ปันกันอ่านเพียบ! ถ้าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีเฟซบุ๊ค?


ถ้าหากคนในสมัยอดีตกาล อย่างชาวอยุธยา หรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น เขามีเฟซบุ๊ก เขาจะโพสต์อะไรกัน ธนโชติ เกียรติณภัทร นักศึกษาคณะโบราณคดี - มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้ดีไซน์หน้าฟีดเฟซบุ๊กในอดีตให้ชมกัน พร้อมบรรยายว่า “วันนี้เห็นแชร์กันเยอะละว่าถ้ายุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีเฟซบุ๊คแล้วจะเป็นอย่างไร มันคงออกมาทำนองนี้ ๕๕๕๕๕๕”

ความน่าสนใจอยู่ที่เจ้าของภาพได้ถ่ายทอดเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆน้อยๆออกมาอย่างเก๋ไก๋ เช่น การเช็คอินที่พระราชวังหลวง คำว่า Like หรือถูกใจในสมัยนี้ ก็ถูกเปลี่ยนเป็นคำว่า “ถูกจิต” หรือคำว่า “แสดงความคิดเห็น” ก็ถูกเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยว่า “สำแดงความคิดเห็น” รวมทั้ง คำว่า “แชร์” ก็ใช้เป็นคำว่า “ปันกันอ่าน”   ที่เด็ดอีกอันเห็นจะเป็น การแสดงความรู้สึกของ “ภู่ อยู่หลังวัง” หรือ “สุนทรภู่” ก็ใช้คำว่า “รู้สึกมิได้ดั่งใจหวัง”

ขณะที่ “เวลา” ที่ใช้บรรยายก็เป็นแบบอดีตกาลอย่าง “เดือนยี่ มะเสง นพศก” ซึ่งบุคคลที่ ธนโชติ ยกมายังเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ใครหลายคนแอบรู้จักเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น เจ้าพระยาพระคลังหน, ภู่ อยู่วังหลัง หรือ สุนทรภู่, เก๋ไก๋จนมีคนกด ถูกจิต ถูกใจ ไปแล้วหลายร้อยครั้งทีเดียว พร้อมแฮชแทก #ถ้าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีเฟซบุ๊ค? แชร์กันมากมาย

ที่มา มติชน และ เฟซบุ๊ก ธนโชติ เกียรติณภัทร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่