ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม............มีแต่เสียง 27/3/2016

กระทู้คำถาม


  ***สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องราชดำเนินทุกคน***
กระทู้นี้ เป็นมุมพักผ่อน มุมนี้ไม่มีสี  ไม่มีกลุ่ม.........แต่มีเสียง...................


ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ

1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม

กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน  ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น



ช่วงนี้เป็นเทศกาลเชงเม้ง เพื่อนๆ หลายคนคงได้ไปไหว้บรรพบุรุษกันมาแล้ว วันนี้เลยจะเสนอเรื่อง “แซ่คนจีนในไทย

เป็นที่รู้กันว่าชาวจีนได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยมาช้านาน  ชาวไทยเชื้อสายจีน คือ ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทย
และเป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน มีประมาณ 8 ล้านคนในประเทศไทย (คิดว่าคงเกินแหละนะ) หรือ 14% ของประชากรทั้งประเทศ
และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ
ใครที่นามสกุลยาวๆ สันนิษฐานเลย ตั้งขึ้นมาจากแซ่จีน บุคคลสำคัญทางธุรกิจและการเมืองมีที่สืบเชื้อสายจีนก็มาก



ชาวไทยเชื้อสายจีนในไทยส่วนมากบรรพบุรุษจะมาจากแต้จิ๋ว แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ

แซ่ต่างๆ นั้นจากที่มีผู้รวบรวมคิดว่ามีหลายพันแซ่ แต่ที่มีมากหน่อยอาจเหลือไม่กี่ร้อยแซ่ ที่เรียกว่าเป็น ตระกูลใหญ่

ตัวอย่างแซ่ยอดนิยม



สิบอันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก ได้แก่

1. จาง 2. หวาง 3. หลี่ 4. จ้าว 5. หลิว 6. เฉิน 7. หยาง 8. หลิน 9. สวี 10.โจว

สิบแซ่นี้รวมกันแล้วมีประมาณ 250 ล้านคน เฉพาะแซ่จางแซ่เดียวก็กว่า 100 ล้านคนเข้าไปแล้ว
หรือมากเกือบเท่ากับคนอังกฤษและฝรั่งเศสสองประเทศรวมกัน (ว้าวๆๆๆ)

สิบอันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในไทยได้แก่

1.  ตั้ง (เฉิน)
2.  ลิ้ม (หลิน)
3.  ลี้ (หลี่)  
4.  อึ้ง (หวง)
5.  โง้ว (หวู)
6.  โค้ว (สวี่)
7.  เตียว (จาง)
8.  แต้ (เจิ้ง)
9.  เล้า (หลิว)
10.เฮ้ง (หวาง)

ถ้าเราค่อยๆ นับไล่ย้อนหลังไปจากปัจจุบันที่มีแซ่ใช้ประจำ 5,007 แซ่ ในสมัยราชวงศ์หมิงมีเพียง 1,000 แซ่
สมัยราชวงศ์ซ่งมี 600 แซ่ สมัยราชวงศ์ถังมี 293 แซ่ สมัยราชวงศ์โจวมีเพียง 22 แซ่ กลับไปถึงสมัยหวงตี้มี 12 แซ่
แล้วถึงตัวหวงตี้เองมีเพียงเดียว อย่างนี้ย่อมนับได้ว่าคนจีนทุกคน ไม่ว่าปัจจุบันจะใช้แซ่อะไรก็ตาม ล้วนแต่เป็นสายเลือดเดียวกันทั้งนั้น
ถ้าเรายอมรับตามความคิดนี้ ย่อมก่อให้เกิดความสงบสันติสุข ไม่อยากฆ่าฟันทำลายล้างกันอีกต่อไป


ปัจจุบันชาวโลกมีท่าทีเป็นมิตรต่อกันมากขึ้น เพราะต่างตระหนักดีว่า การทำตัวเป็นศัตรูกันอย่างงมงายด้วยการถือเขาถือเรา
เป็นคนละเผ่ากันนั้นย่อมเป็นความคิดที่ล้าหลังน่าหัวเราะ โลกนี้แคบลงทุกวันตามจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มพูนขึ้น

การศึกษาความเป็นมาของคนจีนคือการศึกษาความเป็นมาของมวลมนุษย์ คำนี้คิดว่าคงไม่ใช่คำกล่าวที่เกิดเลยความจริง
เพราะชาติจีนเป็นชาติหนึ่งซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่อดีตตราบกระทั่งปัจจุบัน มีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างไม่ขาดตอน

เป็นชาติเดียวในโลกที่มีคนในสายลือดกระจายไปอยู่ทุกทวีป

เป็นชาติเดียวในโลกที่มีระบอบการปกครองที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาครบทุกรูปแบบ ครบเครื่องทั้งระบอบราชาธิปไตย
ประชาธิปไตยเผด็จการ สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ระบอบกึ่งอาณานิคม เสรีนิยม และอำนาจนิยม


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

...............................................


คนจีนถือว่าคนแซ่เดียวกันเสมือนพี่น้องกัน จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  เคยอ่านจากที่หนึ่งเขาบอกว่า

"...ทั้งนี้ไม่จำกัดวงแคบเฉพาะในหมู่คนจีน หรือคนที่มีสายเลือดจีนเท่านั้น ถ้าเรามีน้ำใจเผื่อแผ่โดยถือว่าทุกคนที่เป็นมนุษย์
ล้วนแต่มีแซ่เดียวกัน คือ แซ่ตน โลกนี้ก็น่าจะอยู่กว่านี้อีกมากนัก..."


ร้อยแซ่แต้จิ๋ว  (คิดว่าเกินร้อยเยอะอยู่นะ)

http://www.youtube.com/watch?v=TBk8y-atwN8
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
แจมด้วยครับ

"รักแท้อยู่เหนือกาลเวลา"
กัน นภัทร


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ.
.
ช่วงวันสองวันนี้ กรมอุตะฯเตือนว่าจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง
วันนี้ก็มีน้ำทวมที่พัทยา
เลยเอาภาพฟ้าคะนอง มาแจมครับ (ภาพในจิตนาการนะครับ)
.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่