วันนี้ขึ้นมาเหนือ 22 บาท แล้ว ^^
ประชาสัมพันธ์ จาก CPF
เพิ่มผลตอบแทนด้วยลูกกุ้งสายพันธุ์โตเร็ว
จากสถานการณ์ในปี 2558 ที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทยได้มีแนวโน้มการผลิตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่มีแนวทางการเลี้ยงที่ชัดเจนมากขึ้นที่จะสามารถฝ่าวิกฤตโรคอีเอ็มเอสได้เป็นอย่างดี ซึ่งแนวทางการเลี้ยงที่กล่าวถึงนั้นได้แก่ การอนุบาลลูกกุ้งก่อนปล่อยลงเลี้ยงต่อในบ่อใหญ่ การกำจัดตะกอนเลนที่พื้นบ่อเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และการลดสารอินทรีย์ที่เป็นอาหารของแบคทีเรีย รวมทั้งการสร้างความสมดุลของจุลินทรีย์ในบ่อด้วยโปรไบโอติก เป็นต้น จากแนวทางดังกล่าวนี้ทำให้ความเสียหายของกุ้งที่เกิดจากโรคอีเอ็มเอสลดน้อยลงอย่างชัดเจน ทำให้มีผลผลิตกุ้งเพิ่มมากขึ้นและได้กุ้งไซส์ใหญ่ขึ้น
ถึงแม้ว่าจะมีวิธีการจัดการด้านการเลี้ยงที่ดีขึ้นแล้วก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งยังต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากได้แก่ ประสิทธิภาพในการผลิต ทั้งในแง่ของผลการเลี้ยงและต้นทุนการเลี้ยง ซึ่งคุณภาพลูกกุ้งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยการเลือกใช้ลูกกุ้งนอกจากจะคำนึงถึงคุณภาพในแง่ของความแข็งแรงและปลอดเชื้อแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับสายพันธุ์กุ้งที่โตเร็วเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากการเลี้ยงโดยใช้ลูกกุ้งที่โตเร็วจะใช้ระยะเวลาการเลี้ยงที่สั้นลงกว่าการเลี้ยงโดยใช้ลูกกุ้งทั่วไป ช่วยลดความเสี่ยงจากความเสียหายจากโรคต่างๆได้มากขึ้น ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงลดลง สามารถเพิ่มรอบการเลี้ยงได้มากขึ้น และส่งผลทำให้ได้กำไรเพิ่มมากขึ้นตามด้วย ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับคุณภาพของลูกกุ้งที่จะเลือกใช้ ควรพิจารณาเลือกใช้ลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพสูง และมีผลการเลี้ยงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เพื่อเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการเลี้ยงให้เพิ่มสูงขึ้น
ซีพีเอฟได้วิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้สายพันธุ์ลูกกุ้งที่โตเร็ว ซึ่งการคัดเลือกสายพันธุ์กุ้งของซีพีเอฟนั้นไม่ได้พิจารณาเฉพาะอัตราการเจริญเติบโตเพียงอย่างเดียว แต่จะคัดเลือกโดยใช้ผลรวมของอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดหรือความแข็งแรงของกุ้ง จากการพัฒนาที่ต่อเนื่องนี้ ทำให้สายพันธุ์กุ้งขาวซีพีเอฟมีความแข็งแรงและโตเร็วในสภาพแวดล้อมของการเลี้ยงจริง การที่จะได้ลูกพันธุ์กุ้งที่ดี แข็งแรง ปลอดโรค และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วนั้น นอกเหนือจากการมีสายพันธุ์ที่ดีแล้ว ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับกระบวนการผลิตด้วย โดยมาตรฐานการผลิตลูกกุ้งของโรงเพาะฟักซีพีเอฟนั้นได้ให้ความสำคัญในทุกๆด้านของกระบวนการผลิต รวมทั้งให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณภาพลูกกุ้งก่อนที่จะส่งถึงมือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจเชื้อแบคทีเรีย วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (V. parahaemolyticus) สายพันธุ์ AHPND ที่ก่อโรคอีเอ็มเอส เชื้อไมโครสปอริเดีย และเชื้อไวรัสที่ก่อโรคต่างๆ เช่น ตัวแดงดวงขาว (WSSV) และหัวเหลือง (YHV) เป็นต้น จึงทำให้มั่นใจได้ว่าลูกกุ้งซีพีเอฟทุกชุดนั้นมีคุณภาพอย่างแท้จริง การเลือกใช้ลูกกุ้งที่มีคุณภาพและโตเร็วนั้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้ดังนี้
1. ด้านผลผลิตและต้นทุนการเลี้ยง
