หลักทั่วไปงานสืบสวนสอบสวน

กระทู้สนทนา

อมยิ้ม33กระบวนการในภาระงานสืบสวนสอบสวน
        อาชญากรรมที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งมีลักษณะและวิธีการที่ไม่สามารถกล่าวว่ามีความเหมือนกันจนกระทั่งถึงขั้นที่เราสามารถจะตั้งกฎเกณฑ์กำหนดแผนการณ์ที่แน่นอนให้เป็นแบบฉบับได้สำหรับกระบวนการในภาระงานสืบสวนสอบสวน แต่อย่างไรก็ดี “ฟิทสเจอรัลด” ได้เสนอถึงกระบวนการที่ถือได้ว่าเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในภาระงานสืบสวนสอบสวนคดีทุกประเภท คือ
1.ตรวจสอบและบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรม
2.พิสูจน์ตัวผู้กระทำผิด และผู้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ (ถ้ามี)
3.จับกุมและแจ้งข้อหาต่อผู้กระทำผิด
4.รักษาความปลอดภัย เก็บรักษา และประเมินพยานหลักฐาน
5.การแถลงพยานหลักฐานต่อศาล
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.ตรวจสอบและบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรม เมื่อไปถึงสถานที่เกิดเหตุ พนักงานสืบสวนสอบสวนควรต้องทำสิ่งดังต่อไปนี้
1.จับกุมผู้กระทำผิด หากปรากฎตัวอยู่ในที่นั้น
2.ป้องกันบุคคลผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ ผู้ประสบเหตุ หรือผู้ที่อยู่ในบริเวณสถานที่เกิดเหตุ ไม่ให้ปลีกตัวหลีกหนีไป จนกระทั่งได้รับการยืนยันในข้อเท็จจริงและตอบคำซักถามแล้ว
3.ปิดกั้นสถานที่บริเวณเกิดเหตุ ป้องกันไม่ให้ผุ้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้ามาในบริเวณ และป้องกันผู้ที่อยู่ในบริเวณไม่ให้ทำลายพยานหลักฐาน
4.รักษาความปลอดภัยบรรดาข้อมูลที่มีอยู่
5.แสวงหา และเก็บรักษาพยานหลักฐาน
6.บันทึกข้อเท็จจริงทุกย่าง นับตั้งแต่
ก.เวลา
ข.วัน เดือนปี
ค.สถานที่
ง.สภาพภูมิอากาศ
จ.รายละเอียดของบริเวณ

2.พิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดและผู้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ (ถ้ามี)
มันเป็นความจริง พนักงานสืบสวนสอบสวนไม่อาจชี้ตัวได้ว่า ใครเป็นผู้กระทำผิด โดยที่จะเอ่ยออกมาว่าเป็นบุคคลนั้น หรือบุคคลนี้ แต่จากข้อเท็จจริงประการหนึ่งก็ คือ ตัวอาชญากรรมนั้นเองที่สามารถจะบอกได้ถึงผู้กระทำ ว่าเป็นอาชญากรประเภทใด และนี่ก็คือส่วนหนึ่งของการพิสูจน์ตัวบุคคลผู้กระทำผิด และจากการซักถามตัวผู้รับเคราะห์และพยานบุคคลอื่น ๆ ร่องรอย และสิ่งต่าง ๆ ที่พบได้ในบริเวณที่เกิดเหตุ ตลอดจนกลวิธีของคนร้ายก็จะยิ่งช่วยให้ข้อมูลแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จนกระทั่งในที่สุด ก็สามารถจะพิสูจน์ตัวบุคคลผู้กระทำผิดได้

3.จับกุมและแจ้งข้อหาต่อผู้กระทำผิด
เมื่อแน่ใจแล้วว่าบุคคลใดมีพยานหลักฐานปรากฎ และมีพยานแวดล้อมแห่งกรณีชี้ได้ชัดเจนว่าเป็นผู้ประกอบอาชญากรรม จึงจะเข้าทำการจับกุม และในการนี้ จะต้องแจ้งข้อหาให้ผู้ถูกจับกุมทราบเสมอ และจงอย่าพยายามจับกุมหากไม่มีหลักฐานเพียงพอ การยัดเยียดข้อหา ไม่ใช่วิธีการที่สมควรนำมาใช้ปฏิบัติ แต่ควรจะทำงานสืบสวนให้หนักขึ้นจนกระทั่งได้ข้อเท็จจริงประกอบพยานหลักฐานอ้างอิงแน่นอนเสียก่อน จึงค่อยดำเนินการจับกุม อย่าลืมว่า ความใจร้อนวู่วาม อาจทำลายคดีทั้งคดีลงไปได้

4.การรักษาความปลอดภัย เก็บรักษา และประเมินผลพยานหลักฐาน        
พนักงานสืบสวนสอบสวนที่ดีควรรู้ว่า จากสถานที่เกิดเหตุจะได้ตรวจพบอะไรบ้างในคดี แต่ละประเภท ควรอารักขาบริเวณ ตลอดจนพยานบุคคล และวัตถุพยานหลักฐานอย่างไร สิ่งใดควรเก็บรักษาเพื่อนำส่งฝ่ายพิสูจน์หลักฐานในห้องปฏิบัติการและทั้งยังต้องมีความสามารถประเมินค่าความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในพยานหลักฐานต่าง ๆ กับรูปคดีด้วย
    หลักที่ควรจำไว้ประการหนึ่งก็คือ การรวบรวมพยานหลักฐานมากเกินพอ มีประโยชน์และคุณค่ามหาศากว่าการรวบรวมหลักฐานไม่พอ และการที่หวังจะกลับมาแสวงหาหลักฐานใหม่ในภายหลังนั้น เป็นความยากลำบากยิ่งที่จะให้ได้ผล และทั้งทางปฏิบัติก็อาจพบความยุ่งยากไม่น้อยเลย

5.การแถลงพยานหลักฐานต่อศาล
        นับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่พนักงานสืบสวนสอบสวนจะต้องมี่หน้าที่แถลงพยานหลักฐานต่อศาล ตลอดจนข้อเท็จจริงที่สืบทราบมาทั้งหมด โดยปรกติแล้ว คำให้การของเจ้าพนักงานต่อศาลจะถูกจำกัด อยู่แต่เพียงการระบุถึงพยานหลักฐาน และสิ่งที่เป็นพยานหลักฐานเองก็จะสาธยายตัวของมันออกมาให้ปรากฏชัดเจนโดยผ่านปากคำให้การของผู้เชี่ยวชาญที่ได้ตรวจสอบมา
ดังนั้น จึงต้องไม่ลืมว่าตนจะต้องให้การในศาลว่า
1.เป็นผู้พบวัตถุพยาน หรือหลักฐานนั้น ๆ
2.เป็นผู้ทำเครื่องหมาย และบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ตลอดจนเวลาที่พบ
3.เป็นผู้ดูแล เก็บรักษาพยานหลักฐานนั้น ๆ ไว้เองนับแต่เวลาที่พบ จนกระทั่งได้นำส่งให้กับหน่วยพิสูจน์หลักฐานเพื่อตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ หรือเมื่อได้เก็บไว้ในตู้และห้องที่มีการอารักขาเป็นอย่างดี
---------------------------------------------------------
อ้างอิง : หลักการสืบสวนสอบสวนและการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ; ไทพีศรีนิวัติ ภักดีกุล
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่