได้เงินเป็นก้อนดี เพราะเงินที่ได้มาต่อปีก็มากอยู่ เลยไปถามแม่ว่าจะเอาไหม แม่ก็เห็นด้วยว่าได้เงินก้อนก็ดีเพราะแม่ก็ไม่ได้ทำน้ำพริกนานแล้ว อายุแม่ก็ไม่น้อย มีร้านน้ำพริกหรือไม่มีร้านก็เดือดร้อนอะไร แม่กับน้องก็เลยตกลงกันว่าจะขายแผงในตลาดเอาเงินก้อนมาใช้ดีกว่า
ลูกสาวคนโตก็เลยไม่ยอม บอกกับแม่ว่า พ่อสั่งเสียเอาไว้ว่าให้หนูดูแลเรื่องขายน้ำพริกก่อนตาย เซ็นต์ชื่อโอนแผงให้หนูดูแล ให้เก็บแผงขายน้ำพริกในตลาดให้ถึงรุ่นหลาน เพราะเซ้งแผงไปแล้วคนงานที่จ้างมานานก็ต้องเลิกจ้าง แล้วคนพวกนี้จะเอาอะไรกิน คนงานก็มีลูกเต้าต้องส่งเสียเรียนหนังสือไม่ต่างกับแม่ตอนนั้นเหมือนกัน อย่างน้อยพวกหลานๆ ของแม่ในรุ่นต่อไปถ้าไม่รู้จะทำอะไรก็ยังขายน้ำพริกของยายทำมาหากินในตลาดได้ และอีกอย่างคือคนที่ดูแลแผงขายน้ำพริกกับคนงานตำน้ำพริกคือหนูเองกับพ่อ ขออนุญาตกับทาง อย.ก็หนูเองเป็นคนไปขอกับทางอำเภอตอนทำน้ำพริกกระป๋องขายงานโอท็อปกับพ่อ ไม่ใช่แม่กับน้องที่อยู่เฉยๆ แต่กินเงินกำไรจากแผงลอยในตลาดมาเป็นสิบปีแล้ว
น้องก็ไม่ยอมเพราะอยากได้เงินก้อนเลยบอกแม่ว่าอย่างนี้ไปฟ้องสมภารวัดข้างบ้านเลยดีกว่า เอามันกลางศาลางานบุญวันพระนี่แหละคนเยอะดี น้องเลยดันหลังแม่ไปนั่งร้องไห้ให้สมภารฟัง คราวนี้คนทั้งศาลาเลยด่าลูกคนโตว่ามันช่างชั่วช้าเลวทรามเสียนี่กระไร โกงได้แม้กระทั่งแม่ แต่ลูกคนโตก็เงียบอยู่เพราะถ้าขืนออกมาพูดว่าอะไรเป็นอะไรก็เท่ากับด่าแม่ตัวเองทางอ้อมให้ชาวบ้านฟังว่า
เลยต้องยอมทนก้มหน้าให้ชาวบ้านด่าต่อไป
คราวนี้พวกลูกจ้างคนงานก็บอกกับลูกคนโตว่า เจ๊สั่งมาเลยว่าจะเอาอย่างไร จะให้พวกหนูลุยไหม เพราะที่ขายน้ำพริกในตลาดมาหลายสิบปีก็เพราะเจ๊บริหาร ไม่ใช่แม่กับน้องที่กินแต่ส่วนแบ่งอย่างเดียว ถ้าแผงในตลาดโดนเซ้งพวกหนูก็อดตายเหมือนกัน ทำน้ำพริกมาตั้งแต่รุ่นแม่เป็นคนงานจนถึงรุ่นลูก เจ๊ก็จ้างต่อเนื่องดูแลคนงานมาอย่างดี พวกหนูนัดหยุดงานแห่กันไปฟ้องสมภารเล่าความจริงก็ได้นะ เจ๊สั่งคำเดียวเดี๋ยวพวกหนูลุยเอง
เรื่องนี้จะจบอย่างไรโปรดติดตามตอนต่อไปว่าวันพระหน้าที่ศาลาวัดจะมีดราม่าเหมือนวันพระที่ผ่านมาหรือไม่ Tsu Zu Ku"
cr: www.manager.com
แห่แชร์เรื่องเล่า "ข้างบ้านขายน้ำพริก" ความจริงอีกด้านหักล้าง "แม่ประนอม" ?