จากผลการเลี้ยงระหว่างการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งโตเร็วของซีพีเอฟกับลูกกุ้งทั่วไป ซึ่งเป็นข้อมูลจากฟาร์มเกษตกรในเขตจังหวัดระยองและจังหวัดจันทบุรี โดยบ่อเลี้ยงทั้งหมดจะเป็นพื้นดิน ส่วนการลงลูกกุ้งจะเป็นการปล่อยตรง เมื่อเปรียบเทียบผลการเลี้ยงจากบ่อที่ปล่อยกุ้งที่ความหนาแน่นเท่ากัน ขนาดกุ้งที่จับเท่ากันและอัตรารอดที่ใกล้เคียงกันแล้ว จะพบว่าการเลี้ยงโดยใช้ลูกกุ้งโตเร็วจะมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันที่มากกว่าการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งทั่วไปถึงร้อยละ 40 (อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยของลูกกุ้งโตเร็วและลูกกุ้งทั่วไปเท่ากับ 0.28 และ 0.20 กรัมต่อวัน ตามลำดับ) ดังนั้นการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งที่โตเร็วจะทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงสั้นกว่าการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งทั่วไป ทำให้สามารถเพิ่มรอบการเลี้ยงได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีรายได้จากการขายกุ้งที่เพิ่มมากขึ้น ดังรายละเอียดในตารางที่ 1
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบต้นทุนการเลี้ยง จะพบว่าการเลี้ยงโดยใช้ลูกกุ้งที่โตเร็วจะทำให้ต้นทุนการเลี้ยงต่ำกว่าการเลี้ยงโดยใช้ลูกกุ้งทั่วไปในทุกๆด้านยกเว้นค่าลูกกุ้ง ซึ่งเมื่อรวมต้นทุนการเลี้ยงทั้งหมดรวมทั้งค่าลูกกุ้งด้วยแล้ว จะพบว่าต้นทุนการผลิตจากการใช้ลูกกุ้งโตเร็วจะต่ำกว่าการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งทั่วไป 22.73 บาทต่อกิโลกรัมกุ้ง ซึ่งผลต่างที่เกิดขึ้นนี้ก็หมายความถึงกำไรของการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นในทุกๆกิโลกรัมของกุ้งที่ขายด้วยเช่นกัน ดังรายละเอียดในตารางที่ 2
2. ด้านความเสี่ยงจากความเสียหายจากโรคติดเชื้อโรคต่างๆ
การเลี้ยงกุ้งโดยใช้ลูกกุ้งที่โตเร็ว แข็งแรง และปลอดโรค ร่วมกับการจัดการที่ดี จะทำให้ความเสี่ยงที่เกิดจากความเสียหายจากโรคต่างๆลดลง ไม่ว่าจะเป็นอีเอ็มเอส ไมโครสปอริเดีย หรือตัวแดงดวงขาว เป็นต้น เนื่องจากใช้ระยะเวลาที่เลี้ยงให้ได้ขนาดหรือไซส์ที่ต้องการสั้นลง หรือหากมีความผิดพลาดจาการที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้ามาในระบบการเลี้ยงและเกิดโรคขึ้น ก็มีโอกาสที่จะจับได้กุ้งที่มีขนาดใหญ่กว่าหรืออาจได้กุ้งขนาดพร้อมจับแล้ว ทำให้ความเสี่ยงต่อการขาดทุนลดน้อยลงหรือในบางครั้งอาจมีกำไรได้อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าในสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งปัจจุบันที่เราสามารถควบคุมความเสียหายที่เกิดจากโรคได้ดีในระดับหนึ่งแล้วนั้น การจะได้ผลตอบแทนจากการเลี้ยงที่ดีมากน้อยแค่ไหนนั้นจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการเลี้ยงทั้งในแง่ของผลผลิตที่ได้และต้นทุนการเลี้ยง ซึ่งคุณภาพของลูกกุ้งที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกกุ้งสายพันธุ์ที่โตเร็ว จะมีผลต่อความสำเร็จในส่วนนี้เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามจะต้องคำนึงถึงการจัดการที่ดีอื่นๆร่วมด้วย ได้แก่ การมีระบบไบโอซีเคียวที่สมบูรณ์และได้รับการปฎิบัติอย่างเคร่งครัด มีการเตรียมบ่อและน้ำที่ดี มีโปรแกรมการให้อาหารที่เหมาะสม รวมทั้งมีการจัดการคุณภาพน้ำและตะกอนเลนที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตลอดระยะเวลาการเลี้ยง ซึ่งหากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งปฏิบัติได้ตามนี้แล้ว เชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและทำให้การเลี้ยงกุ้งประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน
ที่มา ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน)
