http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=181951:2013-05-08-03-35-33&catid=87:2009-02-08-11-23-26&Itemid=423
"ทียูเอฟ" ลุ้นระทึกนำพาธุรกิจกุ้งฝ่าวิกฤติวัตถุดิบขาดแคลนราคาพุ่งรอบ 15 ปี และเงินบาทแข็งค่า ฟันธงครึ่งแรกยังติดลบ แต่ครึ่งหลังมั่นใจฟื้นแน่ เชื่อผลผลิตกุ้งจะกลับมามีเพียงพอใช้หลังทุกฝ่ายช่วยกันแก้ไขคุมเข้มโรคตายด่วน ปรับเป้าทั้งปีใหม่แง่ปริมาณวูบ แต่ด้านมูลค่าจะยังขยายตัว 10% จากบาทแข็ง-วัตถุดิบแพงต้องปรับราคาสินค้าเพิ่ม
ฤทธิรงค์ บุญมีโชติ นายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟ ดูแลธุรกิจกุ้งของเครือ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ถึงผลประกอบการธุรกิจกุ้งของบริษัทในไตรมาสแรกปี 2556 ว่า มียอดขายที่ลดลง จากการลดผลิตลง 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างสรุปตัวเลขว่าลดลงมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้มีปัจจัยสำคัญจากช่วงไตรมาสแรกโดยปกติของทุกปีคำสั่งซื้อจะมีเข้ามาน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสอื่นๆ ประกอบกับในช่วงไตรมาสแรกต่อเนื่องถึง 4 เดือนแรกของปีนี้วัตถุดิบกุ้งที่ใช้ในการผลิตส่งออกของไทยมีปริมาณที่ลดลงจากการที่ยังมีการระบาดของโรคตายด่วน(EMS) ส่งผลกระทบทำให้ปริมาณวัตถุดิบกุ้งในไตรมาสแรกลดลงเหลือประมาณ 6 หมื่นตัน จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีประมาณ 9.5 หมื่นตัน หรือลดลงกว่า 30% ส่งผลให้ราคากุ้งในประเทศสูงสุดในรอบ 15 ปี
อย่างไรก็ดีตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไปเชื่อว่าการผลิตและการส่งออกกุ้งของไทยและของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้น จากที่ล่าสุดทางกระทรวงเกษตรฯได้ตรวจพบสาเหตุของการระบาดของโรค EMS แล้วว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง และทางกรมประมงได้ตั้งคณะทำงานเข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดทั้งการจัดหาพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพจากแหล่งที่เชื่อถือได้ การตรวจสอบคุณภาพลูกพันธุ์กุ้งตามมาตรฐานกรมประมงทุกรอบการผลิต การขอความร่วมมือเกษตรกรเตรียมบ่อที่ดี การปรับปรุงระบบป้องกันโรค การเฝ้าระวังและสังเกตอาการกุ้งอย่างใกล้ชิด แต่อย่างไรก็ตามผลผลิตกุ้งของไทยทั้งปีนี้เทียบกับปีที่แล้วคาดจะลดลงประมาณ 30% (ปี 2555 มีผลผลิตประมาณ 4.8 แสนตัน)
"สถานการณ์ในขณะนี้ทางบริษัทต้องปรับเป้าใหม่ จากเดิมคาดปริมาณ และมูลค่าการส่งออกกุ้งของบริษัทจะขยายตัว 10-15% เป็นปริมาณลดลง 10-15% ส่วนแง่มูลค่าคาดจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 10% จากปีที่แล้วส่งออกกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 9 พันล้านบาท จะเป็นผลจากที่เราได้เพิ่มราคาขายสินค้าตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และค่าเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น"
นายฤทธิรงค์ กล่าวอีกว่า แม้ในไตรมาสแรกของปีนี้ผลผลิตกุ้งไทยจะขาดแคลน และเงินบาทแข็งค่า ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายไม่กล้ารับคำสั่งซื้อ และต้องลดกำลังการผลิต ผู้นำเข้าหลายรายต้องเปลี่ยนแผนไปซื้อสินค้าจากอินเดียที่มีผลผลิตกุ้งเพิ่มขึ้นแทน แต่จากนี้ไปเชื่อว่าคำสั่งซื้อกุ้งจะมีเข้ามายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น เพราะไทยเป็นประเทศที่ผลิตสินค้ากุ้งแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มได้หลากหลายตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าอินเดีย รายการใดที่ซื้อจากอินเดียไม่ได้จะต้องมาซื้อจากไทยแน่นอน แม้ขณะนี้จากเงินบาทที่แข็งค่า และวัตถุดิบราคาสูงสินค้ากุ้งไทยที่เสนอขายจะปรับตัวสูงขึ้นกว่า 30-40% เมื่อเทียบกับปลายปี 2555 ก็ตาม
"ช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีนี้คาดยอดส่งออกกุ้งของไทยและของบริษัทจะยังลดลง แต่ครึ่งหลังน่าจะฟื้นตัว เพราะความต้องการกุ้งของโลกยังมีต่อเนื่อง แต่สิ่งหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงคือลูกค้าจะซื้อสินค้าแค่พอใช้หรือแค่มีของในสต๊อกไว้ขายไม่เกิน 60 วันจากก่อนหน้านี้ซื้อล่วงหน้ายาว 6 เดือนหรือตลอดทั้งปี ดังนั้นในปีนี้บริษัทคงต้องทำธุรกิจแบบระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่รุกมาก และไม่ตั้งเป้าโตมากจากที่ยังไม่มีความแน่นอนทั้งเรื่องวัตถุดิบ และค่าเงินบาท"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,842 วันที่ 9-11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ข่าว TUF จาก ฐานเศรษฐกิจ 8/5/13
"ทียูเอฟ" ลุ้นระทึกนำพาธุรกิจกุ้งฝ่าวิกฤติวัตถุดิบขาดแคลนราคาพุ่งรอบ 15 ปี และเงินบาทแข็งค่า ฟันธงครึ่งแรกยังติดลบ แต่ครึ่งหลังมั่นใจฟื้นแน่ เชื่อผลผลิตกุ้งจะกลับมามีเพียงพอใช้หลังทุกฝ่ายช่วยกันแก้ไขคุมเข้มโรคตายด่วน ปรับเป้าทั้งปีใหม่แง่ปริมาณวูบ แต่ด้านมูลค่าจะยังขยายตัว 10% จากบาทแข็ง-วัตถุดิบแพงต้องปรับราคาสินค้าเพิ่ม
ฤทธิรงค์ บุญมีโชติ นายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟ ดูแลธุรกิจกุ้งของเครือ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ถึงผลประกอบการธุรกิจกุ้งของบริษัทในไตรมาสแรกปี 2556 ว่า มียอดขายที่ลดลง จากการลดผลิตลง 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างสรุปตัวเลขว่าลดลงมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้มีปัจจัยสำคัญจากช่วงไตรมาสแรกโดยปกติของทุกปีคำสั่งซื้อจะมีเข้ามาน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสอื่นๆ ประกอบกับในช่วงไตรมาสแรกต่อเนื่องถึง 4 เดือนแรกของปีนี้วัตถุดิบกุ้งที่ใช้ในการผลิตส่งออกของไทยมีปริมาณที่ลดลงจากการที่ยังมีการระบาดของโรคตายด่วน(EMS) ส่งผลกระทบทำให้ปริมาณวัตถุดิบกุ้งในไตรมาสแรกลดลงเหลือประมาณ 6 หมื่นตัน จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีประมาณ 9.5 หมื่นตัน หรือลดลงกว่า 30% ส่งผลให้ราคากุ้งในประเทศสูงสุดในรอบ 15 ปี
อย่างไรก็ดีตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไปเชื่อว่าการผลิตและการส่งออกกุ้งของไทยและของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้น จากที่ล่าสุดทางกระทรวงเกษตรฯได้ตรวจพบสาเหตุของการระบาดของโรค EMS แล้วว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง และทางกรมประมงได้ตั้งคณะทำงานเข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดทั้งการจัดหาพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพจากแหล่งที่เชื่อถือได้ การตรวจสอบคุณภาพลูกพันธุ์กุ้งตามมาตรฐานกรมประมงทุกรอบการผลิต การขอความร่วมมือเกษตรกรเตรียมบ่อที่ดี การปรับปรุงระบบป้องกันโรค การเฝ้าระวังและสังเกตอาการกุ้งอย่างใกล้ชิด แต่อย่างไรก็ตามผลผลิตกุ้งของไทยทั้งปีนี้เทียบกับปีที่แล้วคาดจะลดลงประมาณ 30% (ปี 2555 มีผลผลิตประมาณ 4.8 แสนตัน)
"สถานการณ์ในขณะนี้ทางบริษัทต้องปรับเป้าใหม่ จากเดิมคาดปริมาณ และมูลค่าการส่งออกกุ้งของบริษัทจะขยายตัว 10-15% เป็นปริมาณลดลง 10-15% ส่วนแง่มูลค่าคาดจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 10% จากปีที่แล้วส่งออกกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 9 พันล้านบาท จะเป็นผลจากที่เราได้เพิ่มราคาขายสินค้าตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และค่าเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น"
นายฤทธิรงค์ กล่าวอีกว่า แม้ในไตรมาสแรกของปีนี้ผลผลิตกุ้งไทยจะขาดแคลน และเงินบาทแข็งค่า ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายไม่กล้ารับคำสั่งซื้อ และต้องลดกำลังการผลิต ผู้นำเข้าหลายรายต้องเปลี่ยนแผนไปซื้อสินค้าจากอินเดียที่มีผลผลิตกุ้งเพิ่มขึ้นแทน แต่จากนี้ไปเชื่อว่าคำสั่งซื้อกุ้งจะมีเข้ามายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น เพราะไทยเป็นประเทศที่ผลิตสินค้ากุ้งแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มได้หลากหลายตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าอินเดีย รายการใดที่ซื้อจากอินเดียไม่ได้จะต้องมาซื้อจากไทยแน่นอน แม้ขณะนี้จากเงินบาทที่แข็งค่า และวัตถุดิบราคาสูงสินค้ากุ้งไทยที่เสนอขายจะปรับตัวสูงขึ้นกว่า 30-40% เมื่อเทียบกับปลายปี 2555 ก็ตาม
"ช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีนี้คาดยอดส่งออกกุ้งของไทยและของบริษัทจะยังลดลง แต่ครึ่งหลังน่าจะฟื้นตัว เพราะความต้องการกุ้งของโลกยังมีต่อเนื่อง แต่สิ่งหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงคือลูกค้าจะซื้อสินค้าแค่พอใช้หรือแค่มีของในสต๊อกไว้ขายไม่เกิน 60 วันจากก่อนหน้านี้ซื้อล่วงหน้ายาว 6 เดือนหรือตลอดทั้งปี ดังนั้นในปีนี้บริษัทคงต้องทำธุรกิจแบบระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่รุกมาก และไม่ตั้งเป้าโตมากจากที่ยังไม่มีความแน่นอนทั้งเรื่องวัตถุดิบ และค่าเงินบาท"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,842 วันที่ 9-11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556