วานนี้ (27 มี.ค.) ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า "Pat Hemasuk" ได้โพสต์บทความเล่าเรื่องข้างบ้านทำน้ำพริกขาย โดยมีคนแห่แชร์เป็นจำนวนมาก คาดกันว่าเป็นความจริงอีกด้านของกรณีมรดก นางประนอม แดงสุภา หรือ แม่ประนอม เจ้าของกิจการน้ำพริกเผาชื่อดัง
บทความดังกล่าวระบุว่า "ข้างบ้านผมเขาทำน้ำพริกขายครับ ทำมานานตั้งแต่แม่หาบขายที่ตลาด แต่โชคดีที่น้ำพริกติดปากคนในซอยบ้านผมและตลาดนัดใกล้บ้าน ก็เลยทำขายมากขึ้น จากพ่อแม่ลูกนั่งโขลกด้วยครกกันก็กลายเป็นเครื่องปั่นเครื่องบด จากหาบก็พัฒนากลายเป็นรถเข็น ต่อมาก็ไม่พอขายจนต้องไปจ้างคนในซอยบ้านมาช่วยทำงาน จากรถเข็นก็กลายเป็นเช่าแผงในตลาดขายถาวรเสียเลย ส่งลูกทุกคนเรียนได้สูงๆ ตามที่ลูกอยากจะเรียน
พอพ่อแม่แก่ตัวลงลูกๆ ก็เข้ามาดูแลพวกลูกจ้างโขลกน้ำพริกเอง ลูกคนโตเก่งกว่าสักหน่อยเพราะดูแลงานมาตั้งแต่แม่เริ่มจ้างคนมาช่วย และไม่อยากจะทำน้ำพริกของแม่อย่างเดียว ก็ไปทำธุรกิจปลูกทาวเฮาส์ขายของตัวเองกับสามี แต่ก็ยังดูแลคนงานที่จ้างมาโขลกน้ำพริกขายน้ำพริกแทนแม่ที่ตลาดมาหลายสิบปีให้ยังมีงานทำน้ำพริกต่อไปไม่ต้องตกงาน
แต่ลูกคนน้องกลับคิดว่าน้ำพริกแม่ติดตลาดแล้ว จะเซ้งแผงของแม่ที่ตลาดพร้อมยี่ห้อน้ำพริกไปน่าจะได้เงินเป็นก้อนดี เพราะเงินที่ได้มาต่อปีก็มากอยู่ เลยไปถามแม่ว่าจะเอาไหม แม่ก็เห็นด้วยว่าได้เงินก้อนก็ดีเพราะแม่ก็ไม่ได้ทำน้ำพริกนานแล้ว อายุแม่ก็ไม่น้อย มีร้านน้ำพริกหรือไม่มีร้านก็เดือดร้อนอะไร แม่กับน้องก็เลยตกลงกันว่าจะขายแผงในตลาดเอาเงินก้อนมาใช้ดีกว่า
ลูกสาวคนโตก็เลยไม่ยอม บอกกับแม่ว่า พ่อสั่งเสียเอาไว้ว่าให้หนูดูแลเรื่องขายน้ำพริกก่อนตาย เซ็นต์ชื่อโอนแผงให้หนูดูแล ให้เก็บแผงขายน้ำพริกในตลาดให้ถึงรุ่นหลาน เพราะเซ้งแผงไปแล้วคนงานที่จ้างมานานก็ต้องเลิกจ้าง แล้วคนพวกนี้จะเอาอะไรกิน คนงานก็มีลูกเต้าต้องส่งเสียเรียนหนังสือไม่ต่างกับแม่ตอนนั้นเหมือนกัน อย่างน้อยพวกหลานๆ ของแม่ในรุ่นต่อไปถ้าไม่รู้จะทำอะไรก็ยังขายน้ำพริกของยายทำมาหากินในตลาดได้ และอีกอย่างคือคนที่ดูแลแผงขายน้ำพริกกับคนงานตำน้ำพริกคือหนูเองกับพ่อ ขออนุญาตกับทาง อย.ก็หนูเองเป็นคนไปขอกับทางอำเภอตอนทำน้ำพริกกระป๋องขายงานโอท็อปกับพ่อ ไม่ใช่แม่กับน้องที่อยู่เฉยๆ แต่กินเงินกำไรจากแผงลอยในตลาดมาเป็นสิบปีแล้ว
น้องก็ไม่ยอมเพราะอยากได้เงินก้อนเลยบอกแม่ว่าอย่างนี้ไปฟ้องสมภารวัดข้างบ้านเลยดีกว่า เอามันกลางศาลางานบุญวันพระนี่แหละคนเยอะดี น้องเลยดันหลังแม่ไปนั่งร้องไห้ให้สมภารฟัง คราวนี้คนทั้งศาลาเลยด่าลูกคนโตว่ามันช่างชั่วช้าเลวทรามเสียนี่กระไร โกงได้แม้กระทั่งแม่ แต่ลูกคนโตก็เงียบอยู่เพราะถ้าขืนออกมาพูดว่าอะไรเป็นอะไรก็เท่ากับด่าแม่ตัวเองทางอ้อมให้ชาวบ้านฟังว่า เลยต้องยอมทนก้มหน้าให้ชาวบ้านด่าต่อไป
คราวนี้พวกลูกจ้างคนงานก็บอกกับลูกคนโตว่า เจ๊สั่งมาเลยว่าจะเอาอย่างไร จะให้พวกหนูลุยไหม เพราะที่ขายน้ำพริกในตลาดมาหลายสิบปีก็เพราะเจ๊บริหาร ไม่ใช่แม่กับน้องที่กินแต่ส่วนแบ่งอย่างเดียว ถ้าแผงในตลาดโดนเซ้งพวกหนูก็อดตายเหมือนกัน ทำน้ำพริกมาตั้งแต่รุ่นแม่เป็นคนงานจนถึงรุ่นลูก เจ๊ก็จ้างต่อเนื่องดูแลคนงานมาอย่างดี พวกหนูนัดหยุดงานแห่กันไปฟ้องสมภารเล่าความจริงก็ได้นะ เจ๊สั่งคำเดียวเดี๋ยวพวกหนูลุยเอง
เรื่องนี้จะจบอย่างไรโปรดติดตามตอนต่อไปว่าวันพระหน้าที่ศาลาวัดจะมีดราม่าเหมือนวันพระที่ผ่านมาหรือไม่ Tsu Zu Ku"
cr: www.manager.com