CPF : ไม่มีการซื้อหุ้นคืน
ประชาสัมพันธ์ จาก CPF
เพิ่มผลตอบแทนด้วยลูกกุ้งสายพันธุ์โตเร็ว
จากสถานการณ์ในปี 2558 ที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทยได้มีแนวโน้มการผลิตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่มีแนวทางการเลี้ยงที่ชัดเจนมากขึ้นที่จะสามารถฝ่าวิกฤตโรคอีเอ็มเอสได้เป็นอย่างดี ซึ่งแนวทางการเลี้ยงที่กล่าวถึงนั้นได้แก่ การอนุบาลลูกกุ้งก่อนปล่อยลงเลี้ยงต่อในบ่อใหญ่ การกำจัดตะกอนเลนที่พื้นบ่อเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และการลดสารอินทรีย์ที่เป็นอาหารของแบคทีเรีย รวมทั้งการสร้างความสมดุลของจุลินทรีย์ในบ่อด้วยโปรไบโอติก เป็นต้น จากแนวทางดังกล่าวนี้ทำให้ความเสียหายของกุ้งที่เกิดจากโรคอีเอ็มเอสลดน้อยลงอย่างชัดเจน ทำให้มีผลผลิตกุ้งเพิ่มมากขึ้นและได้กุ้งไซส์ใหญ่ขึ้น
ถึงแม้ว่าจะมีวิธีการจัดการด้านการเลี้ยงที่ดีขึ้นแล้วก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งยังต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากได้แก่ ประสิทธิภาพในการผลิต ทั้งในแง่ของผลการเลี้ยงและต้นทุนการเลี้ยง ซึ่งคุณภาพลูกกุ้งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยการเลือกใช้ลูกกุ้งนอกจากจะคำนึงถึงคุณภาพในแง่ของความแข็งแรงและปลอดเชื้อแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับสายพันธุ์กุ้งที่โตเร็วเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากการเลี้ยงโดยใช้ลูกกุ้งที่โตเร็วจะใช้ระยะเวลาการเลี้ยงที่สั้นลงกว่าการเลี้ยงโดยใช้ลูกกุ้งทั่วไป ช่วยลดความเสี่ยงจากความเสียหายจากโรคต่างๆได้มากขึ้น ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงลดลง สามารถเพิ่มรอบการเลี้ยงได้มากขึ้น และส่งผลทำให้ได้กำไรเพิ่มมากขึ้นตามด้วย ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับคุณภาพของลูกกุ้งที่จะเลือกใช้ ควรพิจารณาเลือกใช้ลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพสูง และมีผลการเลี้ยงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เพื่อเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการเลี้ยงให้เพิ่มสูงขึ้น
ซีพีเอฟได้วิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้สายพันธุ์ลูกกุ้งที่โตเร็ว ซึ่งการคัดเลือกสายพันธุ์กุ้งของซีพีเอฟนั้นไม่ได้พิจารณาเฉพาะอัตราการเจริญเติบโตเพียงอย่างเดียว แต่จะคัดเลือกโดยใช้ผลรวมของอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดหรือความแข็งแรงของกุ้ง จากการพัฒนาที่ต่อเนื่องนี้ ทำให้สายพันธุ์กุ้งขาวซีพีเอฟมีความแข็งแรงและโตเร็วในสภาพแวดล้อมของการเลี้ยงจริง การที่จะได้ลูกพันธุ์กุ้งที่ดี แข็งแรง ปลอดโรค และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วนั้น นอกเหนือจากการมีสายพันธุ์ที่ดีแล้ว ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับกระบวนการผลิตด้วย โดยมาตรฐานการผลิตลูกกุ้งของโรงเพาะฟักซีพีเอฟนั้นได้ให้ความสำคัญในทุกๆด้านของกระบวนการผลิต รวมทั้งให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณภาพลูกกุ้งก่อนที่จะส่งถึงมือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจเชื้อแบคทีเรีย วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (V. parahaemolyticus) สายพันธุ์ AHPND ที่ก่อโรคอีเอ็มเอส เชื้อไมโครสปอริเดีย และเชื้อไวรัสที่ก่อโรคต่างๆ เช่น ตัวแดงดวงขาว (WSSV) และหัวเหลือง (YHV) เป็นต้น จึงทำให้มั่นใจได้ว่าลูกกุ้งซีพีเอฟทุกชุดนั้นมีคุณภาพอย่างแท้จริง การเลือกใช้ลูกกุ้งที่มีคุณภาพและโตเร็วนั้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้ดังนี้
1. ด้านผลผลิตและต้นทุนการเลี้ยง
จากผลการเลี้ยงระหว่างการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งโตเร็วของซีพีเอฟกับลูกกุ้งทั่วไป ซึ่งเป็นข้อมูลจากฟาร์มเกษตกรในเขตจังหวัดระยองและจังหวัดจันทบุรี โดยบ่อเลี้ยงทั้งหมดจะเป็นพื้นดิน ส่วนการลงลูกกุ้งจะเป็นการปล่อยตรง เมื่อเปรียบเทียบผลการเลี้ยงจากบ่อที่ปล่อยกุ้งที่ความหนาแน่นเท่ากัน ขนาดกุ้งที่จับเท่ากันและอัตรารอดที่ใกล้เคียงกันแล้ว จะพบว่าการเลี้ยงโดยใช้ลูกกุ้งโตเร็วจะมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันที่มากกว่าการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งทั่วไปถึงร้อยละ 40 (อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยของลูกกุ้งโตเร็วและลูกกุ้งทั่วไปเท่ากับ 0.28 และ 0.20 กรัมต่อวัน ตามลำดับ) ดังนั้นการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งที่โตเร็วจะทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงสั้นกว่าการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งทั่วไป ทำให้สามารถเพิ่มรอบการเลี้ยงได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีรายได้จากการขายกุ้งที่เพิ่มมากขึ้น ดังรายละเอียดในตารางที่ 1
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบต้นทุนการเลี้ยง จะพบว่าการเลี้ยงโดยใช้ลูกกุ้งที่โตเร็วจะทำให้ต้นทุนการเลี้ยงต่ำกว่าการเลี้ยงโดยใช้ลูกกุ้งทั่วไปในทุกๆด้านยกเว้นค่าลูกกุ้ง ซึ่งเมื่อรวมต้นทุนการเลี้ยงทั้งหมดรวมทั้งค่าลูกกุ้งด้วยแล้ว จะพบว่าต้นทุนการผลิตจากการใช้ลูกกุ้งโตเร็วจะต่ำกว่าการเลี้ยงด้วยลูกกุ้งทั่วไป 22.73 บาทต่อกิโลกรัมกุ้ง ซึ่งผลต่างที่เกิดขึ้นนี้ก็หมายความถึงกำไรของการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นในทุกๆกิโลกรัมของกุ้งที่ขายด้วยเช่นกัน ดังรายละเอียดในตารางที่ 2
2. ด้านความเสี่ยงจากความเสียหายจากโรคติดเชื้อโรคต่างๆ
การเลี้ยงกุ้งโดยใช้ลูกกุ้งที่โตเร็ว แข็งแรง และปลอดโรค ร่วมกับการจัดการที่ดี จะทำให้ความเสี่ยงที่เกิดจากความเสียหายจากโรคต่างๆลดลง ไม่ว่าจะเป็นอีเอ็มเอส ไมโครสปอริเดีย หรือตัวแดงดวงขาว เป็นต้น เนื่องจากใช้ระยะเวลาที่เลี้ยงให้ได้ขนาดหรือไซส์ที่ต้องการสั้นลง หรือหากมีความผิดพลาดจาการที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้ามาในระบบการเลี้ยงและเกิดโรคขึ้น ก็มีโอกาสที่จะจับได้กุ้งที่มีขนาดใหญ่กว่าหรืออาจได้กุ้งขนาดพร้อมจับแล้ว ทำให้ความเสี่ยงต่อการขาดทุนลดน้อยลงหรือในบางครั้งอาจมีกำไรได้อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าในสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งปัจจุบันที่เราสามารถควบคุมความเสียหายที่เกิดจากโรคได้ดีในระดับหนึ่งแล้วนั้น การจะได้ผลตอบแทนจากการเลี้ยงที่ดีมากน้อยแค่ไหนนั้นจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการเลี้ยงทั้งในแง่ของผลผลิตที่ได้และต้นทุนการเลี้ยง ซึ่งคุณภาพของลูกกุ้งที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกกุ้งสายพันธุ์ที่โตเร็ว จะมีผลต่อความสำเร็จในส่วนนี้เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามจะต้องคำนึงถึงการจัดการที่ดีอื่นๆร่วมด้วย ได้แก่ การมีระบบไบโอซีเคียวที่สมบูรณ์และได้รับการปฎิบัติอย่างเคร่งครัด มีการเตรียมบ่อและน้ำที่ดี มีโปรแกรมการให้อาหารที่เหมาะสม รวมทั้งมีการจัดการคุณภาพน้ำและตะกอนเลนที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตลอดระยะเวลาการเลี้ยง ซึ่งหากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งปฏิบัติได้ตามนี้แล้ว เชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและทำให้การเลี้ยงกุ้งประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน
ที่มา ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน)